การใช้แอลกอฮอลล์เพื่อผลิตอาหารและยา แบ่งเป็น 3 กรณี
1. หากนำแอลกอฮอที่มาจากการหมักดบียร์ ไวน์ หรือเหล้า มาใช้ในในกรผลิตอาหารถึงแอลกอฮอล์จะระเหยหมด ก็ถือว่าต้องห้าม
2. แอลกอฮอล์ที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำผลไม้ เครื่องปรุงต่างๆ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องมีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1%
3. แอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นตัวทำละลายทั้งอาหารและยา เช่น ตัวทำละลายสี กลิ่น รส เมื่อเติมในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องไม่เกิน 0.5%
“จากคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 03/2554 ได้กล่าวในที่ประชุมนิติศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 8 ขององค์กรอิสลามเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จัดขึ้น ณ ประเทศคูเวต ระหว่างวันที่ 22-24/5/ค.ศ.1995 มีแถลงการณ์ว่า “แอลกอฮอล์มิใช่นะญิสตามหลักศาสนบัญญัติ บนหลักการที่ว่า แท้จริงหลักเดิมของสิ่งต่างๆ นั้นถือว่าสะอาดไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือถูกเจือจางด้วยน้ำก็ตาม เป็นการให้น้ำหนักแก่ทัศนะที่ว่า ความเป็นนะญิสของสุราและวัตถุออกฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมาอื่นๆนั้นเป็นนะญิสในเชิงนามธรรม มิใช่เป็นนะญิสในเชิงรูปธรรม เพราะถือว่าสุราเป็นความสกปรกโสมมจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นจึงไม่ถือเป็นข้อห้ามที่เป็นบาปตามหลักศาสนบัญญัติในการใช้แอลกอฮอล์ทางการแพทย์ เช่น ทำความสะอาดผิวหนัง บาดแผล อุปกรณ์ เวชภัณฑ์และฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นเครื่องหอม ซึ่งแอลกอฮอล์จะถูกนำไปใช้เป็นตัวทำละลายวัตถุจำพวกน้ำหอมที่มีสารแขวนลอย”
