:: [คำถาม] ::
อัสลามุอะลัยกุม ย่อมจะเป็นการดีกว่าหรือไม่ที่จะมอบเนื้อกุรบ่านหรือบริจาคเงินให้กับพื้นที่ที่เกิดในภัยพิบัติในดินแดนของมุสลิม? .
:: [คำตอบ] ::
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ
การสรรเสริญทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺและขอความสันติและความจำเริญจงประสบแด่ท่านเราะซูลของพระองค์
.
แด่พี่น้องที่รัก ขอขอบคุณสำหรับคำถามของท่านและความเห็นใจของท่านที่มีต่องพี่น้องมุสลิมที่กำลังประสบภัยพิบัติทั่วโลก
.
ผู้ที่จะมาตอบคำถามของท่านคือ ดร. มัสอูด ศอบรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชะรีอะฮฺอิสลามและนักวิจัยของกระทรวงเอากอฟประเทศคูเวต ท่านกล่าวว่า
.
หากว่ามุสลิมมีฐานะที่ร่ำรวย ย่อมจะเป็นการดีกว่าที่จะทำกุรบาน(สัตว์เชือดพลี)พร้อมๆกับบริจาคให้กับพี่น้องมุสลิมที่กำลังประสบจากภัยพิบัติเช่นมุสลิมในซีเรีย พม่า เยเมน โซมาเลียและมุสลิมในที่อื่นๆ อย่างไรก็ตามหากมุสลิมสามารถปฎิบัติได้เพียงอย่างเดียวจากทางเลือกทั้งสองนี้ ดังนั้นประเด็นนี้จำเป็นต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
.
ประการแรก ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมอบเนื้อกุรบ่านไปยังภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติ ในกรณีที่พื้นที่ดังกล่าวต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนอาหารและ วิธีนี้จะเป็นการนำจุดประสงค์สองอย่างมารวมกันคือการประกอบพิธีทางศาสนากับการตอบสนองความต้องการของพี่น้องที่ประสบกับหายนะ …
.
ประการที่สอง หากพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติไม่มีความจำเป็นต้องบริโภคเนื้อกุรบ่านแต่มีความจำเป็นต้องใช้สิ่งของอย่างอื่นมากกว่า ดังนั้นกฎเกณฑ์จึงมีสองส่วนคือการทำกุรบ่านกับการบริจาคสิ่งของหรือเงินทองไปยังพื้นที่ดังกล่าว
.
สำหรับการทำกรุบ่านนั้นเป็นสุนนะฮฺที่ส่งเสริมให้กระทำอย่างยิ่ง ตามความเห็นของอุลามาอฺส่วนใหญ่ รวมไปถึงมัซฮับชะฟีอีย์และหัมบาลีย์ เป็นทรรศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าสองทรรศนะที่รายงานจากอิหม่าม มาลิก และหนึ่งในสองทรรศนะที่รายงานจากอบู ยูสุฟ นี่คือทรรศนะของอบู บักรฺด้วยเช่นเดียวกัน อุมัร บิลาล อบู มัสอูด อัล-บัดรียฺ สุวัยดฺ บิน ฆ็อฟละฮฺ สะอีด อิบนุ มุซัยยิบ อะฏอ อัล-กอมะฮฺ อัล-อัสวัฎ อิสหาก อบู เซาวรฺ และ อิบนุ อัล-มุนซิร
.
หลักฐานที่สนับสนุนพวกเขาครอบคลุมถึงคำพูดของท่านนบีที่ว่า “เมื่อ 10 วัน(แห่งเดือนซุลหิจญะฮฺ)เริ่มต้นขึ้นนและคนหนึ่งในหมู่พวกท่านตั้งใจที่จะทำกุรบ่าน ดังนั้นเขาจะต้องไม่ตัดผมหรือตัดเล็บ” (รายงานโดย มุสลิม) ตรงนี้ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้ทำกุรบ่านเพราะท่านตั้งใจจะกระทำเช่นนั้น
.
หลักฐานอื่น ๆ ได้แก่การที่อบู บักรและอุมัร (รดิยัลลอฮุ อันฮุมา)ได้ละเว้นจากการทำกุรบ่านเป็นเวลา 1-2 ปีเพื่อมิให้ผู้คนเห็นว่าเป็นการปฏิบัติในเชิงบังคับ
.
อย่างไรก็ตาม ทรรศนะทีสองเห็นว่าการทำกุรบ่านคือ ข้อบังคับ ทรรศนะนี้ได้รับการสนับสนุนโดย อบู หะนีฟะฮฺและสานุศิษย์ มีรายงานจากท่านอิหม่าม มาลิก เราะบีอะฮฺ อัร-เราะยฺ อัล-ลัยษ์ อิบนุ อัล-เอาซาอีย์ และ อัษ-เษารีย์ ในการสนับสนนุทรรศนะของพวกเขา พวกเขาอ้างอายะฮฺอัล-กุรอานที่ว่า “ดังนั้นเจ้าจงละหมาดเพื่อพระเจ้าของเจ้าและจงเชือดสัตว์พลี” สูเราะฮฺ อัล-เกาซัร อายะฮฺที่ 2 เนื่องจากเป็นคำบัญชาในอายะฮฺนี้เป็นการชี้ว่ามันเป็นข้อบังคับ
.
พวกเขาอ้างคำพูดของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม “ใครก็ตามที่มีความสามารถในการเชือดพลีแต่ไม่ทำการเชือด ดังนั้นอย่าได้เข้าใกล้สถานที่ละหมาดของฉัน” (อิบนุ มาญะฮฺ) คำเตือนนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นข้อบังคับอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาได้นำหลักฐานมาจากคำพูดของนบีว่า “ใครก็ตามที่ได้ทำการเชือดกุรบ่านก่อนละหมาด(อีด อัฎฮา)จะต้องเชือดแพะในสถานที่ของมันและใครก็ตามที่ไม่ได้ทำการเชือดกุรบ่าน ดังนั้นจงเชือดมันด้วยพระนามของอัลลอฮ์เถิด” (รายงานโดย อิหม่าม มุสลิม)
.
ในที่นี้ คำสั่งให้เชือดสัตว์พลีอื่นแทนการเชือดกุรบ่านในช่วงเวลาที่เลยกำหนดเพื่อชี้ให้เห็นว่ากฎเกณฑ์ขั้นต่ำสุดคือเป็นสิ่งบังคับ
.
ทรรศนะที่มีน้ำหนักกว่าคือทรรศนะที่กล่าวว่าการเชือดกุรบ่านนั้นเป็นสุนนะฮฺที่ส่งเสริมให้กระทำอย่างยิ่ง ดังนั้นใครก็ตามที่สามารถจะปฏิบัติแต่ไม่ปฏิบัติมันจะขัดแย้งกับแนวทางของนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม แม้ว่ามันจะไม่เป็นข้อบังคับก็ตาม สำหรับอบู บักรฺและท่านอุมัรได้งดเว้นการเชือดพลีถือว่าเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นข้อบังคับ เป็นที่ทราบกันดีว่าการปฏิบัติของพวกเขานั้นมีความเห็นพ้องต้องกันอย่างเป็นเอกฉันท์และทรรศนะของพวกเขานั้นเป็นแหล่งอ้างอิงหลักฐานสำหรับอุลามาอ์(ผู้รู้)ส่วนใหญ่ …
.
สำหรับการบริจาคไปยังพื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัติ ย่อมเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ที่มีความสามารถ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัตินั้นมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการบริจาค เรื่องนี้ถูกวางอยู่ในหะดีษที่รายงานโดยท่านหญิง อาอิชะฮฺ (รดิยัลลอฮุ อันฮา) ว่า ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “แท้จริงมีสิทธิหนึ่งจากทรัพย์สินนอกเหนือจากซะกาต” และท่านได้อ่านอายะฮฺอัล-กุรอานดังต่อไปนี้ “หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ต่อบรรดาคัมภีร์และนะบีทั้งหลาย และบริจาคทรัพย์ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้น แก่บรรดาญาติที่สนิทและบรรดาเด็กกำพร้า และแก่บรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และบรรดาผู้ที่มาขอและบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต และ(คุณธรรมนั้น) คือบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนไนความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน แลละขณะต่อสู่ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่พูดจริง และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรง” สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 177 (รายงานโดย อัต-ติรมีซียฺ)
.
การบริจาคเช่นนี้อาจเป็นเรื่องที่ส่งเสริมให้กระทำ เมื่อเขาไม่มีความสามารถพอหรือมีพื้นที่เกิดภัยพิบัติที่ไม่ได้รับความเสียหายร้ายแรงและเป็นอันตรายหรือมีคนอื่นที่เตรียมสิ่งที่ของบริจาคไว้แล้ว …
.
ซึ่งฉันคิดว่าทรรศนะที่มีน้ำหนักกว่าคือการเชือดสัตว์พลีเพื่อการบริจาคมีความเหมาะสมกว่าการมอบเงิน ในกรณีที่พื้นที่ที่ประสบกับภัยพิบัตินั้นมีความจำเป็นในเรื่องอาหาร เนื่องจากสิ่งนี้เป็นการรวมจุดประสงค์ 2 อย่างเข้าด้วยกัน คือการปฏิบัติตามคำสั่งของท่านนบีในการเชือดสัตว์พลีในฐานะหลักการกับการปฏิบัติเพื่อเติมเต็มความต้องการจากพื้นที่ประสบภัย
.
อย่างไรก็ตาม หากว่าพื้นที่ภัยพิบัตินั้นมีความจำเป็นสำหรับสิ่งอื่นนอกเหนือจากอาหาร ดังนั้นไม่นับว่าเป็นความเสียหายใด ๆ ที่จะมอบเงินเป็นค่าเชือดสัตว์พลีกับพวกเขา ซึ่งทรรศนะนี้แสดงให้เห็นว่าการเชือดสัตว์พลีนั้นไม่เป็นข้อบังคับแต่มันเป็นสุนนะฮฺที่ส่งเสริมให้กระทำ ตามทรรศนะที่มีน้ำหนักและในหลักการที่ว่าการปฏิบัติบนความจำเป็นของพื้นที่ภัยพิบัติในช่วงเวลาเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อบังคับ …
.
สุดท้าย มุสลิมควรจะมอบเงินบริจาคเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ตะอาลา เนื่องจากว่าสิ่งนี้จะเป็นการสนับสนุนในเรื่องความเป็นพี่น้อง เพราะจะเป็นการปกป้องและเพิ่มพูนทรัพย์สินของผู้บริจาค นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าทรัพย์สินของผู้บริจาคเพื่อประชาชาติอิสลามและเพื่อทำให้ได้รับรางวัลตอบแทนแก่ผู้บริจาคในวันแห่งการสอบสวน ….
.
.………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net