เนื้อสัตว์ที่ได้รับการเชือดโดยอะฮฺลุล กิตาบ (ชาวคัมภีร์)

ในคัมภีร์อัลกุรอานประเด็นนี้ได้รับการกล่าวถึงเพียงครั้งเดียว ดังต่อไปนี้ 
.
“วันนี้ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ทั้งหลาย และอาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นเป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้า และอาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา” (สูเราะฮฺที่ 5 อายะฮฺที่ 5)

จากโองการข้างต้นนี้ได้กล่าวไปยังชาวมุสลิมภายใต้บริบททางสังคมที่ชาวมุสลิม ชาวยิว และชาวคริสต์ต้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งในโองการนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญอยู่ 2 ประการ โดยประการแรกได้แก่ “อาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นเป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้า” และประการที่สอง “อาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา” 

เมื่อพิจารณาจากส่วนแรกของบทบัญญัติจะถือว่ามุสลิมได้รับอนุญาตให้บริโภคอาหารของชาวยิวและชาวคริสต์ได้ ตราบใดที่สิ่งเหล่านั้นไม่ไปละเมิดกับข้อความที่ได้รับการกล่าวไว้ในตอนต้นของโองการที่ว่า “วันนี้ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ทั้งหลาย” 
.
ทรรศนะของนักวิชาการอิสลามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอาหารของอะฮฺลุล กิตาบ (ชาวคัมภีร์) ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับอาหารฮาลาลและเป็นอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงกระบวนการเชือดสัตว์ที่เหมาะสม ซึ่งนักวิชาการเหล่านี้เชื่อว่าโองการดังต่อไปนี้จากคัมภีร์กุรอานได้ยืนยันถึงข้อกำหนดอันเคร่งครัดสำหรับการบริโภคอาหารของชาวมุสลิม
.
“และพวกเจ้าจงอย่าบริโภคจากสิ่งที่พระนามของอัลลอฮฺมิได้ถูกกล่าวไว้บนมัน และแท้จริงนั่นเป็นการฝ่าฝืน …” (สูเราะฮฺที่ 6 อายะฮฺที่ 121)

จากโองการข้างต้นนี้ได้กล่าวไปยังชาวมุสลิมภายใต้บริบททางสังคมที่ชาวมุสลิม ชาวยิว และชาวคริสต์ต้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ซึ่งในโองการนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญอยู่ 2 ประการ โดยประการแรกได้แก่ “อาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นเป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้า” และประการที่สอง “อาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา” 

อย่างไรก็ตาม ทรรศนะของนักวิชาการอิสลามบางท่าน เช่น อัล-เกาะเราะฎอวีย์มีความเห็นว่า ข้อกำหนดในโองการนี้ไม่ได้นำไปใช้ภายใต้บริบทอาหารของอะฮฺลุล กิตาบ นักวิชาการเหล่านี้มีทรรศนะว่าเนื้อจากสัตว์ฮาลาลที่จำหน่ายในประเทศตะวันตกนั้นเป็นที่ยอมรับสำหรับชาวมุสลิม โดยพวกเขาให้เหตุผลว่าพระนามของพระเจ้าในที่นี้อาจหมายถึงให้กล่าวในขณะรับประทานมากกว่าในขณะเชือด ซึ่งหน่วยงานที่กำกับดูแลในเรื่องประเทศนำเข้าอาหารฮาลาล หน่วยงานที่รับรองมาตรฐานฮาลาล หรือผู้บริโภคมุสลิมแต่ละหน่วยงานต่างก็สามารถยอมรับหรือปฏิเสธผลิตภัณฑ์ที่อยู่บนพื้นฐานของการให้เหตุผลตามทรรศนะนี้ได้ทั้งสิ้น 
.
สำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการถือปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กล่าวไว้ในอัลกุรอานในบทที่ 6 อายะฮฺ (โองการ) ที่ 121 นั้นถือว่าไม่มีอาหารชนิดใดของอะฮฺลุล กิตาบ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานอิสลาม นอกจากอาหารประเภทผักและปลาที่ไม่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือมีวัตถุเจือปนจากส่วนผสมใด ๆ ที่ต้องห้าม
.
ผู้ดำเนินการผลิตอาหารโคเชอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าชาวมุสลิมยอมรับอาหารโคเชอร์ว่าเป็นอาหารที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดและมาตรฐานฮาลาล แต่ในทางศาสนานั้นมุสลิมยังไม่ยอมรับการรับรองของโคเชอร์มาเป็นมาตรฐานแทนการรับรองฮาลาล แม้ว่าในอดีตอาจมีบางประเทศเคยอนุญาตก็ตาม

………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจากหนังสือ : Halal food production
โดย Mian N. Riaz, Muhammad M. Chaudry