ดุอาอฺเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องหรือเห็นฟ้าแลบ

ดุอาอฺเมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องหรือเห็นฟ้าแลบ ให้กล่าวตัสบีหฺ เช่น
سُبْحَانَ الَّذِيْ يُسَبِّحُ الرَّعْدُ بِحَمْدِهِ
وَ الْمَلاَئِكَةُ مِنْ خِيْفَتِـهِ
ซุบฮานัลละซี ยุซับบิหุรเราะอดฺ บิฮัมดิฮี วัลมะลาอิกะตุ มินคีฟะติฮี
“มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ผู้ซึ่งท้องฟ้าได้ร้องสดุดีด้วยการสรรเสริญแด่พระองค์ และมลาอิกะฮฺก็สดุดีด้วยความยำเกรงต่อพระองค์”

ผลิตภัณฑ์จากหมูอยู่รอบตัวเรา

“หิวขนมนิดๆ อยากกินหนมปังแซนด์วิช ซื้อกินระวังหยิบผิด ไม่ติดตราฮาลาล มะบอก ปะก็ห้าม จดจำอย่าหลงลืมกัน ถ้าไม่มีตราฮาลาล ซื้อกินกันได้ยังไง บะหมี่สำเสร็จรูป แซนด์วิช คุกกี้ ขนมปัง ตราฮาลาลมีไหม? ตรวจดูกันสักนิด ฮอตด็อก และพิซซ่า เป็นอาหารยอดฮิต ไก่วิ้งแซ่บเขาติด ติดตราฮาลาลบ้างมั้ย จำกันไว้สักนิด ฮา(ح) ลามอลีฟ(لا) ลาม(ل) ไง อ่านว่า ฮาลาล(حلال) จำไว้ มีตราติดกินได้ชัวร์

กุญแจไขริสกี

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

กุญแจสำคัญสำหรับไขริสกีและสาเหตุที่จะทำให้อัลลอฮฺทรงประทานริสกีลงมา คือ

การขออภัยโทษจากอัลลอฮฺและเตาบัต(ขอลุแก่โทษ)ต่อพระองค์จากบาปกรรมต่างๆ
1.อัลลอฮฺ ได้กล่าวเกี่ยวกับนบีนูฮฺอะลัยฮิสสะลามว่า
«فَقُلْتُ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ إِنَّهُ كَانَ غَفَّارًا، يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَارًا، وَيُمْدِدْكُمْ بِأَمْوَالٍ وَبَنِين، وَيَجْعَلْ لَكُمْ جَنَّاتٍ وَيَجْعَل لَّكُمْ أَنْهَارًا»
“ข้าพระองค์ได้กล่าวว่าพวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริงพระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่านและพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงทำให้มีสวนและลำน้ำมากมายแก่พวกท่าน” (ซูเราะฮฺ นูหฺ อายะฮฺ 10-12)
2. อัลลอฮฺ ได้ตรัส เกี่ยวกับนบีฮูดอะลัยฮิสสะลามว่า
«وَيَا قَوْمِ اسْتَغْفِرُواْ رَبَّكُمْ ثُمَّ تُوبُواْ إِلَيْهِ يُرْسِلِ السَّمَاء عَلَيْكُم مِّدْرَارًا وَيَزِدْكُمْ قُوَّةً إِلَى قُوَّتِكُمْ وَلاَ تَتَوَلَّوْاْ مُجْرِمِينَ»
“และโอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย จงขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่าน และจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะทรงส่งเมฆ (น้ำฝน) มาเหนือพวกท่านให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างมากมายและจะทรงเพิ่มพลังเป็นทวีคูณให้แก่พวกท่าน และพวกท่านอย่าผินหลัง (ให้แก่พระองค์) ในสภาพของผู้กระทำผิด” (ซูเราะฮฺ ฮูด อายะฮฺ 52)

ออกแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่
ควรที่จะรีบออกแสวงหาปัจจัยยังชีพในเวลาเช้าตรู่ เพราะท่านนบี ได้กล่าวความว่า
“โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอพระองค์โปรดประทานความจำเริญแก่ประชาชาติของฉัน ในเวลาเช้าตรู่ของพวกเขาด้วยเถิด” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อบูดาวูด หมายเลข 2606 เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2270 และอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1212 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 968)

มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ
1) อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า
«وَمَن يَتَّقِ اللهَ يَجْعَل لَّهُ مَخْرَجًا، وَيَرْزُقْهُ مِنْ حَيْثُ لاَ يَحْتَسِبُ»
“และผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงหาทางออกให้แก่เขาและจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาโดยที่เขามิได้คาดคิด” (ซูเราะห์ อัตเฎาะลาก อายะฮฺ 2-3)
2) อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า:
«وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاء وَالأَرْضِ، وَلَـكِن كَذَّبُواْ فَأَخَذْنَاهُم بِمَا كَانُواْ يَكْسِبُونَ»
“และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธา (ต่ออัลลอฮฺ) และมีความยำเกรง (ต่อพระองค์) แล้วไซร้ เราย่อมเปิดให้แก่พวกเขาซึ่งความจำเริญต่างๆจากฟากฟ้าและแผ่นดินอย่างแน่นอน แต่ทว่าพวกเขากลับปฏิเสธ ดังนั้น เราจึงได้ลงโทษพวกเขา เนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขากำลังแสวงหาอยู่” (ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ อายะฮฺ 96)

หลีกเลี่ยงและห่างไกลจากสิ่งที่เป็นบาปกรรม
อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า:
«ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعْضَ الَّذِي عَمِلُوا لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ»
“การบ่อนทำลายได้เกิดขึ้นทั้งบนบกและในน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำด้วยสองมือของพวกเขา เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาได้ลิ้มรสจากบางส่วนของสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้ เผื่อว่าพวกเขาตจะกลับเนื้อกลับตัว” (ซูเราะฮฺ อัรรูม อายะฮฺ 41)

มอบหมายกิจการต่างๆให้อยู่ภายใต้การดูแลของอัลลอฮฺ
หมายความว่า: จิตใจต้องเชื่อมั่นต่อผู้คอยดูแล (อัลลอฮฺ) และมอบหมายกิจการต่างๆให้อยู่ภายใต้การดูแลของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น พร้อมๆกับการแสวงหาริสกีด้วยร่างกาย
1) อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า:
«وَمَن يَتَوَكَّلْ عَلَى اللهِ فَهُوَ حَسْبُهُ إِنَّ اللهَ بَالِغُ أَمْرِهِ قَدْ جَعَلَ اللهُ لِكُلِّ شَيْءٍ قَدْرًا»
“และผู้ใดมอบหมาย (กิจการของเขา) แด่อัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงเป็นผู้พอเพียงแก่เขา แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงบรรลุในกิจการของพระองค์โดยแน่นอน สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอัลลอฮฺทรงกำหนดกฎสภาวะไว้แล้ว” (ซูเราะฮฺ อัตเฏาะลาก อายะฮฺ 3)
2) จาก อุมัร บิน อัลค็อตฎอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า:
«لَوْ أَنَّكُمْ تَوَكَّلْتُمْ عَلَى اللهِ حَقَّ تَوَكُّلِهِ لَرَزَقَكُمْ كَمَا يَرْزُقُ الطَّيْرَ تَغْدُو خِمَاصًا وَتَرُوحُ بِطَانًا»
“ถ้าหากพวกเจ้าได้มอบหมาย (กิจการต่างๆของพวกเจ้า) แด่อัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้ว แน่นอนพระองค์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า เสมือนกับที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่นก โดยที่มันบินออกไปในยามเช้า ด้วยท้องที่ว่างเปล่า
และบินกลับมาในตอนเย็นด้วยท้องที่อิ่มเอม” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อัลติรมีซีย์ หมายเลข 2344 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมีซีย์ หมายเลข 1911 และอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 4164 และสำนวนเป็นของท่าน เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ เลขที่ 3359)

‍อุทิศเวลาเพื่อทำอีบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺฮฺ
หมายความว่า: ขณะที่ทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ จิตใจต้องนิ่งไม่วอกแวก (ไปคิดถึงสิ่งอื่น) ต้องมีสมาธิรำลึกถึงอัลลอฮฺ และต้องนอบน้อมถ่อมตนต่ออัลลอฮฺเท่านั้น.
รายงานจากมะกิล บิน ยะสาร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า:
«يَقُولُ رَبُّكُمْ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: يَا ابْنَ آدَمَ تَفَرَّغْ لِعِبَادَتِي أَمْلأْ صَدْرَكَ غِنًى، وَأَمْلأْ يَدَيْكَ رِزْقًا، يَا ابْنَ آدَمَ لاَ تَبَاعَدْ مِنِّي فَأَمْلأْ قَلْبَكَ فَقْرًا وَأَمْلأْ يَدَيْكَ شُغْلاً» أخرجه الحاكم

“พระผู้อภิบาลผู้ทรงสูงส่งของพวกเจ้าได้ตรัสว่า: โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย เจ้าจงอุทิศเวลาเพื่อทำอิบาดะฮฺต่อฉัน แล้วฉันจะทำให้หัวใจของเจ้าเต็มอิ่มด้วยความร่ำรวย (รู้สึกพอ) และทำให้มือของสูเจ้าเต็มไปด้วยปัจจัยยังชีพ โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย จงอย่าได้ออกห่างจากฉัน มิเช่นนั้นฉันจะทำให้หัวใจของสูเจ้าเต็มไปด้วยความยากจน และมือของสูเจ้าเต็มไปด้วยการงาน” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อัลหากิม หมายเลข 7926 ดู อัล-สิลสิละฮฺ อัล-เศาะหีหะฮฺ หมายเลข 1359)

ทำฮัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่อง
มีรายงานจากท่านอับดุลเลาะฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า: ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า:
تَابِعُوا بَيْنَ الْحَجِّ وَالْعُمْرَةِ فَإِنَّهُمَا يَنْفِيَانِ الْفَقْرَ وَالذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الْكِيرُ خَبَثَ الْحَدِيدِ وَالذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ، وَلَيْسَ لِلْحَجَّةِ الْمَبْرُورَةِ ثَوَابٌ إِلاَّ الْجَنَّةُ. أخرجه الترمذي والنسائي
“จงกระทำระหว่างฮัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่อง เพราะแท้จริงแล้วทั้งสองสิ่งนั้นจะช่วยสลัดความยากจนและบาปกรรมออกไปเสมือนกับที่เครื่องสูบลมของช่างตีเหล็กช่วยสลัดตะกอนออกจาก (แร่) เหล็ก ทอง และเงินและสำหรับฮัจญ์ที่มับรูร (ที่ถูกตอบรับโดยอัลลอฮฺ) ไม่มีการตอบแทนใดที่คู่ควรนอกจากสวนสวรรค์” (หะดีษ หะสัน รายงานโดย อัลติรมีซีย์ หมายเลข 810 และสำนวนเป็นของท่าน เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมีซีย์ หมายเลข 650 และอัลนะสาอีย์ หมายเลข 2631 เศาะฮีหฺสุนันอัลนาสาอีย์ หมายเลข 2468)

ใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ
1) อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ว่า:
«وَمَا أَنْفَقْتُم مِّن شَيْءٍ فَهُوَ يُخْلِفُهُ وَهُوَ خَيْرُ الرَّازِقِينَ»
“และสิ่งใดก็ตามที่พวกเจ้าได้บริจาคไป พระองค์จะทรงทดแทนมัน และพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ดีเลิศแห่งบรรดาผู้ประทานปัจจัยยังชีพ” (ซูเราะฮฺ สะบะอฺ อายะฮฺ 39)
2)รายงาน จากท่าน อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านนบี ได้กล่าวว่า:
«قَالَ اللهُ تَبَارَكَ وَتَعَالَى: يَا ابْنَ آدَمَ أَنْفِقْ أُنْفِقْ عَلَيْكَ»
อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า: “โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย พวกเจ้าจงใช้จ่าย (ในหนทางของอัลลอฮฺจากสิ่งที่พระองค์ทรงถูกประทานให้)
แล้วฉันจะใช้จ่าย (ประทานเพิ่ม) ให้แก่พวกเจ้า” (รายงานโดย มุสลิม หมายเลข 993 และอัลบุคอรีย์ หมายเลข 4933 – ผู้แปล)

ใช้จ่ายแก่ผู้ที่อุทิศเวลาเพื่อศึกษาหาความรู้ศาสนา
รายงานจากท่าน อนัส บินมาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า: ได้มีพี่น้องสองคนในสมัยของท่านรอซูล ซึ่งคนหนึ่ง (ไม่ได้ทำงานแต่) จะไปหาท่านนบี (เพื่อศึกษาศาสนา) และอีกคนหนึ่งจะออกไปทำงาน ดังนั้นคนที่ออกไปทำงานจึงร้องเรียนต่อท่านบี เกี่ยวกับพี่น้องของเขา (ว่าเอาเปรียบเขา) ท่านนบีจึงได้กล่าวแก่เขาว่า
«لَعَلَّكَ تُرْزَقُ بِهِ»
“บางที ท่านอาจได้รับการประทานริสกีโดยผ่าน (กิจการของ) เขาก็ได้” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดย อัตติรมีซีย์ หมายเลข 2345 เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1912)

เชื่อมสัมพันธ์กับเครือญาติ
นั่นคือพยายามหยิบยื่นความดีต่างๆที่สามารถจะกระทำได้แก่ญาติพี่น้อง และช่วยปกป้องพวกเขาจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ พร้อมทั้งปฏิบัติดีต่อพวกเขาเหล่านั้น
รายงานจากท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านได้กล่าวว่า “ฉันได้ฟังท่านรอซูล กล่าวว่า
«مَنْ سَرَّهُ أَنْ يُبْسَطَ لَهُ فِي رِزْقِهِ، أَوْ يُنْسَأَ لَهُ فِي أَثَرِهِ فَلْيَصِلْ رَحِمَهُ»
“ผู้ใดพอใจที่จะให้ริสกีของเขาแผ่กว้างและเพิ่มพูน หรือพอใจที่จะให้ร่องรอย(แห่งผลจากความดี)ของเขาถูกบันทึกไว้เขาก็จงเชื่อมความสัมพันธ์กับเครือญาติของเขา” (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2067 และสำนวนเป็นของท่าน และมุสลิม หมายเลข 2557)

การให้เกียรติแก่คนอ่อนแอและกระทำดีต่อพวกเขา
1-รายงานจากมุศอับ บิน สะอัด กล่าวว่า
“สะอัดเห็นว่า ตนมีความประเสริฐกว่าเศาะหาบะฮฺท่านอื่นๆที่อ่อนแอกว่า (เพราะตนแข็งแรงกว่า เพราะฉะนั้น ตนจึงควรจะได้รับการแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้จากการสงครามมากกว่าพวกเขา) ท่านนบี จึงกล่าวว่า
«هَلْ تُنْصَرُونَ وَتُرْزَقُونَ إِلاَّ بِضُعَفَائِكُمْ»
“ไม่ใช่เพราะผู้ที่อ่อนแอจากหมู่พวกท่านดอกหรือ ! พวกท่านจึงได้รับความช่วยเหลือ (ชัยชนะ) และได้รับการประทานปัจจัยยังชีพ (ที่มากมาย)? (รายงานโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2896)
2-และในสำนวนอื่น ท่านนบี
«إِنَّمَا يَنْصُرُ اللهُ هَذِهِ الأُمَّةَ بِضَعِيفِهَا؛ بِدَعْوَتِهِمْ وَصَلاَتِهِمْ وَإِخْلاَصِهِمْ»
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานความช่วยเหลือแก่ประชาชาตินี้ด้วยผู้ที่อ่อนแอในหมู่พวกเขา ด้วยคำวิงวอนของพวกเขา การละหมาดของพวกเขา และความบริสุทธิ์ใจของพวกเขา” (หะดีษ เศาะฮีหฺ รายงานโดยอันนะซาอีย์ หมายเลข 3178 เศาะฮีหฺสุนันอันนะซาอีย์ หมายเลข 2978)

การอพยพในหนทางของอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า
«وَمَن يُهَاجِرْ فِي سَبِيلِ اللهِ يَجِدْ فِي الأَرْضِ مُرَاغَمًا كَثِيرًا وَسَعَةً وَمَن يَخْرُجْ مِن بَيْتِهِ مُهَاجِرًا إِلَى اللهِ وَرَسُولِهِ ثُمَّ يُدْرِكْهُ الْمَوْتُ فَقَدْ وَقَعَ أَجْرُهُ عَلى اللهِ وَكَانَ اللهُ غَفُورًا رَّحِيمًا»
“และผู้ใดที่อพยพในหนทางของอัลลอฮฺ เขาก็จะพบว่าในพื้นดินนี้มีสถานที่หลบภัยมากมายและกว้างไกล และผู้ใดที่ออกจากบ้านของเขาไปในฐานะผู้อพยพไปยังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ แล้วความตายก็มาถึงเขา แน่นอนรางวัลของเขานั้นย่อมปรากฏอยู่แล้ว ณ อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (อันนิสาอฺ อายะห์ 100)


ผู้แปล : อิสมาน จารง
ขอขอบคุณที่มา Islam House

ความประเสริฐของค่ำคืนลัยลุตุ้ลกอดรฺ

“ผู้หนึ่งผู้ใดที่เขาทำการละหมาดในคืนที่เป็นลัยละตุ้ลกอดรฺด้วยความศรัทธาและหวังในผลานิสงค์ของมัน ความผิดบาปของเขาที่ผ่านมาจะถูกลบล้างออกไป”

[ บันทึกโดย บุคอรีย์ ]

ท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “ความปลอดภัยของคนผู้หนึ่งในช่วงฟิตนะห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโรคระบาด) คือการที่เขากักตัวอยู่ในบ้าน”

-เศาะฮีห์ อัล-ญามิอฺ อัศ-เศาะฆีร หมายเลข 3649-

จำเป็นที่จะต้องอยู่บ้านให้มากเท่าที่จะทำได้และอย่าได้ออกไปปะปนกับผู้คนนอกบ้านโดยไม่จำเป็น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและปกป้องตัวเองจากการรับเชื้อโรคที่กำลังระบาดอย่างไวรัสโคโรนา โควิด-19 ที่อาจจะมีอยู่ตามตัวของคนแม้จะไม่ได้ลอยอยู่ในอากาศทั่วไป รวมถึงโรคติดต่ออื่น ๆ

………………………………………………………..
cr. คู่มือเผิชญโรคระบาด
คำแนะนำเนื่องในวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โดย รศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา

ประตูสวรรค์เปิด ประตูนรกปิด

จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

“เมื่อใดที่เราะมะฎอนมาถึง ประตูทั้งหลายของสวรรค์จะถูกเปิดอ้า(อย่างกว้างขวาง) ประตูทั้งหลายของนรกจะถูกปิดตรึง และเหล่าชัยฏอนจะถูกมัดไว้”(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม สำนวนหะดีษเป็นของมุสลิม)

คำอธิบายหะดีษ

การเยือนมาของเดือนเราะมะฎอนนั้นเป็นสัญญาณแห่งความดีงามแก่ผู้ที่มีความศรัทธา ด้วยความเมตตาและความโปรดปรานของอัลลอฮฺ สุบหานะฮูวะตะอาลา พระองค์จึงได้ทรงเปิดบรรดาประตูสวรรค์เสมือนว่าพระองค์ทรงต้อนรับบ่าวที่มีความศรัทธาและมีความภักดีต่อพระองค์ และยินยอมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งทุกอย่างของพระองค์ แม้ว่าจำต้องอดอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนลดความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำ โดยหวังในผลตอบแทนและผลบุญจากพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น

ในเวลาเดียวกันอัลลอฮฺทรงปิดบรรดาประตูนรก เสมือนว่าได้แจ้งให้ทราบว่านรกนั้นมิใช่เป็นสถานที่สำหรับพวกเขา อัลลอฮฺยังทรงล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายที่มีบทบาทสำคัญในสิ่งที่ชั่วร้ายต่อมนุษย์ เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายสามารถปฏิบัติภารกิจและประกอบอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ อย่างอิสระและสมบูรณ์ปราศจากการรบกวนของชัยฏอนมารร้าย

บทเรียนจากหะดีษ
1. เราะมะฎอนเป็นเดือนอันประเสริฐยิ่งกว่าเดือนอื่นๆ
2. ในเดือนเราะมะฎอนอัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปรานอย่างกว้างขวางด้วยการเปิดบรรดาประตูสวรรค์ และทรงปิดบรรดาประตูนรก ขณะเดียวกันอัลลอฮฺยังทรงล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายเพราะว่าอัลลอฮฺได้ให้เกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาที่ภักดีต่อพระองค์
3. เราะมะฎอนเป็นเดือนที่เปี่ยมล้นไปด้วยความโปรดปรานและเป็นฤดูแห่งความดีงาม
4. ส่งเสริมให้มีการประกอบความดีในเดือนเราะมะฎอนมากกว่าเดือนอื่นๆ ด้วยเหตุนี้เองพระองค์จึงเปิดบรรดาประตูสวรรค์และทรงปิดบรรดาประตูนรก
5. ผู้ใดที่ไม่สามารถสนองรับความดีงามในเดือนเราะมะฎอนแล้วนั่นก็หมายความว่า เขาผู้นั้นถูกกีดกั้นจากความดีงามอันมากมาย
6. พระองค์ได้ล่ามโซ่บรรดาชัยฏอนมารร้ายไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายสามารถประกอบอะมัลอิบาดะฮฺในเดือนเราะมะฎอนอย่างเต็มความสามารถ และอิสระจากการรบกวนของชัยฏอนมารร้ายทั้งหลาย
7. หากบุคคลนั้นยังคงกระทำความชั่วหรือมะศิยะฮฺในเดือนเราะมะฎอนแล้ว นั่นหมายความว่า ความชั่วนั้นมาจากตัวของเขาเอง

……………………………………………………………………………
Cr. islam more.com

ท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า : การทำดีต่อเพื่อนมนุษย์ สามารถปกป้องจากการจู่โจมของสิ่งที่เลวร้าย โรคภัยทั้งหลายและวิบัติภัยต่าง ๆ

(อัต-ติรมิซีย์ 3549 ดู เศาะฮีห์ อัลญามิอ์ อัศเศาะฆีร 4079)