สบู่ดิน ประกอบด้วย ดินขาวหรือคาโลอลิน (มีหน้าที่ช่วยในการขัดถู ในสบู่ทั่วไปไม่มี) น้ำปราศจากอิออน กลุ่มเลือ 4 ชนิดจากดิน กลุ่มสารอนุพันธุ์ 3 ชนิดจากพืช ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ใช้ไขมันเช่นสบู่ดินทั่วไป
.
ซึ่งดินขาวในสบู่ดิน จะช่วยเสริมประสิทธิภาพร่วมกันกับสารลดแรงตึงผิวในการทำลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส
.
สารลดแรงตึงผิวในสบู่ดินประกอบด้วย
1.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (Sodium laureate sulfate) ช่วยชะล้างสิ่งสกปรกจำพวกไขมันและทำลายโปรตีนที่ผนังเซลล์
2. สารลดแรงตึงผิวทั้งประจุลบและบวก (Cocamidopropyl betaine) ช่วยทำลายโปรตีนที่ผนังเซลล์
3. สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ (Cocamide DEA) ช่วยทำลายโปรตีนที่ผนังเซล
ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สามารถอุปโภคหรือบริโภคได้หรือไม่ ?
การใช้แอลกอฮอลล์เพื่อผลิตอาหารและยา แบ่งเป็น 3 กรณี
1. หากนำแอลกอฮอที่มาจากการหมักดบียร์ ไวน์ หรือเหล้า มาใช้ในในกรผลิตอาหารถึงแอลกอฮอล์จะระเหยหมด ก็ถือว่าต้องห้าม
2. แอลกอฮอล์ที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำผลไม้ เครื่องปรุงต่างๆ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องมีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1%
3. แอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นตัวทำละลายทั้งอาหารและยา เช่น ตัวทำละลายสี กลิ่น รส เมื่อเติมในผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์สุดท้ายต้องไม่เกิน 0.5%
“จากคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 03/2554 ได้กล่าวในที่ประชุมนิติศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 8 ขององค์กรอิสลามเพื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จัดขึ้น ณ ประเทศคูเวต ระหว่างวันที่ 22-24/5/ค.ศ.1995 มีแถลงการณ์ว่า “แอลกอฮอล์มิใช่นะญิสตามหลักศาสนบัญญัติ บนหลักการที่ว่า แท้จริงหลักเดิมของสิ่งต่างๆ นั้นถือว่าสะอาดไม่ว่าจะเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ หรือถูกเจือจางด้วยน้ำก็ตาม เป็นการให้น้ำหนักแก่ทัศนะที่ว่า ความเป็นนะญิสของสุราและวัตถุออกฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมาอื่นๆนั้นเป็นนะญิสในเชิงนามธรรม มิใช่เป็นนะญิสในเชิงรูปธรรม เพราะถือว่าสุราเป็นความสกปรกโสมมจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นจึงไม่ถือเป็นข้อห้ามที่เป็นบาปตามหลักศาสนบัญญัติในการใช้แอลกอฮอล์ทางการแพทย์ เช่น ทำความสะอาดผิวหนัง บาดแผล อุปกรณ์ เวชภัณฑ์และฆ่าเชื้อโรค หรือใช้เป็นเครื่องหอม ซึ่งแอลกอฮอล์จะถูกนำไปใช้เป็นตัวทำละลายวัตถุจำพวกน้ำหอมที่มีสารแขวนลอย”
อาหาร Halal คืออะไรกันแน่ ?
อาหารที่ปลอดภัยมีเครื่องหมายฮาลาล
รับประกันได้เลยว่าเป็นอาหารที่สะอาดปลอดภัยสุดๆ
เพราะกว่าจะมาเป็นอาหารฮาลาลที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพจะต้องผ่านกรรมวิธีตามศาสนบัญญัติตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด
ต้องไม่มีสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด
หน้าที่ของผู้ผลิตอาหารฮาลาล
ตามศาสนบัญญัติแบ่งเป็น 2 แบบ
1. หน้าที่ผู้เชือด
– ต้องนับถือศาสนาอิสลาม
– สัตว์ที่จะเชือดนั้น
ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ตามหลักศาสนาอิสลาม
– ต้องไม่ปะปนสัตว์ที่จะเชือดกับสัตว์ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง
– ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด
ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม
– ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า
ขณะเริ่มการเชือด
– สัตว์ต้องตายด้วยการเชือดเท่านั้นและการเชือดหลอดลม
หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูก
เชือด
ต้องขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง
2. หน้าที่ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต
– รักษาอุปกรณ์ในการผลิตให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติและไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้าม
– วัตถุดิบหลักในการผลิตตลอดจนเครื่องปรุงอื่น
ๆ ต้องระบุแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ว่าเป็น “ฮาลาล”
– วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง
ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ
– ในระหว่างการขนย้าย
ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาล ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้าม
ตามศาสนบัญญัติ
เห็นได้ว่ากฏระเบียบที่เคร่งครัดนี้แหละทำให้อาหารฮาลาลเป็น
ที่ยอมรับในเรื่องความสะอาดปลอดภัย
เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากอาหารที่ได้จากเนื้อสัตว์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความแตกต่างกัน เนื่องมาจากการที่สิ่งมีชีวิตมีสายพันธุกรรมที่เรียกว่าดีเอ็นเอแตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างของดีเอ็นเอในที่นี้หมายถึง ชนิดและการเรียงตัวลำดับเบส รวมทั้งความยาวของดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่างและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถใช้ความแตกต่างนี้ เป็นตัวแยกสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ออกจากกันได้
การจำแนกสปีชีส์ของเนื้อสัตว์จากอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์นั้นได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากกระบวนการผลิตอาหารปัจจุบันมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกรณีของเนื้อสัตว์มักมีปัญหาที่ซับซ้อนกว่าอาหารฮาลาลกลุ่มอื่นๆ เพราะมักเกิดเหตุการณ์เนื้อฮาลาลสัมผัสกับเนื้อไม่ฮาลาลอยู่เสมอ หรือการติดฉลากที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ที่สำคัญที่สุดคือการวิเคราะห์การวิเคราะห์การปนเปื้อนจากเนื้อสุกร ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามทางศาสนาและมีโอกาสปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุด
ดังนั้น วิธีการตรวจวิเคราะห์จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เริ่มแรกจะใช้เทคนิคทางภูมิคุ้มกันวิทยา ซึ่งสามารถตรวจวิเคราะห์อาหารดิบที่ยังไม่ผ่านการปรุง ได้แก่ ELISA (Enzyme-Linked Immunosorbent Assay) สามารถตรวจวิเคราะห์เนื้อสุกรปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารได้ แต่ความไวจะลดต่ำลงสำหรับอาหารที่ปรุงสุกหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเนื่องจากโปรตีนถูกทำลาย
ต่อมาได้มีการพัฒนาใช้ดีเอ็นเอเป็นแหล่งตรวจวัด โดยเริ่มแรกใช้เทคนิค DNA hybridization เทคนิคนี้เป็นการค้นหาดีเอ็นเอต้นแบบที่ต้องการจากกลุ่มลำดับเบสที่แตกต่างกันจำนวนมาก โดยใช้ดีเอ็นเอสายเดี่ยวที่ถูกติดฉลากด้วยสารรังสีหรือสารเรื่องแสงเพื่อเป็นโพรบ (Prob) จับคู่กับดีเอ็นเอต้นแบบที่ติดอยู่บนเมมเบรน ด้วยวิธี Slot blot หรือ Dot blot ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมสามารถตรวจวัดในเชิงปริมาณ โดยวัดได้จากความเข้มข้นของสัญญาณที่ติดฉลากซึ่งยังอาจไม่นิยมใช้กันมากนักเนื่องจากใช้เวลานานในการติดฉลากโพรบ
และต่อมาจึงมีการพัฒนามาใช้วิธีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอโดยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (Polymerase Chain Reaction หรือ PCR) ซึ่งมีความรวดเร็วกว่า และใช้ปริมาณสารตัวอย่างตั้งต้นเพียงเล็กน้อยมีความจำเพาะและมีความไวในการตรวจสูง เทคนิค PCR นี้เป็นเทคนิคที่ใช้เพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่สนใจมีอยู่น้อยให้สามารถตรวจวัดได้
หลักการพื้นฐานของ PCR จะให้โอลิโกนิวคลีโอไทด์ไพรเมอร์ (Oligonucleotide primers) หรือดีเอ็นเอสายสั้นๆ ของลำดับเบสคู่สมกันลายสาย DNA แม่แบบ ในการสร้างดีเอ็นเอสายใหม่, เอนไซม์ดีเอ็นเอโพลิเมอเรส (DNA Polymerase) และอุณหภูมิที่ทำให้ดีเอ็นเอแยกจากกันหรือจับคู่กันใหม่ ซึ่งปฏิกิริยา PCR ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 Denaturation เป็นการแยกสายดีเอ็นเอต้นแบบจากสภาพที่เป็นสายคู่ให้เป็นดีเอ็นเอสายเดี่ยวโดยใช้อุณหภูมิ 92-95 °C
ขั้นที่ 2 Annealing เป็นขั้นตอนที่ทำให้โอลิโกนิวคลีโอไทด์ไพรเมอร์ที่มีลำดับเบสเป็นคู่สมกับดีเอ็นเอที่เป็นต้นแบบจับคู่กัน ซึ่งนิยม ใช้อุณหภูมิในช่วง 50-60 °C
ขั้นที่ 3 Extension เป็นขั้นตอนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายใหม่ โดยการสังเคราะห์ต่อจากส่วยปลาย 3’ ของไพรเมอร์ โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ดีเอ็นเอโพลิเมอร์เรส (DNA polymerase) ซึ่งเอนไซม์นี้สามารถทำงานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 72-75 °C
โดยจะทำการหมุนต่อเนื่องกันไปตั้งแต่ขั้นที่ 1-3 เป็นรอบๆ ทั้งหมด 30-50 รอบ ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมของแต่ละขั้นตอนเมื่อเสร็จสิ้นสิ้นปฏิกิริยาจะเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอเป้าหมาย ได้เป็นจำนวนล้านเท่า สามารถตรวจสอบผลผลิตของดีเอ็นเอได้ จากการนำดีเอ็นเคลื่อนผ่านกระแสไฟฟ้าบนแผ่นวุ้น (Gelelectrophoresis) และนำมาย้อมดีเอ็นเอด้วยเอธิเดียมโบรไมด์เพื่อตรวจ วิเคราะห์แถบดีเอ็นเอ โดยผ่านเครื่องฉายแสงยูวี (UV transiluminator) ต่อไป (ปฏิกิริยา PCR แสดงดังรูป)
Meyer R. และคณะได้ใช้เทคนิค PCR ในการตรวจวัดดีเอ็นเอจากเนื้อสุกร พบว่าสามารถตรวจวัดเนื้อสุกรผสมเนื้อวัวทั้งที่เป็นเนื้อดิบ และเนื้อที่ผ่านความร้อนที่ความเข้มข้นต่ำถึง 2 เปอร์เซนต์ในขณะที่ชุดตรวจด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)ไม่สามารถตรวจวัดเนื้อที่ผ่านการปรุงสุกที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 20เปอร์เซนต์ และเนื้อดิบที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 10 เปอร์เซนต์ได้ Rodriguez และคณะใช้ PCR ในตรวจวิเคราะห์ เนื้อสุกร เนื้อวัวเนื้อแพะ และเนื้อแกะ สำหรับเนื้อดิบและเนื้อที่ผ่านการปรุงสุกในรูปเนื้อผสม สามารถตรวจวัดเนื้อผสมที่ขีดจำกัดต่ำสุด (detectionlimit) ที่ 1 เปอร์เซนต์
การตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิค PCR เป็นเทคนิคที่นิยมใช้ในการตรวจวัดเนื้อสุกรปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆด้วย รวมทั้งใช้จำแนกสปีชีส์ของเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ในอาหาร สามารถวิเคราะห์เนื้อสัตว์ทั้งที่เป็นเนื้อดิบ และเนื้อที่ผ่านการปรุงสุกมาแล้ว ซึ่งใช้ปริมาณตัวอย่างเพียงเล็กน้อย มีความรวดเร็ว มีความไว และความจำเพาะสูงอีกทั้งยังสามารถตรวจวัดในเชิงปริมาณที่เรียกว่าเทคนิค Real-Time PCR ได้อีกด้วย
…………………………………………………………………….
แหล่งที่มาศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ดีเอ็นเอ และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ : ดีเอ็นเอจากอาหารที่ได้จากสัตว์.Halal Insigh เล่ม 3.มกราคม-มีนาคม 2551
หรืออ่านจากนี้ได้เลยครับhttp://www.halalscience.org/uploadfiles/halal_insight-edit.pdf%20vol3-DNA.pdf