“การขายอาหารในช่วงกลางวันในเดือนเราะมะฎอนเป็นที่อนุญาตหรือไม่”

:: คำถาม ::
การขายอาหารในช่วงกลางวันของเดือนเราะมะฎอนเป็นที่อนุญาตหรือไม่?

:: คำตอบ ::
เราวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลในเดือนอันประเสริฐนี้ ตอบรับการประกอบอิบาดะฮฺของเราและให้อภัยเราในช่วงท้ายของเดือนเราะมะฎอน

สำหรับหลักนิติธรรมของอิสลามแล้วมันเป็นที่อนุมัติที่จะขายอาหารในช่วงกลางวันในเดือนเราะมะฎอน ท่านทราบดีว่าอาหารจะต้องมีพร้อมก่อนช่วงเวลาตะวันตกดินเพราะผู้ที่กำลังถือศีลอดจำเป็นที่จะต้องตระเตรียมอาหารสำหรับละศีลอดก่อนตะวันตกดิน เช่นเดียวกันอาจมีคนที่ไม่ได้ถือศีลอด (เช่น คนป่วย ผู้หญิงที่มีประจำเดือน หรือคนที่ไม่ใช่มุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศมุสลิม) เพราะฉะนั้นอาหารจะต้องมีสำหรับคนเหล่านี้

ดร. มุนซิร กะฮฺฟฺ นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษาที่มีชื่อเสียงจะตอบคำถามให้กับท่าน

แน่นอนว่า มันเป็นที่อนุญาตที่จะขายอาหารในเดือนเราะมะฎอน ผู้ที่ถือศีลอดทุกคนไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารเพื่อรับประทานช่วงละศีลอดกระนั้นหรือ? 

สิ่งทั้งหลายที่เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับผู้ถือศีลอด ซึ่งจะทำให้สูญเสียการถือศีลอดไม่ว่าจะเป็นการรับประทาน ดื่ม หรือมีเพศสัมพันธ์กับคู่สมรสในช่วงการถือศีลอด คนขายอาหารจะต้องไม่อนุญาตให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสถานที่ของตนเอง

สำหรับคนที่ไม่สามารถถือศีลอด (เช่น คนป่วย คนเดินทาง หรือสตรีที่มีประจำเดือน หรือเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) พวกเขาจะต้องได้รับการชี้แนะที่จะหลีกเลี่ยงในการรับประทานหรือดื่มในที่สาธารณะ นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมร้านอาหารในประเทศมุสลิมได้รับการชี้แนะให้ปิดหรือไม่ก็รับประทานในพื้นที่ห่างไกลจากสายตาของผู้คน

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net

“การเก็บเนื้อกุรบาน (อุฎฮิยะฮ์) เป็นเวลานานเป็นสิ่งที่อนุมัติหรือไม่”

:: คำถาม ::
อัสสะลามุอะลัยกุม การเก็บเนื้อกุรบาน (อุฎฮิยะฮ์)จนเลยช่วงอีดไปเป็นสิ่งที่อนุมัติหรือไม่ หรือกล่าวในอีกแง่หนึ่งคือถูกต้องหรือไม่ในทรรศนะของอิสลามการที่คนหนึ่งเก็บเนื้อกุรบานไว้เกินกว่าสามวัน

:: คำตอบ ::
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณา
มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ขอความสันติและความเมตตาจงมีแด่ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)

น้องสาวในอิสลาม ประการแรกเรายินดีที่จะกล่าวว่าเราประทับใจยิ่งกับคำถามของท่าน ซึ่งเกิดจากใจอันบริสุทธิ์ ขออัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่โปรดช่วยเหลือพวกเราให้ยึดมั่นอยู่ในหลักการอิสลาม และได้ให้พวกเราอยู่ร่วมกับกลุ่มชนชาวสวรรค์ในวันโลกหน้า อามีน

นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอนุญาตให้เก็บเนื้อกุรบาน (อุฎฮียะฮฺ) เกินกว่าสามวัน

ในการตอบคำถามของท่าน ดร.ฮุซาม อัดดีน อิบนุมูซา อะอ์ฟานา ศาสตราจารย์ด้านอุศูลุลฟิกฮ์จากมหาวิทยาลัยอัลกุดส์ ประเทศปาเลสไตน์กล่าวไว้ดังนี้

เป็นที่รับรู้ว่าตามหะดีษเศาะฮีฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ห้ามมุสลิมมิให้เก็บเนื้ออุฎฮียะฮฺ แต่ต่อมาท่าน (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้อนุญาตให้เก็บได้ นั่นหมายความว่าการห้ามเก็บเนื้ออุฎฮียะฮฺถูกยกเลิกไป นี่เป็นความเข้าใจของนักวิชาการส่วนใหญ่

ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษที่เกี่ยวกับประเด็นนี้
1- อับดุลลอฮฺ อิบนุอบีบักร์รายงานจาก อับดุลลอฮฺ อิบนุวากิดซึ่งเล่าว่าท่านเราะสูล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้ห้ามการรับประทาน (เก็บ) เนื้อกุรบานเกินสามวัน อับดุลลอฮฺ อิบนุอบีบักร์กล่าวว่า “ฉันเอ่ยเรื่องนี้ให้แก่อัมเราะฮฺ ซึ่งนางกล่าวว่า “เขา (อับดุลลอฮฺ อิบนุวากิด) พูดความจริง ฉันเคยได้ยินอาอิฉะฮ์มารดาแห่งศรัทธาชนกล่าวว่า “ในสมัยท่านนบี (ยังมีชีวิต) ได้มีอาหรับทะลทรายที่ยากจนค่อยๆเดินมุ่งไปยังที่เชือดกุรบานในช่วงอีดอัฎฮา ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าว “จงเก็บเนื้อเป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้นส่วนที่เหลือจงแจกจ่ายเพื่อเป็นเศาะดาเกาะฮฺ” เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งบรรดาเศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่า “โอ้ท่านเราะสูล มีคนจำนวนมากได้ทำถุงน้ำใส่น้ำและชำแหละเอาไขมันของมันไป” ท่านนบีจึงถามว่า “ทำไมกัน” พวกเขากล่าวว่า “ท่านห้ามกินเนื้อสัตว์กุรบานเกินสามวัน” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ก่อนหน้านี้ที่ฉันห้ามพวกท่านเพราะอาหรับทะเลทรายจำเป็นต้องได้รับบริโภคมัน แต่ตอนนี้พวกท่านจงกิน จงเก็บไว้และจงแจกจ่าย (บริจาค)” (มุสลิม)

2- สะละมะฮฺ บินอัลอักวะอ์ (ขออัลลอฮฺพึงพอใจท่าน) เล่าว่าท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) เคยกล่าวว่า “ใครก็ตามที่เชือดอุฎฮิยะฮฺจะต้องไม่เหลือสิ่งใดในบ้านของพวกเขาหลังจากนั้นสามวัน” ในปีต่อมาบรรดาเศาะฮาบะฮฺพากันถามว่า “โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ จะให้เราปฏิบัติเหมือนกับที่เราปฏิบัติในปีที่ผ่านมาหรือไม่” ท่านตอบว่า “ไม่ เพราะปีที่ผ่านมานั้นประชาชนประสบกับความแร้นแค้นและฉันต้องการให้พวกท่านช่วยเหลือพวกเขาด้วยเนื้อนั้น” (อัลบุคอรีย์)

3- อบูสะอีด อัลคุดรียฺยกคำพูดของท่านเราะสูลลุลลอฮฺ (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) โดยกล่าวว่า” โอ้ประชาชนแห่งมะดีนะฮฺ อย่าได้รับประทานเนื้อกุรบานเกินสามวัน” บรรดาเศาะฮาบะฮฺพากันรำพึงต่อท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ว่าพวกเขามีลูกๆและมีทาสรับใช้ที่ต้องให้อาหารพวกเขา ด้วยเหตุนี้ที่นบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) จึงกล่าวว่า “จงกิน และแจกจ่ายผู้อื่นและเก็บ (เนื้อกุรบาน) ไว้” (มุสลิม)

มีหะดีษอีกจำนวนมากที่รายงานในลักษณะคล้ายกัน ตามทรรศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่รวมทั้งบรรดาชาวสลัฟในยุคแรกมีความเห็นว่า ในทรรศนะของอิสลามนั้นถือว่าอนุญาตให้เก็บเนื้ออุฎฮิยะฮฺเกินสามวันได้ เนื่องจากความเห็นที่ตรงกันข้ามถูกยกเลิกไป

อัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง 

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net

#อีดอัฎฮา#ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำนักงานปัตตานี

“การกินผลไม้จากต้นไม้ที่โตมาจากหลุมฝังศพ”

:: คำถาม ::
อัสลามุอะลัยกุม หลักอิสลามว่าอย่างไรในการรับประทานผลไม้จากต้นไม้ที่ถูกปลูกหรือโตขึ้นจากตรงกลางของหลุมฝังศพแบบไม่ได้ตั้งใจ?

:: คำตอบ ::
การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิแด่อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าไม่มีสิ่งใดคู่ควรแก่การเคารพสักการะนอกจากอัลลอฮฺและท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมนั้น เป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

เราเชื่อว่าไม่มีอันตรายแต่อย่างใดในการรับประทานผลไม้จากต้นไม้ที่เติบโตขึ้นมาบนหลุมฝังศพ แม้ว่าผู้รู้บางท่านจะไม่ชอบทรรศนะนี้ก็ตาม การอนุมัติให้ใช้ประโยชน์ของผลไม้จากต้นไม้เหล่านี้มีหลักฐานสนับสนุนจากหะดีษที่แข็งแรงในศอฮีฮฺบุคอรียฺ ซึ่งชี้ว่าสถานที่ตั้งของมัสญิดนบีในมะดีนะฮฺนั้นเดิมเป็นหลุมฝังศพของพวกตั้งภาคีซึ่งมีต้นปาล์มและซากปรักหักพัง บริเวณดังกล่าวต้นปาล์มถูกตัดทิ้งและทำเป็นทิศกิบละฮฺของมัสญิด ซากปรักหักพังถูกปรับให้ราบเรียบ ส่วนหลุมฝังศพนั้นถูกขุดทิ้งไป และรากฐานของมัสญิดถูกวางลงที่นั่น ดังกล่าวนี้คือหลุมฝังศพของผู้ตั้งภาคี (มุชริก) ที่ถูกขุดทิ้ง ส่วนดินนั้นยังคงอยู่ ในทางหลักการศาสนาหากว่าดินนี้ไม่มีความบริสุทธิ์ (นะญิส) แน่นอนว่ามัสญิดย่อมจะถูกโยกย้ายออกจากตรงนั้น สิ่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าดินนั้นมีความบริสุทธิ์ และหากว่าดินมีความบริสุทธิ์ ดังนั้นอะไรก็ตามที่เติบโตขึ้นมาบนนั้นหรือเจริญงอกงามจากมันย่อมเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน

อัลลอฮฺทรงรู้ดีที่สุด
……………………………………………………

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
………..
อ้างอิงจาก Islamonline.net

“กาแฟขี้ช้าง ฮาลาลหรือไม่ ?”

หลายคนคงเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า “เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง” ที่เป็นลักษณะของคนไม่รู้จักพอในสิ่งที่ตนมี แต่ปัจจุบัน อาจจะพูดกันใหม่ว่า “เห็นช้างขี้ กินขี้ช้าง” หรือ “เห็นช้างขี้ โกยขี้ช้างไปขาย” กันเสียแล้ว กับมูลค่าของมูลช้างที่มันขับถ่ายออกมาพร้อมกับเมล็ดกาแฟที่ชื่อว่า “Black ivory coffee” หรือกาแฟขี้ช้าง ซึ่งเป็นกาแฟที่แพงที่สุดในโลกขณะนี้

ขั้นตอนการทำกาแฟขี้ช้าง เริ่มจากการคัดเลือกเมล็ดกาแฟไทยอาราบิก้า จากแหล่งที่ปลูกบนความสูง 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แล้วนำมาให้ช้างกิน เมื่อช้างขับถ่ายออกมา ควาญช้างก็จะนำไปตากแห้ง ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทบกับพฤติกรรมการกินแบบปกติ แต่รอให้ช้างกินผลกาแฟโดยสมัครใจ ควาญช้างจึงต้องคอยสังเกตดูว่าช้างจะขับถ่ายออกมาเมื่อใด จากนั้นจะนำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาดและคัดเลือกขนาดเมล็ดกาแฟที่ใหญ่และสมบูรณ์อีกครั้ง

ผลผลิตที่ได้จากเมล็ดกาแฟที่ช้างกินเข้าไป แล้วขับถ่ายออกมา ซึ่งเอนไซม์ในกระบวนการย่อยอาหาร จะทำให้โปรตีนในเมล็ดกาแฟที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดรสขม แตกตัวกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก เมื่อโปรตีนถูกสลายให้ลดลง ความขมจึงลดลงไปด้วยเช่นกัน ทำให้กาแฟที่ผลิตออกมามีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือมีกลิ่นช็อกโกแลต และมีทั้งรสชาติของดาร์ก ช็อกโกแลต มอลต์ รวมทั้งเครื่องเทศ แต่ไม่มีรสขมบาดปาก

คุณเบลค ดินคิน ชาวแคนาดา ผู้ริเริ่มผลิตกาแฟขี้ช้าง ภายใต้ชื่อการค้า “แบลค ไอวอรี คอฟฟี” ได้บอกเหตุผลที่ผลิตภัณฑ์มีราคาแพงนั้น เป็นเพราะกระบวนการผลิตที่ลำบากซับซ้อน ต้องคัดผลกาแฟที่มีคุณภาพให้ช้างกิน โดยตอนนี้ใช้พันธุ์อาราบิก้าของไทย ซึ่งต้องให้ช้างกินถึง 33 กิโลกรัม เพื่อที่จะได้กาแฟขี้ช้างมา 1 กิโลกรัม เวลาช้างกินกาแฟ ช้างจะเคี้ยวด้วย เมล็ดกาแฟบางส่วนก็จะแตกหักหรือถูกย่อยไป ส่วนที่เหลือขับถ่ายออกมานั้นจะเลือกเอาเฉพาะเมล็ดที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีเมล็ดกาแฟที่สูญหายไปตอนที่ช้างลงไปอาบและขับถ่ายในน้ำ ขณะนี้ กาแฟขี้ช้างไทย ดังไกลทั่วโลก ที่สำคัญก็คือแพงที่สุดในโลกด้วย ราคาถึงกิโลกรัมละ 34,000 บาท หรือตกราคาแก้วละ 1,200 บาท กันเลยทีเดียว

::มุมมองอิสลามในประเด็นกาแฟขี้ช้าง::
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี ที่ 04/2556 อนุญาตการรับประทานกาแฟขี้ช้างโดยเงื่อนไขของการอนุญาติคือ
1. เมื่อช้างกินกาแฟเข้าไปแล้วถ่ายออกมา ต้องเป็นเมล็ดที่สมบูรณ์ คือมีความแข็งเหลืออยู่หากนำไปเพาะในดินก็จะงอกได้อีก
2. ต้องไม่นำเมล็ดกาแฟที่แตกและไม่สมบูรณ์มาใช้
3.ต้องล้างทำความสะอาดนญิสที่ปนเปื้อนออกให้หมด

โดยส่วนหนึ่งของฟัตวาได้กล่าวว่า “เมื่อปรากฏว่าเมล็ดกาแฟที่ช้างกินเข้าไป แล้วถ่ายออกมายังคงมีสภาพที่แข็ง เมล็ดกาแฟ จึงมิใช่ตัวนะญิส หากแต่เป็นสิ่งที่ปนเปื้อนนะญิส (มุตะนัจญิส) ดังนั้นเมื่อเมล็ดกาแฟถูกล้างให้ สะอาดจาก นะญิสที่ปนเปื้อนมากับมูลช้างตามวิธีการล้างที่ถูกต้อง เมล็ดกาแฟนั้นก็ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดและสามารถรับประทานได้”

วันนี้เรามีกาแฟขี้ชะมด กาแฟขี้ช้าง ต่อไปเราอาจจะเห็นการวิจัยและพัฒนากาแฟจากขี้วัว ขี้แพะ หรือขี้ของสัตว์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้

……………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
.
ข้อมูลจาก
http://pantip.com/topic/31192203
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000073400
http://www.gracezone.org/index.php/motivate/1850-coffee-elephant
http://news.mthai.com/hot-news/world-news/207390.html
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=421967
https://drive.google.com/file/d/0BwikEGfSn1PUR0lMX3Vod3lOUXM/view

“กฏเกณฑ์การใช้เครื่องสำอาง “

:: [คำถาม] ::
อนุญาตให้ผู้หญิงใช้เครื่องสำอางได้หรือไม่โดยที่มันไม่มีส่วนผสมจากสัตว์และไม่มีส่วนผสมที่เป็นแอลกฮอล์

:: [คำตอบ] ::
มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ 
ชัยค์มุฮัมมัด อัศศอลิฮฺ อิบนุอุษัยมีนกล่าวว่า การเสริมความงามให้กับตัวเองเพื่อให้สามีได้ชื่นชมเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงพึงปฏิบัติ เมือผู้หญิงยิ่งงามต่อหน้าสามีจะยิ่งทำให้เขารักเธอมากขึ้นและสร้างความรักใคร่ปรองดองระหว่างกัน ซึ่งนับเป็นจุดประสงค์หนึ่งของชะรีอะฮ์ ดังนั้นการที่เธอใช้เครื่องสำอางเพื่อทำให้ตัวเองสวยขึ้นโดยที่ไม่มีสิ่งใดเป็นอันตรายจึงไม่เป็นความผิดแต่ประการใดที่จะทำเช่นนั้น 

แต่ข้าพเจ้าได้ยินมาว่าเครื่องสำอางอาจทำลายผิวหน้าได้ จนบางครั้งทำให้ดูน่ารังเกียจและยังอาจทำให้ผิวดูแก่ก่อนวัย ข้าพเจ้าหวังว่าเธอจะปรึกษาแพทย์ในเรื่องนี้ และถ้าหากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นกฎเกณฑ์การใช้เครื่องสำอางดังกล่าวย่อมถือว่าหะรอม (ต้องห้าม) หรืออย่างน้อยที่สุดคือมักรูฮ์ (น่ารังเกียจที่จะใช้) เพราะทุกสิ่งที่ทำให้เสียโฉมหรือทำให้บุคคลดูน่ารังเกียจย่อมจะเป็นสิ่งที่หะรอมหรือมักรูฮ์

ข้าพเจ้าขอใช้โอกาสนี้พูดถึงน้ำยาทาเล็บ ซึ่งสร้างชั้นบาง ๆ บนเล็บ ไม่อนุญาตให้ใช้หากเธอต้องละหมาดเพราะมันจะกันน้ำไม่ให้โดนเล็บขณะอาบน้ำละหมาด และไม่อนุญาตให้ใช้สิ่งใดก็ตามที่กันน้ำมิให้โดนผิวหรือเล็บขณะอาบน้ำละหมาดหรือยกหะดัษ ดังที่อัลลลอฮฺตรัสไว้มีความหมายว่า 

“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! เมื่อพวกเจ้ายืนขึ้นจะไปละหมาด ก็จงล้างหน้าของพวกเจ้า และมือของพวกเจ้าถึงข้อศอก และจงลูบศีรษะของพวกเจ้า และล้างเท้าของพวกเจ้าถึงตาตุ่มทั้งสอง” (อัลมาอิดะฮฺ5:6)

หากผู้หญิงทาน้ำยาทาเล็บที่กันน้ำไม่ให้โดนเล็บของเธอโดยไม่ล้างออกเสียก่อน ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการล้างมือจริง ๆ หมายความว่าเธอได้งดเว้นจากสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติขณะอาบน้ำละหมาดหรืออาบน้ำยกหะดัษ (ฆุสล์) แต่หากเธอไม่ได้ละหมาดก็ไม่เป็นความผิดแต่ประการใดทีจะใช้มัน เว้นแต่ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการเลียนแบบหญิงที่ปฏิเสธศรัทธา กรณีดังกล่าวไม่อนุญาตให้ไปเกี่ยวข้องกับการเลียนแบบพวกเธอ

อัลลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง 

ฟะตาวาอัลมัรอะฮ์ อัลมุสลิมะฮ์, 1/474

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ที่มา : Islamqa.Info

“จิตวิญญาณของอาหาร”

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกี่ยวพันธ์กับหลักปฏิบัติด้วยกับกฎและหลักเกณฑ์ที่ครอบคลุมทุก ๆมิติในการดำเนินชีวิตของปัจเจกชนมุสลิม หลักเกณฑ์นี้ไม่ได้จำกัดการมองแต่เพียงเรื่องมารยาททางสังคม แต่มันมาจากวัตถุประสงค์ในวงกว้างของศาสนา และด้วยเหตุนี้จึงเป็นความคิดและค่านิยมที่สะท้อนกลับมา

ทีนี้เรามาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เราบริโภคกับสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณของเรา มุสลิมคนหนึ่งกินอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพทางร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการประกอบศาสนกิจทางศาสนา (อิบาดะฮฺ) และยังสนับสนุนความรู้และแรงกายของเขา เพื่อสวัสดิภาพของสังคม ดังนั้นในบริบทของอิสลามจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าของแนวคิดฮาลาลและหะรอม ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มที่ฮาลาลนั้นเป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิม

#รายการอาหารหนึ่งจะฮาลาล ก็ต่อเมื่อ :
– อาหารนั้นไม่เป็นอันตรายหรือรบกวนการทำงานในภาวะปกติของร่างกายและจิตใจ
– อาหารนั้นปราศจากนญิส (สิ่งสกปรกตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม) และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากซากสัตว์หรือจากสัตว์ที่ตายโดยไม่ผ่านการเชือดหรือฆ่าอย่างถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติอิสลาม หรือจากสุกร หรือสัตว์หะรอมอื่นๆ
– อาหารนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากอนุพันธ์จากสุกรหรือสุนัขหรือสัตว์หะรอมอื่นๆ

#ในทางกลับกันรายการอาหารหนึ่งจะหะรอม ก็ต่อเมื่อ
– เป็นอันตรายหรือรบกวนการทำงานของร่างกายและจิตใจในทางลบ
– มีนญิสหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากซากสัตว์หรือสัตว์ที่ตายโดยสาเหตุจากธรรมชาติ หรือจากสุกรหรือสัตว์หะรอมอื่นๆ
– อาหารนั้นได้มาจากสัตว์ที่อนุมัติแต่ไม่ผ่านการเชือดในวิธีการที่เป็นที่อนุมัติ หรือ หากไม่มีการ เตรียมการก่อนเชือดอย่างถูกต้อง

คำกล่าวที่ว่า “คุณเป็นในสิ่งที่คุณกิน” เป็นที่รู้จักกันดีในศาสนาอิสลาม อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ได้กลายเป็นเพียงแค่อุจจาระ แต่ยังดูดซึมและสลายสารอาหารเข้าสู่ระบบและไหลเวียนทั่วทุกส่วนของร่างกายรวมทั้งสมองและหัวใจ ดังนั้นความบริสุทธิ์ของร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณอย่างแท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของอาหารที่เราบริโภค

ดังเช่นในอัลกุรอาน ในแต่ละครั้งเมื่อเอ๋ยถึงคำว่า “ฮาลาล” ก็จะกล่าวถึงอาหาร และคำว่า “ตอยยีบัน” ก็ได้ถูกกล่าวถึงอีกด้วย

“มนุษย์เอ๋ย จงกินสิ่งที่ได้รับอนุมัติ (ฮาลาล) และที่ดี (ฏอยยิบ) จากที่มีอยู่ในแผ่นดิน” (อัลบากอเราะฮฺ :168)

“พวกเจ้าจงบริโภคในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ซึ่งเป็นที่อนุมัติที่ดี” (อัลนะฮฺล: 114)

ดังนั้นก่อนตัดสินใจว่าอาหารไหนที่เหมาะสำหรับการบริโภค ควรมีการพิจารณามากกว่าฮาลาล หรือหะรอมเพียงเท่านั้น คำว่าตอยยีบันหมายถึงดี ซึ่งมีความหมายว่าอาหารต้องมีประโยชน์และบริสุทธิ์จากแหล่งที่มาของมันต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วย

จากลักษณะทางด้านกายภาพ ข้อจำกัดทางอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจว่า มุสลิมดูแลการกินเฉพาะสิ่งที่บริสุทธิ์ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่สกปรก

อาหารที่สะอาดบริสุทธิ์นำมาซึ่งสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสิ่งนี้จะทำให้มุสลิมสามารถเพิ่มอิบาดะฮฺตัวของเขาและปฏิบัติอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและสุขภาพสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไป ในร่างกายที่บริสุทธิ์สร้างสุขภาพที่ดีสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน แน่นอนว่าความสะอาดจากภายนอกเป็นขั้นแรกต่อความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณภายใน บ่อยครั้งที่องค์ประกอบทั้งสองมักควบคู่ไปด้วยกัน ดังนั้นในศาสนาอิสลามความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา ตั้งแต่ด้านจิตวิญญาณแล้วมุสลิมก็ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ โดยการบริโภคแต่เพียงอาหารที่สะอาดเนื่องจาก อัลลอฮฺนั้นบริสุทธิ์และรักผู้ที่ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า : ท่านรอซูล (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัม) กล่าวว่า“แท้จริงอัลลอฮฺนั้นบริสุทธิ์ ไม่ทรงรับสิ่งใดนอกจากที่บริสุทธิ์”

“โอ้ บรรดารอซูลเอ๋ย ! พวกเจ้าจงบริโภคส่วนที่ดี (ฮาลาล) และจงกระทำความดีเถิด” (อัลมุอฺมิน: 51)

และพระองค์ยังได้กล่าวอีกว่า
“บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงกินสิ่งที่ดีและสะอาดที่เราได้ประทานให้แก่สูเจ้า”
(อัลบากอเราะฮฺ : 172)
…………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แปลและเรียบเรียง
…….
ที่มา
Consumers Association of Penang. (2006). HARAM HARAM :an Important book for muslim consumers. Pinang. Pulau Pinang Press. Page 12-13

ฉันสามารถทานอาหารที่ผ่านพิธีสวดในโบสถ์คริสเตียนได้หรือไม่?

:: [คำถาม] ::
อัสลามูอาลัยกุม ชาวมุสลิมนั้นสามารถทานอาหารที่ผ่านพิธีสวดจากโบสถ์คริสเตียนได้หรือไม่? เช่น เค้กอีสเตอร์ หรือไข่อีสเตอร์ เป็นต้น

:: [คำตอบ] :: โดย ชัยค์ มุฮัมมัด เกาะตานานีย์

ขอความสันติ ความเมตตา และความจำเริญจากผู้เป็นเจ้าจงประสบแด่ท่าน ด้วยพระนามของผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงไพศาลในความเมตตา ผู้ทรงถ้วนทั่วในความกรุณา มวลการสรรเสริญทั้งหมดเป็นสิทธิแห่งผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงผู้อภิบาลแห่งสากลโลกความจำเริญและความศานติจงประสบแด่ท่านนบีมุฮัมมัดของเรา รวมถึงวงศ์วานของท่านและเหล่าสาวกของท่านทั้งมวล

เมื่อได้รับอนุญาตจากคัมภีร์อัลกุรอานและตามที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความเห็นไว้ ชาวมุสลิมนั้นอนุญาตให้รับประทานอาหารของชาวยิวและชาวคริสเตียน (กลุ่มชนชาวคัมภีร์) ได้โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่กล่าวออกมาตราบใดที่อาหารนั้นไม่ได้เป็นที่ต้องห้ามในอิสลาม

ดร. มุฮัมมัด เกาะตานานีย์ ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยอิสลามอเมริกันและอิหม่ามประจำศูนย์กลางอิสลามพาสเสคเคาน์ตี้แห่งรัฐนิวเจอร์ซีย์ ได้ให้คำตอบว่า

อนุญาตให้รับประทานอาหารของชาวคัมภีร์ (อะฮฺลุล กิตาบ) ได้ ซึ่งอัลลอฮฺได้กล่าวว่า

“วันนี้สิ่งดี ๆ ทั้งหลายได้ถูกอนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของบรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์นั้นเป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว และอาหารของพวกเจ้าก็เป็นที่อนุมัติแก่พวกเขา” (อัล มาอิดะฮฺ 5:5)

จากโองการนี้อนุญาตให้ชาวมุสลิมรับประทานอาหารของกลุ่มชนชาวคัมภีร์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งชาวคัมภีร์ที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ ชาวยิวและชาวคริสเตียนโดยไม่ได้มีข้อแม้ว่าอาหารของชาวคัมภีร์นั้นจะผ่านการกล่าวพรหรือไม่ก็ตาม

อัลลอฮ์ทรงทราบว่าช่วงเวลาแห่งการประทานอัลกุรอานนั้น กลุ่มชนชาวคัมภีร์จะมีพิธีกล่าวบทสวดหรือกล่าวพรแก่อาหารของพวกเขา

นักวิชาการหลายท่าน เช่น อะอฺฏออฺ ; มักฮูล อัช ชามีย์ ; อัล หะสัน ; อัช ชะอฺบีย์ ; สะอีด อิบนฺ มุสัยยิบ ; อัล เอาซาอีย์ และอัล ลัยษฺ มีความเห็นว่าอนุญาตให้ทานสัตว์ที่ถูกเชือดโดยชาวคริสเตียนได้แม้ว่านามของ “อัล มะสีหฺ”
(พระเยซู) ได้รับการกล่าวบนอาหารนั้น

ขณะที่ทรรศนะนี้นั้นขัดแย้งกับความเห็นของนักวิชาการท่านอื่น ๆ ที่ไม่อนุญาตให้รับประทานสัตว์ที่ถูกเชือดในนามอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ

กระนั้นอาหารใด ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องผ่านกรรมวิธีการเชือด เช่น ผัก ผลไม้ นักวิชาการทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่าสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องไม่ลืมกล่าวนามของผู้เป็นเจ้าด้วยทุกครั้งในการรับประทานอาหารใด ๆ ก็ตาม

แท้จริงอัลลอฮฺนั้นรู้ดีที่สุด

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง

สัตว์ชนิดใดบ้างที่เป็นสัตว์ดีที่สุดในการทำอุฎฮียะฮ์(เชือดกุรบาน)

:: คำถาม ::

สัตว์ชนิดใดที่ถือว่าดีที่สุดหากจะทำอุฎฮียะฮ์(กรุบาน)ระหว่าง อูฐ แกะหรือปศุสัตว์ ?

อ่านเพิ่มเติม “สัตว์ชนิดใดบ้างที่เป็นสัตว์ดีที่สุดในการทำอุฎฮียะฮ์(เชือดกุรบาน)”

สัตว์ที่หะลาลกินซากสัตว์ตาย เนื้อของมันจะยังหะลาลหรือไม่ ?

คำถาม : 

เป็นเรื่องที่หะลาลในการรับประทานไก่และมันเป็นเรื่องหะรอมในการรับประทานสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์อื่นเป็นอาหาร มุสลิมสามารถบริโภคไก่ที่กินลูกของมันเองที่ตายแล้วหรือแพะที่กระทำเช่นเดียวกันนี้ได้หรือไม่? 

อ่านเพิ่มเติม “สัตว์ที่หะลาลกินซากสัตว์ตาย เนื้อของมันจะยังหะลาลหรือไม่ ?”

อะไรคือเงื่อนไขของอุฎฮิยะฮฺ ?

:: คำถาม ::

อัสลามุอะลัยกุม ท่านพอจะมีฟัตวา(ข้อชี้ขาดปัญหาศาสนา)ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับแนวคิดและเงื่อนไขของการเชือดพลีหรือไม่?

อ่านเพิ่มเติม “อะไรคือเงื่อนไขของอุฎฮิยะฮฺ ?”