Halal Biz News: มาเลเซียปรับวิสัยทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจใหม่จากวิสัยทัศน์ 2020 สู่วิสัยทัศน์ 2030 โดยนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียวิจารณ์ว่าวิสัยทัศน์ 2020 มีแต่จะทำให้ประเทศเป็นหนี้มากขึ้นจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจ้างแรงงานทักษะต่ำ นอกจากนี้ กิจการจำนวนมากยังตกอยู่ในมือของนักลงทุนต่างชาติและความเจริญกระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่

วิสัยทัศน์ 2020 ของมาเลเซีย คือ วิสัยทัศน์แห่งชาติที่ได้กำหนดอนาคตประเทศมาเลเซียไว้ว่า “มาเลเซียจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ.2563 (2020)” โดยมีเป้าหมาย ที่จะทำให้มาเลเซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้ว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7 ต่อปีทุกปี และเศรษฐกิจจะเข้มแข็งขึ้นเป็น 8 เท่า แต่เนื่องจากวิสัยทัศน์ 2020 จะครบในอีก 1 ปีข้างหน้า รวมทั้งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคมโลกและการเมืองของมาเลเซียเปลี่ยนไป จึงต้องมีวิสัยทัศน์ 2030 ใหม่ เกิดขึ้น

วิสัยทัศน์ 2030 นี้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ “ความมั่งคั่งร่วมกัน (Shared Prosperity)” โดยมีเป้าหมายเศรษฐกิจ 3 ประการ
1. การลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
2. การสร้างระบบเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าบนพื้นฐานของความรู้และคุณค่า โดยประชาชนมาเลเซียในทุกระดับมีส่วนร่วม
3. การทำให้มาเลเซีย เป็นระบบเศรษฐกิจชั้นนำของเอเชีย

เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือการทำให้ประชาชนมาเลเซีย ทุกคน ไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือชนชั้นใด และไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีภายในปี ค.ศ. 2030 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ได้แก่

1. การปรับโครงสร้างของระบบนิเวศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมให้รองรับอนาคตด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4

2. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจดิจิทัลและส่งเสริมอาชีพที่ใช้ทักษะสูง

3. การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงมาเลเซียจากประเทศผู้บริโภคไปเป็น ผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานสากล

4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการปรับปรุงตลาดแรงงานและอัตราค่าจ้าง

5. การช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยบนพื้นฐานของความต้องการ (need-based) และการพัฒนาศักยภาพในการช่วยเหลือตัวเองให้หลุดพ้นจากความยากจน
6. การลดความแตกต่างของระดับการพัฒนาระหว่างเมืองกับชนบท ระหว่างรัฐต่าง ๆ และระหว่างมาเลเซียตะวันออกกับมาเลเซียตะวันตก

7. การพัฒนาต้นทุนและกลไกทางสังคมให้สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างสังคมแห่งความรู้ประชาชนขยันและอดทน และมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน แนวทางเศรษฐกิจใหม่ดังกล่าวจะไม่วัดความสำเร็จจากการเติบโตของ GDP แต่จะวัดจากความยากจนที่ลดลง และการกระจายความมั่งคั่งไปสู่ประชาชนมาเลเซียทุกคนอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

………………………………………………………………….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง

ที่มา : https://globthailand.com/

“อัลเฆซีราส” ท่าเรือฮาลาลสเปนโอกาสของธุรกิจไทยสู่ตลาดสเปน ยุโรปใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง

Halal Biz News: สถานเอกราชทูต ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน รายงานว่า ท่าเรืออัลเฆซีราส ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีการขนส่งสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและอันดับ 4 ของยุโรป ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานฮาลาลจาก Halal Food & Quality ซึ่งเป็นสถาบันในเมืองคอร์โดบา ประเทศสปน เมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมีบริษัท TIBA ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์เป็นผู้ดูและ ยังมี Docks ผู้ให้บริการจุดตรวจชายแดนท่าเรืออัลเฆซีราส และบริษัท Gonza’lez Gaggero ผู้ให้บริการพิธีผ่านแดนก็ได้รับเครื่องหมายรับรองฮาลาลเช่นกัน

ท่าเรืออัลเฆซีราส มีเส้นทางการขนส่ง 28 เส้นทาง เชื่อมท่าเรือ 198 แห่งใน 74 ประเทศทั่วโลก เป็นท่าเรือที่มีสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนและอันดับ 4 ของยุโรปในปี 2561 มีปริมาณการขนส่งสินค้ารวมทั้งสิ้น 107 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.5 ล้านตันจากปี 2560 การเดินทางจากท่าเรือของไทยมายังท่าเรืออัลเฆซีราสใช้เวลา 21 วัน จึงเป็นข่าวดีของผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลของไทย ที่จะพิจารณาท่าเรือแห่งนี้เพื่อขยายตลาดมายังสเปน ยุโรปใต้ แอฟริกาและตะวันออกกลาง ถือได้ว่าท่าเรืออัลเฆซีราสจะเป็นประตูที่สำคัญให้แก่สินค้าจากประเทศไทย

…………………………………………………………………………..
ที่มา: http://www.thaibizmadrid.com/?page_id=1892
https://globthailand.com/spain_0030/?fbclid=IwAR0zyD8-sW0arbWONcnui-TmxUcGkT3emJ-J1p5VHgSwrI2VnHv_q7-cYf4
https://ec.europa.eu/transport/themes/infrastructure_en

“Ayam Boy” แฟรนไชส์ไก่ทอดฮาลาล อร่อยถูกหลักอาลาลตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และจำหน่าย

หากสิ่งที่คุณตั้งใจทำออกมาเกิดความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า คุณจะยังคงทำสิ่งนั้นอยู่ไหม ความอดทนและการยืนหยัดทำในสิ่งที่รักและสนใจจนสามารถประสบความสำเร็จได้ต้องนับว่าคน ๆนั้นมีหัวใจที่แกร่งและไม่ยอมแพ้อย่างมากเลยทีเดียว เช่นเดียวกับแฟรนไชส์ไก่ทอดฮาลาลแบรนด์ Ayam Boy ซึ่งกว่าจะมีวันนี้ได้ต้องบอกเลยว่าแทบรากเลือดเอาการ เหตุผลเดียวที่แบรนด์นี้สามารถยืนหยัดผ่านอุปสรรคมาได้คงต้องยกนิ้วให้กับความไม่ยอมแพ้ของเจ้าของแบรนด์นั่นเอง

จากความชอบในรสชาติไก่ทอดแบรนด์ดังสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่ไม่ว่าจะล้มเหลวเพียงใดก็ไม่ท้อ

“คุณซอลาฮุดดีน  ยีแสม” กรรมการผู้จัดการหจก.อะยัมบอย ฮาลาลฟู้ด  ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไก่ทอดอะยัมบอยคือเจ้าของกิจการที่เราเกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ โดยจุดเริ่มต้นมาจากที่คุณซอลาฮุดดีน เป็นนักศึกษาที่ประเทศมาเลเซียและชื่นชอบการทานไก่ทอดเคเอฟซีมาก ๆ เมื่อต้องย้ายกลับมาศึกษาต่อที่ประเทศไทยก็ยังคงชอบทานไก่ทอดอยู่เช่นเดิม ขณะนั้นไก่ทอดเคเอฟซีมาเปิดให้บริการในจังหวัดยะลาแล้ว แต่ด้วยความไม่มั่นใจในเรื่องของฮาลาล คุณซอลาฮุดดีนจึงลงมือศึกษาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตถึงวิธีการทำไก่ทอดแต่ผลที่ได้ออกมาไม่สำเร็จอย่างที่คิดไว้จึงตัดสินใจไปเรียนวิธีทอดไก่จากแม่ค้าตามตลาดนัดก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ด้วยความที่อยากทานไก่ทอดคุณซอลาฮุดดีนจึงหันกลับมาลองผิดลองถูกเอาเองที่บ้าน ผลคือหน้าตาออกมาคล้ายคลึงต้นฉบับจึงนำไปทดลองวางจำหน่ายที่หน้าร้านอาหารของคุณแม่ ผลที่ได้รับกลับไม่เป็นไปตามคาดเพราะไก่ทอดถูกวิจารณ์อย่างหนักทำให้คุณซอลาฮุดดีนต้องกลับไปปรับปรุงสูตรลองผิดลองถูกใหม่อีกครั้งจนกระทั่งได้สูตรที่ลงตัวและมีลูกค้าประจำเป็นจำนวนมาก

ต่อมีลูกค้าขอซื้อแฟรนไซส์ด้วยความที่ยังไม่เข้าใจคำว่าแฟรนไซส์จึงยังไม่ขาย แต่พอมีคนมาถามมาก ๆจึงเริ่มศึกษาการเปิดแฟรนไชส์และได้ทดลองขายแฟรนไซส์ให้กับเจ้าแรก ปรากฏว่าล้มเหลวไม่เป็นท่าเพราะความไม่มีระบบ และไม่มีความรู้จึงทำให้ขาดทุนและมีของเสียจำนวนมากรวมกับถูกเพื่อนทุจริตไปจนขาดทุนย่อยยับ แต่คุณซอลาฮุดดีนยังไม่ยอมแพ้โดยได้ขอยืมเงินจากคุณแม่เป็นทุนดำเนินธุรกิจใหม่อีกครั้ง จากบทเรียนความล้มเหลวในการทำธุรกิจที่ผ่านมาทำให้คุณซอลาฮุดดีนวางระบบการทำงานใหม่ให้เป็นระเบียบและรอบคอบมากขึ้นจนสามารถขายแฟรนไซส์ได้อีกครั้งจนประสบความสำเร็จในสาขาแรกอย่างงดงามกับกระแสตอบรับที่ดีเกินคาดกระทั่งธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี

ชื่อแบรนด์น่ารักแต่สะท้อนตัวตนและจิตวิญญาณของเจ้าของแบรนด์

         อะยัมบอย เป็นคำ 2 คำที่มารวมกันโดยคำว่า “อะยัม” มาจากภาษามาลายูแปลว่าไก่ ส่วน “บอย” มาจากภาษาอังกฤษ เมื่อรวมสองคำนี้เข้าด้วยกันจึงหมายถึง “ไก่หนุ่ม”  แต่ในความหมายที่แท้จริงที่ต้องการสื่อคือ “การเป็นไก่ทอดของคนรุ่นใหม่ที่มีความคล่องแคล่วและทันสมัย”

จุดเด่นนอกจากรสชาติที่โดดเด่นคือความตั้งใจในทุกขั้นตอน

          นอกจากรสชาติที่ได้รับการยอมรับถึงความอร่อยจัดจ้านและมีเมนูให้เลือกหลากหลาย แต่อีกสิ่งหนึ่งที่อะยัมบอยมีและเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แบรนด์สามารถครองใจลูกค้าได้ก็คือการเป็นแฟรนไซส์ฮาลาลทั้งระบบ ที่เริ่มต้นตั้งแต่การคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพที่มีการรับรองฮาลาล และพนักงานที่เป็นพี่น้องมุสลิมทั้งหมดทำให้มั่นใจได้ว่าไก่ทอดของอะยัมบอยเป็นเมนูไก่อทดฮาลาลแท้ ๆ รวมถึงการมีระบบจัดส่งที่วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และระบบบริหารจัดการร้านที่ดี ด้วยแนวคิดที่ทางร้านยึดถืออยู่เสมอคือ “การดูแลเอาใจใส่ทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ไก่ทอดที่มีคุณภาพพร้อมเสิร์ฟถึงมือของลูกค้า”

ไก่ทอดรสชาติอร่อยเพื่อพี่น้องมุสลิมและผู้ที่สนใจ

         ไก่ทอดอะยัมบอยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกอาหารฮาลาลอันเป็นหัวใจหลักของพี่น้องมุสลิมในการเลือกอาหารรับประทาน อีกทั้งยังเป็นเมนูที่ทานง่าย ทานได้ทุกเพศทุกวัยและเหมาะกับการเป็นเมนูของครอบครัวในช่วงวันหยุดเพราะความเข้าใจถึงความต้องการของพี่น้องมุสลิมที่ต้องการอาหารที่ถูกต้องตามหลักของศาสนาเพื่อรับประทานนั่นเอง แม้ว่าไก่ทอดอะยัมบอยจะก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับพี่น้องชาวมุสลิมมาก่อน แต่กระนั้นก็ยังเหมาะกับผู้ที่อยากลิ้มลองรสชาดไก่ทอดในแบบไทย ๆเช่นกันครับ

พร้อมเดินหน้านำพาไก่ทอดฮาลาลแบรนด์ไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วทั้งประเทศ

         แม้ว่าปัจจุบันไก่ทอดอะยัมบอยจะมีอยู่มากถึง 24 สาขาก็ตามแต่ส่วนใหญ่ทำเลที่ตั้งก็มีอยู่เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ทั้งสิ้น เป้าหมายที่ไก่อทดอะยัมบอยวางเอาไว้ก็คือการขยายแฟรนไชส์สาขาออกมาให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต

แรงบันดาลใจที่ส่งต่อถึงผู้ประกอบการ

ไม่มีใครไม่เคยล้มเหลวในการเริ่มต้นทำเรื่องต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งการทำธุรกิจที่ไม่ว่าคุณจะวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพียงใด สุดท้ายก็มีโอกาสที่คุณจะพบเจออุปสรรคด้วยกันแทบทั้งสิ้น การสู้ไม่ถอยและพร้อมที่จะลุกทุกครั้งเมื่อล้มคือหัวใจหลักสำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากนี้คือการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ตนเองขาดและพัฒนาตนเองให้ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เมื่อนั้นความสำเร็จก็จะโบยบินมาสู่คนที่มีหัวใจของนักสู้อยู่เสมอ

ช่องทางติดต่อ

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อไปได้ที่ หจก.อะยัมบอย ฮาลาลฟู้ด Ayamboy Halal Food Part.Ltd
ที่อยู่ 1080/10 ซ. ศรีจารู ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา 95000
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 099-221-2000
– facebook fanpage: Ayamboy Halalfood
– e-mail: [email protected]
www.ayamboyhalalfood.com
– line@: ayamboyhalalfood

…………………………………………………………………………………………………….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602
Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu “สร้างด้วยรัก ให้ด้วยใจ” จากรายได้เสริมครูอัตราจ้าง สู่ธุรกิจหลักส่งมอบโอกาสให้กับคน “สู้สู้” ชีวิต

#BIHAPSSTORYEP 2

หลาย ๆ ครั้งที่เรามักพบว่าการทำธุรกิจบางอย่างมักมีจุดเริ่มต้นสั้น ๆ เพียงแค่ความรู้สึกอยากช่วยเหลือแบ่งปันสิ่งดี ๆ ไปสู่บุคคลอื่น และมักจะเป็นเรื่องประหลาดมากที่ธุรกิจที่ดำเนินกิจการด้วยแนวคิดเช่นนี้ก็มักจะประสบความสำเร็จเป็นที่กล่าวถึงอยู่เสมอ ๆก็คงจะจริงสมกับคำกล่าวที่ว่า “ยิ่งให้ก็ยิ่งรับ” เสียกระมังที่ทำให้ธุรกิจประเภทนี้ยิ่งเติบโตและแข็งแกร่งรวมถึงได้รับโอกาสดี ๆเข้ามาอยู่ตลอด ซึ่งก็รวมไปถึงธุรกิจที่เรากำลังจะพูดถึงในวันนี้ครับกับ “ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu” ไก่ปิ้งที่มีแนวคิดเริ่มต้นจากการแบ่งปันนั่นเอง

แค่อยากจะช่วยเหลือนักเรียนอันเป็นที่รักก็กลายมาเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ที่ไม่เล็กอย่างที่คิด

“คุณยาวารียะห์ แวหะยี” หรือคุณยาวา คือเจ้าของธุรกิจที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ครับ โดยปัจจุบันนอกจากคุณยาวาจะเป็นเจ้าของกิจการไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu คุณยาวาก็ยังเป็นคุณครูอัตราจ้างประจำโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี

         จุดเริ่มต้นที่คุณยาวาอยากจะเริ่มทำธุรกิจ เกิดจากนิสัยโดยส่วนตัวเป็นคนชอบทำในสิ่งใหม่ ๆ คุณยาวาจึงชอบลองทำในสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ และเมื่อเข้ามาเป็นครูคุณยาวาพบว่าที่โรงเรียนที่สอน เด็กนักเรียนส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ทางบ้านไม่ค่อยมีฐานะ บางครอบครัวพ่อแม่หย่าร้างหรือเสียชีวิตทำให้เด็กหลาย ๆคนต้องอาศัยอยู่เพียงลำพัง และคุณยาวาเองก็มักจะคอยให้คำปรึกษาแก่เด็ก ๆ ที่เข้ามาปรึกษาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียนหรือเรื่องส่วนตัว นั่นเองทำให้คุณยาวาพบว่าเด็ก ๆ หลายคนต้องทำงานไปด้วยเพื่อส่งตัวเองเรียนหนังสือ ในขณะที่เด็กอีกหลาย ๆ คนต้องทิ้งโอกาสที่จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยแม้ว่าจะมีผลการเรียนที่ดีก็ตาม ซึ่งคุณยาวาเองก็ไม่รู้จะหาวิธีใดที่จะมาช่วยเหลือเด็ก ๆ เหล่านี้นอกจากให้คำแนะนำและให้กำลังใจกลับไปเท่านั้น ด้วยความรู้สึกสงสารนักเรียน อยากช่วยเหลือให้พวกเขามีรายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัวและเลี้ยงดูตัวเอง คุณยาวาจึงนำธุรกิจไก่ปิ้งนมสดมาแนะนำนักเรียนที่สนใจจะสร้างเป็นอาชีพเสริมเพื่อให้สามารถช่วยเหลือครอบครัวของตัวเองได้ และที่สำคัญคือไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร ในขณะที่การลงทุนก็ไม่สูงมากจนเกินไปนักเด็กนักเรียนสามารถนำไปขายต่อเพื่อสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี  

         ไก่ปิ้งนมสดที่คุณยาวาขายนั้นได้สูตรมาจากพี่สาว โดยให้พี่สาวเป็นคนหมักและเตรียมไก่ส่วนคุณยาวาจะเป็นคนขายในช่วงเช้าก่อนไปสอนหนังสือ ซึ่งแม้ว่าคุณยาวาจะมีเวลาขายเพียงแค่ 1 ชั่วโมงครึ่ง ในเวลา 06.00 น. – 07.30 น. โดยเลือกหน้าบ้านเป็นทำเลขายเพราะเป็นเส้นทางที่คนสัญจรในตอนเช้า ซึ่งแม้จะเป็นเพียงร้านเล็ก ๆ แต่กลับได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างมาก มีทั้งลูกค้าที่ซื้อไปทานเองหรือนำไปขายต่อเป็นอาชีพเสริมจนกระทั่งคุณยาวาได้ทดลองโพสต์ขายก็มีคนสนใจสั่งซื้อเป็นจำนวนมากเช่นกัน คุณยาวาจึงมองว่าไก่ปิ้งนมสดน่าจะเป็นทางออกที่ดีให้กับคนที่อยากจะนำไปขายเป็นงานเสริมหรืองานหลักเพราะความที่เป็นอาหารที่ขายง่าย ทานง่าย สามารถรับประทานแทนอาหารจานหลักได้ โดยสามารถขายได้ทุกช่วงเวลาและสามารถขายคู่กับอาหารอื่นได้  โดยมีต้นทุนเพียงแค่หลักร้อยเท่านั้นก็สามารถทำให้ผู้ที่สนใจมีอาชีพเสริมได้สบาย ๆ ปัจจุบันก็มีเด็กนักเรียนมาสั่งซื้อไปขายตอนเย็นหลังเลิกเรียนเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เด็กนักเรียนเหล่านี้สมอย่างที่คุณยาวาตั้งใจ

ที่มาของแบรนด์สะท้อนตัวตนอย่างตรงไปตรงมา

ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu มาจากคำ 2 คำที่มาผสมกันคือคำว่า Ayam ที่แปลว่าไก่ และคำว่า Susu ซึ่งมีความหมายว่านมอันเป็นวัตถุดิบหลักทั้ง 2 ของธุรกิจนี้นั่นเอง เหตุที่ตั้งชื่อนี้ก็เพราะว่าคำทั้ง 2 เป็นภาษามลายูปัตตานีเป็นการสะท้อนตัวตนว่าธุรกิจนี้เป็นธุรกิจของคนไทยมุสลิมเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายโดยตรงนั่นเอง

จุดเด่นที่น่าสนใจของธุรกิจในเรื่องรสชาติคือจุดขายที่ใคร ๆก็ไม่อาจมองข้าม

ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu มีความน่าสนใจนอกเหนือไปจากการเลือกวัตถุดิบที่ผ่านการคัดสรรว่าเป็นไก่ที่สะอาดและผ่านการรับรองความเป็นฮาลาลแล้วก็อยู่ที่ส่วนประกอบของเครื่องหมักไม่ว่าจะเป็นนมที่จะทำให้ไก่มีเนื้อหนุ่มและยังได้รับความหอมและมีคุณประโยชน์ของสมุนไพรที่นำมาใช้ ผสานกับวิธีการปิ้งไก่ที่แตกต่างไปจากการปิ้งโดยทั่ว ๆไปจึงได้ไก่ปิ้งนมสดที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีกลิ่นหอมชวนให้รับประทาน และได้รสสัมผัสที่ถูกปากและถูกใจแก่ผู้ที่ซื้อหาไปลิ้มลองความอร่อยครับ 

อีกหนึ่งจุดเด่นของธุรกิจไก่ปิ้งนมสดคือเป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อยแต่สร้างกำไรอย่างงาม ผู้ที่สนใจสามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นสร้างอาชีพเสริมหรือจะทำเป็นอาชีพหลักก็ได้เช่นกัน

ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu ด้วยคุณภาพที่คุ้มค่าและรสชาติที่ถูกปากจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับทุก ๆ คน

เพราะกรรมวิธีการผลิตที่คุณยาวาใส่ใจในทุก ๆ ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเลือกหาวัตถุดิบ กระบวนการหมัก กระบวนการปิ้งที่เป็นสูตรเฉพาะและมีความเป็นฮาลาลตามมาตรฐาน ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารสำหรับทุก ๆคนครับ ไม่ว่าจะเป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อหรือจะเป็นอาหารเคียงเสริมในเมนูอื่น ๆ ก็ล้วนเสริมรสชาติความอร่อยให้แก่คุณได้ทั้งสิ้น และไม่เฉพาะแต่พี่น้องชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่ชื่นชอบอาหารที่ทำมาจากไก่ซึ่งผลิตมาจากขั้นตอนที่จะทำให้คุณมั่นใจในความสะอาด ความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย 100 %

ส่งต่อเป็นความหวังดีที่อยากให้ผู้อื่นมีรายได้เสริม

สำหรับคุณยาวา เป้าหมายที่วางไว้ของไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu คืออยากให้ไก่ปิ้งนมสดเติบโตไปได้ไกลและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะนั่นอาจเป็นทางออกที่ดีให้กับผู้ที่อยากจะสร้างธุรกิจเล็ก ๆ ของตนเองโดยไม่ต้องมาลองผิดลองถูกตั้งแต่ขั้นตอนแรก หรือต้องลงทุนมากมายเพื่อจะทำธุรกิจของตัวเองขึ้นมา เพราะไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu เป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรดีนั่นเอง

ส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่เจ้าของธุรกิจอื่น ๆ

ธุรกิจที่เริ่มต้นจากจิตใจที่มุ่งมั่นและศรัทธาและดำเนินธุรกิจด้วยความบริสุทธิ์ใจจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมา จงเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองกระทำ และทำธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้องแล้วสิ่งที่ทำจะประสบความสำเร็จอย่างที่มุ่งหวัง 

ช่องทางติดต่อ

ไก่ปิ้งนมสด Ayam Susu มีสำนักงานประจำอยู่ที่ 30/4 ม.9ต.ตะลุโบะ อ.เมือง จ.ปัตตานี Facebook: ไก่ปิ้งนมสดอร่อยเริ่ด
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 093-6467793 ,092-9459481

……………………………………………………………………………………………………
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602
Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA

ร้านดีอาลีมาร์เก็ต : ร้านค้าสินค้าท้องถิ่นเพื่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

#BIHAPSSTORYEP 3

ธุรกิจที่มุ่งหวังความสำเร็จมักจะมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นก็คือ  การเป็นธุรกิจที่มีแนวคิดของการ “ทำเพื่อคนอื่น” ยิ่งธุรกิจใดที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนได้มาก หรือช่วยแก้ปัญหาให้กับคนหมู่มาก ธุรกิจนั้นก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ แม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมาก แต่กลับมีแนวคิดของการแบ่งปันและความรู้สึกอยากจะช่วยเหลือผู้อื่นโดยเฉพาะคนในท้องถิ่น แม้ความสำเร็จอาจจะยังไม่ได้สร้างมูลค่ามากมายให้หลายคนต้องกล่าวขาน แต่ธุรกิจนี้กับเติบโตและก้าวเดินได้อย่างมั่นคง

จากพนักงานประจำสู่เจ้าของธุรกิจผลิตปลาส้มจนนำไปสู่การเปิดหน้าร้านสินค้าท้องถิ่น “ดีอาลีมาร์เก็ต”

คุณมาเรียม ดายี คือเจ้าของธรกิจที่เราได้เกริ่นนำไว้ในตอนแรก ปัจจุบันคุณมาเรียมเป็นเจ้าของกิจการและผู้ผลิตอาหารแปรรูปปลาส้ม และร้านค้าดีอาลีมาร์เก็ตโดยก่อนที่คุณมาเรียมจะมาทำธุรกิจเป็นของตัวเอง  คุณมาเรียมเองก็เป็นพนักงานประจำหรือเรียกง่าย ๆ ว่ามนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง แต่ด้วยพื้นฐานนิสัยตั้งแต่เด็ก ๆ ที่มักจะมองหาโอกาสให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาในการทำธุรกิจ กระทั่งคุณมาเรียมเริ่มมองหาโอกาสให้กับตัวเองอย่างจริงจังในตอนที่คุณมาเรียมยังคงเป็นพนักงานกินเงินเดือนอยู่นั่นเอง
หลังจากมองหาโอกาสให้ตัวเองอยู่ระยะหนึ่ง คุณมาเรียมเริ่มมองหาจากสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ๆตัว เริ่มมองถึงสิ่งที่ชุมชนของตนมี นั่นก็คือ “ปลาส้ม” อันเป็นจุดแข็งที่ชุมชนของคุณมาเรียม จากนั้นคุณมาเรียมจึงเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าและเห็นไอเดียที่สามารถต่อยอด และเพิ่มมูลค่าของปลาส้มนี้ได้จึงได้ผลิตปลาส้มเป็นแบรนด์ของตัวเอง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จัก
เมื่อมีผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างที่ต้องการแล้วคุณมาเรียมจึงมองหาช่องทางการขายและท้ายที่สุดจึงพัฒนากลายมาเป็นการเปิดเป็นหน้าร้านของตนเองเพื่อสะดวกต่อการจำหน่ายและขนส่ง จึงกลายมาเป็นร้านของฝากที่มีชื่อว่า “ดีอาลีมาร์เก็ต” ที่รวบรวมสินค้าในท้องถิ่นมาจำหน่าย

ชื่อแบรนด์มีที่มานอกจากความหมายดี ๆตามชื่อยังมีที่มาจากสายใยของ “ครอบครัว”

ชื่อร้าน ดีอาลีมาร์เก็ต เกิดจากการนำชื่อนามสกุลของครอบครัวมาตั้งโดยมีคำที่เพิ่มเข้ามาคือคำว่า “ดี” ที่มีความหมายได้ 2 แบบ ความหมายแรกคือ โชคดีหรือเรื่องดี ๆ และความหมายที่ 2 ตามภาษามลายูมีความหมายว่า “ที่นี้” เมื่อรวมความหมายทั้งหมดเข้าด้วยกันจึงมีความหมายได้ว่า “ที่นี่ดีอาลี ร้านค้าต้องการส่งต่อสิ่งดี ๆให้กับผู้อื่นต่อไป” นี่ก็คือความหมายดี ๆที่ซ่อนอยู่ในชื่อของร้าน

ดีอาลีมาร์เก็ต ร้านค้าดี เพื่อพี่น้องในชุมชนอยู่ดี มีรายได้

ความตั้งใจที่แท้จริงของการเปิดร้าน ดีอาลีมาร์เก็ต ไม่ได้มีเพียงแค่การนำสินค้าจากชุมชนมาขายเพื่อแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความตั้งใจที่แท้จริงของคุณมาเรียมก็คือความรู้สึกอยากจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ให้มีรายได้  เพราะคุณมาเรียมเองก็เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย สินค้าจึงมีความเข้าใจถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการด้วยกันต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตแล้วไม่รู้จะนำไปวางขายที่ไหน จะสร้างคอนเทนต์อย่างไรให้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า รวมถึงผลิตแล้วแต่ไม่รู้ว่ากลุ่มลูกค้าที่แท้จริงคือใคร คุณมาเรียมจึงนำปัญหาเหล่านี้ที่ผู้ประกอบการในชุมชนต้องประสบมาช่วยกันสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและชุมชน

สินค้าชุมชนดีแล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องดีด้วย

สิ่งที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของร้านดีอาลีมาร์เก็ตคือ “คุณภาพของสินค้าที่วางจำหน่ายในร้าน”  โดยทางร้านจะทำการคัดเลือกสินค้าทุกชิ้นก่อนวางจำหน่ายเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าสินค้าที่อยู่ในร้านเป็นของที่ดีและมีคุณภาพจริง ๆ เมื่อลูกค้าได้รับสินค้าไปแล้วต้องไม่รู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเงินที่ต้องจ่ายไปและต้องไม่รู้สึกผิดหวังกับตัวของสินค้า เพราะสิ่งที่ดีอาลีมาร์เก็ตใส่ใจไม่ได้อยู่แค่การเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและชุมชนเท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกของลูกค้าที่มาซื้อสินค้าในร้านด้วยเช่นกัน

สินค้าบอกเล่าความเป็นมา ชุมชนเล่าภูมิปัญา ที่มีคุณค่าควรสืบสานและบอกต่อ

ทุก ๆชุมชนย่อมมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นในรูปแบบของสินค้าพื้นเมืองของคนในชุมชน ดังนั้น สินค้าภายในร้านดีอาลีมาร์เก็ตทุกชิ้นจึงเป็นสินค้าที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมกันมานาน จึงเหมาะอย่างมากที่จะเป็นของฝากแทนใจหรือของใช้ของที่ระลึกแก่คนที่สนใจวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านและรวมไปถึงคนทั่ว ๆไปที่อยากจะหาซื้อของดีมีคุณภาพในราคาที่ไม่แพงเพื่อไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ดีอาลีมาร์เก็ต ร้านค้าที่เกิดจากใจกับเป้าหมายที่ต้องการให้คนภายนอกได้รู้จักกับสินค้าประจำท้องถิ่น

         แม้ว่าการเปิดร้านดีอาลีมาร์เก็ตจะเกิดขึ้นเพราะอย่างช่วยเหลือผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ในท้องถิ่นอีกทั้งยังต้องการสร้างมูลค่าให้แก่ทั้งชุมชนและสินค้าต่าง ๆ แต่เป้าหมายต่อไปที่คุณมาเรียมวางเอาไว้ คือการทำให้สินค้าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชนแพร่หลายออกไปเป็นที่รู้จักแก่สังคมภายนอกให้มากขึ้น นี่คือเป้าหมายต่อไปที่คุณมาเรียมต้องการจะทำนั่นเอง

ดีอาลีมาร์เก็ตกับแรงบันดาลใจที่อยากส่งต่อไปถึงผู้ประกอบการรายอื่น ๆ

“Never give up on something you really want. However impossible thing my seem, There’s always a way” {จงอย่ายอมแพ้ที่จะทำตามความฝัน แม้ว่ามันดูยากเกินจะเป็นความจริงได้แต่ทุกอย่างมีหนทาง และความเป็นไปได้ด้วยกันทั้งนั้น} นี่ก็คือคำคมดี ๆ ที่คุณมาเรียมยึดถือและต้องการส่งต่อไปถึงเจ้าของกิจการทุกท่าน

ช่องทางติดต่อ

– Facebook ดีอาลีมาร์เก็ต
– Instagram ดีอาลีมาร์เก็ต
– Line @deealee073
– Lazada deealee Market

…………………………………………………………………………………………………………….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602
Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA

“ตำนานกล้วยทอดมายอ” ธุรกิจสานฝันที่สร้างโอกาสสู่ความสำเร็จ

#BIHAPSSTORYEP 4

โอกาสไม่ใช่สิ่งที่จะแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมเยียนทุกคนได้บ่อย ๆ หลายครั้งที่โอกาสได้แวะเวียนมาถึงตัวแล้วแต่คนผู้นั้นกลับไม่สามารถจะคว้าเอาโอกาสทองนั้นไว้ได้และปล่อยให้สิ่งนั้นหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย และโอกาสนั้นเมื่อหลุดลอยไปแล้วก้ไม่รู้ว่าอีกนานเพียงใดจึงจะย้อนกลับมาอีกครั้ง แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับธุรกิจหนึ่งที่เรากำลังจะพูดถึงกัน นั่นก็เพราะการรู้จักคว้าโอกาสไม่ให้มันหลุดลอยและต่อยอดพัฒนาสิ่งนั้นจนสามารถสร้างความสำเร็จขึ้นมาได้อย่างน่าสนใจ ธุรกิจที่กล่าวถึงนั้นก็คือ “ตำนานกล้วยทอดมายอ”

โอกาสที่คว้าไว้คือที่มาของการสร้างฝันจากการทำธุรกิจ

“คุณวันรุสลัน มะรอเด็ง” ได้เล่าถึงความเป็นมาในการขายกล้วยทอดโดยเริ่มต้นจากการที่คุณวันรุสลันได้ไปทำงานเป็นพ่อครัวที่ร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซียอยู่นานหลายปี จึงทำให้มีโอกาสได้เห็นคนมาเลเซียทำกล้วยทอดขาย ซึ่งรสชาติของกล้วยทอดนั้นมีความอร่อยและน่าสนใจ คุณวันรุสลันจึงมีความคิดที่จะกลับมาทำกล้วยทอดขายที่บ้านในอนาคต จนกระทั่งเมื่อคุณวันรุสลันมีความคิดที่จะกลับมาลงหลักปักฐานที่ประเทศไทยตามเดิม  คุณวันรุสลันจำได้ว่าครอบครัวของตนมีสูตรต้นตำรับการทำกล้วยทอดที่สืบทอดกันมาหลายรุ่นจึงได้ลองนำสิ่งที่เป็นต้นตำรับของครอบครัวมาปรับปรุงสูตรใหม่โดยลองผิดลองถูกอยู่ประมาณ 5 เดือน จนในที่สุดได้กลายมาเป็นสูตรเฉพาะของร้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

คุณวันรุสลันยังเล่าต่อไปอีกว่า “กล้วยทอดที่คุณวันรุสลันทำออกมานั้นสามารถสร้างฝันของเขาให้เป็นจริงได้” เพราะดั้งเดิมครอบครัวของคุณวันรุสลันมีฐานะที่ค่อนข้างลำบากทำให้มีความรู้เพียงแค่พอจะอ่านออกเขียนได้เท่านั้น แต่เมื่อคุณวันรุสลันค้นพบโอกาสในการทำกล้วยทอดออกมาวางขาย คุณวันรุสลันจึงไม่รีรอที่จะลงมือทำโดยพัฒนาสูตรของครอบครัวจนได้ออกมาเป็นกล้วยทอดสูตรที่วางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้ ขณะเดียวกันแม้สินค้าของคุณวันรุสลันจะเริ่มติดตลาดและได้รับความนิยมมากขึ้น คุณวันรุสลันก็ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาและปรับปรุงสินค้าของตนเองในทุก ๆด้านไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ, คุณค่า, รสชาด, ความสะอาดและถูกหลักอนามัย อีกทั้งแนวคิดของคุณวันรุสลันที่มองว่าลูกค้าทุกท่านเสมือนธนาคารหรือสถาบันการเงินของนักธุรกิจทุก ๆคนที่ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินมาได้จนถึงทุกวันนี้

ที่สุดของความภาคภูมิใจ กล้วยทอดมายอ เป็นเครื่องว่างเพื่อถวายแด่ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี”

แรกเริ่มเดิมที “ตำนานกล้วยทอดมายอ” ไม่ใช่ชื่อแบรนด์ของคุณวันรุสลันมาแต่แรก แต่หากใช้ชื่อว่า “กล้วยทอดมายอ” เพราะความที่ร้านตั้งอยู่ที่อำเภอมายอ แต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ Key Success To The Best Halal Franchise กับทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยในช่วงที่ทางโครงการได้จัดทำคีออส (Kiosk) รถเข็นให้กับผู้ประกอบการ และเมื่อคุณวันรุสลินได้อบรมในหัวข้อ “Content Marketing & Storytelling” จึงมีความคิดที่จะรีแบรนดิ้งโดยการตั้งชื่อแบรนด์ใหม่กลายมาเป็น “ตำนานกล้วยทอดมายอ” แทน โดยชื่อแบรนด์นี้มีที่มาจากเมื่อปีพ.ศ. 2561 ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นกับร้านกล้วยทอดของคุณวันรุสลันเมื่อทางร้านได้รับเกียรติให้จัดทำกล้วยทอดเป็นเครื่องว่างเพื่อถวายแด่ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยได้รับการติดต่อมาจากเจ้าของโรงแรม  CS ปัตตานีที่เคยทานกล้วยทอดของที่ร้านมาก่อนผ่านทางเพื่อนที่เป็นตำรวจที่อยู่ที่อำเภอมายอโดยติดต่อเพื่อที่จะให้มาทอดกล้วยทอดถวายพระองค์ท่านตามวันและเวลาที่พระองค์เสด็จมาประทับที่โรงแรม เหตุการณ์ในวันนั้นยังความปลาบปลื้มให้แก่คุณวันรุสลันเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การรีแบรนดิ้งมาใช้ชื่อ “ตำนานกล้วยทอดมายอ” ในที่สุด

จุดเด่นอยู่ที่รสชาติความอร่อยจากการใส่ใจในคุณภาพของสินค้า

จุดเด่นที่ทำให้ “ตำนานกล้วยทอดมายอ” ได้รับความนิยมก็คือความอร่อยที่ลูกค้าบอกต่อ ๆกันแบบปากต่อปาก จนทำให้ลูกค้าหรือผู้ที่สัญจรผ่านไปผ่านมาแวะเวียนเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะขาประจำที่เคยทานที่ต้องแวะมาอุดหนุนทุกครั้งหากต้องผ่านเส้นทางที่ตั้งร้าน นอกจากนี้ตำนานกล้วยทอดมายอยังมีสินค้าอื่น ๆไม่ว่าจะเป็น มันทอด ตาแปทอด และจำปาดะทอด (เป็นสินค้าตามฤดูกาล) ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อหา แต่ทีเด็ดของร้านนี้คือเมนูกล้วยทอดที่ใช้กล้วยหินและกล้วยนันยางที่ผ่านการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพนำไปชุบแป้งที่เป็นสูตรเด็ดของทางร้านแล้วนำไปทอดจนได้กล้วยทอดที่มีรสชาดอร่อยถูกปากลูกค้าในที่สุดโดยเฉพาะกล้วยหิน เพราะเนื้อที่หวานแบบพอดี จึงให้รสชาดที่อร่อยและมีความพิเศษมากกว่ากล้วยชนิดอื่น ๆ 

ตำนานกล้วยทอดมายอคือกล้วยทอดที่เหมาะสำหรับทุก ๆคน

กล้วยทอดคือของว่างที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหลายพื้นที่ ตำนานกล้วยทอดมายอก็เช่นกันที่ไม่เพียงแต่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากคนในพื้นที่เท่านั้น แต่หากยังได้รับความนิยมไปยังจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย แม้ว่าตำนานกล้วยทอดมายอจะมีกรรมวิธีการผลิตที่ยึดหลักของฮาลาลแต่ก็ใช่ว่าจะเหมาะสำหรับพี่น้องชาวมุสลิมเท่านั้น เพราะด้วยคุณภาพการผลิตที่คุณวันรุสลันใส่ใจตั้งแต่กระบวนการเลือกวัตถุดิบหลัก ไปจนถึงกระบวนการผลิตที่สะอาด ปลอดภัย และถูกหลักอนามัยผสานเข้ากับสูตรลับการทำแป้งที่อร่อยเด็ดจนต้องบอกต่อ ตำนานกล้วยทอดมายอจึงเหมาะจะเป็นอาหารว่างจานเด็ดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานกล้วยทอดครับ

ต่อยอดขยายโอกาสคือก้าวย่างต่อไปของตำนานกล้วยทอดมายอ

คุณวันรุสลันตั้งใจที่จะขยายแบรนด์ตำนานกล้วยทอดมายอออกไปให้เป็นที่รู้จักผ่านการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยมีความคิดที่จะทำให้แฟรนไชส์กล้วยทอดมายอเป็นแบรนด์ที่จะสร้างรายได้ให้แก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามสโลแกน “กล้วยทอดที่สร้างฝันให้เป็นจริง” พร้อมเสิร์ฟถึงมือคุณแล้ว

ส่งต่อแรงบันดาลใจไปสู่ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ๆ

โอกาสไม่ได้มีเข้ามาบ่อย ๆ คุณต้องเตรียมความพร้อมของตัวเองเพื่อที่จะรอรับโอกาสที่จะแวะเวียนเข้ามาหาคุณให้พร้อม และเมื่อโอกาสเหล่านั้นมาถึงก็จงคว้ามันเอาไว้ให้มั่น ทำโฑอกาสให้เป็นจริงและพัฒนาโอกาสจนนำไปสู่ความสำเร็จต่อไปในอนาคต เพราะคุณวันรุสลันเองก็อยากให้ทุกคนประสบความสำเร็จเหมือนที่ตนเองประสบความสำเร็จไปด้วยกันและอยากให้ผู้ที่สนใจมาร่วมสร้างแฟรนไชส์ไปด้วยกัน

ช่องทางติดต่อ

ร้านกล้วยทอดมายอตั้งอยู่ฝั่งขวามือติดกับอำเภอมายอ
Facebook: วันรุสลัน มะรอเด็ง
คุณวันรุสลัน มะรอเด็ง: เจ้าของธุรกิจเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 089-298-9883

……………………………………………………………………………………………………..
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602
Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTAN
I#HALALCHULA

มัตอัม-มัรฮาบัน : จากประสบการณ์กว่า 30 ปีในต่างแดนจนกลายมาเป็นร้านอาหารอาหรับแห่งแรกในเมืองปัตตานี

#BIHAPSSTORYEP 5

อาหารอาหรับรสชาติดั้งเดิมเป็นวัฒนธรรมด้านอาหารที่หาทานได้ยากมากในเมืองไทย เนื่องด้วย ไม่มีใครรู้จักเคล็ดลับกรรมวิธีการปรุงรสชาติตามต้นตำรับ รวมถึงไม่มีใครเคยรู้จักรสชาติที่แท้จริงของอาหารตำรับนี้มาก่อน การจะหาร้านใดที่ทำได้ใกล้เคียงกับต้นตำรับนั้นบอกได้เลยว่า “เป็นเรื่องที่ยากมากทีเดียว”
แต่กระนั้น ณ จังหวัดปัตตานีกลับมีร้านอาหารอาหรับที่บอกว่าตนเองคือร้านอาหารอาหรับสูตรดั้งเดิมร้านแรกในประเทศไทยเปิดดำเนินการขึ้น และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วหลังการเปิดเพียงไม่กี่ปี ร้านนี้มีชื่อว่า “มัตอัม-มัรฮาบัน”

สูตรเด็ดของทางร้านคือประสบการณ์จากต่างแดนกว่า 30 ปี

คุณมูนา กะลูแป CEO ของร้านมัตอัม-มัรฮาบันได้เล่าเรื่องราวต้นกำเนิดของร้านเอาไว้ว่า มัตอัม-มัรฮาบัน เป็นร้านอาหารอาหรับร้านแรกในเมืองปัตตานี ซึ่งคุณมูนาได้สืบทอดรสชาติอาหารมาจากคุณแม่ โดยก่อนหน้านี้ครอบครัวอาศัยอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นเวลากว่า 30 ปี โดยทำอาชีพรับเหมาทำอาหารของคณะที่มาจากมาเลเซียและชาวไทยที่ไปประกอบพิธีฮัจย์ และไปทำอุมเราะห์ขณะเดียวกันก็มีโอกาสไปทานข้าวมันอาหรับ หรือที่เรียกว่าข้าวบีรยานี ร้านดังใกล้ ๆ กับมัสยิดมาดีนะห์อยู่บ่อยครั้ง คุณแม่จึงลองกลับมาทำเองโดยเรียนรู้ปรับปรุงรสชาติจนได้รสชาติที่เหมือนกับต้นฉบับซึ่งได้รับการการันตีจากเพื่อนฝูงรวมถึงชาวอาหรับเองในความอร่อยของข้าวบีรยานี แต่ด้วยเหตุความจำเป็นบางอย่างครอบครัวต้องย้ายกลับมาเมืองไทย และประกอบอาชีพส่วนตัว ส่วนตัวคุณมูนาเองก็เป็นครูอยู่โรงเรียนเอกชนแห่งในจังหวัดปัตตานี
คุณมูนาทำงานอยู่ที่โรงเรียนเอกชน 1 ปีรู้สึกว่างานที่ทำไม่ค่อยอิสระประกอบกับเริ่มมีความคิดว่าอยากเปิดร้านอาหารอาหรับ และจากที่ผ่านมาที่เคยทานข้าวมันอาหรับในประเทศไทยยังไม่เคยเจอรสชาติที่ถูกใจเหมือนกับตอนที่อยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย คุณมูนาจึงตัดสินใจอย่างแน่วแน่และลาออกจากงานประจำมาเปิดร้านอาหารเต็มตัวเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ในเมืองปัตตานีโดยใช้ชื่อว่า “มัตอัม-มัรฮาบัน”

ชื่อร้านกับความหมายดี ๆที่ดูอบอุ่นและเป็นกันเอง

คำว่ามัตอัม-มัรฮาบัน  เป็นภาษาอาหรับสองคำมารวมกันโดยคำว่า “มัตอัม” หมายถึงร้านอาหาร (Restaurant) และคำว่า “มัรฮาบัน” หมายถึง ยินดีต้อนรับ (Welcome) ซึ่งเมื่อรวมคำทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วจึงหมายถึง “ร้านอาหารที่พร้อมต้อนรับทุกท่านที่มาเยือน”

ตำนานความอร่อย รสชาติจากประสบการณ์ยาวนานร่วม 30 ปี

จุดเด่นของอาหารในร้าน มัตอัม-มัรฮาบัน คงหนีไม่พ้นในเรื่องรสชาติที่มีความเป็นอาหารอาหรับแท้ ๆจากประสบการณ์ในการคลุกคลีในต่างแดนกว่า 30 ปีที่คุ้นเคยกับรสชาติของอาหารอาหรับแท้ ๆและความเชี่ยวชาญในการปรุงรสเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารอาหรับสูตรดั้งเดิมเหมือนกับเดินทางไปทานเองถึงดินแดนต้นตำรับ
นอกเหนือจากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ทางร้านยังใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนสำคัญในการคัดเลือกวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นข้าวที่นำมาทำเป็นข้าวบีรยานี รวมไปถึงกรรมวิธีในการประกอบอาหารและการปรุงที่ใช้วิธีการของทางต้นตำรับทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้รสชาติดั้งเดิมให้มากที่สุด ด้วยความใส่ใจในทุกจานที่ทำและความสดใหม่ที่ทำกันวันต่อวันซึ่งการันตีได้จากลูกค้าที่มาทานซ้ำเป็นประจำ
เมนูขึ้นชื่อของทางร้านคือ ข้าวมันอาหรับหรือข้าวบีรยานีแม้ไม่ใช่เมนูอาหารใหม่ในพื้นที่แต่หลังจากที่มัตอัม-มัรฮาบัน ได้นำเมนูข้าวบีรยานีมาเป็นเมนูซิกเนเจอร์ของร้าน จึงทำให้เมนูนี้เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึงปี มีผู้คนจำนวนมากมาสัมผัสรสชาติอาหารอาหรับสูตรต้นตำรับนี่คือสิ่งที่แสดงถึงความนิยมในรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของทางร้านได้เป็นอย่างดี

อาหารตำรับอาหรับของร้านมัตอัม-มัรฮาบันกับคุณค่าที่ทุกคนต้องลอง

อาหารอาหรับสูตรดั้งเดิมของทางร้านไม่ได้จำกัดเฉพาะลูกค้าในพื้นที่หรือกลุ่มลูกค้าที่เป็นพี่น้องชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับผู้ที่นิยมชมชอบในรสชาติอาหารต้นตำรับในสไตล์อาหรับแท้ ๆ หรือผู้ที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ทางด้านอาหาร หากคุณอยากรู้จักรสชาติดั้งเดิมแท้ ๆ อาหารอาหรับของร้าน ร้านมัตอัม-มัรฮาบัน คือคำตอบที่คุณต้องไปลองลิ้มชิมรสด้วยตนเอง นอกจากนี้ด้วยความใส่ใจในขั้นตอนการผลิตตามมาตรฐานฮาลาล คุณจึงมั่นใจได้ว่า อาหารของทางร้านจะถูกต้องตามหลักเกณฑ์และปลอดจากสารปนเปื้อนที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ

เรียนรู้จากความผิดพลาด ศึกษาหาความรู้เพื่อต่อยอดความสำเร็จทางธุรกิจ

แม้ร้านมัตอัม-มัรฮาบันจะประสบความสำเร็จในตัวจังหวัดปัตตานี แต่เมื่อเปิดสาขาที่สองที่ อ.บันนังสตา จ.ยะลา จากความไม่พร้อมในการบริหารร้านและขาดองค์ความรู้ต่าง ๆ ในการบริหารสาขา จึงทำให้สาขาที่ 2 ต้องปิดตัวลงไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับสมัครผู้ประกอบการเพื่ออบรมคอร์สแฟรนไชส์ฮาลาลคุณมูนาจึงสมัครเข้าร่วมโครงการและมีแพลนที่จะขยายสาขาในรูปแบบของเฟรนไชส์ร้านอาหารอาหรับกระจายไปตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศในปลายปีนี้

แรงบันดาลใจส่งต่อถึงผู้ประกอบการ

แม้ว่าธุรกิจจะเคยประสบความสำเร็จมาก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะการันตีความสำเร็จต่อไปได้ในอนาคต แม้ว่าจะโบยบินสูงเพียงใดก็มีวันที่จะปีกหักและร่วงถลาลงสู่ดินได้เช่นกัน การทำธุรกิจจึงสำคัญที่คุณต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและหาความรู้มาพัฒนาต่อยอดตนเองแล้วลุกขึ้นมาใหม่ให้ได้ นั่นแหละคือหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ

ช่องทางติดต่อ

สำหรับใครที่สนใจจะลิ้มลองความกลมกล่อมนี้ มัตอัม-มัรฮาบัน ตั้งอยู่ 181/4 ต.จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี ไม่ไกลจากมัสยิดกลางปัตตานี ร้านเปิดให้บริการทุกวันเวลาตั้งแต่เวลา  11.00 น. -20.30 น.ยกเว้นวันอังคาร

   นอกจากนี้ทางร้านยังมีบริการจัดอาหารกล่อง เบรกอาหารว่าง รับจัดบุฟเฟต์ จัดงานเลี้ยงนอกสถานที่ งานอากีเกาะฮ์ หรืองานเทศกาลต่างๆ
สามารถโทรสอบถามได้ที่ 0936692932 / 0833989433
FB page:https://www.fb.com/MarhabanPatani/
Web: http://marhabanrestaurant.blogspot.com
Line@: Marhabanrestaurant

……………………………………………………………………………………………………………..
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602
Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA

ไก่ย่างสาหร่าย Rosemaleen ธุรกิจสู้ชีวิตจากความล้มเหลวสู่ความสำเร็จ

#BIHAPSSTORYEP 10

ในชีวิตของใครสักคน ความล้มเหลวอาจหมายถึงจุดสิ้นสุดของอะไรหลาย ๆอย่างที่ตามมา ความล้มเหลวจึงไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนปรารถนาจะพบเจอไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แต่ผู้คนจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ไม่อาจเลี่ยงที่จะไม่พบเจอกับความล้มเหลว สิ่งที่ตามมาจึงอยู่ที่ว่าเมื่อคุณเจอปัญหาหรืออุปสรรคที่โถมเข้าใส่ คุณจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรดีต่างหาก เฉกเช่นเดียวกับธุรกิจเล็ก ๆ ธุรกิจหนึ่งที่มีจุดเริ่มต้นจากความล้มเหลว แต่ด้วยความไม่ย่อท้อต่อโชคชะตาจึงผลักดันให้ธุรกิจนี้ให้มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน

ความล้มเหลวเป็นแรงผลักดันให้เดินหน้าต่อ

“คุณโรสมาลีน กิตินัย” คือเจ้าของธุรกิจไก่ย่างสาหร่าย “โรสมาลีน” โดยแรกเริ่ม เดิมทีคุณโรสมาลีนไม่คิดไม่ฝันว่าตัวเองจะต้องจับพลัดจับผลูเข้ามาอยู่ในแวดวงธุรกิจอาหารเพราะก่อนหน้านี้คุณโรสมาลีนทำธุรกิจเปิดร้านขายผ้าที่จังหวัดปัตตานี แต่ด้วยสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้กิจการร้านผ้าซบเซาลง และทำให้หลายคนต้องถูกให้ออกจากงานเพราะโรงงานในจังหวัดถูกปิดตัวลงหลายแห่งทำให้คุณโรสมาลีนเองก็มืดแปดด้านด้วยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว จนกระทั่งวันหนึ่งคุณโรสมาลีนได้มีโอกาสไปออกบูธขายผ้าโดยคำชักชวนของคุณกำแก้ว เมนาคม นายกสมาคมธุรกิจอาหารปัตตานีซึ่งจัดโดยพาณิชย์จังหวัดปัตตานีที่ห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ที่งานนี้เองที่คุณโรสมาลีนได้มีโอกาสพบเห็นสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ จาก 5 จังหวัดภาคใต้นับเป็นการเปิดหูเปิดตาและสร้างไอเดียใหม่ ๆให้แก่คุณโรสมาลีนเป็นอย่างมากกระทั่งน้องสาวซึ่งได้ออกบูธด้วยกันนำกือโป๊ะทอด(ข้าวเกรียบปลาสด)มาให้รับประทานทำให้คุณโรสมาลีนได้ไอเดียสำคัญที่จะลองผลิตกือโป๊ะออกมาวางจำหน่ายภายใต้บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและแนวคิดที่ว่า “อาหารพื้นถิ่น มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง”  ซึ่งคุณกำแก้ว  เมนาคมได้แนะนำให้ไปเรียนรู้การทำกือโป๊ะกับอาจารย์เนตรณภิส  อ่องสุวรรณและอาจารย์พัชรินทร์  ภักดีฉนวน ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์อาหารฮาลาล  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานีจนได้ออกมาเป็นกือโป๊ะแปรรูปจากปลาทูสดที่มีมากถึง 6 รสชาดออกมาวางจำหน่าย
ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยดีจนกระทั่งถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนัก มีมรสุมทำให้ปลาขาดตลาดไม่สามารถทำกือโป๊ะได้ต้องหยุดผลิตไปเกือบ 2 สัปดาห์ทำให้สมาชิกในกลุ่มขาดรายได้ ช่วงเวลานั้นคุณโรสมาลีนมีโอกาสเดินทางไปที่ ต.บางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี แล้วไปพบเห็นของดีประจำถิ่นคือ สาหร่ายผมนาง คุณโรสมาลีนได้เล็งเห็นคุณค่าของสาหร่ายจึงคิดนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์จนมาลงเอยที่ “ไก่ย่างสาหร่ายผมนาง” เพื่อนำมาเป็นรายได้ทดแทนการทำกือโป๊ะ

ชื่อแบรนด์ที่ติดหูก็คือชื่อของตัวเอง

สำหรับชื่อแบรนด์ไก่ย่างสาหร่าย Rosemaleen นั้นก็ได้ชื่อของตัวคุณโรสมาลินนำมาตั้งเป็นชื่อของแบรนด์ผลก็คือได้ชื่อแบรนด์ที่สะดุดหูและจดจำง่ายสำหรับลูกค้าไปในที่สุด

จุดเด่นคือรสชาติและคุณภาพที่ใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค

คุณโรสมาลีนคิดค้นสูตร “ไก่ย่างสาหร่ายผมนาง Rosemaleen” โดยใช้เวลากว่า  8 เดือนโดยพิถีพิถันในการคัดสรรวัตถุดิบซึ่งเป็นสมุนไพรเช่น ผักชี  พริกไทย  กระเทียม ที่สดสะอาดนำมาคลุกเคล้ากับเนื้อไก่บดและสาหร่ายผมนางที่หมักโดยสูตรลับเฉพาะจนเนื้อนุ่มให้รสชาติที่อร่อยถูกปาก รสชาติกลมกล่อม หอมสมุนไพรและที่สำคัญคือไม่มีส่วนผสมของสารกันบูดและวัตถุกันเสียเพราะความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสำคัญหลังจากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นชิ้นโดยสามารถนำไปย่าง  อบ  หรือ ทอดก็ได้เช่นกัน

ความใส่ใจในสุขภาพของผู้ทานคือพื้นฐานสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

ไก่ย่างสาหร่ายผมนางของคุณโรสมาลีนถูกผลิตด้วยกรรมวิธีฮาลาลผสานสูตรลับเฉพาะที่ลงตัวจึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่ชื่นชอบในรสชาติอาหารท้องถิ่นไม่เฉพาะแต่พี่น้องชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงพี่น้องในภาคส่วนอื่น ๆด้วยเช่นกันนั่นก็เพราะพื้นฐานความใส่ใจสุขภาพของคนทานที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปราศจากการปรุงแต่งหรือสิ่งเจือปนที่ไม่ดีต่อสุขภาพนั่นเอง

เป้าหมายสำคัญกับการต่อยอดธุรกิจให้ยั่งยืน

ไก่ย่างสาหร่ายผมนางของคุณโรสมาลีนได้มีโอกาสไปร่วมงาน “Betong  Halal International  Fair  2019”  ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับกระแสตอบรับภายในงานดีมากคุณโรสมาลีนจึงได้ทดลองส่งไปขายตามที่ต่าง ๆ และผลตอบจากลูกค้าก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดี คุณโรสมาลีนจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดไปเป็นแฟรนไชส์ “ไก่ย่างสาหร่ายผมนาง” จึงเข้าร่วมโครงการ “Key  Success  To  The  Best  halal  Franchise” ทำให้ได้เรียนรู้ธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ ทางผู้บริหารได้วางแนวคิดที่จะขยายแฟรนไชส์ไก่ย่างสาหร่ายผมนางโรสมาลีนให้ได้ทุกอำเภอใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเหตุผลที่สำคัญก็คือความสะดวกในการขนส่งสินค้า

แรงบันดาลใจส่งต่อสู่ธุรกิจอื่น ๆ

การทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด ๆก็ตามถึงแม้ว่าคุณจะไม่เคยมีความชำนาญหรือประสบการณ์ในการทำธุรกิจนั้นมาก่อน แต่หากคุณมีใจรักที่จะทำ มีเป้าหมายที่แนวแน่ชัดเจน และคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยใจจริง ทุกคนก็สามารถทำได้ขอเพียงแค่ “ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ขยันศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง  มีความตั้งใจ อดทนไม่ย่อท้อ สิ่งดี ๆที่ทำเพื่อผู้อื่นก็จะตอบแทนเป็นความสำเร็จให้แก่คุณในที่สุด”

ช่องทางติดต่อ

– หน้าร้าน ตรงข้ามอาคารเอนกประสงค์จะบังติกอ อ.เมือง จ.ปัตตานี เวลา 06.00-09.30 น.
– Facebook: Rose maleen
– Page: keropok4u
– Id line: K.rosemaleen
– Tel 086 9615844, 087 9692284
– ร้านที่มีป้าย “ไก่ย่างสาหร่าย Rosemaleen”

“Pinsouq Halal Marketplace” ตลาดฮาลาลออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

#BIHAPSSTORYEP 9

เพราะช่องทางการค้าออนไลน์เป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน และด้วยความเข้าอกเข้าใจต่อพี่น้องชาวมุสลิมด้วยกัน จึงมีผู้ที่ริเริ่มคิดนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องมุสลิมได้รับความสะดวกสบายจากการซื้อสินค้าออนไลน์โดยไม่ขัดต่อหลักของศาสนาเกิดเป็นตลาดสินค้าฮาลาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขึ้นมา ตลาดสินค้าฮาลาลที่ว่านั้นมีชื่อว่า Pinsouq Halal Marketplace

เพราะความเข้าใจพี่น้องมุสลิมด้วยกัน จึงถือกำเนิดเป็นนวัตกรรมเพื่อพี่น้องมุสลิมโดยเฉพาะ

จุดเริ่มต้นเรื่องราวของ “Pinsouq” เกิดขึ้นมาจากมันสมองและแนวคิดของชายผู้มีชื่อว่า “คุณชารีฟ เด่นสุมิตร” ผู้ที่นิยมและชื่นชอบในการทำ Tech Start Up และมีแนวคิดที่อยากจะนำสิ่งที่ตนคิดค้นลงมือทำมาเป็น “นวัตกรรม” ที่สามารถเปลี่ยนโลกใบนี้ได้ โดยใช้องค์ความรู้ทั้งหมดที่ร่ำเรียนมาจากทั้งระดับปริญญาโทวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริหารธุรกิจในหลักสูตร Young Executive MBA จากมหาวิทยาลัยบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) มาประกอบกันเป็นนวัตกรรมเล็ก ๆที่ชื่อว่า “BEMUY” หรือ “BUY ME” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตลาดสินค้าฮาลาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าฮาลาลที่นับวันจะยิ่งขยายตัวมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศและที่สำคัญคือเป็นนวัตกรรมเพื่อพี่น้องชาวมุสลิมได้ใช้สินค้าฮาลาลที่ถูกต้องตามหลักศาสนาและมีคุณภาพที่ดีเพราะความเข้าใจในหัวอกของพี่น้องมุสลิมด้วยกันนั่นเอง

รีแบรนด์เพื่อเติบโตและมุ่งสู่ความเป็น “สากล”

ภายหลังการเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม BEMUY คุณชารีฟจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น “PINSOUQ” เพื่อรองรับตลาดในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น โดยคำว่า Pinsouq เกิดจากการรวมรากศัพท์คำว่า “PIN” ภาษาอังกฤษที่สื่อถึง การปักหมุด และ “SOUQ” ที่มาจากภาษาอาราบิคที่แปลว่า “ตลาด” โดยการรีแบรนด์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งสร้างให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและมุ่งสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น

อัตลักษณ์และจุดเด่นที่ชัดเจนคือแนวทางการดำเนินงานสู่ความสำเร็จ

PinSouq มีรูปแบบในการดำเนินงานที่ต้องการเป็นตลาดสินค้าฮาลาลออนไลน์ที่ง่ายต่อการเข้ามาซื้อและเข้ามาขาย โดยปัจจุบันมีสินค้านับแสนรายการจากทั่วประเทศเข้ามาวางจำหน่ายภายใต้แพลตฟอร์ม PINSOUQ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาซื้อขายกันได้ที่ www.pinsouq.com หรือในแอพพลิเคชั่นทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ IOS
แทบไม่น่าเชื่อว่าจากแนวคิดเล็ก ๆในระหว่างเรียนจะได้ถือกำเนิดเป็นบริษัท แฮส ออเดอร์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ PINSOUQ ที่คุณชารีฟสร้างขึ้นเพื่อเป็นตลาดฮาลาลออนไลน์ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยโดยประกอบไปด้วย

1. ระบบการกระจายสินค้าอาหารฮาลาลในชื่อแบรนด์ PINSOUQ STORE โดยมีพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัดได้แก่ ปัตตานี, ยะลา, สงขลา, ตรัง, อยุธยา และกรุงเทพมหานคร

2. ระบบการจัดส่งอาหารสดถึงบ้านในชื่อแบรนด์ PINSOUQ DELIVERY 

3. ระบบการวางตลาดสินค้าสำหรับผู้ประกอบการในชื่อแบรนด์ PINSOUQ ACADEMY รวมถึงอื่น ๆ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม ด้วยสโลแกน “การตลาดแบบกล้วย ๆ ด้วย PINSOUQ”

Pinsouq ตลาดฮาลาลออนไลน์เพื่อทุก ๆ คน

แม้ว่า PinSouq จะถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องชาวมุสลิมได้ใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ฮาลาลเป็นสำคัญ แต่แท้จริงแล้วนั้น “สินค้าฮาลาล” เป็นสินค้าที่ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะพี่น้องชาวมุสลิมเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของอาหาร เพราะขั้นตอนกรรมวิธีของฮาลาลเป็นกรรมวิธีที่ไม่มีการเจือปนสิ่งที่จะให้โทษใด ๆแก่สุขภาพ ดังนั้นสินค้าฮาลาลใน Pinsouq จึงเหมาะสมกับทั้งพี่น้องชาวมุสลิมและผู้ที่สนใจสินค้าฮาลาล

มุ่งเป้าสู่สากล เพื่อยกระดับสินค้าฮาลาลเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักยังต่างแดน

การดำเนินงานของ Pinsouq แม้จะได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทยจนกระทั่งสามารถเติบโตเป็นตลาดฮาลาลออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิ แต่สำหรับ Pinsouq ความสำเร็จนี้เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของเป้าหมายที่ใหญ่กว่านั่นคือ การยกระดับสินค้าฮาลาลจากเมืองไทยและช่วยเป็นช่องทางผลักดันให้แก่สินค้าฮาลาลจากเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักและขยายตัวไปยังภูมิภาคอื่น ๆทั่วโลกในอนาคต

ตัวอย่างเรื่องราวดี ๆที่ส่งต่อแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ที่คิดเริ่มต้นทำธุรกิจ

Pinsouq เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้โดยไม่มีอุปสรรคในเรื่องระยะทางแม้แต่น้อย แม้ว่าทำเลที่ตั้งจะไม่ได้อยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร แต่หากอยู่ถึงสถานที่ที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้แต่ผลงานที่ออกมากลับเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล โดยได้รับความเชื่อถือจากองค์กรชั้นนำใหญ่ ๆภายในประเทศโดยมีผลงานระดับประเทศมากมายรวมไปถึงการได้มีโอกาสไปเป็นที่รู้จักตามสื่อต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น SHARK TANK THAILAND, สุทธิชัย LIVE, NEWS TODAY, STAR TECH สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนเองรวมไปถึงธุรกิจอื่น ๆที่อยู่นอกพื้นที่ว่าสามารถไปไกลในระดับโลกได้  เพียงแต่เจ้าของกิจการต้องมีความเชื่อมั่นว่า คุณเองก็ทำได้ ซึ่งในที่สุดก็จะนำไปสู่การร่วมมือกันนำพาธุรกิจไปแสวงหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ยั่งยืนสืบต่อไป

ช่องทางติดต่อ

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางดังต่อไปนี้
Facebook: Pinsouq ตลาดสินค้าฮาลาล
– Website: www.pinsouq.com
– App Store: Pinsouq ตลาดสินค้าฮาลาลออนไลน
– Play Store: Pinsouq ซื้อ-ขาย สินค้า ฮาลา

…………………………………………………………………………………………………………
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000
โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602

Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA

แกงกะหรี่แพะ แกงกะหรี่เนื้อสำเร็จรูปพร้อมทาน “AMA” ผลิตภัณฑ์คุณภาพที่ส่งต่อรสชาติความอร่อยจากรุ่นสู่รุ่น

#BIHAPSSTORYEP 8

สูตรลับด้านรสชาติอาหารของแต่ละบ้าน เป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น รสชาติที่คุ้นเคยคือความอบอุ่นที่ถูกส่งต่อบอกเล่าเรื่องราวผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันและหลาย ๆบ้านก็นำเอาสูตรเด็ดประจำครอบครัวนี้มาประกอบเป็นธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร  จนสร้างเนื้อสร้างตัวประสบความสำเร็จมาจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว เช่นเดียวกับเรื่องราวที่อยากจะเล่าดังต่อไปนี้  ซึ่งเกี่ยวข้องกับสายใยความรักและความผูกพันของครอบครัวหนึ่งซึ่งส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นในรูปแบบของสูตรอาหาร  จนกลายเป็นที่มาของแบรนด์อาหารประจำถิ่น ของดีที่น่าลิ้มลองรสชาติและความอร่อย

จากสูตรลับประจำครอบครัวเป็นที่มาของร้านดังประจำตัวเมืองยะลาและต่อยอดไปสู่แกงกระหรี่สำเร็จรูป

“คุณนูร์อิศซาตีย์ สาและ” เป็นเจ้าของเรื่องราวที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี้ ปัจจุบันคุณนูร์อิศซาตีย์เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหาร My home café’ ร้านอาหาร Myhome restaurant และเจ้าของผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่ สำเร็จรูปพร้อมทาน ตรา AMA จุดเริ่มต้นก่อนที่จะมาเป็นผลิตภัณฑ์แกงกะหรี่สำเร็จรูปตรา AMA นั่นเริ่มต้นมาจากที่ครอบครัวของคุณนูร์อิศซาตีย์มีร้านข้าวแกงเล็ก ๆร้านหนึ่งในตัวเมืองยะลาที่มีเมนูยอดนิยมประจำร้านคือแกงกะหรี่แพะและแกงกะหรี่เนื้อสูตรดั้งเดิมโบราณที่ได้รับการสืบทอดสูตรเด็ดความอร่อยมาจากบรรพบุรุษ  จนส่งต่อมาถึงรุ่นคุณแม่ของคุณนูร์อิศซาตีย์ ซึ่งแกงทั้ง 2 ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากทั้งลูกค้าประจำและลูกค้าขาจร ทำให้คุณนูร์อิศซาตีย์ต้องการต่อยอดและพัฒนาสูตรแกงกะหรี่ประจำร้านให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นและต้องการขยายตลาดออกไปให้ไกลกว่าเดิม คุณนูร์อิศซาตีย์ จึงเริ่มต้นพัฒนาแกงกะหรี่ให้ออกมาในรูปแบบที่พร้อมรับประทาน และที่สำคัญต้องพกพาสะดวกจนกลายมาเป็นแกงกะหรี่สำเร็จรูปพร้อมรับประทานในชื่อแบรนด์ AMA

AMA สูตรแกงมาจากคุณแม่ จึงเป็นที่มาของชื่อแบรนด์สุดอบอุ่น

สาเหตุที่คุณนูร์อิศซาตีย์ตั้งชื่อแบรนด์ว่า AMA ก็เนื่องมาจากสูตรแกงกะหรี่ที่คุณนูร์อิศซาตีย์ทำออกมาจำหน่ายเป็นสูตรที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณแม่ของคุณนูร์อิศซาตีย์ ขณะเดียวกันลูก ๆทุกคนก็เรียกคุณแม่ว่า “อามา” ซึ่งคำ ๆนี้เป็นคำที่ผันมาจากคำศัพท์ภาษาอาหรับที่มาจากคำว่า มามา โดยมีความหมายว่า “แม่” คุณนูร์อิศซาตีย์ จึงใช้ชื่อที่เรียกคุณแม่ว่า AMA เป็นชื่อแบรนด์

จุดเด่นคือรสชาติแต่ที่เหนือกว่าความตั้งใจที่จะถ่ายทอดเรื่องราวดี ๆ ให้แก่ผู้บริโภค

จุดเด่นของแกงกะหรี่แบรนด์ AMA อยู่ที่รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีความอร่อยกลมกล่อมและหอมกรุ่นไปด้วยเครื่องเทศจากตำรับมลายูแท้ ๆซึ่งส่งต่อสูตรเด็ดมาจากรุ่นสู่รุ่น รสชาติจึงเป็นที่ยอมรับและถูกกล่าวถึงมาแล้วจากเมื่อครั้งยังเป็นเมนูเด็ดประจำร้านอาหารเล็ก ๆ
แต่หากสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่แท้จริงซึ่งถูกซ่อนอยู่ภายใต้รสชาติกลมกล่อมนั้น  กลับเป็นเรื่องราวที่แฝงอยู่ภายใต้ความอร่อยด้วยความที่เป็นเมนูทำยากและไม่ได้หาทานกันได้ง่าย ๆมักจะหาทานได้เฉพาะในงานสำคัญ ๆในพื้นที่สามจังหวัดจึงทำให้แกงกะหรี่แพะกลายเป็นหนึ่งในเมนูแห่งความทรงจำ ที่ทำให้คนทานได้สัมผัสบรรยากาศเก่า ๆให้หวนระลึกถึงบ้านอาหารฝีมือแม่
โดยคุณนูร์อิศซาตีย์ได้นำเรื่องราวเหล่านี้บรรจุลงไปในแกงกะหรี่แบรนด์ AMA โดยคงรสชาติและกลิ่นอายอาหารปักษ์ใต้ตำรับมลายูเอาไว้อย่างครบถ้วนทุกประการ และที่สำคัญคือแกงกะหรี่แบรนด์ AMA สามารถยืดอายุและเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปีโดยไม่ใช้สารวัตถุกันเสียและผงชูรส

อาหารท้องถิ่นที่พร้อมขึ้นสำรับกับข้าวของทุก ๆบ้าน

แม้ว่าจะเป็นอาหารปักษ์ใต้ตำรับมลายูแท้ ๆก็ตามแต่แกงกะหรี่ทั้ง 2 แบบไม่ว่าจะเป็นแพะหรือเนื้อวัวก็พร้อมแล้วที่จะขึ้นไปอยู่บนสำรับกับข้าวของคนไทยทุกภาคครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ชื่นชอบรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์หรือผู้ที่อยากลองสัมผัสรสชาติเพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆด้านอาหารก็ยิ่งไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง นอกจากนี้ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา ขนาดบรรจุที่พกพาไปไหนได้ง่าย ความสะดวกที่เพียงแค่แกะซองก็สามารถรับประทานได้ทันทีและที่สำคัญคือรสชาติที่คงเดิมทุกประการ ซึ่งตรงกับสโลแกนที่ว่า READY TO EAT “อร่อยง่ายๆ ได้ประโยชน์” ก็เชื่อได้ว่าจะโดนใจผู้บริโภคทุกคนได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

เป้าหมายต่อไปคือการเปิดตลาดผู้บริโภคให้แกงกะหรี่สูตรคุณแม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ฟังดูอาจเป็นสูตรอาหารเฉพาะพื้นที่แต่คุณนูร์อิศซาตีย์ก็มีความฝันที่จะเผยแพร่แกงกะหรี่ทั้ง 2 ที่ได้รับการถ่ายทอดจากคุณแม่ให้เป็นที่รู้จักของคนไทยให้มากยิ่งขึ้น ให้คนไทยได้ลิ้มลองรสชาติความอร่อยจากอาหารสูตรมลายูแท้ ๆที่แฝงไปด้วยเรื่องราว กลิ่นอายที่ชวนให้รู้สึกอบอุ่นผ่านทางช่องทางการขายในทุก ๆช่องทางโดยเฉพาะช่องทางการค้าออนไลน์ที่นอกเหนือไปจากการวางขายที่หน้าร้านตามปกติ
“เมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าอยากทำ นั่นแหละคือสิ่งที่ควรทำ” จงเริ่มต้นทำในสิ่งที่อยากทำให้เร็วที่สุดโดยอย่าเพิ่งกังวลต่อความผิดพลาดล้มเหลว เพราะสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องพบเจออยู่แล้ว จงมองความผิดพลาดเป็นบทเรียนที่เราต้องเรียนรู้และก้าวต่อไปให้ได้ วางเป้าหมายให้ยาวแล้วเดินตามเป้าหมายที่วางไว้ หากไม่มีประสบการณ์จงเร่งศึกษาเรียนรู้ ถามไถ่จากผู้มีประสบการณ์และจงเรียนรู้จากการลงมือทำ อย่ารีรอจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง

ช่องทางติดต่อ

ONLINE
สั่งซื้อได้ผ่านช่องทาง Pinsouq Lazada Shoppee
เฟซบุคเพจ : AMA Curry แกงแพะ แกงเนื้อ สำเร็จรูป ตราอามา

OFFLINE
ร้านอาหาร Myhome Restaurant สาขา ปั๊ม ปตท.ท่าสาป
ร้านอาหารMy home Café สาขามหาวิทยาลัยฟาฏอนี
D’OASIS CAFE สาขา สนามบินหาดใหญ่
D’OASIS CAFÉ สาขา แยกสนามบินหาดใหญ่
INIANIN CAFÉ สาขา หน้าโรงพยาบาลยะลา
ร้าน Insouvenir สนามบินภูเก็ต
FARM OUT LET PATTANI
FARM OUT LET HATYAI
DEEALEE MARKET

………………………………………………………………………………………

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
300/80 ถนนหนองจิก ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 โทร 073-333-604 แฟกซ์ 073-333-602

Facebook : ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA