อาหารฮาลาล ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่พิถีพิถันทุกขั้นตอน เพื่อให้พี่น้องมุสลิมได้บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อชีวิตและยังเป็นเหตุผลสำคัญที่อัลลอฮฺจะตอบรับคำวิงวอนของเรา
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
………………………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
อาหารฮาลาล ใช่ว่าจะเป็นแค่เพียงข้าวหมก ซุปหางวัว หรือโรตีอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นอาหารจีน อาหารญี่ปุ่นหรืออาหารประเภทใดก็ได้ ขอเพียงผลิตถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติอิสลามก็เพียงพอ
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
……………………………………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี
“หลักการหะลาล-หะรอม” สอนมนุษย์ให้รู้จักจริยธรรมอันสูงส่งของอิสลาม ด้วยการเป็นห่วงเป็นใยและมอบสิ่งที่ดีๆให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
…………………………………………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
อัลลอฮฺทรงสร้างเรามาพร้อมกับสร้างอาหารสำหรับเราและด้วยวิทยปัญญาอันไม่สิ้นสุดของพระองค์นั้นทรงรู้ว่าสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อเราและสิ่งใดที่เป็นอันตรายกับเรา
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี
สำหรับเรื่องของการอนุมัติหรือต้องห้ามในการกินและดื่มสำหรับมนุษย์นั้น มิใช่เป็นประเด็นที่เพิ่งจะถกเถียงในยุคของเรา แต่มันเป็นประเด็นที่สำคัญมาตลอดประวัติศาสตร์
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการฮาลาลในอิสลาม มิได้มีเป้าหมายหรือเจตนาเพื่อสร้างความยุ่งยากให้กับมนุษย์ แต่เป็นหลักการที่ต้องการยกระดับคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการอิสลามนั้นวางอยู่บนแนวคิดที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องสิทธิและขอบเขตต่าง ๆ ที่มอบให้กับมนุษย์ ซึ่งเรื่องหะลาลและหะรอมในอิสลามนั้นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำความเข้าใจถึงสิทธิและขอบเขตต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับมนุษย์เองในการดำเนินชีวิตอยู่บนแนวทางอันบริสุทธิ์
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการฮาลาลและหะรอมนั้นวางอยู่บนจริยศาสตร์ของอิสลามที่ต้องการสร้างความรัก ความห่วงใยให้เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
‘การบริโภคอาหารฮาลาล(อนุมัติ) เป็นสาเหตุหนึ่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลาจะทรงตอบรับการวิงวอน(ดุอาอฺ) และจะตอบรับการประกอบศาสนกิจเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม การบริโภคอาหารที่หะรอม(ต้องห้าม) ก็จะขัดขวางมิให้อัลลอฮฺทรงตอบการวิงวอนและการประกอบศาสนากิจ’
:: อิหม่าม อิบนุ กะษีร ::
………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี