ประการที่ห้า คือการเอาเลือดออกด้วยวิธีการกรอกเลือด
เนื่องจากท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “ทั้งผู้กรอกเลือดและผู้ถูกกรอกเลือด การถือศีลอดของเขาทั้งสองป็นโมฆะ” (เชค อัล-บานียฺกล่าวว่าเป็นหะดีษศอฮี้ยฺในศอฮี้ยฺของอบูดาวูด 2047)
การบริจาคเลือดเป็นเรื่องเดียวกับการกรอกเลือด เนื่องจากมันมีผลกระทบกับร่างกายในรูปแบบเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้จึงไม่อนุญาตสำหรับผู้ถือศีลอดบริจาคเลือดนอกจากมันมีความจำเป็น ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าอนุญาต ในกรณีนี้ผู้บริจาคเลือดได้เสียการถือศีลอดและจะต้องชดเชยการถือศีลอดในวันอื่น (อิบนุ อุษัยมีน มะญาลิส ชะฮฺรฺ เราะมะฎอน หน้าที่ 71)
ถ้าบุคคลหนึ่งมีเลือดออกทางจมูก การถือศีลอดของเขายังใช้ได้ เนื่องจากมันเกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนา (ฟะตาวา อัล-ลัจญนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ 10/264)
สำหรับเลือดที่เกิดจากการถอนฟัน การผ่าตัด การตรวจเลือด ฯลฯ จะไม่ทำให้การถือศีลอดของเขาเป็นโมฆะเนื่องจากมันมิได้เป็นการกรอกเลือดหรือเป็นสิ่งที่เหมือนกับการกรอกเลือดนอกจากมันจะมีผลกระทบกับร่างกายเช่นเดียวกับการกรอกเลือด
ประการที่หก การอาเจียนโดยเจตนา
เนื่องจากท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “ใครก็ตาที่อาเจียนโดยไม่ได้เจตนาไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ใครก็ตามที่อาเจียนโดยเจตนาเขาจะต้องถือศีลอดชดใช้” รายงานโดย อัต-ติรมีซียฺ 720 เชค อัล-บานียฺจัดว่าเป็นหะดีษศอฮี้ยฺ ในศอฮี้ยฺ อัต-ติรมีซียฺ 577
อิบนุ มุนซิร กล่าวว่า “บรรดานิติศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าการถือศีลอดของคนที่อาเจียนโดยเจตนานั้นถือว่าเป็นโมฆะ” อัล-มุฆนียฺ 4/368
ใครก็ตามที่อาเจียนออกมาอย่างตั้งใจ โดยการเอานิ้วของเขาล้วงเข้าไปในคอ กดท้องของเขา และส่งกลิ่นเหม็น หรือยังอาเจียนออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเขาจะต้องชดใช้การถือศีลอดในวันอื่น
หากว่าเขาสำรอกเพิ่มมากขึ้นก็ไม่ควรจะระงับมันไว้ เพราะมันจะเป็นอันตรายกับเขา (มะญาลิส ชะฮฺรฺ เราะมะฎอน อิบนุ อุษัยมีน หน้าที่ 71)
ประการที่เจ็ด คือเลือดประจำเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร
ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “เมื่อเธอมีประจำเดือน เธอไม่ต้องละหมาดและถือศีลอดมิใช่หรือ ..” (รายงานโดย อิหม่าม บุคอรียฺ 304)
เมื่อผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนหรือนิฟาส (เลือดหลังคลอดบุตร) การถือศีลอดของเธอจะเป็นโมฆะแม้ว่ามันจะอยู่ในช่วงเวลาก่อนตะวันตกดินเพียงไม่กี่นาทีก็ตาม
ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งรู้สึกว่าประจำเดือนเริ่มมาแล้วแต่เลือดยังไม่ไหลออกมาจนกระทั่งตะวันตกดินไปแล้ว การถือศีลออดของเธอในวันนั้นถือว่าใช้ได้
ถ้าเลือดของผู้หญิงที่มีประจำเดือนหรือเลือดนิฟาสหมดลงในช่วงเวลากลางคืนและเธอตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอด จากนั้นตะวันเริ่มทอแสง (เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการถือศีลอด) ก่อนที่เธอจะทำความสะอาดร่างกาย(ยกหะดัษใหญ่) อุลามาอฺทั้งหมดเห็นว่าการถือศีลอดของเธอใช้ได้ (อัล-ฟัตหฺ 4/148 Al-Fath, 4/148)
มันย่อมดีกว่าสำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนที่จะยังคงรักษาธรรมชาติของเธอและน้อมรับในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้กับเธอ โดยที่เธอจะต้องไม่ใช้ยาใด ๆ ที่จะระงับประจำเดือนของเธอ เธอจะต้องน้อมรับในสิ่งที่ทรงกำหนดให้กับเธอที่จะไม่ถือศีลอดในช่วงระหว่างมีประจำเดือนและชดใช้การถือศีลอดในวันอื่น นี่คือสิ่งที่เหล่ามารดาแห่งศรัทธาชนและบรรดาหญิงแห่งบรรพชนรุ่นแรกเคยกระทำมาแล้ว (ฟะตาวา อัล-ลัจญฺนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ 10/151) นอกจากนั้นมันได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าวิธีการการยับยั้งการมีประจำเดือนนี้เป็นอันตรายอย่างมากและผู้หญิงจำนวนมากได้ประสบกับการมีประจำเดือนที่ผิดปกติอันเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หากผู้หญิงรับประทานยาและประจำเดือนหยุดลง นั่นเป็นเรื่องปกติที่เธอสามารถจะถือศีลอดและการถือศีลอดของเธอนั้นถือว่าใช้ได้
ดังนั้นนี่คือสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ซึ่งมีเพียงเลือดประจำเดือนและเลือดนิฟาสเท่านั้น ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ
1. คนที่มีความรู้
2. คนที่ไม่ได้หลงลืม
3. คนที่ไม่ได้ถูกบังคับ
เราต้องจดจำไว้ว่าบางสิ่งที่ไม่ได้ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะมีดังต่อไปนี้
– การสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยา ยาหยอดตา การถอนฟันตลอดจนการรักษาอาการบาดเจ็บจะไม่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ (มัจญมูอฺ ฟะตาวา ชัยคุล อิสลาม 25/233; 25/245)
– ยาเม็ดแบนที่ใส่ไว้ใต้ลิ้นเพื่อรักษาโรคหอบหืด ตราบใดไม่กลืนเศษตกค้างเข้าไป
– สิ่งใดก็ตามที่เข้าไปในช่องคลอด เช่น ยาเหน็บช่องคลอด เครื่องถ่างตรวจหรือนิ้วมือหมอที่มีเป้าหมายเพื่อการตรวจทางการแพทย์
– การใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์หรือห่วงอนามัยเข้าไปในมดลูก
– สิ่งใดก็ตามที่เข้าไปในทางเดินปัสสาวะของชายหรือหญิง เช่น ท่อสวน กล้องจุลทรรศน์ของทางการแพทย์ หรือฉีดสารที่ทึบแสงหรือทึบรังสีเพื่อเป้าหมายของการเอ็กซ์เรย์ (x-ray) การรักษาหรือบำบัดเพื่อที่จะล้างกระเพาะปัสสาวะ
– การอุดฟัน การถอน หรือการทำความสะอาดฟันไม่ว่าจะด้วยไม้สิวากหรือแปรงสีฟันก็ตาม ตราบใดที่ท่านไม่กลืนกินมันเข้าไป
– การล้างปาก การบ้วนปาก และสเปรย์ฉีดพ่นปาก ตราบใดที่ท่านไม่กลืนสิ่งใดลงไป
– การพ่นออกซิเจนหรือยาชา ตราบใดที่ไม่ได้ให้อาหารแก่ผู้ป่วย
– สิ่งใดก็ตามที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านการดูดซึมผ่านผิวหนัง เช่น ครีม ยาพอก ฯลฯ
– การสอดท่อเล็ก ๆ ผ่านเส้นเลือดเพื่อใช้ในการวินิฉัยภาพหรือการรักษาเส้นเลือดในหัวใจหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
– การใส่กล้องจุลทรรศน์ผ่านผนังกระเพาะอาหารเพื่อตรวจลำไส้โดยการดำเนินการผ่าตัด (การใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง)
– การเก็บตัวอย่างจากตับหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยไม่ต้องหาแก้ปัญหาอื่นใด
– การส่องกล้องตราบใดที่ไม่ได้มาพร้อมกับการแก้ปัญหาหรือมีสารอื่น ๆ
– การนำเครื่องมือหรือสารทางการแพทย์ใด ๆ เข้าไปเพื่อที่จะเยียวรักษาสมองหรือกระดูกสันหลัง
(ดู มะญาลิส เราะมะฎอน โดย เชค อิบนุ อุษัยมีน และหนังสือ 70 ประเด็นในการถือศีลอด)
………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก Islam Q&A