อาหารเป็นมากกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต อาหารถือว่าเป็นแหล่งที่มาขั้นปฐมภูมิในการเติมเต็มสารัตถะทางจิตวิญญาณของเราและการทำงานจากภายในที่จำเป็นต้องมีสำหรับทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิง เพื่อการตระหนักรู้และชีวิตที่สมดุล แท้จริงการเรียนรู้ถึงสิ่งที่เน้นย้ำในอัล-กุรอานและอัส-สุนนะฮฺต่อบทบาทของอาหารในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับผู้เป็นเจ้าของเขา ตลอดจนในวิธีการที่มนุษย์จะจัดการกับเรื่องนี้ ตั้งแต่การจัดหาไปจนถึงการบริโภค และขอบเขตของผลกระทบที่มีต่อชีวิตที่จะยกระดับจิตสำนึกและเติมเต็มความรู้สึกด้วยความเกรงกลัวต่อผู้เป็นเจ้า ท่านลองอ่านจากสูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดฺ ที่ว่า
“และพระองค์คือผู้ทรงแผ่แผ่นดิน และในนั้นทรงทำให้มันมีภูเขามั่นคง และลำน้ำมากหลาย และจากพืชผลทุกชนิดทรงให้มีจำนวนคู่ ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวัน แท้จริงในการนั้นแน่นอนย่อมเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใคร่ครวญ,และในแผ่นดินมีเขตแดนติดต่อใกล้เคียงกัน และมีสวนพฤกษา เช่น ต้นองุ่น และต้นที่มีเมล็ด และต้นอินทผลัมที่มาจากรากเดียวกัน และมิใช่รากเดียวกัน ได้รับแหล่งน้ำเดียวกัน และเราได้ให้บางชนิดดีเด่นกว่าอีกบางชนิดในรสชาติ แท้จริงในการนั้น แน่นอนเป็นสัญญาณสำหรับหมู่ชนผู้ใช้ปัญญา” [13:3-4]
อาหารในอายะฮฺนี้ เช่นเดียวกับอายะฮฺอื่น ๆ ถูกเชื่อมโยงกับห่วงโซ่แห่งการสร้าง เพราะมันมิได้สิ้นสุดเพียงแค่นี้ ยิ่งไปกว่านั้นอัล-กุรอานได้บอกเราว่าการทดสอบครั้งแรกที่มนุษย์ต้องเผชิญ – ขณะที่อยู่ในสวนสวรรค์ – นั้นเกี่ยวข้องกับต้นไม้ต้นหนึ่ง อันเป็นแหล่งที่มาของอาหาร ดั่งเช่นชาวอิสราเอลต้องตกอยู่ในความทุกข์ยากเนื่องจากพวกเขาไม่ชอบที่จะรับประทานอาหารที่พระองค์ทรงมอบให้กับพวกเขา ซึ่งกำหนดช่วงเวลาหนึ่งและยืนกรานขอให้นบีมูซาขอต่ออัลลอฮฺเพื่อให้เพิ่มความหลากหลาย เหมือนที่สานุศิษย์ของนบีอีซาได้รับอาหารจากสวรรค์ แต่เนื่องด้วยพวกเขาไม่ได้เอาใจใส่ต่อคำแนะนำของท่านนบีอีซาที่จะแสวงหาความมีศรัทธาอันแรงกล้าผ่านการกระทำมิใช่ความมหัศจรรย์ … พวกเขาได้รับการบอกกล่าวว่ าพวกเขาจะถูกตัดสินอย่างแน่นอนในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ หากว่าพวกเขาแสดงให้เห็นถึงความอกตัญญูต่ออัลลอฮฺ และเมื่อมันถึงช่วงเวลาสุดท้ายและสาส์นสุดท้ายของผู้เป็นเจ้าได้ประทานลงมา อัล-กุรอานและอัส-สุนนะฮฺเสนอสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการให้เหตุผลสำหรับการกำหนดเรื่องอาหารและการกินในฐานะว่าเป็นส่วนที่สำคัญของศาสนาและชีวิต หลักฐานสำหรับเรื่องนี้ในตัวบทที่ถูกประทานลงมาในอิสลามนั้นมีมากมาย มีตัวอย่างมากกว่า 100 อายะฮฺและหะดีษได้ให้คำตักเตือนที่เชื่อมโยงโดยตรงกับอาหารและการกิน รวมไปถึงหะดีษศอเฮี้ยะฮฺที่เตือนถึงการบริโภคอาหารหะรอม (สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ได้รับด้วยทางที่ผิดหลักนิติธรรม มีความอยุติธรรมตลอดจนช่องทางที่ได้รับผลประโยชน์) ที่จะทำให้การอิบาดะฮฺของคน ๆ หนึ่งนั้นไร้ผล
บางคนอาจสงสัยว่าทำไมจึงมีการเชื่อมโยงกันนี้ระหว่างอาหารที่ไม่ดีกับสิ่งที่ทำให้เกิดผลเสียในความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ ตะอาลา? เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อ กระบวนการผลิต ตลอดจนการบริโภค คำสอนต่าง ๆ ของอิสลามเป็นเหมือนคำพยากรณ์ เหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์สามารถที่จะแทรกแซงสภาพแวดล้อมและปรับเปลี่ยนแหล่งอาหารได้มากขึ้นโดยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะรวมไปถึงการเปลี่ยนธรรมชาติไปในทางที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตด้วยกลไกลทางพันธุกรรม นับตั้งแต่ช่วงเวลาแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาบวกกับการดำเนินการทางธุรกิจที่แข่งขันกันมากขึ้นบริษัทขนาดใหญ่และข้ามชาติต่างแสวงหาผลกำไรเป็นเป้าหมายหลักของพวกเขา ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลานี้ที่จะบรรลุถึงสิ่งที่เรากำลังประสบกับอันตรายในปัจจุบันจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทั้งในสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมของเรา ความขาดแคลนในเรื่องอาหารที่เพิ่มขึ้นรอบโลกและการแพร่กระจายที่เพิ่มขึ้นของความทุกข์ยากที่ไม่รู้ถึงการเยียวยาความเจ็บป่วยนี้มาก่อน
นี่ไม่ใช่สาส์นแห่งความวิบัติ แต่มันเป็นเรื่องที่มีความหวังและเป็นข้อเท็จจริงที่ว่าเราทุกคนสามารถกระทำบางสิ่งที่จะปรับปรุงให้สถานการณ์ของโลกดีขึ้นและเป็นแรงบันดาลให้กับคนอื่นเสียมากกว่า สิ่งหนึ่งที่เราสามารถเริ่มนั่นคือจะต้องรับประทานอาหารในวิถีที่ฮาลาล เรื่องนี้อาจจะต้องเรียนรู้ในสิ่งที่มันเป็น แต่ถ้าเรานึกถึงสิ่งที่มันห้ามมิให้มีการละเมิด การทำร้ายและการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ใช่แต่เพียงมนุษย์เท่านั้น แต่รวมไปถึงสัตว์ตลอดจนสภาพแวดล้อมด้วยเช่นกัน เราจะต้องเข้าใจว่าทำไม นอกจากนี้ เรายังสนับสนุนการเรียกร้องของผู้รู้จำนวนมากและองค์กรหลายแห่งในเรื่องการรับประทานออร์แกนิค (สารอินทรีย์) และการบริโภคอย่างชาญฉลาด
แต่ประการสำคัญที่สุดต้องรู้ว่ามันทั้งหมดเริ่มต้นด้วยกับการสนับสนุนทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องเกี่ยวกับการกินและอาหาร มันเป็นการขาดการอบรมศีลธรรมในเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ในหลายวัฒนธรรมไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งได้นำอาหารกลับไปสู่สัญลักษณ์แห่งความละโมบและความตาย เราจะต้องทำงานร่วมกันที่จะทำให้อาหารนั้นกลับมาเป็นสัญลักษณ์และคำเปรียบเปรยแห่งความเอื้อเฟื้อ ความรัก ความทุ่มเท และความเห็นแก่ผู้อื่นอีกครั้ง เราทุกคนทำได้
………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก islamweb.net