กิจจา อาลีอิสเฮาะ
จากวารสารมุสลิม กทม.
ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนธันวาคม 2553 – มกราคม 2554
สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร
ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งรับรองโดยคณะกรรมการประจำจังหวัด และออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลโดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ต่อมาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองและออกรับรองเครื่องหมายฮาลาลปรากฎว่ามีสิ่งปนเปื้อนหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องห้ามการบริโภคตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ผู้เขียนให้ข้อสงสัยว่าผู้บริโภคสามารถที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการออกเครื่องหมายฮาลาลได้หรือไม่เพียงใด
เบื้องต้นจะต้องทราบเสียก่อนว่า ”เครื่องหมายรับรองฮาลาล” เป็นเครื่องหมายที่อยู่ในความหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หรือไม่ หากพิจารณาความหมายของคำจำกัดความของคำว่า “ บริการ” และ “โฆษณา” ตามมาตร 3 แห่งพระราชบัญญัติค้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า “ เครื่องหมายฮาลาล” อยู่ในความหมายของคำจำกัดความคำว่า “บริการ ว่า การรับจัดทำการงาน การให้สิทธิใดๆ หรือการให้ใช้ หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์หรือกิจการใดๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือประโยชน์อื่นแต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายรายงานและคำจำกัดความว่า โฆษณา ว่า การกระทำการไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า

ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา ซึ่งได้บัญญัติไว้ตามมาตร 22 ว่า การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อ(บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนร่วมทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพคุณภาพ หรือลักษณะชองสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ
ข้อความดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม (1)ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง (2.)ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าและบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริง

หากไม่ดูระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองมาตรฐานฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล พ.ศ. 2548 ได้ให้ความหมายของเครื่องหมายรับรองฮาลาล ว่า เครื่องหมายรับรองฮาลาล หมายความว่า เครื่องหมายรับรองฮาลาลเป็นของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจการใด โดยมีสัญลักษณ์เรียกว่า “ฮาลาล “ เขียนเป็นภาษาอาหรับอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนหลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้งใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หรือ “สกอท” และใต้เส้นขนานมีคำว่า”ที่กอท.ฮล (รหัสผลิตภัณฑ์) เป็นภาษาไทย ภาษาอาหรับ หรือภาษาอังกฤษ
ตามความหมายของคำว่าสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองแสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจการใด อันเป็นการให้สิทธิ หรือให้ใช้ หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการโดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือประโยชน์อื่น ตามคำนิยามของตำว่า”บริการ””และ”โฆษณา” ตามมาตร 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ฉะนั้นเครื่องหมายรับรองฮาลาล จึงอยู่ในความหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เมื่อเป็นดังนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายฮาลาล ก็จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจการใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทุกประการ

เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมายฮาลาล จะต้องมีหน้าที่รับผลิตชอบในการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจการใดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แล้วจึงมีคำถามว่าถ้าต่อมาผลิตภัณฑ์ที่ได้รีบการรับรองออกรับรองเครื่องหมายฮาลาล โดยเครื่องหมายดังกล่าวปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือกิจการใดมีสิ่งปนเปื้อนหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติศาสนาอิสลามที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ฮาลาล ตามใน ข้อ 26 ของระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองมาตรฐานฮาลาล พ.ศ. 2548 ผู้บริโภคสามารถที่จะดำเนินคดีกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเจ้าของและเป็นผู้ออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลได้หรือไม่เพียงใด หากสามารถดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ได้หรือไม่
เราจะต้องย้อนกลับไปดูความหมายของคำว่า ผู้บริโภค หรือผู้ประกอบการ ซึ่งจะหมายถึงคู่ความในการที่จะดำเนินคดีได้ ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายของผู้บริโภค คือ ผู้บริโภคตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 หมายความว่าผู้ซื้อหรือผู้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ได้รับการเสนอ หรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้ระบบบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยรอบแม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

และ 2. ผู้เสียหาย ตาม พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิกขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 หมายความว่าผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้า พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้ความหมายของผู้ประกอบธุรกิจ คือ 1. ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายผู้ค้มครองผู้บริโภคหมายความว่าผู้ขายผู้ผลิตเพื่อขายผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้าหรือผู้ให้บริการและหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย และ 2. ผู้ประกอบการ ตามกฎหมาย พรบ. ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (2.4) ผู้ซึ่งใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายข้อความ หรือแสดงด้วยวิธีใดๆซึ่งมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือผู้นำเข้า
จากความหมายของผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองและออกเครื่องหมายฮาลาล โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย แต่ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสิ่งปนเปื้อนหรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องห้ามการบริโภคบทบัญญัติศาสนาอิสลาม หรือสิ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติศาสนาอิสลามที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ฮาลาล ตามนัย ข้อ 26 ของระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองมาตรฐานฮาลาล และการใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล พ.ศ. 2548 สามารถที่จะดำเนินคดีกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้เป็นเจ้าของและเป็นผู้ออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลได้ ส่วนการดำเนินคดีดังกล่าวนั้นก็เป็นการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551