ฮาลาลมีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมุสลิมเป็นจำนวนมาก และจะเพิ่มมากยิ่งขึ้นในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตกียวในปี 2020 สำนักข่าวจาร์กาต้ารายงานว่า ความนิยมการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในหมู่นักท่องเที่ยวมุสลิม ในปี 2017 มีจำนวน 700,000 คน ซึ่งร้อยละ 27 มาจากอินโดนีเซีย ตามดัชนีอันดับนักท่องเที่ยวมุสลิม MasterCard-Crescent (JMTI) คาดการว่า จะมีนักท่องเที่ยวมุสลิมเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นล้านคนในปี 2018 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของญี่ปุ่นที่จะเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวเป็น 40 ล้านคนภายในปี 2020 จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียว ด้วยจำนวนประชากรมุสลิมคิดเป็นหนึ่งในสี่ของประชากรโลกจึงเหมาะสมที่จะดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

ด้วยเหตุนี้ บริษัท ฮาลาล มีเดีย เจแปน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัททางด้านสื่อ ที่ให้ข้อมูลที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิม เช่น สถานที่ละหมาด อาหารฮาลาล ผลิตภัณฑ์และอื่นๆ เพื่อให้ญี่ปุ่นได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมุสลิม อากิฮิโระ ชูโกะ (Akihiro Shugo) ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท กล่าวว่า ‘เราสนับสนุนให้บริษัท และรัฐบาลท้องถิ่นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ฮาลาลและต้อนรับนักท่องเที่ยวมุสลิมให้เข้ามาในประเทศมากยิ่งขึ้น เรารับผิดชอบในการให้คำแนะนำร้านอาหารและร้านค้าเกี่ยวกับวิธีเข้าถึงลูกค้าที่เป็นมุสลิม’

ฮาลาล มีเดีย เจแปน เริ่มต้นในปี 2014 เนื่องจากความต้องการข้อมูลด้านภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆจากญี่ปุ่น แม้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ‘นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวมุสลิมที่เพิ่มขึ้น 4-5 เปอเซนต์แล้วผู้ที่เข้ามาทำงาน ทำธุรกิจและศึกษาต่อจากประเทศมุสลิมก็เพิ่มขึ้นในประเทศนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นความต้องการข้อมูลประเภทนี้จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้’ อากิฮิโระ กล่าวเสริม

ทุกวันนี้ ฮาลาล มีเดีย เจแปน เป็นผู้สนับสนุนหลักให้เกิดร้านอาหารที่เป็นมิตรกับมุสลิมให้มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้นในประเทศ ‘เรายังเผยแพร่ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้องให้กับลูกค้ามุสลิม ดังนั้นการรับผิดชอบของเราจึงค่อนข้างมาก’ การเห็นนักท่องเที่ยวมุสลิมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในญี่ปุ่นนั้นจะต้องทำสิ่งที่ถูกต้อง ดังนั้นญี่ปุ่นทำมันได้อย่างไร อากิฮิโระ อธิบายว่า

**การฝึกปฏิบัติรองรับฮาลาล**
ก่อนอื่นอากิฮิโระอธิบายว่าต้องจัดทำที่พักที่เหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซีย องค์การการท่องเที่ยวแห่งชาติญี่ปุ่น (JNTO) รายงานว่านักท่องเที่ยวอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 32.1% ในปี 2016 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมุสลิมประมาณ 209 ล้านคนจากประชากรมุสลิมทั้งหมด 1.8 พันล้านคนทั่วโลก หรือประมาณ 24 % ของประชากรโลกทั้งหมด 

“ในปี 2016 มีนักท่องเที่ยวมุสลิมจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 60 % เดินทางไปยังญี่ปุ่น ซึ่งในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวมาจากอินโดนีเซีย 27 %” (Jakatar Post)

สิ่งที่เพิ่มขึ้นมานี้เนื่องมาจากประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกมีประมาณ 209 ล้านคนจากประชากรมุสลิมทั่วโลก 1.8 พันล้านคน หรือประมาณ 24% ของประชากรโลกทั้งหมด

คาดการณ์ว่าประชากรมุสลิมจะเติบโตเร็วกว่าประชากรอื่นในโลก ดังนั้นการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาล สะท้อนให้เห็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์ฮาลาลในปี 2016 มีประมาณ 45.3 พันล้านเหรียญสหรัฐและคาดว่าจะเติบโตประมาณ 29% ในปี 2020

ในขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวมุสลิมเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับมุสลิมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน จากสถิติของ Statista สถิติการวิจัยด้านการตลาดและธุรกิจอัจฉริยะ รายงานว่า อาหารฮาลาลมีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 และคาดว่าจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2023

**มุมมองฮาลาลของชาวญี่ปุ่น** 
“คนญี่ปุ่นมองว่าฮาลาลเฉพาะชาวมุสลิมเท่านั้น” อากิฮิโระกล่าวว่า ‘พวกเขายังคิดว่าอาหารฮาลาลรสชาติไม่ดีเท่ากับอาหารที่ไม่ฮาลาล แต่สิ่งนี้กำลังเปลี่ยนไปเนื่องจากมีความเข้าใจเรื่องฮาลาลเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน’ โดยทั่วไปอาหารในญี่ปุ่นนั้นไม่ฮาลาล ‘ยกตัวอย่างเครื่องปรุงรสเช่น มิรินจากไวน์ข้าว ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เป็นกุญแจสำคัญของซอสเทอริยากิ มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังเพิ่มแอลกอฮอล์ในมิโซะหรือซอสถั่วเหลืองเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา นี่คือจุดที่ มีเดีย ฮาลาล เจแปน เข้ามา อากิฮิโระอธิบายว่า “ เราแนะนำส่วนประกอบฮาลาลในญี่ปุ่นเช่น เครื่องปรุงที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือทำผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศมาวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต และบอกพวกเขาถึงวิธีรับส่วนประกอบเหล่านี้ในราคาที่ถูกกว่า ‘โดยทั่วไปอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองฮาลาลจะมีราคาสูงกว่า เนื่องจากความพร้อมที่มีอย่างจำกัดในญี่ปุ่น’

**การตั้งกฎระเบียบ**
เจแปนไทมส์รายงานว่า ในปัจจุบันยังไม่มีกฎข้อบังคับในการออกใบรับรองฮาลาลสำหรับผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในญี่ปุ่น มาตรฐานฮาลาลในการออกใบรับรองแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์กรที่ออกใบรับรอง อากิฮิโระยืนยันว่า ‘ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลและออกใบรับรองฮาลาลในภาคสาธารณะของญี่ปุ่น หน่วยรับรองฮาลาลนั้นยังเป็นหน่วยงานเอกชนและด้วยเหตุนี้ทุกคนจึงสามารถออกใบรับรองในญี่ปุ่นได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุถึงจำนวนผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทที่ได้รับการรับรองฮาลาลในญี่ปุ่น ปัจจุบันการเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับมุสลิม จึงได้พัฒนาเว็บไซต์และเปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บไซต์ halalgourmet.jp ช่วยให้ผู้เยี่ยมชมหรือลูกค้าสามารถเลือกตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาได้” เขากล่าวและรู้สึกว่ามาตรฐานฮาลาลระดับชาติที่เป็นหนึ่งเดียวสามารถทำได้ในญี่ปุ่นหากภาครัฐประกาศกฎระเบียบอย่างเป็นทางการ

ความจำเป็นในการออกใบรับรองฮาลาลหรืออย่างน้อยที่สุด กฎระเบียบด้านฮาลาลไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์สำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์สำหรับมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้อีกด้วย อากิฮิโระยอมรับว่าไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการของจำนวนชาวมุสลิมในปัจจุบันที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น “เป็นเพราะเราไม่ได้ระบุการนับถือศาสนาในบัตรประจำตัวประชาชนของญี่ปุ่น ดังนั้นจึงไม่มีใครบันทึกจำนวนประชากรมุสลิมที่แน่นอนในญี่ปุ่นได้ แต่ประมาณการอยู่ระหว่าง 100,000 ถึง 200,000 คนและรวมถึงมุสลิมญี่ปุ่น 10,000 ถึง 20,000 คน

อากิฮิโระกล่าวว่า สถิติเชิงบวกของนักท่องเที่ยวมุสลิมที่เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการปรับปรุงและพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลในญี่ปุ่น ความพยายามของญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมุสลิมเป็นอย่างมาก เรารับรู้สิ่งนี้ได้จากการจัดอันดับให้เป็นประเทศอับดับสี่ของโลกสำหรับประเทศที่เป็นมิตรกับชาวมุสลิม การจัดอันดับไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม ใครจะไปรู้ว่าประเทศญี่ปุ่น อาจนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานการรับรองฮาลาลให้เป็นมาตรฐานสำหรับส่วนที่เหลือของโลก ‘เวลาเท่านั้นที่จะบอกได้’ อากิฮิโระกล่าวสรุปด้วยรอยยิ้มเล็กๆที่รับรู้ได้

……………………………………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
โดย Su Aziz In Focus, digital magazine
ที่มา : https://infocus.wief.org

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *