โคโรน่าไวรัสจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดไป

BIHAPSWEEKLY EP. 23

อ่านสรุป…

1. ทัศนคติ พฤติกรรม การใช้จ่ายของผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไป และจะกลายเป็นความปรกติใหม่หลังเหตุการณ์การระบาดของโควิดสิ้นสุดลง

2. ขณะที่การซื้อขายส่วนใหญ่ในช่วงของการระบาดเกิดขึ้นในกลุ่มสินค้าความต้องการพื้นฐาน แต่ในที่สุดแล้วจะมีความต้องการซื้อขายสินค้าในกลุ่มอื่นๆตามมา โดยผู้บริโภคจะให้ความสนใจสินค้าในกลุ่มที่ผลิตในชุมชน งานฝีมือและสินค้าจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม

3. ช่วงของการกักตัวทางสังคม ผู้บริโภคได้มีเวลาเรียนรู้การเชื่อมต่อในรูปแบบออนไลน์มากขึ้น เกิดการเรียนรู้ใช้งานช่องทางการสื่อสารออนไลน์ถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะกลายเป็นพฤติกรรมความเคยชินใหม่ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

อ่านฉบับเต็ม…

การระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกอย่างที่เกิดขึ้นปัจจุบัน ทั้งในเรื่องของการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ รวมไปถึงมาตรการต่างๆ ทื่ ทำให้ผู้คนต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตไป ไม่เพียงแต่ความเป็นอยู่เท่านั้น การซื้อขายสินค้า หลักคิดและพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นยังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ร้านค้าหลายแห่งปิดตัวลง ผู้บริโภคสามารถค้นหาสินค้าผ่านช่องทางใหม่ ถือเป็นการเปิดโลกของการซื้อขายสินค้าและบริการอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ไม่มีข้อจำกัด นับเป็นบททดสอบที่สำคัญของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่จะต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ในช่วงที่ผู้คนต่างใช้ชีวิตอยู่ในช่วงของมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคบีบบังคับผู้บริโภคต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตไปจากเดิม ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในรูปแบบใหม่และอาจกลายไปเป็นความปรกติใหม่ในอนาคต โดยมีแนวโน้มของความต้องการในอนาคตขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพดังนี้

1. ความใส่ใจด้านสุขภาพของผู้บริโภคอย่างที่ไม่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ผู้บริโภคใช้หลักการทางด้านสุขภาพเข้ามามีผลต่อการตัดสินใจในซื้อสินค้าและบริการ เพื่อสนับสนุนชีวิตที่ดี ป้องกันและรักษาสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นการเตรียมความพร้อมของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญ

2. ความตระหนักในการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น
ผู้บริโภคให้ความสำคัญและตระหนักในการซื้อขายสินค้นค้ามากขึ้น จากสถานการณ์ความไม่มั่นคงในชีวิตที่เกิดขึ้นในช่วงของการระบาด ผู้บริโภคมีการเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย มีสติกับการใช้จ่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นสินค้าที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปสามารถตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ได้อย่างดี

3. ความต้องการสินค้าท้องถิ่น และการกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ผู้บริโภคจะมีความต้องการในการซื้อสิ้นค้าในท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของสินค้าที่มาจากการผลิตด้วยกรรมวิธีที่เรียบง่ายปลอดภัย ผลิตในชุมชน งานฝีมือและสินค้าจากกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อส่งต่อคุณค่าของผู้คนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น

ทางศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจและผลิตภัณฑ์ฮาลาล (BIHAPS) ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบคุณทานผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามและให้กำลังใจ ขอให้ทุกท่านเก็บเกี่ยวช่วงสุดท้ายในเดือนอันประเสริฐนี้ไปได้อย่างที่คาดหวังไว้

ติดตามข้อมูลดีๆ ได้จากเพจศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

วัสสลาม.

………………………………………………………………………………………………………..
Reference : www.accenture.com/coronavirus-consumerbehaviorresearch

บทความโดย อมีน มะหมัด
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฮาลาลฯ (BIHAPS)
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สนง.ปัตตานี
#BIHAPSWEEKLY
#BIHAPSWEEKLY
#HALALSCIENCEPATTANI
#HSCPN
#HALALSCIENCECHULA