
ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดรอรรณนพ คุณาวงษ์กฤต
คณะบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการอภิปรายหัวข้อ ความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ฮาลาล กับ วิทยาศาสตร์หะรอมในงาน WHASIB 2009
ส่วนหนึ่งจากวารสาร HALAL insight issue 07. january-March 2009

วิทยาศาสตร์สุกรคือวิทยาศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับสุกรในทุกแง่มุมมีข้อมูลปรากฏบนอินเตอร์เน็ตถึง 84 ล้านข้อมูล สุกรเป็นสัตว์ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยละทดลองสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างสุกรและมนุษย์ ได้แก่ ผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด และแม้แต่กระบวนการทำงานของร่างกาย เช่นระบบเผาผลาญ ระบบประสาท ขนาดรูปร่าง น้ำหนักตัว และมีความใกล้เคียงทางสายพันธ์มาก เห็นได้จากโพรงจมูก 2 ข้างที่เหมือนกันกระเพาะอาหารและลำไส้ที่รองรับทั้งอาหารที่เป็นพืชและสัตว์เซลล์ในระบบย่อยอาหารและการหลั่งน้ำย่อยที่คล้ายคลึงกัน การเปลี่ยนการค่าความเป็นกรด-ด่าง และระยะที่อาหารเดินทางในลำไส้เล็กที่ใกล้เคียงกัน รวมถึงลักษณะการเรียงตัวและจำนวนขดของลำไส้ใหญ่อีกด้วย

สำหรับระบบหัวใจและหลอดเลือด หัวใจและหลอดเลือดใหญ่มีความคล้ายคลึงกับมนุษย์ ยกเว้นเส้นเลือดดำโค้งหลังหัวใจฝังซ้าย(Left azygos veins) ส่วนหลอดเลือดที่นำเลือดมาเลี้ยงหัวใจมีลักษณะเหมือนของมนุษย์เกือบทุกประการ ดังนั้นจึงสามารถรักษาอาการหัวใจขาดเลือดเพื่อทำการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายในมนุษย์ได้นอกจากนี้ยังสามารถชักนำให้สุกรเกิดภาวะระดับไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolaemia) และหลอดเลือดแข็งเพื่อศึกษาวิธีดูแลรักษาโรคในมนุษย์อีกด้วย

ระบบเผาผลาญคืออีกสิ่งหนึ่งที่สุกรมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์ โดยการเผาผลาญสารซีโนไบโอติกของมนุษย์ควบคุมโดยไซโทโทรมนอกจากน้ สิ่งที่เหมือนกันได้แก่ กระบวนการเรียงท่อเป็นGlucuronide คือ เฟสที่สองของกระบวนการจับคู่(Conjugated reaction) กระบวนการ Acetylation และการทำงานของเอนไซม์ ดังนั้น สุกรจึงถูกนำมาวิจัยในฐานะตัวแทนของมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวอย่างการศึกษาที่ดี โดยสามารถใช้ศึกษาการผ่าตัดหัวใจ และหลอดเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะ โดยหลอดเลือดแข็งการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อผิวต่างสายพันธุ์การดูดซึมแร่ธาตุในระบบทางเดินอาหารการทดสอบตัวยาและการทดสอบทางการแพทย์อื่นๆ อีกมากมายทางเภสัชศาสตร์ก็สามารถทำได้ เช่น การวางยาสลบหรือพิษวิทยา นอกจากนี้ สุกรยังเป็นสัตว์ทดลองที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยขั้นสูง เช่น การดัดแปลงพันธุกรรมสัตว์การย้ายฝากนิวเคลียส การโคลนนิ่งสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะและการบำบัดเซลล์โดยเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)