ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วยมูลค่าหมุนเวียนที่ไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท กอปรกับในธุรกิจมีผู้ประกอบการที่หลากหลายทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก (บุคคล) ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สนใจเข้ามาเริ่มธุรกิจในตลาดอย่างต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 4.37– 4.41 แสนล้านบาท
ขยายตัวร้อยละ 1.4 – 2.4 จากปี 2562 จากการลงทุนของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี
การแข่งขันที่สูงและต้นทุนธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปัจจัยท้าทายในธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัว
[1]
จากฐานข้อมูลในเว็ปไซด์ของ
Wongnai ซึ่งเป็นเว็ปไซด์ยอดนิยมในการค้นหาข้อมูลร้านอาหารและเครื่องดื่มพบว่า
จำนวนร้านเปิดใหม่ในปี พ.ศ. 2560 สูงกว่าปี พ.ศ. 2559 คิดเป็นร้อยละ 8.50
และมีปริมาณมากขึ้นในปี 2563 ขณะเดียวกันร้านที่ปิดตัวขอเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้มี SME ที่ ได้เข้าไปอยู่ในระบบฐานข้อมูลของ Wongnai แล้วจํานวนกว่า 2
แสนราย หรือมากกว่า 60% ของร้านอาหาร ทั้งหมด
โดยจังหวัดที่มีร้านอาหารมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และชลบุรี ตามลําดับ
ซึ่งแยกตาม ประเภทร้านอาหารยอดนิยมทั่วประเทศไทย ได้แก่ ร้านอาหารไทย 32,740 ร้าน
ร้านก๋วยเตี๋ยว 25,154 ร้าน ร้านกาแฟ 24,874 ร้าน ร้านอาหารจานเดียว 13,548 ร้าน
และร้านอาหารอีสาน 11,791 ร้าน ตามลำดับ [2]
#เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านการท่องเที่ยวและกระแสต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย
ด้วยเหตุนี้ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มจึงควรปรับเปลี่ยนวิธีในการดําเนินธุรกิจเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง
ดังนี้
1.
การปรับปรุงเมนูอาหารและสร้างเอกลักษณะของตนเอง
นักท่องเที่ยวหรือคนรุ่นใหม่จะหาข้อมูลร้านอาหารที่ล่วงหน้า ผ่านทางเว็บไซต์ หรือ
แอพพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งการปรับเมนูอาหารให้มีความแปลกใหม่อยู่เสมอ
โดยอาจจะเป็นเมนูที่คิดค้นขึ้นมาใหม่
หรือเป็นการนําวัตถุดิบที่มีเฉพาะในท้องถิ่นนั้นผสมลงไป เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ
และบ่อยครั้งที่นักท่องเที่ยวเลือกร้านอาหารที่แตกต่างมากกว่ารสชาติ
2.
การนําเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจ
ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่น รวมทั้ง
โซเชียลมีเดียต่างๆ หรือการใช่บริการตัวกลางที่เป็น OTAs
เพื่อเพิ่มการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า
โดยต้องแลกกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมในการใช้บริการตัวกลางเหล่านี้
3.
การจองร้านอาหารออนไลน์และการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่
ทั้งผ่านช่องทางการใช้แอพพลิเคชั่น บนมือถือรวมถึงเว็บไซต์ต่างๆ
ยังจะเป็นปัจจัยหลักที่ทําให้ตลาดธุรกิจร้านอาหาร เติบโตได้ดีในปี พ.ศ.2562
4. ระบบชำระเงินแบบ Electronic Payment System
นอกเหนือจากบริการรับชำระผ่าน Mobile payment และ QR code
เพื่อเพิ่มความสะดวกยิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องพกเงินสด
หรือแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า
การชำระค่าสินค้าและบริการ ณ
จุดขายผ่านผู้ให้บริการรับชําระเงินในไทยด้วยเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money)
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยในช่วง ม.ค. – ก.ย. 61 มีสัดส่วนมูลค่าเท่ากับ 12%
จาก 6% ในปี 2560 และสัดส่วนปริมาณธุรกรรมเท่ากับ 27% จาก 17% ในปีก่อน [3]
……………………………………………………
[1] Marketeer, “ปี 2563, ปีทองของอาหารพร้อมรับประทาน”
https://marketeeronline.co/archives/135651. [Accessed: 13-Jan-2020]
[2] ณัฏฐกฤติ นิธิประภา, “สถานการณ์และแนวโน้มธุรกิจปี 2562” [online]. Available: https://www.sme.go.th/…/mod_dow…/download-20190328081528.pdf. [Accessed: 8-Jan-2020]
[3] ณัฏฐกฤติ นิธิประภา, “ธุรกิจร้านอาหารควรรับมืออย่างไร กับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยว” [online]. Available: https://www.sme.go.th/…/mod_dow…/download-20190617051600.pdf. [Accessed: 12-Jan-2020]