ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการฮาลาลในอิสลาม มิได้มีเป้าหมายหรือเจตนาเพื่อสร้างความยุ่งยากให้กับมนุษย์ แต่เป็นหลักการที่ต้องการยกระดับคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการอิสลามนั้นวางอยู่บนแนวคิดที่มีความสมดุลทั้งในเรื่องสิทธิและขอบเขตต่าง ๆ ที่มอบให้กับมนุษย์ ซึ่งเรื่องหะลาลและหะรอมในอิสลามนั้นนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำความเข้าใจถึงสิทธิและขอบเขตต่าง ๆ เหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์กับมนุษย์เองในการดำเนินชีวิตอยู่บนแนวทางอันบริสุทธิ์
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
หลักการฮาลาลและหะรอมนั้นวางอยู่บนจริยศาสตร์ของอิสลามที่ต้องการสร้างความรัก ความห่วงใยให้เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
‘การบริโภคอาหารฮาลาล(อนุมัติ) เป็นสาเหตุหนึ่งที่อัลลอฮฺ ตะอาลาจะทรงตอบรับการวิงวอน(ดุอาอฺ) และจะตอบรับการประกอบศาสนกิจเช่นเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม การบริโภคอาหารที่หะรอม(ต้องห้าม) ก็จะขัดขวางมิให้อัลลอฮฺทรงตอบการวิงวอนและการประกอบศาสนากิจ’
:: อิหม่าม อิบนุ กะษีร ::
………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
ในอิสลาม คำว่าฮาลาลนั้นมาจากภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึง ‘ถูกต้องตามกฎหมาย’ หรือ ‘เป็นที่อนุมัติ’ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่อาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น แต่เป็นทุกเรื่องในชีวิต
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
การบริโภคอาหารที่ฮาลาล มิได้เพียงแค่ให้ร่างกายได้รับประโยชน์เท่านั้น แต่ยังจะทำให้จิตวิญญาณมีความบริสุทธ์มากยิ่งขึ้นอีกเช่นกัน
……………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี
จงจัดเมนูอาหาร จงรับประทานสิ่งที่ให้ประโยชน์แต่อย่าให้อิ่มเกินพอดี และอย่านอนมาก
:: ชัยคฺ อาอิฎ อัล ก็อรนียฺ ::
……………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี
ปัจจุบันวัตถุดิบในการประกอบอาหารมีการพัฒนาไปมากมายจนไม่สามารถมองเห็นร่องรอยเดิมของวัตถุดิบนั้นด้วยตาเปล่า หรือไม่ สามารยืนยันจากชื่อที่ปรากฏอยู่เพื่อบ่งชี้ว่าวัตถุดิบนั้นผลิตมาจากต้นกำเนิดที่ฮาลาลหรือไม่ จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาตรวจพิสูจน์สภาพฮาลาลของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
รองศาสตราจารย์ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี
เราในฐานะมุสลิมรู้ว่าแนวคิดเรื่องฮาลาลและฮารอมในอิสลามนั้นมีความสำคัญมากๆสำหรับชีวิตมนุษย์ทุกคน ซึ่งอัลกุรอาน(ทางนำแห่งมวลมนุษยชาติ)ได้ชี้แจงข้อกำหนดต่างๆเหล่านี้อย่างชัดเจนในเรื่องอาหารโภชนาการว่าสิ่งใดที่จะเลือกรับประทานได้หรือสิ่งใดเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจรวมไปถึงเรื่องการเชือดสัตว์ที่ถูกต้องตามหลักการ
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี