เนื้อสัตว์ที่ฮาลาลในอิสลามไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ชนิดของสัตว์ และวิธีการในการเชือดสัตว์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงวิธีการที่ใช้ในการฟูมฟักเลี้ยงดูสัตว์เหล่านั้นอีกด้วย

:: ชัยคฺ อะหฺมัด คุตตี้ ::

……………………………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

หากว่าสาส์นแห่งทางนำ(อัล กุรอาน)ถูกนิยามว่าเป็นความเมตตาแก่มวลมนุษย์ ดังนั้นเรื่องฮาลาลและหะรอมที่ถูกกำหนดอยู่ในนั้นย่อมเป็นความเมตตาแก่มวลมนุษย์เช่นเดียวกัน

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

ไม่ว่าคุณจะตอบสนองความต้องการด้วยสิ่งที่หะรอมมากมายเพียงใดก็ตาม ความปรารถนาของคุณก็ไม่อาจถูกเติมเต็มได้ หากคุณไม่เติมมันด้วยสิ่งที่ฮาลาล

……………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

ในรอมฎอนเราละเว้นจากสิ่งที่ฮาลาลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เราในการละเว้นจากสิ่งที่หะรอม

:: ดร. บิลาล ฟิลลิปส์ ::

………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

คำว่า ‘ฮาลาล’ หมายถึง การได้รับอนุญาตให้ถูกต้องตามหลักการอิสลามและมันใช้ไม่เพียงแค่เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง และกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว คำนี้ยังใช้ได้กับพฤติกรรมส่วนบุคคล และการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอีกด้วย

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

หากว่าคนหนึ่งต้องการทราบว่าสินค้าอาหารนั้น ๆ ฮาลาลหรือไม่ เขาจะต้องพิจารณาถึงส่วนผสมของมันเป็นสำคัญ ส่วนผสมหนึ่งอาจเปลี่ยนอาหารจากฮาลาลเป็นฮารอมก็เป็นได้ ดังนั้นมีส่วนผสมมากกว่าหนึ่งร้อยชนิดที่ถูกจัดแบ่งในฐานะฮาลาล ฮารอมหรือมัสบูหฺ*

* มัสบูหฺ คือ สิทธิเลือก ที่ไม่ว่าจะทำหรือทิ้งก็มีค่าเท่ากัน

………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

ความงดงามอย่างหนึ่งของอิสลามคือ ทุกสิ่งที่ดำเนินบนแนวทางที่ฮาลาลผลของมันย่อมมีความสมบูรณ์แบบ และสิ่งใดก็ตามที่ดำเนินบนแนวทางที่หะรอมนั้นย่อมมีทางออกที่ฮาลาลเสมอ

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

ความหมายรากศัพท์ของคำว่า ‘ฮาลาล’ หมายถึง แก้ออก ปล่อย หรือทำให้อิสระ นั่นหมายความว่า การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มตามกระบวนการที่ฮาลาลนั้นเป็นการแก้ปัญหาให้มนุษย์รู้จักไตร่ตรองและพิจารณาถึงคุณและโทษในการบริโภค

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

คำถามที่ว่าอะไรคือสิ่งที่อนุมัติ(ฮาลาล)และสิ่งต้องห้าม(หะรอม)นั้นนับว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับมนุษย์ก่อนการปรากฏขึ้นของศาสนาอิสลามเสียอีก ซึ่งมนุษย์บนโลกนี้มีความสับสนและพลัดหลงในเรื่องฮาลาลและหะรอมจนบางครั้งได้ทำให้เรื่องต้องห้ามที่เป็นอันตรายนั้นฮาลาลและทำให้เรื่องฮาลาลในสิ่งดี ๆ ทั้งหลายเป็นเรื่องหะรอม

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี

หลักการหะลาล-หะรอม สอนมนุษย์ให้รู้จักจริยธรรมอันสูงส่งของอิสลาม ด้วยการเป็นห่วงเป็นใยและมอบสิ่งที่ดีๆให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย