เตรียมความพร้อมธุรกิจ ฝ่าวิกฤต COVID-19

BIHAPSWEEKLY EP. 19

การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 เป็นปรากฏการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ให้เรามีการตั้งตัว การดำเนินของโรคส่งผลร้ายต่อคนทั่วโลก ทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในทุกๆมิติ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ ได้เข้าใจถึงเหตุการณ์และผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แน่นอนว่าการระบาดในครั้งนี้มีการดำเนินการของโรคไปอีกระยะเวลาหนึ่ง(จนกว่าการผลิตวัคซีนจะสำเร็จ) และผลกระทบต่างๆก็มีแต่จะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา และการแพร่ระบาดของไวรัส

สถาณการณ์การระบาดในขณะนี้ มีผลยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลกแล้วกว่าสี่แสนราย และมากกว่าหนึ่งหมื่นแปดพันรายเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 หลายประเทศทั่วโลกยังคงเผชิญกับปัญหาของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

ในขณะที่บางประเทศสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว จนทำให้อัตราการติดเชื้อใหม่ของคนในประเทศลดลง แต่ก็ยังพบการรายงานของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นในหลายๆภูมิภาค อาจเป็นเพราะการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคที่ไม่เหมาะสมหรือการประเมินผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ต่ำเกินไป ในส่วนของประเทศไทยเองก็ได้มีการเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้ ด้วยการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ในการกำหนดขอบเขตการเดินทางของประชาชนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ด้วยมาตรการให้ประชาชนเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social distancing เพื่อชะลออัตราการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19

ในด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยเองในตอนนี้ก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง จากการยกเลิกการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งเคยเป็นรายได้ทางหลักและทางเดียวของประเทศ หรือจากความตื่นตัวของผู้คนในประเทศที่ทำให้จับจ่ายใช้สอยในประเทศลดลงตามไปด้วย ในส่วนของภาคเอกชน ก็ได้เริ่มส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากผลกระทบของโรคระบาดไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนพนักงาน การยกเลิกการจ้างงาน รวมไปถึงการลดกำลังการผลิตหรือแม้กระทั่งการปิดกิจการลง

ผลกระทบจากโรคCOVID-19 ในครั้งนี้ได้ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย ที่เปลี่ยนเป็นการซื้อของจากออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงการสั่งอาหารจากหน่วยบริการส่งอาหาร (Food delivery) จากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยังลามไปถึงการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ของคนวัยทำงานด้วยการใช้การสื่อสารทางไกล (Work From Home) หรือการทำงานด้วยรีโมท (Remote Working) เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรับ-ส่งงาน สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ไม่ต้องมาเจอหน้ากันเหมือนการทำงานแบบเดิม และการเริ่มมีการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่นการเงินและธนาคารบนมือถือในการชำระสินค้าของผู้คนในท้องตลาด เพื่อเป็นการลดความเสียงจากการแพร่เชื้อผ่านธนบัตร เหรียญชนิดต่างๆ จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ถือเป็นตัวเร่งที่ดี ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและกระโดด ท่ามกลางยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง (Disruptions)

นับเป็นอีกหนึ่งโอกาส และความท้าทายของผู้ประกอบการ ที่สามารถค้นหากลยุทธิ์ ที่จะนำเข้ามาปรับใช้ เติมเต็มองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจในการต่อสู้กับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆที่สอดรับกับความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงการปรับธุรกิจเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ สร้างการรับรู้ของสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น อีกทั้งการเตรียมความพร้อมบุคลากร(Mind set)และทีมงานในมีการเปิดรับกับการเรียนรู้วิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ

ทางศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจและผลิตภัณฑ์ฮาลาล (BIHAPS) ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกท่านผ่านช่วงแห่งการทดสอบนี้ไปได้ด้วยดี

ติดตามข้อมูลดีๆ ได้จากเพจศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)

ขอบคุณครับ

…………………………………………………………………………
บทความโดย
Ameen Mhamad
Photo :www.twitterbrasil.org
Reference :
www.mckinsey.com
www.who.int
businesstoday.co/technology
#BIHAPSWEEKLYEP19
#BIHAPSSTORYEP
#HALALSCIENCE2020
#HSCPN
#HALALPATTANI
#HALALCHULA

https://web.facebook.com/HSC.CU.Pattani/

แฟรนไชน์ฮาลาล “ตำนานกล้วยทอดมายอ”

BIHAPS WEEKLY EP.18

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานปัตตานี ได้จัดทำโครงการ Key Success To The Best Halal Franchise ซึ่งคัดเลือกสถานประกอบการในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบธุรกิจฮาลาลแฟรนไชส์ โดยมีสถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 15 ราย 1 ในนั้นคือ ร้านขายกล้วยทอดเจ้าดังในอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

นายวันรุสลัน มะรอเด็ง หรือ “แบลัน” เจ้าของกิจการ “ตำนานกล้วยทอดมายอ” ได้เล่าถึงความเป็นมาในการเริ่มขายกล้วยทอด ครั้นในวัยหนุ่มได้ออกเดินทางไปทำงานต่างแดนหาเลี้ยงครอบครัว เป็นพ่อครัวในร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซีย จนถึงจุดอิ่มตัว เริ่มมีความคิดที่จะปักหลักตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านเกิดของตัวเอง เจ้าตัวจำได้ว่าครอบครัวมีสูตรต้นตำรับการทำกล้วยทอดที่สืบทอดกันมาหลายรุ่น จึงนำสิ่งที่เป็นต้นตำรับของครอบครัว ปรับปรุงจนกลายเป็นสูตรเฉพาะของตัวเอง

ช่วงเริ่มเปิดกิจการใหม่ๆเป็นฤดูฝน ว่ากันว่าเป็นช่วงที่เหมาะแก่การขายของทอดร้อนๆมากที่สุด โดยทางร้านเปิดขายในวันแรกเตรียมแป้งประมาณ 3-4 กิโลกรัม ปรากฏว่าขายดีเทน้ำเทท่า หลักจากนั้นจึงเพิ่มปริมาณการผลิต ขายมาเรื่อยๆจนปัจจุบันสามารถสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวมาตลอดหลายปี

เหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจกล้วยทอดมายอ คือ ได้รับเกียรติในการถวายให้แก่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในครั้งที่มีพระกรณียากิจ ณ จังหวัดปัตตานี จากร้านกล้วยทอดเล็กๆ สู่การเป็น “ตำนานกล้วยทอดมายอ” แฟรนไชส์ที่จะสร้างรายได้ ตามสโลแกน

“กล้วยทอดที่สร้างฝันให้เป็นจริง” พร้อมเสิร์ฟถึงมือคุณแล้ว

…………………………………………………………………….
บทความโดย
นายซารีฟ เลาะหามะ
Creative from BIHAPS
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลฯ

Storytelling & Storydoing แนวคิดการทำธุรกิจอย่างไรให้ปัง

BIHAPS WEEKLY EP.17

ณ ปัจจุบันการค้าออนไลน์ไม่ใช่เพียงแค่การขายของเท่านั้น แต่เราสามารถที่จะสร้างสินค้าที่ขายออนไลน์ให้เป็นที่รู้จักและติดตากลุ่มผู้บริโภคมากขึ้นได้ ด้วยการสร้าง Storytelling ควบคู่กับ Storydoing

Storytelling และ Storydoing เป็นแนวคิดที่คนญี่ปุ่นนิยมใช้กันมากในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการเล่าเรื่องเราจะเอาไปใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร ไม่จำเป็นว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอยากให้ธุรกิจปัง ก็ใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันไปเลย การเริ่มเล่าเรื่องให้น่าติดตาม เพื่อให้คนรู้จักธุรกิจคร่าวๆควบคู่การทำ Storydoing เพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า จะสามารถเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้า และเอาเรื่องราวของธุรกิจเราไปเล่าต่อได้

จากที่ทีมงาน BIHAPS ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการ SMEs ที่ผ่านการคัดเลือกจากทางศูนย์ฯ มาเป็นแฟรนไชน์ฮาลาลชายแดนใต้ในเดือนที่ผ่านมา และนำเรื่องราวมาลงประชาสัมพันธ์กับทางเพจศูนย์ฯ หนึ่งในร้านของผู้ประกอบการ SMEs “ร้านมัตอัม-มัรฮาบัน مطعم مرحبا” จ.ปัตตานี

ร้านมัตอัม-มัรฮาบัน مطعم مرحبا ร้านอาหารที่เกิดจากแนวคิดเจ้าของร้านที่ทำงานประจำแต่อยากทำอะไรที่เป็นรูปเป็นร่างสักชิ้น เช่นการเปิดร้านอาหาร โดยเฉพาะแนวอาหารอาหรับ เพราะเป็นแนวที่ตนและครอบครัวชอบ โดยสูตรอาหารเป็นสูตรที่ได้มาจากประเทศซาอุดิอาระเบียต้นตำหรับ ด้วยพ่อแม่แต่งงานกันและอยู่ที่ประเทศซาอุฯ รสชาติที่ร้านเลยได้รสชาติแบบดั้งเดิม เมนูแนะนำของร้านคือข้าวหมก ข้าวหมกมีทั้งแบบบีรยานีและบูคอรี เลือกได้ ไม่ว่าจะเป็น ปลา ไก่ เนื้อ แพะ ทานคู่กับอาจาดและน้ำจิ้ม ถาดขนาด 4-5 คนรับประทานและเมนูอื่นๆ เช่น เมนูกาบาบ ชาวัรมา ชุรบะห์ มันตู กิบดะห์ ฟูล แป้งชามี่ แป้งนาน ตะมียะห์ โรตีชามี และอีกหลากหลายเมนูให้เลือกทาน สำหรับใครที่กำลังคิดถึงอาหารอาหรับ ต้องแวะไปร้านนี้อาหารอาหรับสูตรดั้งเดิม รสชาติต้นตำหรับที่ปรับปรุงให้เข้ากับคนมลายูชายแดนใต้ เปิดเป็นร้านอาหารในปัตตานี โดยมีความสนใจที่จะขยายเป็นธุรกิจฮาลาลแฟรนไชส์ชายแดนใต้

ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดเป็น Story คร่าวๆที่ทางทีมงานได้ทราบ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าหลังจากที่เราได้นำเรื่องราวเหล่านี้โพสลงทางเพจศูนย์ฯ เกิดการแชร์และคอมเม้นท์เกิดขึ้นเยอะมาก จนแอบตกใจว่าทำไมคนถึงกดแชร์เยอะ สิ่งที่อยากจะบอกกับทุกคนว่า หรือเพราะคนเราชอบการเล่าเรื่องราว (Story) เพราะการเล่าเรื่องราวนั้นจะเป็นเรื่องของอารมณ์ เกิดการจดจำ เกิดการมีส่วนร่วม และเกิดการบอกต่อได้ง่ายๆ

การที่ธุรกิจอะไรสักอย่างมีจุดเด่นจากเรื่องราว จะทำให้คนสนใจมากขึ้น เช่น เรื่องราวของร้านมัตอัม-มัรฮาบัน مطعم مرحبا ที่ได้ถูกพูดถึงและเกิดการคอมเม้นจากลูกค้าที่เคยไปทานอาหารที่ร้าน ต่างก็บอกเป็นสิ่งเดียวกันว่าร้านนี้อาหารอาหรับอร่อย โดยสูตรอาหารเป็นสูตรที่ได้มาจากประเทศซาอุดิอาระเบียต้นตำหรับ นี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่าการทำธุรกิจไม่ใช้แค่การเล่าเรื่องราวอย่างเดียวแต่ต้องทำควบคู่กับการทำไปด้วย “Storytelling & Storydoing”

สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ Storytelling ทำหน้าที่เหมือนการประชาสัมพันธ์ บอกเล่าว่าว่าธุรกิจจะทำอะไรบ้าง เช่น ร้านมัตอัม-มัรฮาบัน مطعم مرحبا ร้านอาหารสไตล์อาหรับมีแผนที่จะขยายเป็นธุรกิจ​ ฮาลาลแฟรนไชส์ชายแดนใต้

แต่ถ้าเป็น Storydoing ต้องเกิดจากการวางแผนกับคนภายใน เช่น การดำเนินกิจกรรมภายในร้าน หรือการออกสินค้าใหม่ ก็ต้องลงมือทำออกมา แล้วเอาสิ่งนั้นออกมาเล่าเป็นเรื่องราว ให้ผู้บริโภคได้เห็นสิ่งที่เป็นรูปเป็นร่างที่ออกมาแล้วจริงๆ หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ Storydoing ไม่ใช่เรื่องราวที่พูด แต่มันคือเรื่องราวที่ลงมือทำ เช่น การทำเมนูกาบาบ ชาวัรมา ชุรบะห์ มันตู กิบดะห์ ฟูล แป้งชามี่ แป้งนาน ตะมียะห์ โรตีชามี ซึ่งแต่ละเมนูมีที่มาที่ไป นำออกมาเล่าจากการที่ได้ลงมือทำ

แนวคิดนี้อาจจะยังใหม่สำหรับคนในพื้นที่ชายแดนใต้ ถึงแม้จะมีคนทำแต่ก็ยังถือว่าน้อยมาก หากวันนี้เราอยากลองปรับเปลี่ยนวิธีการขายออนไลน์แบบเดิมๆ ก็สามารถที่จะนำเรื่องราวของสินค้าในมือสักชิ้นมาเล่าเป็น Storytelling ควบคู่กับ Storydoing และรอดูผลลัพธ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รับรองว่าสิ่งที่จะได้มาคือสินค้าเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้นแน่นอน

…………………………………………………………….
บทความโดย
นูรุมา จูและ Marketing Specialist BIHAPS
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Business Incubator for Halal Products and Services: BIHAPS)

ทำการตลาดบนเฟซบุ๊ก ถอดรหัสอัลกอริทึ่ม

BIHAPS WEEKLY EP.16

ปัจจุบันคนนิยมใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางในการทำธุรกิจกันมากขึ้น โดยมักจะสงสัยและตั้งคำถามว่า อัลกอริทึ่มที่ทำงานในหน้า New Feed ของเฟซบุ๊กนั้นทำงานอย่างไร ในฐานะผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสารกับผู้บริโภค คอนเท้นต์แบบไหนที่จะตอบโจทย์ จะหากลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดไลก์ ควรเริ่มยังไง?

แน่นอนว่าคอนเท้นต์ในเฟซบุ๊กนั้นมีความหลากหลาย มีทั้งความรู้, ข่าวสาร, การเมือง, ธุรกิจ, รีวิวต่างๆ โดยมีวิธีการนำเสนอได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบทความสั้น ยาว, รูปภาพ, Info-graphic, Video, รวมถึงการไลฟ์สด ฯลฯ ในเมื่อคอนเท้นต์ที่จะ Run บน New Feed ของเฟซบุ๊กมีมากมายมหาศาล หากเราต้องการให้คอนเท้นต์ของเราโดดเด่นและเข้าถึงผู้บริโภค สิ่งแรกที่เราควรทำเลยก็คือ การทำความรู้จักพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย

เพจหรือธุรกิจที่จะทำการตลาดควรหากลุ่มเป้าหมายของตัวเองให้เจอก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเราทราบกลุ่มเป้าหมายว่าหน้าตาเป็นยังไง เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้คนกลุ่มไหนเข้าถึงเพจ เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ก็ควรรักษาสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายนี้ไว้ โดยเริ่มทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ว่าเขาต้องการอะไร เขาอยากอ่านอะไร หากเราทำคอนเท้นต์ให้ตรงกับสิ่งที่เขาสนใจ ก็สามารถเพิ่มยอด organic reach ในทุกครั้งที่โพสต์ได้มากขึ้น เฟซบุ๊กจะมองว่าเพจของเรามีคุณภาพ อัลกอริทึ่มของเฟซบุ๊กจะทำงานง่ายขึ้นในการนำเสนอตอนเท้นต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

เมื่อเริ่มรู้จักกลุ่มเป้าหมาย การทำคอนเท้นต์จะง่ายยิ่งขึ้น หากเรารู้ว่า Insight ของเพจเราคืออะไร การสร้างสรรค์คอนเท้นต์ที่ดีจะตามมา สิ่งที่ควรทำอยู่ตลอดเวลาคือ การสังเกตปฏิกิริยาของลูกเพจต่อรูปแบบคอนเท้นต์ที่เรานำเสนอ หากคอนเท้นต์ไหนมี Engage เยอะและมีคนแชร์ Insight จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เรากำหนดต้นทุนในการซื้อโฆษณาได้ เราสามารถดูสถิติ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการโพสต์ของเพจได้ ที่สำคัญคือต้องหมั่นสังเกตและทดลองอยู่เสมอ เพราะการทำคอนเท้นต์ให้ปังและได้ Engagement สูงๆ คงไม่ใช่แค่ปรับวิธีให้สอดคล้องกับอัลกอริทึ่มเท่านั้น การเรียนรู้ และเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาคือกุญแจสำคัญที่ช่วยให้การทำการตลาดบนเฟซบุ๊กประสบความสำเร็จ

………………………………………………………………………
เขียนโดย
ซารีฟ เลาะหามะ
Creative and project planning BIHAPS

ใช้โลกออนไลน์ช่วยขยายธุรกิจ รักษาลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่ Trend • Big data • Customer Service

BIHAPS WEEKLY EP.15

เทรนด์ตลาดออนไลน์ตอนนี้ เจ้าของธุรกิจต้องรู้จุดเด่นของสินค้า รู้กลุ่มเป้าหมายและรู้ว่าเราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร แล้วนำมาช่วยในการทำคอนเทนต์ใส่คำคีย์เวิร์ดให้ง่ายต่อการค้นหา

เก็บข้อมูลลูกค้าเก่าเพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ ลูกค้าบนออนไลน์มีสองกลุ่ม กลุ่มแรกต้องการเรากลุ่มที่สองคือไม่ต้องการเรา ซึ่งกลุ่มแรกจะเสิร์ชหาทำให้เรามีโอกาสได้ขายของส่วนกลุ่มที่สอง เราเก็บพฤติกรรมเขาไว้ เพื่อโปรโมทได้ตรงจุด

การเพิ่มยอดให้เติบโตก้าวกระโดดมี 3 ข้อ

1. เก็บ Big Data เพื่อมาใช้ต่อยอด

2. ทำ Online Customer Service มีคนจริงๆ คอยตอบคำถามด้วยใจรักงานบริการ

3. Online to Offline หรือ Offline to Online มีหน้าร้านให้ลูกค้าดูของ แล้วค่อยชวนเขามาซื้อบนออนไลน์

การมีร้านออนไลน์จะช่วยขยายฐานลูกค้าให้มีอยู่ทั่วประเทศไทยแค่ค้นหาก็เจอร้านเรา พอลูกค้าฐานกว้างขึ้น สเกลงานก็ใหญ่ขึ้นตามความหลากหลายของลูกค้า สร้างมูลค่าได้มากกว่าเดิม

เพิ่มช่องทางติดต่อออนไลน์ ด้วยคอนเทนต์

      เทรนด์ตลาดออนไลน์ เจ้าของธุรกิจต้องเก่งที่สุดในเรื่องที่ตัวเองทำ รู้ลึก รู้จริง รู้จุดเด่นของสินค้า          รู้กลุ่มเป้าหมาย และรู้ว่าเราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร เพราะการรู้จักสินค้าของตัวเองเป็นอย่างดี จะช่วยในการทำคอนเทนต์เพื่อขายของชิ้นนั้นๆ ควรใส่คำคีย์เวิร์ดให้กลุ่มเป้าหมายง่ายต่อการค้นหา หมั่นศึกษาคู่แข่งว่าเขามีอะไรเด่น แล้วมาปรับใช้เพื่อสร้างจุดเด่นให้ตัวเอง ใส่สตอรี่และถ่ายวีดีโอสั้น ๆ ทำให้แตกต่างจากคู่แข่ง สร้างให้ลูกค้าจดจำเราได้ เมื่อมีคอนเทนต์ในมือแล้ว ก็ลงโปรโมททุกช่องทางเท่าที่ทำได้ สิ่งที่ควรมีไว้คือเว็บไซต์ของร้าน ซึ่งเปรียบเสมือนสำนักงานของเราบนอินเทอร์เน็ต ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าเห็นว่าเราทำอะไรบ้าง ส่วนช่องทางอื่น ๆ อย่าง Facebook ก็ยังสำคัญในการสร้าง Awareness  LINE@ใช้ตอบคำถามเพื่อปิดการขาย Youtube ก็ไว้ใช้เก็บวีดีโอที่ทำไว้ ส่วน Instagram ก็เหมาะกับสินค้าที่เน้นขายรูปลักษณ์เป็นหลัก

เก็บข้อมูลจากลูกค้าเก่า เพื่อใช้เข้าถึงลูกค้าใหม่

      ลูกค้าบนออนไลน์มีสองกลุ่ม นั่นคือกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ต้องการเรา กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ไม่ต้องการเรา   ซึ่งกลุ่มแรกเขาจะพยายามค้นหาเอง ทำให้เรามีโอกาสได้ขายของ เราถึงต้องมีเว็บไซต์ที่ดี มีเนื้อหาให้ตรงกับคำที่เขาค้นหาอยู่ เพื่อจะได้ไปปรากฏตรงหน้าเขา ส่วนกลุ่มที่สอง อาจจะฟังดูยากที่เขาไม่ต้องการเรา            แต่พฤติกรรมของกลุ่มนี้ เราสามารถใช้แพลตฟอร์มบางตัวไปเก็บพฤติกรรมไว้ ทำให้เราได้รู้จักเขามากขึ้น สร้างโอกาสโปรโมทสินค้าได้ตรงจุดมากขึ้น แต่ถ้ามองในมุม “ลูกค้าเก่า” กับ “ลูกค้าใหม่” การกระตุ้นลูกค้าเก่าให้ซื้อของเพิ่ม จะใช้เงินทุนน้อยกว่าการหาลูกค้าใหม่ จับทางให้แม่นว่าลูกค้าเก่าเป็นแบบไหน แล้วลูกค้าใหม่เราจะไปหาจากไหน วิธีนี้เป็นการสร้างตัวตนบนออนไลน์ให้เหนือกว่าคู่แข่งได้อีกทาง และเมื่อรู้จักลูกค้าดีแล้ว    ให้สร้างช่องทางชำระเงินให้มีหลายทาง โดยเฉพาะ QR code ซึ่งควรมีไว้ เพราะคนจะใช้เยอะขึ้นในอนาคต

เพิ่มยอดด้วย Big DATA บริการลูกค้าด้วย Service mind

การเพิ่มยอดให้เติบโตก้าวกระโดด มีสิ่งสำคัญ 3 ข้อคือ

1. เจ้าของธุรกิจควรเก็บ Database หรือ Big Data เพื่อมาใช้ประโยชน์ต่อยอด ยกตัวอย่าง เก็บอีเมลลูกค้าที่ซื้อของเราไป แล้วเราอาจจะส่งเมลไปชวนเขามาซื้อสินค้าใหม่ ส่วนลูกค้าที่ยังไม่ซื้อ แต่ว่าเรามี Database    อยู่ ก็อาจจะชวนให้มาแอด LINE@ แล้วส่งโปรโมชั่นสินค้าที่เขาเคยดู ในราคาพิเศษไปให้ทางแชท

2. ทำ Online Customer Service ให้ตอบตรงประเด็น รวดเร็ว และมีคนจริง ๆ คอยมาพูดคุย ตอบคำถามด้วยใจรักงานบริการ เพราะการทำการตลาดออนไลน์ บางคนอาจจะคิดว่าลูกค้าสัมผัสระบบโซเชี่ยลโดยไม่ต้องมีคนเลยก็ได้ แต่จริง ๆ แล้วต้องมีมนุษย์ให้ลูกค้าพูดคุยด้วยได้ นี่คือเคล็ดลับการทำธุรกิจออนไลน์

3. O-to-O คือ Online to Offline หรือ Offline to Online บางคนอาจจะมีหน้าร้านอยู่แล้ว ก็มาเปิดร้านบนออนไลน์เพิ่ม เชื่อมสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ถ้าลูกค้าออนไลน์อยากไปดูของจริงหน้าร้าน เราต้องมีสินค้าให้เขาดู แม้ว่าสินค้าตัวนั้นอาจไม่มีขายหน้าร้านก็ตามแล้วค่อยชวนเขามาบนออนไลน์ว่าเรายังมีสินค้าอีกมากให้เลือกซื้อ

 สร้างตัวตนบนออนไลน์ เพื่อขยายฐานลูกค้า

    จากธุรกิจเล็ก ๆ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นธุรกิจใหญ่โตได้ ถ้าขยายฐานลูกค้าจากละแวกที่เปิดร้าน  ให้กลายเป็นลูกค้าทั่วประเทศไทย จากที่เคยเป็นธุรกิจเล็ก ๆ แต่พอเปิดร้านบนออนไลน์ คนทั่วประเทศสามารถเสิร์ชแล้วเจอร้านได้เลย เมื่อฐานลูกค้าใหญ่ขึ้นกลายเป็นทั้งประเทศ เราก็สามารถขยายธุรกิจให้โตขึ้นตามได้ อย่างเช่น เคยรับติดตั้งมุ้งลวดแค่ครั้งละบานสองบาน ก็กลายเป็นรับติดตั้งมุ้งลวดบ้านทั้งหลัง เพราะมีลูกค้าจากที่อื่นมาเจอเยอะขึ้น สเกลงานก็ใหญ่ขึ้นตามความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น การขยายธุรกิจก็ทำได้รวดเร็วและสร้างมูลค่าได้มากกว่าเดิม เริ่มต้นจากการมีเว็บไซต์เพื่อสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แล้วใช้ช่องทางอื่น ๆ เช่น Facebook LINE@ มาช่วยในการขยายฐานลูกค้า

เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเรา เมื่อถือศีลอดในเดือนรอมฎอน !!

BIHAPS WEEKLY EP.14

อยู่ในช่วงของกลางเดือนรอมฏอนแล้วสำหรับพี่น้องมุสลิม​ ช่วงนี้เรามักจะเห็นคนรอบตัวๆเราทั้งญาติสนิท คนใกล้ชิด เพื่อร่วมงานหรือแม้กระทั้งเพื่อนๆใน FACEBOOK บ่นกันเรื่องน้ำหนักลงบ้างน้ำหนักขึ้นบ้าง ถามว่าการถือศีลอดส่งผลเสียต่อสุขภาพเราไหม? บอกเลยว่าไม่ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใด การถือศีลอดอย่างถูกวิธี จะทำให้เราลดน้ำหนักได้ แต่กลับกันหลายคนอ้วนขึ้น เพราะกินเยอะเกินไปในช่วงละศีลอดตอนกลางคืน ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่เราถือศีลอดนี้ เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเราบ้าง?

– 2-3 วันแรก คือ ช่วงที่ยากลำบากที่สุด เพราะเป็นช่วงเริ่มแรกที่เราเริ่มถือศีลอด การอดอาหาร 8 ชั่วโมงหลังที่เรากินอาหารมื้อสุดท้ายคือซาโฮร์นั้น ลำไส้เราจะทำหน้าที่ในการดูดสารอาหารต่างๆ ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสมาให้พลัง และเมื่อกลูโคสหมด ไขมันก็จะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำหรับร่างกายแทน

– วันที่ 3-7ระวังเรื่องการขาดน้ำ เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 2 ร่างกายของเราเริ่มชินกับการอดอาหาร ไขมันจะถูกนำมาแปลงเป็นน้ำตาลในเลือด การที่เราไม่ได้รับของเหลวเข้าสู่ร่างกายในช่วงถือศีลอด​ก็ต้องชดเชยในช่วงหลังจากเลิกถือศีลอดในแต่ละวัน ไม่เช่นนั้น

ก็อาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้ อาหารที่เรารับประทานก็ควรจะมี ‘อาหารที่ให้พลังงาน’ ในระดับที่เหมาะสม อย่างเช่น คาร์โบไฮเดรต และไขมันบางอย่าง

– วันที่ 8-15 เริ่มชิน ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงที่ 3 นี้ เราจะเห็นถึงพัฒนาการทางอารมณ์ ในช่วงที่ร่างกายปรับตัวกับการอดอาหารได้อย่างสมบูรณ์แล้ว โดยดร. ราซีน มาห์รูฟ ที่ปรึกษาในหน่วยผู้ป่วยหนักและยาชา ที่โรงพยาบาลแอดเดินบรูกส์ ในเมืองเคมบริดจ์ กล่าวว่า มีข้อดีหลายอย่างจากการ อดอาหารเช่นกัน “ในชีวิตประจำวัน เรามักกินมากเกินไป และอาจส่งผลให้ร่างกายไม่ได้ทำหน้าที่อื่นเท่าที่ควร เช่น การซ่อมแซมตัวเอง” “การปรับสภาพของร่างกายจะเกิดขึ้นในช่วงถือศีลอด ทำให้ร่ายกายได้หันไปทำหน้าที่อื่น ๆ” ดังนั้น การถือศีลอดอาจจะเป็นผลดีต่อร่ายกาย ด้วยการทำให้เกิดการซ่อมแซม และยังช่วยป้องกันและต้านทานการติดเชื้อด้วย

– วันที่ 16-30 ถอนพิษ สำหรับช่วงนี้ร่างกายของเราจะปรับตัวเข้ากับกระบวนการอดอาหารได้สมบูรณ์แบบแล้ว ลำไส้ใหญ่, ตับ, ไต และผิวหนัง จะเข้าสู่ช่วงของการถอนพิษ การทำงานของอวัยวะต่างๆ น่าจะกลับไปสู่ระดับเต็มศักยภาพอีกครั้ง ความจำและสมาธิอาจจะดีขึ้น มีเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้น

………………………………………………………………
บทความ​ นูรุมา จูและ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Business Incubator for Halal Products and Services: BIHAPS)

ที่มา…..อาห์เมน คาวาจา บีบีซี เวิลด์เซอร์วิส

กินอย่างพอดี ลดอาหารเหลือทิ้ง

BIHAPS WEEKLY EP.13

เดือนรอมฎอนสำหรับชาวมุสลิมทั่วโลกถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญ พระคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวไว้ว่า เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาแก่ศาสนิกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตนให้เหมาะสมดีงามสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อันจะนำมาซึ่งความสุขและสันติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เดือนรอมฎอน เดือนอันแสนประเสริฐที่มุสลิมต่างรอคอย
เดือนที่มีข้อบังคับให้ชาวมุสลิมต้องถือศีลอด ตั้งแต่ก่อนรุ่งอรุณจนกว่าตะวันลับขอบฟ้า การถือศีลอดที่ไม่ใช่แค่งดดื่มน้ำและรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ยังมีข้อปฏิบัติอื่นๆอีกมากมาย เช่น การบริจาคทาน การทำจิตใจให้สงบ การงดอบายมุข และการลดละกระทำสิ่งที่ไม่ดีต่อผู้อื่นทั้งกายวาจาใจ

ในแง่มุมเศรษฐกิจ ช่วงเทศกาลรอมฎอน นับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูช่วงนึงในรอบปี โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีพี่น้องชาวมุสลิมอาศัยมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ทั้งอาหาร และเสื้อผ้า ทำให้เกิดกระแสเงินสะพัดในท้องถิ่น มีตลาดในช่วงรอมฎอนผุดขึ้นตามชุมชนต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภครุ่นใหม่ๆที่มักนิยมซื้ออาหารสำเร็จรูปมากกว่าซื้อวัตถุดิบนำมาปรุงอาหารเอง

มีงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของชาวมุสลิมในเดือนรอมฎอน โดยสถาบันวิจัย Solid Waste Management Corporation (SWCorp) จากประเทศมาเลเซีย รายงานว่าในเดือนรอมฎอน ผู้บริโภคมักซื้ออาหารเกินกว่าจำนวนที่รับประทานปกติในแต่ละวัน ด้วยปัจจัยหลายๆอย่างเช่น การงดรับประทานอาหารในช่วงกลางวัน ความหิวกระหายที่อาจส่งผลให้เกิดการซื้ออาหารที่เกินความจำเป็น แต่ละร้านจำหน่ายเมนูอาหารที่ชวนลิ้มลอง และมากมายให้เลือกสรร ผลจากการวิจัยพบว่ามีการทิ้งอาหารมากถึง 17,800 ตัน/วัน ซึ่งอาหารส่วนมากอยู่ในสภาพที่ยังรับประทานได้

ในอัล-กุรอ่านได้กล่าวว่า
إِنَّ الْمُبَذِّرِينَ كَانُوا إِخْوَانَ الشَّيَاطِينِ ۖ وَكَانَ الشَّيْطَانُ لِرَبِّهِ كَفُورًا

“แท้จริง บรรดาผู้สรุ่ยสุร่าย(สิ้นเปลือง)นั้น เป็นพวกพ้องของเหล่าชัยตอน และชัยตอนนั้นเนรคุณต่อพระเจ้าของมัน” ( อัลอิสรออ์ : 27 )

รอมฎอนปีนี้นอกเหนือจากการถือศีลอด และการปฏิบัติศาสนกิจด้วยเจตนาที่ตั้งมั่นแล้วนั้น การบริโภคเกินความจำเป็นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้พี่น้องชาวมุสลิมร่วมกันตระหนักและให้ความสำคัญ จึงอยากเชิญชวนให้พี่น้องชาวมุสลิม และผู้อ่านทุกคนร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการบริโภคในปริมาณพอดี นอกจากไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้ด้วย

…………………………………………………………………..
บทความโดย
ซารีฟ เลาะหามะ
Business Incubator for Halal Products and Services
BIHAPS

3 เคล็ดลับ อุดรอยรั่ว อัพกำไรให้ธุรกิจ SME

BIHAPS WEEKLY EP.12

รู้หรือไม่? ทุกธุรกิจมีช่องว่างให้เงินรั่วไหลได้เสมอ แต่จะอุดรอยรั่ว เพื่อพลิกโฉมธุรกิจให้ทำกำไรได้อย่างไร

เรามี 3 เคล็ดลับเด็ดมาแนะนำ

1.บันทึกข้อมูลเป็นระบบ จบทุกปัญหา
ช่วงเริ่มต้นธุรกิจ SME ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เช่น ไม่บันทึกข้อมูลการสั่งซื้อวัตถุดิบ วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ เมื่อใกล้หมดจึงค่อยสั่งซื้อใหม่ ไม่บันทึกข้อมูลการจำหน่ายสินค้า แต่ใช้การเช็คยอดขายเมื่อสิ้นวัน เป็นต้น โดยสาเหตุที่ไม่บันทึกข้อมูล เพราะส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก เสียเวลา แต่จริงๆ แล้วการไม่บันทึกข้อมูลนี้ คือหายนะของ SME ก็ว่าได้ เพราะนี่คือตัวการสำคัญที่ทำให้เงินรั่วไหล กำไรร่วง!

ปัญหาที่อาจตามมาเมื่อ SME ไม่บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เช่น

•ไม่รู้ว่ารายจ่ายส่วนใดมากเกินจำเป็น สมควรต้องปรับลด

•ไม่รู้ว่ารายรับมาจากช่องทางไหน สินค้าใดทำกำไรได้มาก สินค้าใดกำไรน้อย

•ไม่รู้ว่าต้องสั่งซื้อวัตถุดิบ วัสดุหรืออุปกรณ์สำหรับผลิตสินค้าหรือบริการเท่าไร เพราะไม่ทราบจำนวนที่เหลือแน่ชัด จนต้องเสียเวลาคอยนับจำนวนก่อนสั่งซื้อ

•หากเกิดการทุจริต เช่น สินค้าหาย เงินไม่ครบ ก็ตรวจสอบไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลใดๆ ยืนยัน

•วางแผนการเติบโตได้ยาก ทั้งการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน การเติบโตด้วยการหาพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นต้น เพราะขาดข้อมูลสนับสนุนที่ชัดเจน ว่าธุรกิจสามารถทำกำไรจากช่องทางไหนได้บ้าง

แต่หาก SME มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบ สารพัดปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด จะจบลงทันที เพราะเราจะมีข้อมูลที่ชัดเจน แม่นยำ สามารถตรวจสอบการทำงานได้ในทุกๆ ขั้นตอน ยิ่งเราบันทึกข้อมูลละเอียดและแม่นยำมากแค่ไหน ก็ยิ่งอุดรอยรั่วได้มากเท่านั้น

2.ใช้เทคโนโลยี ประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน
เมื่อรู้ว่าการบันทึกข้อมูลคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แต่ SME หลายรายอาจกังวลว่า การบันทึกข้อมูลโดยละเอียดจะเสียเวลา เสียกำลังคน แถมยังไม่รู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นจะแม่นยำมากน้อยแค่ไหน ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ด้วย “เทคโนโลยี”

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปหรือแอปพลิเคชั่น โดยสามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ SME ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น

•ระบบจัดการบัญชี ช่วยให้เรื่องตัวเลขที่น่าปวดหัว กลายเป็นเรื่องง่ายเป็นต้น

•ระบบจัดการสินค้า ให้บริการเก็บสินค้า แพ็คสินค้า และส่งสินค้าแทนร้านของคุณเป็นต้น

•ระบบการทำการตลาดออนไลน์ ผู้ให้บริการด้านการตลาดออนไลน์ ทั้งการสร้างเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น การทำโฆษณาบนสื่อออนไลน์ รวมทั้งคอร์สอบรมเรื่องการตลาดออนไลน์แบบเจาะลึก

เทคโนโลยีเหล่านี้ถือเป็นอีกตัวช่วยสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจของ SME ราบรื่นขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน

3.ระบบการเงินและบัญชีเรื่องสำคัญห้ามมองข้าม
SME หลายรายมักละเลยเรื่องระบบการเงินและบัญชี โดยปล่อยให้ฝ่ายบัญชีเป็นคนจัดการ ส่วนตัวเองดูแค่ตัวเลขบรรทัดสุดท้ายตอนสิ้นเดือน ซึ่งการทำเช่นนี้ถือว่าเสี่ยงมาก เพราะตัวเลขเหล่านี้อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของคุณเจ๊งไม่เป็นท่า เพราะถ้าคุณไม่มีความรู้ด้านการทำบัญชีเลย แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าการบันทึกรายรับ รายจ่าย คำนวณต้นทุนและผลกำไรนั้นถูกต้องหากฝ่ายบัญชีตกแต่งตัวเลขสักเล็กน้อย จากกำไรก็อาจกลายเป็นขาดทุนได้

อีกปัญหาสำคัญ (ที่ SME อาจไม่ทราบว่าคือปัญหา) คือ ไม่แยก “กระเป๋าเงินธุรกิจ” กับ “กระเป๋าเงินส่วนตัว” อยากหยิบใช้เท่าไรก็ได้ เพราะถือว่านี่คือน้ำพักน้ำแรงของเรา แต่จริงๆ แล้ว วิธีนี้จะทำให้คุณไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจเป็นเท่าไร (เพราะการหยิบเงินไปใช้ซื้อของส่วนตัว ก็ถือเป็นต้นทุนที่ธุรกิจต้องแบกรับ) มีกำไรเท่าไร คุ้มค่าเหนื่อยไหม ทางที่ดี SME ต้องตั้งเงินเดือนให้ตัวเองเป็นอัตราที่แน่นอน แล้วนำกำไรที่เหลือ ไปใช้ในการหมุนเวียนธุรกิจต่อไปจะทำให้การบริหารจัดการเงินง่ายกว่า และไม่เกิดปัญหาเงินรั่วไหลด้วย

……………………………………………….
บทความโดย อัสลินดา ระเด่นอาหมัด
ที่มา : https://scbsme.scb.co.th

“สุขภาพธุรกิจ ตรวจกันสักนิด เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน”

BIHAPS WEEKLY ep. 12

“สุขภาพธุรกิจ ตรวจกันสักนิด เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน”

คนส่วนใหญ่ออกกำลังกายกันตอนไหน ?

คำถามชวนคิดที่ถูกถามขึ้นในบรรยากาศของการรอฟังผลการตรวจสุขภาพประจำปีจากโรงพยาบาลที่มาแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ผลตรวจที่รอคอยกันมาหลายสัปดาห์ทำให้การรอฟังผลเป็นไปกด้วยความตื่นเต้น การตรวจที่จะทำให้รู้ถึงสภาพของร่างกาย หลังจากที่ได้ใช้งานอย่างหนักหน่วงมาตลอดทั้งปี การตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเป็นการตรวจร่างกายของผู้ที่ยังไม่มีอาการผิดปรกติใดๆ เพื่อค้นหาความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นการประเมินพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเราในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่ามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน มีพฤติกรรมเสี่ยงที่เริ่มส่งผลต่อสุขภาพของเราแล้วบ้าง เพื่อที่จะได้เปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนที่จะสายเกินแก้ นอกจากร่างกายของเราแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหมั่นตรวจสอบก็คือ ธุรกิจ/กิจการ ของเรา เพื่อเป็นการประเมินความเสี่ยงของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต วันนี้ทางทีมงานศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (BIHAPS) มีเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการประเมินธุรกิจที่เรียกว่า Balanced scorecard โดยจะประเมินธุรกิจของท่านผ่านมุมมอง 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) ถ้าพร้อมแล้วขอเชิญเข้ารับการตรวจประเมินสุขภาพธุรกิจของท่านได้เลยครับ

เครื่องมือการประเมินประสิทธิภาพขององค์กร Balalced Scorecard พัฒนาโดย Professer Robert Kaplan และ Dr. David Norton จาก Harvard Business School ในปี คศ.1990 โดยเป็นการประเมินในทุกๆด้านขององค์กร จากเดิมที่ผู้บริหาร/เจ้าของกิจการ มักจะประเมินธุรกิจในมุมมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียวซึ่งอาจทำให้การประเมินผลไม่สมบูรณ์ได้ โดยในการใช้ Balalced Scorecard เข้ามาประเมินนั้นจะประกอบด้วยมุมมองทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

  1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)
    เป็นมุมมองที่จะตรวจสอบการบริหารจัดการด้านการเงิน การจัดการด้านการเงินที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จของธุรกิจ ตัวอย่างการวัดผลด้านการเงิน 1. อัตราเติบโตของรายได้ วัดจากการเติบโตของยอดขาย 2. วัดประสิทธิภาพการลดต้นทุนในกระบวนการผลิต 3. ประสิทธิภาพการลงทุนการทำวิจัยและพัฒนา
  2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) เป็นมุมมองที่จะตรวจสอบกิจการของท่านว่าจะต้องเป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า เพราะลูกค้าคือตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับธุรกิจ เพราะเป็นแหล่งที่มาของรายได้สำหรับกิจการนั้นๆ ตัวอย่างการวัดผลด้านลูกค้า 1. การวัดความพอใจของลูกค้าเพื่อทำให้เกิดการกลับมาใช้บริการใหม่ 2. การติดตามความต้องการของลูกค้าโดยดูจากพฤติกรรมการสั่งซื้อ 4. การวัดผลการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) เป็นมุมมองที่จะตรวจสอบว่ากิจการของท่านว่ามีระบบการทำงานภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน หากองค์กรพัฒนาและมีระบบบริหารการทำงานภายในที่ดี ย่อมส่งผลให้ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้องค์กรมีการเติบโตทางรายได้สูงขึ้น
  4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) เป็นมุมมองที่จะตรวจสอบว่ากิจการของท่านต้องมีการบริหารจัดการการเรียนรู้และการพัฒนาของและบุคลากรในกิจการอย่างไร เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงาน หากพนักงานเกิดการเรียนรู้ มีการพัฒนาขีดความสามารถของการเรียนรู้ จะทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลดีต่อคุณภาพ สินค้า และบริการ

การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรโดยใช้ Balalced Scorecard นั้น เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ประเมินธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการแได้ละผู้อ่านทุกท่านนำไปใช้เป็นรายการตรวจสอบอย่างง่าย (Checklist) ในการประเมินสุขภาพธุรกิจของท่าน และเมื่อทราบถึงปัญหาสุขภาพของธุรกิจแล้ว เราก็จะสามารถวางแผนรับมือ ก่อนที่มันจะแสดงออกมาเป็นอาการให้ท่านเจ็บตัว อย่าให้เหมือนกับตลกร้ายที่ชอบพูดกันว่า “คนส่วนใหญ่ที่กว่าจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเอง หันมาควบคุมอาหาร ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย ก็ตอนที่โรคร้ายได้แสดงอาการออกมา ซึ่งอาจสายไปแล้วสำหรับการแก้ไขให้กลับมาสุขภาพดีเหมือนเดิม”
ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม สัปดาห์หน้าทางศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล (BIHAPS) มีอะไรดีๆมานำเสนอสามารถติดตามได้ สำหรับสัปดาห์นี้ขอลาไปก่อนครับ

วัสสลาม

……………………………………………………………………
บทความโดย
อมีน มะหมัด
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี)
#BIHAPSWEEKLY #BIHAPS #HSCPN

30 กลุ่มโพสต์ขายของออนไลน์ให้ปัง ไม่เสียค่าโฆษณา

BIHAPS WEEKLY EP.22

ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองมากๆ ในช่วงนี้สำหรับพ่อค้าแม่ค้า เมื่อลูกค้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เหตุผลเพราะการช้อปปิ้งออนไลน์มีความสะดวกสบาย มีของให้เลือกหลากหลาย ซื้อของเวลาไหนก็ได้ เปรียบเทียบราคาได้สะดวก ตรวจสอบสินค้าได้ด้วยรีวิว และอีกหลากหลายเหตุผลที่น่าสนใจ

ยิ่งสถานการณ์ในช่วง Covid-19 แบบนี้แล้ว แน่นอนว่าหลายๆคนเองก็หันมาเอาดีในด้านการขายของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนว่างงานเพิ่มมากขึ้น ขาดรายได้จากงานประจำ รวมถึงคนที่มีหน้าร้านขายของเองก็ตาม ก็ยังคงต้องปิดตัวลงเพราะพิษเศรษฐกิจจา​กเหตุการณ์​การ​ระบาดของ Covid-19 ทำให้ได้รับผลกระทบไปตามกันๆ พ่อค้าแม่ค้าเลยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการขายของจากหน้าร้าน มาขายของออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการขายของออนไลน์สามารถขายได้บนเว็บขายของออนไลน์
ซื้อง่าย ขายคล่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Shopee,Lazada, Facebook Marketplace, Kaidee, Sales Matchup,ต่างๆ

แต่ยังมีการขายของออนไลน์แบบง่ายๆ ผ่านช่องทางกลุ่มขายของออนไลน์ ที่ถือเป็นที่นิยมมากๆในช่วงนี้ เป็นกลุ่มที่ทุกคนสามารถเข้ามาโพสซื้อโพสขายได้แบบไม่จำกัด วันนี้แอดมินในฐานะแม่ค้าออนไลน์เองจะมารวบรวมกลุ่มขายของออนไลน์ ขายดีขายคล่อง ที่มียอดผู้ติดตามหลัก 10,000 ขึ้นไป ให้กับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ได้กดเข้าไปร่วมกลุ่ม เพิ่มช่องทางการขายของออนไลน์และเจาะกลุ่มผู้ซื้อในวงที่กว้างขึ้นได้

แต่บอกเลยว่ากลุ่มไหนที่มีสมาชิกในกลุ่มมาก กลุ่มนั้นอาจจะจะมีค่าสมัครเพิ่ม เป็นค่าสมัครแบบรายเดือน รายปี หรือแบบตลอดชีพ

โดยกลุ่มที่ต้องเสียค่าสมัครนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีคนติดตามในกลุ่มหลักแสนขึ้นไป มีการซื้อขายเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า โดยผู้ดูแลกลุ่มจะมีรหัสให้กับพ่อค้าแม่ค้าเมื่อมีการสมัครครั้งแรก โดยแอดมินจะคอยติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิกที่อยู่ภายในกลุ่ม

ถือเป็นกลุ่มขายของออนไลน์ที่ถึงแม้จะมีค่าสมัคร แต่ก็อยากจะแนะนำให้สมัครเพิ่ม​ โดยข้อดีของกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายแบบนี้สามารถที่จะเข้าไปขายในกลุ่มเครือขายร่วมได้อีกหลายกลุ่ม

ดังนั้น การขายของออนไลน์ผ่านกลุ่มต่างๆแบบนี้ เป็นที่นิยมมากในช่วงนี้สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ด้วยความที่โพสขายได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และที่สำคัญคือไม่เสียเงินค่าลงโฆษณา Facebook แบบแพงๆอีกด้วย มาดูกันว่ามีกลุ่มไหนกันบ้างที่เราสามารถเข้ากลุ่มไปขายของ เพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจของเราได้แบบฟรีๆและมีค่าสมัครกันบ้าง (สำหรับใครที่มีกลุ่มขายของที่นอกเหนือจากที่แอดมินรวบรวมไว้นี้ สามารถแชร์กลุ่มกันได้นะคะ)

1. กลุ่มตลาดนัดออนไลน์ ซื้อง่ายขายคล่อง https://www.facebook.com/groups/1918597495056197/

2. ตลาดนัด 4.0 https://www.facebook.com/groups/itshopping/

3. ตลาดนัดเพื่อคุณ – Market For You https://www.facebook.com/groups/Beautifulhomephotos/

4. มุสลิมพลาซ่า – Muslim Plaza (https://www.facebook.com/groups/Muslim2handmarket/

5. muslim market 24 hours https://www.facebook.com/groups/1464507960472423/

6. Muslim shopping 24 hours https://www.facebook.com/groups/771785802943747/

7. มุสลิมพลาซ่า – Muslim Plaza Online https://www.facebook.com/groups/593264387757375/

8. มุสลิมพลาซ่า ตลาดสินค้าฮาลาลออลไลน์ https://www.facebook.com/groups/414090772107808/

9. มุสลิมตลาดออลไลน์ https://www.facebook.com/groups/1461080130880277/

10. Muslim Plaza+Online https://www.facebook.com/groups/1097514550258716/

11. มุสลิมออลไลน์ ตลาดสรรพสินค้าและสินค้าฮาลาล https://www.facebook.com/groups/138018163207298/

12. Muslim Shop Online https://www.facebook.com/groups/702716749864313/

13. ตลาดนัดออนไลน์ซื้อขายสินค้าทุกชนิด https://www.facebook.com/groups/1389226677785659/about/

14. ตลาดซื้อ-ขาย @ยะลา https://www.facebook.com/groups/market.yala/

15. ตลาดซื้อขายทุกอย่างในยะลา https://www.facebook.com/groups/1166939636698211/

16. กลุ่มตลาดนัดออนไลน์ https://www.facebook.com/groups/Grouponlinemarketing/about/

17. Muslim Online#3[100/ปี] https://www.facebook.com/groups/869340123161543/

18. กลุ่มซื้อ-ขายของออนไลน์ทุกชนิด https://www.facebook.com/groups/760795160672430/about/

19. ชวนชิมของอร่อยเมืองยะลา https://www.facebook.com/groups/770664113072417/

20. ปัตตานีเดลิเวอรี่…หิวเมื่อไหร่ก็ทักมา https://www.facebook.com/groups/916907191818094/

21. ตลาดมุสลิม (โพสขาย 24ชม.) https://www.facebook.com/groups/1059309384167866/

22. ตลาดซื้อ-ขายสินค้า https://www.facebook.com/groups/1662256877432815/

23. ตลาดสินค้ามุสลิมครบวงจร https://www.facebook.com/groups/835376126526896/

24. ตลาดมุสลิมภาคใต้ https://www.facebook.com/groups/1515697262080098/

25. ตลาดซื้อ-ขายของ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา https://www.facebook.com/groups/819590021461684/

26. NAPAYA | ตลาดชุมชนออนไลน์ https://www.facebook.com/groups/napayagroup/

27. กลุ่มขายของออนไลน์ ทั่วประเทศฟรี https://www.facebook.com/groups/324508398184678/

28. ตลาดออนไลน์ ขายทุกอย่าง ที่ขายได้ https://www.facebook.com/groups/onlinemarketing2018/

29. กลุ่มซื้อขายสินค้าออนไลน์ราคาถูก https://www.facebook.com/groups/1509765412401753/

30. กลุ่มขายของออนไลน์ทุกชนิด https://www.facebook.com/groups/155442305313859/

……………………………………………………………
เขียนโดยนางสาวนูรุมา จูและ
ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจฮาลาลฯ (BIHAPS) ศูนย์วิทยาศาสตร์
ฮาลาล จุฬาฯ สนง.ปัตตานี
#BIHAPSWEEKLY
#HALALSCIENCEPATTANI
#HSC
#HALALSCIENCECHULA
#SMEs