Super food 10 อย่างที่จะช่วยบำรุงร่างกายในช่วงเดือนเราะมะฎอน ตอนที่ 1

เดือนเราะมะฎอนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายทำความสะอาดตัวเอง เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีเอนไซม์พิเศษคอยทำความสะอาดและฟื้นฟูสภาพ

หากท่านปฏิบัติตัวในเราะมะฎอนอย่างถูกต้อง ปริมาณอาหารที่บริโภคจะลดน้อยลงไป แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องขาดสารอาหาร

ข้าพเจ้าจะขอร่วมแบ่งปันอาหารและสมุนไพร 10 รายการที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารตามความต้องการ

super food (อาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ) เหล่านี้จะช่วยลดความรู้สึกไม่สบายตัวในช่วงถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน และช่วยให้คุณปรับตัวกับการอดอาหารตลอดจนดูแลระบบการย่อยอาหารและภูมิคุ้มกันของคุณให้ดำเนินไปอย่างกลมกลืน

เมื่อคุณไม่ได้ถือศีลอด การย่อยอาหารจะใช้ทรัพยากรจากร่างกายของเราเป็นจำนวนมากรวมไปถึงเอนไซม์ด้วยเช่นกัน การที่ร่างกายปล่อยให้ระบบย่อยอาหารทำงาน จึงเป็นการทำให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากเอมไซน์ได้อย่างเต็มที่

แต่ขณะที่ถือศีลอด เส้นทางของการขับสารพิษและตับต้องทำงานอย่างหนักในการกำจัดของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญที่ก่อขึ้นในระหว่างปี แต่กระบวนการที่แตกต่างจากกระบวนการอื่นในร่างกาย หากว่าระบบการการขับสารพิษไม่ได้รับสารอาหารจำเป็นที่ต้องการ มันก็จะทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม่จึงจำเป็นจะต้องดูแลสารอาหารในจานให้มีครบถ้วนในช่วงเดือนเราะมะฎอน

นี่คือแนวความคิดส่วนหนึ่งในการเพิ่มอาหารและสมุนไพรที่สำคัญสำหรับการปรุงอาหารของท่านในแต่ละวันพร้อมด้วยสูตรอาหารบางอย่างสำหรับให้ลิ้มลอง

::: 1. ต้นพู่ระหง :::
ต้นพู่ระหงนั้นหาซื้อได้ไม่ยากและถูกใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งนิยมกันแพร่หลายในตะวันออกกลาง มักจะจำหน่ายในแบบถุงชา หรือมาแบบผงชา ดอกไม้แห้ง ประเพณีดั้งเดิมของคนอียิปต์จะดื่มมัน(ต้นพู่ระหง)หลังจากละศีลอด

อุดมไปด้วยวิตามิน ซี มันเป็น super food ที่มีระบบภูมิคุ้มกัน วิตามิน ซี นั้นจะสลายได้ง่ายเมื่อโดนแสงและความร้อน ดังนั้นเมื่อเราปรุงอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน ซี หมายความว่าเรากำลังทำลายสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมการรับประทานอาหารที่หลากหลายและปรุงด้วยวิธีการแตกต่างกันไปจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพ

การประกอบอาหารนั้นมีผลต่อพฤติกรรมการกินของเราอย่างมาก ในหลายกรณีเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อให้ได้รับคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นและในบางกรณีทำให้ทานอาหารได้ปลอดภัย เช่นการกินผักขมสดๆจะเป็นตัวยับยั้งต่อมไทรอยด์ตามธรรมชาติ การปรุงอาหารนั้นจะขจัดสถานภาพในการยับยั้งอันตรายนี้ 

วิตามิน ซี คือสารอาหารที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้ เราไม่ได้เก็บสะสมมันไว้ใช้ ในช่วงเวลาที่คลาดแคลนเหมือนกับที่เราใช้ประโยชน์จากวิตามิน ดีที่ละลายได้ในไขมัน (fat-soluble)

นั่นหมายความว่าร่างกายของคุณต้องการบริโภควิตามินซีอยู่เป็นประจำ การจิบน้ำต้นพู่ระหงเย็นๆสักแก้วหลังจากถือศีลอดมาทั้งวันนั้น เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้รับวิตามินซีตามที่ร่างกายต้องการ

[สูตรทำน้ำต้นพู่ระหงเย็น]
1. น้ำ 16 ออนซ์
2. ต้นพู่ระหง 1 ถุงชาหรือ 0.5 ดอกต้นต้นพู่ระหงแห้งแบบผง 0.5 ออนซ์ 
3. น้ำองุ่นขาวประมาณ 4-8 ออนซ์

[วิธีการ]
– เติมน้ำองุ่นที่ไม่มีน้ำตาลเพื่อรสชาติที่ดีขึ้น
– ใส่ดอกต้นพู่ระหงในภาชนะแล้วเทน้ำเย็นหรือน้ำพออุ่นๆจากนั้นทิ้งไว้ทั้งคืนหรือเพียงไม่กี่ชั่วโมง
– ตราบใดที่ถุงชายังแช่อยู่ในน้ำ รสขมก็จะยังคงอยู่ ให้เติมน้ำองุ่นเข้าไปเพื่อรสชาติที่ดีขึ้นและแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 3 วัน

::: 2. โยเกิร์ต :::
เราทุกคนต่างรู้ดีว่าโยเกิร์ตมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่โยเกิร์ตทั้งหมดผลิตมาแตกต่างกัน ท่านต้องตรวจสอบให้แน่ชัดในการซื้อโยเกิร์ตว่าเป็นโยเกิร์ตที่เชื้อยังมีชีวิตอยู่ (active yogurt) ซึ่งจะทำให้ดีต่อสุขภาพ จะช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารและระบบภูมิต้านทาน

โยเกิร์ตซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างอาจใช้เป็นเครื่องปรุงในสลัด เป็นอาหารจานหลัก main dishes หรืออาจจะทานเป็นของหวานก็ได้ โยเกิร์ตที่เติมผลไม้เป็นของหวานรสนุ่ม ซึ่งมีคุณค่าพอที่จะเสริฟให้แขกหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อค่ำกับครอบครัว

::: 3. อาหารดอง :::
คล้ายๆกับโยเกิร์ต อาหารดองนี้เป็น super food แต่จะต้องมีวิธีการตระเตรียมในรูปแบบดั้งเดิมเท่านั้นโดยใช้เกลือกับน้ำไม่ต้องใช้น้ำส้มสายชู

การตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นของแท้ ให้มองหาอาหารดองเหล่านี้ในช่องแช่เย็นของซูเปอร์มาร์เก็ต 

สิ่งที่ใช้ทำอาหารดองมิได้มีแค่เพียงแตงกวา ดังนั้นสิ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการนั้นอยู่ในช่วงกระบวนการหมักโดยจะย่อยจุลินทรีย์บางส่วนและจะดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุไว้ 

เป็นที่น่าสนใจว่าอาหารหมักมักจะผลิตสารอาหารใหม่อยู่เสมอ ซึ่งก่อนกระบวนการหมักไม่มีสารเหล่านี้อยู่

ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ คือ ผักจำพวกกะหล่ำปลี และการหมักในกะหล่ำปลีดองของเยอรมัน ซึ่งก่อนการหมัก (ที่ไม่มีผลิตแอลกอฮอลล์) กะหล่ำปลีจะมีวิตามิน บีอยู่น้อย แต่หลังจากการหมักกะหล่ำปลีดองจะอุดมไปด้วยวิตามินมากมาย

………………………………………………………..
อ้างอิง:
Murray, Michael, Total Body Tune Up.Batam Books (2003).
Abeytia, Anisa, “Natural Detoxification,Aboutislam.net (July 13, 2014).
Katz, Sandor, Wild Fermentation. Chelsea Green Publishing (2003).
Fallon, Sally, Nourishing Traditions. Newtrends Publishing, Inc (2003).
……………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง

5 ปัจจัยที่ควรระวัง ภายใต้ข้อกำหนดฮาลาลในอุตสาหกรรมอาหาร

1. ซากสัตว์และสัตว์ที่ตายเอง (ยกเว้น ปลา ตั๊กแตนและสัตว์น้ำ)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการกินซากสัตว์นั้นถือว่าเป็นการรุกล้ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และแทบจะไม่เห็นใครที่ยอมกินซากสัตว์ในสังคมแห่งอารยะของยุคสมัยใหม่นี้ แต่กระนั้นก็ยังมีโอกาสที่สัตว์อาจจะตายจากการช็อตไฟฟ้าก่อนที่จะผ่านกรรมวิธีการเชือดที่ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่พบได้เป็นปกติในประเทศฝั่งยุโรปมากกว่าประเทศในอเมริกาเหนือ ดังนั้นเนื้อสัตว์ที่ตายด้วยวิธีการข้างต้นไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับชาวมุสลิมในการเลือกบริโภค

2. กรรมวิธีการเชือดที่ถูกต้อง
ในหลักการอิสลามมีข้อกำหนดสำหรับการเชือดสัตว์ที่เข้มงวด สัตว์เลี้ยงจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ฮาลาล อาทิ วัว แกะ หรือสัตว์ชนิดอื่นที่ฮาลาล สัตว์จะต้องผ่านกรรมวิธีการเชือดโดยมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะหรือมีวัยวุฒิที่เหมาะสม พระนามของอัลลอฮฺจะต้องได้รับการกล่าวขณะทำการเชือด สัตว์จะต้องถูกเชือดด้วยมีดที่แหลมคมและรวดเร็วเพื่อที่สัตว์จะได้เจ็บปวดน้อยที่สุด นอกเหนือจากนี้บริเวณที่ทำการเชือดจะต้องเป็นที่หลอดลมและเส้นเลือดที่คอเพื่อเป็นการตัดการไหลของเลือดไปยังประสาทของสมองซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บปวด สุดท้ายเลือดของสัตว์จะต้องปล่อยให้ไหลออกมาอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากเลือดเป็นพาหะที่ดีสำหรับจุลินทรีย์แบคทีเรีย

รายละเอียดและเงื่อนไขอื่น ๆ ควรได้รับความใส่ใจเช่นเดียวกัน ตั้งแต่การฟูมฟักเลี้ยงดูสัตว์ การให้น้ำเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เกิดความกระหาย และการใช้มีดที่คมเพื่อลดความเจ็บปวด เงื่อนไขเหล่านี้ จะต้องได้รับการพิจารณาเพื่อรองรับหลักมนุษยธรรมและความเมตตากรุณาที่มีต่อสัตว์ทั้งก่อนและระหว่างกระบวนการเชือด ชิ้นส่วนหรือส่วนผสมใด ๆ ในผลิตภัณฑ์จะต้องมาจากสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธีการเชือดที่ถูกต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน จึงจะเหมาะแก่การบริโภคสำหรับชาวมุสลิม

3. สุกร
เนื้อหมู น้ำมันหมู รวมถึงชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบใด ๆ ที่ได้มาจากสุกรนับว่าเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดสำหรับการบริโภคของมุสลิม อีกทั้งยังต้องป้องกันความเป็นไปได้และโอกาสที่จะเกิดการปนเปื้อนข้ามระหว่างสุกรและผลิตภัณฑ์ฮาลาลด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ในความเป็นจริงแล้วการห้ามส่วนประกอบที่มาจากสุกรในหลักการอิสลามนั้นมีขอบเขตที่มากกว่าการรับประทานเป็นอาหารเท่านั้น เช่น มุสลิมจะต้องไม่ซื้อ ขาย แบก ขนส่ง เชือด หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสุกร หรือช่องทางที่หะรอมอื่น ๆ

4. เลือด
เลือดที่ไหลออกมาจากตัวสัตว์ (เลือดไหลริน) โดยทั่วไปอาจจะไม่พบในตลาดหรือใช้บริโภคกันตามปกติ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเลือดหรือมีส่วนผสมที่ได้มาจากเลือดนั้นมีอยู่ ถึงกระนั้นในหมู่นักวิชาการศาสนามีความเห็นร่วมกันว่าผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ทำมาจากเลือดนั้นไม่เป็นที่อนุมัติ (หะรอม) สำหรับผู้บริโภคมุสลิม

5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งมึนเมา 
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ และสุรา เป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด รวมถึงอาหารที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบก็ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน เพราะสถานะการอนุมัติของอาหารดังกล่าวถูกทำให้มีมลทินด้วยสิ่งหะรอม นอกเหนือจากนี้ ยาเสพติดและของมึนเมาต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต สุขภาพกาย และสมรรถภาพโดยรวมทั้งหมดของผู้บริโภคนั้นเป็นที่ต้องห้าม ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคโดยตรงหรือผสมรวมอยู่ในอาหารอื่นก็ตาม ถึงกระนั้น สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีกรณีเฉพาะบางกรณีที่อนุโลมให้แอลกอฮอล์บางชนิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือแอลกอฮอล์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหาร

…………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจากหนังสือ : Halal food production
โดย Mian N. Riaz, Muhammad M. Chaudry

“5 นวัตกรรมแอปพลิเคชัน เป็นมิตรกับมุสลิมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศปี 2018”

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่สอดรับกับเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มมากยิ่งขึ้น Halal lifestyle จึงเป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่หลายๆ ประเทศพัฒนารองรับการท่องเที่ยว การใช้ชีวิตที่ฮาลาล โดยนำเสนอในรูปแบบที่ทันสมัย เข้ากับนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีของโลกในปัจจุบัน เนื่องจากสังคมในปัจจุบัน การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวลดน้อยลงและเชื่อต่อผ่านอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้นผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อเชื่อโยงหลักปฏิบัติและคำสอนทางศาสนาผ่านกระบวนทัศน์ทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่นักพัฒนาได้สร้างขึ้นบนฐานของนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง 

ในประเทศไทยก็มีนักพัฒนาเทคโนโลยีอย่างแอปพลิเคชันที่สอดรับการการดำเนินชีวิตที่ฮาลาลจำนวนมาก ซึ่งเราจะนำเสนอในโอกาสต่อไป วันนี้มาเรียนรู้ส่วนหนึ่งจาก 5 นวัตกรรมแอปพลิเคชันเป็นมิตรกับมุสลิมที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศปี 2018 ดังต่อไปนี้

1. Athan โดยทีมงาน IslamicFinder
แอปพลิเคชัน Athan โดยทีมงาน IslamicFinder เป็น แอปพลิเคชันที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ของมุสลิมกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะกิจกรรมและหน้าที่ทางด้านศาสนาซึ่งเป็นแอปที่ใช้บอกเวลาละหมาดโดยอัตโนมัติ ตามพื้นที่ที่เราอยู่ ตลอดจนบอกทิศทางกิบลัตเพื่อใช้ละหมาด ดุอาอต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแอป Athan ได้รวบรวมเครื่องมือต่างๆทางเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ใช้งานใช้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและเข้าถึงง่าย สนใจแอปพลิเคชันนี้ สามารถดาวน์โหลดได้เลย https://www.islamicfinder.org/athan/

2. HalalTrip
แอปพลิเคชัน HalalTrip คือ แอปนวัตกรรมแปลกใหม่ที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวมุสลิม ได้รับความสะดวกสบายเมื่อเดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม เพื่อค้นหาอาหารฮาลาล สถานที่ละหมาด สถานท่องเที่ยวที่บริการฮาลาล โดย HalalTrip เป็นแอปแชร์ออนไลน์ที่ได้รับการตรวจสอบโดยเพื่อนช่วยเพื่อน ในการค้นหามัสยิด ร้านอาหารฮาลาล แผนการท่องเที่ยว เวลาละหมาดในเที่ยวบินและดุอาอการท่องเที่ยว (บทขอพร) เพื่อให้การเดินทางง่ายและสะดวกสบายที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นหนุ่มสาวมุสลิมที่เดินทางไปยังประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมเป็นครั้งแรกหรือเดินทางไปยังเมืองใหม่ๆ HalalTrip จะเป็นแอพพลิเคชันคำตอบสำหรับคุณ
https://play.google.com/store/apps/details…

3. Zabiha
Zabiha เป็นแอปพลิเคชันที่มีลักษณะคล้ายกับที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งจะช่วยเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวมุสลิมกับภัตตาคารและร้านอาหารฮาลาลให้เลือกมากมาย Zabiha ยังใช้ความเชี่ยวชาญและข้อมูลของผู้ใช้เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถแท็กและทำเครื่องหมายสถานที่ต่างๆ ที่ให้บริการอาหารฮาลาลได้ เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมร้านอาหารและตลาดฮาลาลที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เดินทางไปประเทศใหม่ที่ไม่ใช่มุสลิมและต้องการหาอาหารที่ฮาลาล ในทำนองเดียวกันก็สามารถเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่อย่างถาวรในประเทศเหล่านั้น
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.zabihah.ui

4. Islamic GPS
แอปพลิเคชัน Islamic GPS เป็นแอปพลิเคชันที่นำเทคโนโลยีอย่าง AR (Augmented reality) ซึ่งเป็นภาพจริงเสมือนมาเป็นเครื่องมือในการค้นหามัสยิดในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างง่ายดายและนำทางผ่านแพลตฟอร์ม AR เพื่อเข้าถึงทางเข้ามัสยิดในประเทศที่มีข้อจำกัดในการแสดงออกทางศาสนาที่เปิดกว้าง ดังนั้น แอปพลิเคชัน Islamic GPS นี้จึงสามารถทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมทางในการช่วยเหลือคุณในการเข้าถึงมัสยิด นอกจากนี้แอปพลิเคชันยังมีภาพมัสยิดที่โดดเด่นทั่วโลกในมุมมองเสมือนจริงมาไว้ในแอปอีกด้วย หากคุณเป็นคนรักสถาปัตยกรรมมัสยิดจริงๆและต้องการเข้าใกล้มากที่สุด แนะนำให้ดาวน์โหลดแอปนี้ได้เลย
https://play.google.com/store/apps/details…

5. The Sira (Seerah) 
แอปพลิเคชัน Sira เป็นแอปพลิเคชันสุดท้ายในรายการ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีลำดับท้ายสุดของความน่าสนใจ The Sira (Seerah) เป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีและพลังของอินเทอร์เน็ตในการสร้างสถานการณ์แบบโต้ตอบ ที่ให้ข้อมูลแนะนำชีวประวัติของท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) และจุดเริ่มต้นของศาสนาอิสลามให้กับเด็กๆ โดยใช้แอนิเมชั่นและรูปแบบอื่นๆของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวที่เป็นรากฐานสำคัญและความเชื่อของศาสนาอิสลาม ที่ได้รับการพัฒนาในรูปแบบที่น่าดึงดูดสำหรับเด็กด้วยกับภาพแอนิเมชั่นและเสน่ของเทคโนโลยี ในแง่นี้เอง Sira นั้นจำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องการให้บุตรหลานของท่านได้สัมผัสกับเรื่องราวของศาสนาอิสลามและท่านนบีมูฮัมมัด (ซล.) ในรูปแบบที่น่าสนใจ

………………………………………………………………….
ที่มา : https://dailytimes.com.pk/…/five-most-innovative-islamic-a…/

“ซะบีหะฮฺ” เงื่อนไขและกรรมวิธีการเชือดสัตว์ ตามหลักการอิสลาม

‘ซะบีหะฮฺ’ คือนิยามที่ใช้เรียกวิธีการเชือดสัตว์ที่มีเป้าหมายเพียงเพื่อให้มนุษย์ใช้บริโภคเป็นอาหารเท่านั้น คำว่า ‘ซะบีหะฮฺ’ ในภาษาอาหรับมีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ‘ทำให้บริสุทธ์’ หรือ ‘การทำสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์’ วิธีการแบบ ‘ซะบีหะฮฺ’ สามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า ‘ซะกาต’ ในภาษาอาหรับ ซึ่งมีความหมายว่า ‘การทำให้บริสุทธิ์’ หรือ ‘ทำให้สมบูรณ์’ กรรมวิธีการเชือดแบบ ‘ซะบีหะฮฺ’ จึงถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับหลัก ‘ชะรีอะฮฺ’ (แนวทางที่ได้รับการกำหนดโดยผู้เป็นเจ้าเพื่อให้ผู้ศรัทธาพึงปฏิบัติตาม)  คำว่า ‘ซะบีหะฮฺ’ และคำว่า ‘ซับหฺ’ นั้นมีความหมายเดียวกัน ซึ่งใช้เรียกเงื่อนไขและวิธีการเชือดตามหลักการอิสลาม

บุคคลที่ดำเนินการเชือด
บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่เชือด ‘ซะบีหะฮฺ’ จะต้องเป็นมุสลิมที่มีวัยวุฒิเหมาะสมและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ผู้เชือดอาจเป็นได้ทั้งชายและหญิง โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลที่ดำเนินการเชือดจะต้องอยู่ในสภาพคงสติสมบูรณ์ ไม่ขาดสติหรือสุขภาพจิตไม่สมบูรณ์ในระหว่างเชือด เนื้อที่ได้จากการเชือดต้องมาจากผู้ศรัทธาเท่านั้น หากผู้ใดที่ดำเนินการเชือด ‘ซะบีหะฮฺ’ โดยที่เขาไม่ใช่ผู้ศรัทธา เป็นผู้ตั้งภาคี หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม เนื้อที่ได้รับการเชือดโดยบุคคลเหล่านั้นจะไม่ได้รับการยอมรับให้บริโภคได้ตามหลักการอิสลาม

เครื่องมือที่ใช้ในการเชือด
มีดที่ใช้ในกระบวนการเชือด ‘ซะบีหะฮฺ’ จะต้องมีความคมเป็นอย่างมาก สามารตัดผ่านผิวหนังและหลอดเลือดอย่างรวดเร็วเพื่อให้เลือดไหลออกมาได้ทันที หรืออีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้เกิดภาวะเลือดไหลเฉียบพลันในปริมาณมาก ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า “แท้จริง อัลลอฮฺได้กำหนดคุณธรรมความเมตตาไว้ในทุกสิ่ง ดังนั้นเมื่อพวกเจ้าทั้งหลายจะสังหาร (ชีวิต) ก็จงสังหารด้วยกับคุณธรรม (ไม่ทรมาน) และเมื่อพวกเจ้าทั้งหลายต้องการที่จะเชือด (ซะบีหะฮฺ) ก็จงมีคุณธรรมในการเชือด (ไม่ทรมาน) เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดจากพวกเจ้าต้องการที่จะเชือดสัตว์ ก็จงลับมีดให้คมและให้สัตว์ได้ผ่อนคลาย” (บันทึกโดยมุสลิม) ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวถึงข้อห้ามในการใช้เครื่องมือหรือมีดตัดผ่านผิวหนังของสัตว์โดยที่หลอดเลือดที่ลำคอไม่ได้ถูกตัดขาด เช่นเดียวกัน หลักการเชือดสัตว์ด้วยจริยธรรมอิสลามนั้นห้ามมิให้มีการลับมีดต่อหน้าสัตว์ที่จะทำการเชือด

การเชือด
บริเวณที่ทำการเชือดจะต้องเป็นที่หลอดลมและเส้นเลือดที่คอเพื่อเป็นการตัดการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาทของสมอง ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดความเจ็บปวด ในอดีต การเชือดอูฐจะเชือดจุดใดก็ได้ ณ บริเวณต้นคอ ซึ่งวิธีการเช่นนี้เรียกว่า ‘นะหฺร’ หมายถึง การใช้อาวุธจำพวกหอกหรือของมีคมทิ่มลงบนตำแหน่งต้นคอ ขณะที่ปัจจุบันมีเทคนิคการเชือดสมัยใหม่และเครื่องมือที่ช่วยทำให้สัตว์หมดสติ ด้วยเหตุนี้ การเชือดด้วยวิธีดังกล่าวจึงไม่ได้รับการถือปฏิบัติอีกต่อไป สำหรับ ‘ซะบีหะฮฺ’ แล้ว ผู้เชือดจะต้องใช้มีดตัดผ่านหลอดลมใหญ่ หลอดอาหาร หลอดเลือดดำ และเส้นเลือดแดงคาโรติดอาเทอรี (เส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง) โดยที่มีดจะต้องไม่ไปตัดไขสันหลัง และอวัยวะส่วนศีรษะจะต้องไม่ถูกตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าการเชือดนั้นไม่สมบูรณ์ เป็นที่น่าสนใจอีกว่ากรรมวิธีการเชือดของโคเชอร์มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีการเชือดแบบ ‘ซะบีหะฮฺ’ ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างโคเชอร์กับ ‘ซะบีหะฮฺ’ คือ ในโคเชอร์การกล่าวนามของพระเจ้านั้นไม่ได้ถูกเอ่ยกับสัตว์ที่จะทำการเชือดทุกตัวเหมือนของ ‘ซะบีหะฮฺ’

การกล่าวนามผู้เป็นเจ้า
การกล่าวนามผู้เป็นเจ้า หรือ ‘ตัสมียะฮฺ’ หมายถึง การเอ่ยคำว่า “บิสมิลลาฮฺ” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ) หรือ “บิสมิลลาฮฺ อัลลอฮุ อักบัร” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่) ก่อนทำการเชือด ณ บริเวณลำคอของสัตว์ อย่างไรก็ตาม การกล่าว นามของผู้เป็นเจ้าก็มีทรรศนะที่แตกต่างกันในหมู่นักวิชาการตั้งแต่อดีตมา ตัวอย่างเช่น อิหม่ามมาลิก กล่าวว่า การไม่กล่าวนามของผู้เป็นเจ้าก่อนที่จะทำการเชือด แม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม ให้ถือว่าเนื้อสัตว์ที่ได้จากการเชือดนั้น ‘หะรอม’ หรือเป็นที่ต้องห้ามในการนำมาบริโภค ; ส่วนอิหม่ามอะบู หะนีฟะฮฺ กล่าวว่า ถ้าจงใจที่จะไม่กล่าวนามของผู้เป็นเจ้าในระหว่างการเชือด เนื้อที่ได้ถือว่าเป็นเนื้อต้องห้าม แต่ถ้าการละเว้นการกล่าวนามของผู้เป็นเจ้าเกิดจากความไม่ตั้งใจ เนื้อที่ได้ถือว่าฮาลาลแก่การนำมาบริโภค ; ส่วนทรรศนะของอิหม่ามชาฟิอีย์ กล่าวว่า ไม่ว่าการละเว้นการกล่าวนามของผู้เป็นเจ้าจะเป็นไปด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เนื้อที่ได้ถือว่าอนุญาตให้บริโภคได้ หากผู้ที่ทำการเชือดนั้นมีคุณสมบัติพร้อมตรงตามหลัก ‘ซะบีหะฮฺ’

จากทรรศนะที่กล่าวไว้ข้างต้น ไม่ได้หมายความว่า การกล่าวนามผู้เป็นเจ้านั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญและไม่ได้เป็นข้อบังคับตามหลักการ มิหนำซ้ำ การกล่าวนามผู้เป็นเจ้ากลับเป็นประเด็นที่ได้รับการเน้นย้ำอย่างแพร่หลายและถือว่าเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการเชือด ‘ซะบีหะฮฺ’

………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
ข้อมูลจากหนังสือ : Halal food production
โดย Mian N. Riaz, Muhammad M. Chaudry

“เราจะขจัดความฟุ่มเฟือยในเดือนเราะมะฎอนอย่างไร?”

พี่น้องมุสลิมบางท่านเมื่อพวกเขาชวนแขกมักคิดว่าเราจะต้องตระเตรียมอาหารจนเต็มโต๊ะเหมือนกับเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีน้ำใจ แต่สิ่งนี้ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียโดยเปล่าประโยชน์ และการรับประทานที่มากเกินความพอดีนั้นขัดแย้งกับวิทยปัญญาของการถือศีลอด ดังนั้น จะเราสร้างสมดุลกันอย่างไร?

อันที่จริง คำถามของคุณช่างตรงประเด็นและมีความสำคัญเอามาก ๆ โดยเฉพาะช่วงเดือนเราะมะฎอนอันประเสริฐ ซึ่งเราควรจะต้องจัดลำดับความสำคัญว่าเราจะใช้เวลา พลังงาน และทรัพยากรของเราอย่างไร เพื่อที่เราจะสามารถเก็บเกี่ยวรางวัลอย่างเต็มที่สำหรับการกระทำความดีต่าง ๆ

คำถามของคุณเกี่ยวโยง 2 ด้าน ด้านแรกคือหน้าที่ของการให้เกียรติกับแขกในอิสลามและรางวัลอันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการให้อาหารและเครื่องดื่มแก่มุสลิมที่ถือศีลอดเพื่อช่วยเหลือในการละศีลอดของพวกเขา

ด้านที่สอง คือการที่อิสลามห้ามการกินทิ้งกินขว้างตลอดจนการสุรุ่ยสุร่ายในการกินและดื่ม ซึ่งรวมไปถึงสิ่งอื่น ๆ ที่โดยพื้นฐานแล้วได้รับการอนุมัติ (ฮาลาล)

อัลลอฮฺทรงตรัสในอัล กุรอานว่า
“จงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย” [7:31]

อัลลอฮฺทรงพอพระทัยเมื่อเราเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับแขกของเราอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺทรงชมเชยในอัล กุรอานถึงบรรดาศอฮาบะฮฺบางคนของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่จัดเลี้ยงอาหารให้กับแขกของพวกเขาด้วยกับอาหารทั้งหมดที่มีอยู่ในบ้านของพวกเขาและปล่อยให้ตัวของพวกเขาหิวโหยอันเนื่องจากพวกเขามีอาหารพอเพียงต่อการเลี้ยงแขกเท่านั้น

อัล กุรอานทรงตรัสว่า “และให้สิทธิผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเองถึงแม้ว่าพวกเขายังมีความต้องการอยู่มากก็ตามและผู้ใดปกป้องการตระหนี่ที่อยู่ในตัวของเขาชนเหล่านั้น พวกเขาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ” [59:9]

อันที่จริงหากว่าแขกมาเยี่ยมเยียนที่บ้านของเราในเดือนเราะมะฎอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากว่าพวกเขาเป็นมุสลิมที่กำลังถือศีลอด มันเป็นหน้าที่เหนือพวกเราที่จะต้องให้เกียรติกับพวกเขาและเลี้ยงอาหารพวกเขาอย่างดีในการละศีลอด

อย่างไรก็ตาม การจัดเลี้ยงต้อนรับแขกในช่วงเดือนเราะมะฎอนสำหรับการละศีลอด (อิฟฏอร) นั้นจะต้องไม่เป็นผลทำให้เราสุรุ่ยสุร่ายและฟุ่มเฟือยมากหรือใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากในการซื้ออาหาร และเราจะต้องไม่ทำให้เวลาสูญเปล่าด้วยการพูดคุยนินทาอยู่กับแขก

นอกจากนี้ อาหารในการละศีลอดของเดือนเราะมะฎอนของเจ้าบ้านจะต้องไม่เป็นผลทำให้เราล่าช้าและทำลายการปฏิบัติอิบาดะฮฺของเราเอง อย่างเช่น เราะจะต้องไม่ใช้เวลาทั้งวันอยู่แต่ในห้องครัวเพื่อเตรียมมื้ออาหารละศีลอดอย่างฟุ่มเฟือยสำหรับแขก

ความพอดีและการใส่ใจในเรื่องการอิบาดะฮฺ (การเคารพสักการะ) นั้นจะต้องรักษาไว้เสมอ อาหารที่เหลือจะต้องแช่เย็นไว้เพื่อบริโภคในมื้อต่อไปหรือมอบให้กับคนที่ขัดสนหรือคนที่หิวโหยเพื่อเป็นการบริจาค จะต้องไม่ทิ้งมันลงถังขยะหรือปล่อยให้มันเน่าเปื่อย

ช่วงระหว่างการละศีลอดไม่ว่าจะร่วมกับแขกหรือครอบครัวของเรา เราจะต้องหลีกห่างการรับประทานที่มากเกินควรหรือการใส่อาหารจนล้นจาน ซึ่งสุดท้ายแล้วต้องทิ้งหรือเทลงถังขยะ ดังนั้นเราจะต้องไม่ทิ้งอาหารแม้แต่คำเดียว

เราควรจะเลียนิ้วหลังจากรับประทานอาหาร ท่านอนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ กล่าวว่า
“ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม สั่งให้เราอย่าเหลือสิ่งใดไว้ในจาน และท่านกล่าวว่า ท่านไม่รู้ดอกหรือว่าในอาหารของท่านแต่ละคำนั้นอัลลอฮฺทำให้มีความบะเราะกะฮฺ (ความศิริมงคล)” รายงานโดย อิหม่าม มุสลิม

ในช่วงเดือนเราะมะฎอน เราจะต้องรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม เพียงพอกับความต้องการเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี พร้อมทั้งให้พลังงานและความแข็งแรงเพื่อที่จะปฏิบัติการงานที่ดีต่าง ๆ และการทำอิบาดะฮฺด้วยความกระตือรือร้นและความศรัทธาที่เต็มเปี่ยม

สุดท้าย เราควรให้คุณค่ากับโภชนาการมากกว่ารสชาติในการเลือกสรรอาหารที่เราจะบริโภคในช่วงเดือนเราะมะฎอน อาหารประเภททอดและอาหารแปรรูปควรจะมีให้น้อยที่สุดหากว่าไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้

จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากจะรักษาความบริสุทธิ์ใจและเจตนาของแต่ละคนด้วยการตรวจสอบสิ่งที่อยู่ในจิตใจ เมื่อใดก็ตามที่เราเชิญชวนแขกมาละศีลอดในช่วงเดือนเราะมะฎอน

เมื่อฉันเตรียมอาหารละศีลอดให้กับแขกในช่วงเดือนเราะมะฎอน ฉันจะนึกถึงคำชมเชยที่ฟุ้งเฟ้อสำหรับฝีมือการทำอาหารของฉันหรือไม่?

ในการที่เจ้าของบ้านใช้จ่ายเงินซื้ออาหารละศีลอดเพื่อแขก ครอบครัวของเขาจะยังคงมีปัจจัยหลงเหลืออีกหรือไม่สำหรับการใช้จ่ายในวันที่เหลือของเดือนได้อย่างพอเพียง?

อาหารละศีลอดที่เจ้าบ้านตระเตรียมมานั้นจะทำให้เราต้องอ่อนเพลียหรือใช้เวลามากเกินไปหรือไม่ จนไม่สามารถไปมัสญิดเพื่อละหมาดตะรอวีหฺหลังจากนั้น หรือยืนละหมาดยามค่ำคืนที่บ้านก่อนรับประทานสะฮูร? หรือว่ามันจะเป็นเหตุให้ฉันหลงลืมในการอ่านอัลกุรอานในแต่ละวัน?

ฉันจะต้องทิ้งอาหารสดในถังขยะกระนั้นหรือ?
ฉันจะรู้สึกน้อยใจหรือไม่หากแขกมิได้ชื่นชมฝีมือการทำอาหาร หรือชื่นชมอาหารมากมายที่วางอยู่บนโต๊ะ ซึ่งตระเตรียมให้กับพวกเขา เหตุใดถึงรู้สึกเช่นนั้น ?

การตอบคำถามข้างต้นโดยลำพังด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยเชื่อว่าอัลลอฮฺผู้ทรงเป็นประจักษ์พยานจะทำให้เราตัดสินใจได้ว่าจะรักษาความพอดีและหลีกเหลี่ยงความฟุ่มเฟือยในการเลี้ยงละศีลอดให้แก่แขกในเดือนเราะมะฎอนได้อย่างไร

…………………………………………………………………………………………………………..
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net โดย ศอดัฟ ศิดดีกียฺ

“หลักการพื้นฐานของการพิจารณาเครื่องสำอางฮาลาล”

ปัจจุบันสินค้าฮาลาลไม่ได้มีเพียงแค่อาหารเท่านั้น แต่ที่กำลังมาแรงและได้รับความนิยมกันมากนั่นก็คือ เครื่องสำอางฮาลาล ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องแต่งหน้า ครีมทาผิว น้ำหอม ไปจนถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ธุรกิจเครื่องสำอางฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่ามหาศาล กระแสความนิยมเครื่องสำอางฮาลาลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เรามาเรียนรู้กันว่า หลักการพื้นฐานในการกำหนดเครื่องสำอางฮาลาลต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

1. ฮาลาล
ฮาลาล คือหลักพื้นฐานสุดของการเป็นเครื่องสำอางฮาลาล ฮาลาลเป็นคำภาษาอาหรับที่หมายถึงอนุญาตหรืออนุมัติ สามารถตีความไปจนถึงการกระทำหรือสิ่งของที่อนุญาตโดยกฎหมายอิสลาม ซึ่งตรงข้ามกับคำว่าหะรอมที่หมายถึง ต้องห้าม เป็นตัวบ่งบอกการกระทำหรือสารหรือวัตถุดิบที่ไม่เป็นที่อนุมัติและไม่เป็นที่อนุญาตตามกฎหมายอิสลาม ฮาลาลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ก่อนที่จะยอมรับสิ่งหนึ่งสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ฮาลาลได้นั้น จะต้องทำให้มั่นใจว่า การกระทำหรือสิ่งของที่นำมาใช้ในการผลิตต้องเป็นสิ่งที่ฮาลาลด้วยเช่นกัน

2. นญิสและมุตานญิส
นญิสเป็นสิ่งสำคัญรองลงมาของเครื่องสำอางฮาลาล นญิสเป็นคำภาษาอาหรับ หมายถึง สิ่งสกปรกในทางหลักการอิสลาม สารที่เป็นสิ่งสกปรกมุสลิมไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคหรือบริโภคได้ ซึ่งมีสารจำนวนมากที่เป็นนญิส แต่กระนั้นสารทั้งหมดเหล่านี้ ไม่ได้มีระดับความสกปรกอยู่ในระดับเดียวกันและด้วยเหตุนี้ นญิสจึงแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ

• นญิสชนิดเบา ได้แก่ ปัสสาวะของเด็กผู้ชายซึ่ง อายุไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ได้กินหรือดื่ม สิ่งอื่นใดที่ทําให้อิ่ม นอกจากน้ำนม

• นญิสชนิดปานกลาง ได้แก่สิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้นญิสชนิดเบา หรือนญิสชนิดหนักเช่น โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง อาเจียน อุจจาระ ปัสสาวะ ซากสัตว์ที่ไม่ได้เชือด (ยกเว้นปลา และตั๊กแตน) แต่ต้องไม่ใช่ซากสัตว์ของนญิสชนิดหนัก และน้ำนมของสัตว์ที่ห้ามรับประทาน รวมถึงสิ่งที่ทําให้มึนเมาก็อยู่ในนญิสระดับปานกลางอีกด้วย

• นญิสชนิดหนัก ได้แก่สุกร สุนัข หรือสัตว์ที่เกิดมาด้วยการผสมพันธุ์กับสุนัขหรือสุกร และทุกสิ่งอัน เนื่องมาจากสัตว์ดังกล่าวนี้

มุตะนญิส คือ สิ่งที่ฮาลาลที่สัมผัสโดยตรงหรือปนเปื้อนกับสิ่งที่เป็นนญิส ด้วยเหตุนี้มุตะนญิส จึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับนญิส

ในการชำระล้างมุตานญิสสามารถชำระได้ในบางกรณีเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกๆวิธีจะสามารถนำมาใช้ในการล้างนญิสทุกสิ่งที่นำมาใช้ในการผลิตเครื่องสำอางฮาลาลได้ วิธีล้างชำระล้างนญิสประกอบด้วย

• วิธีล้างนญิสชนิดเบา ให้ชําระนญิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วใช้น้ำพรมบนรอยที่เปื้อนนญิสนั้นให้ทั่ว โดยไม่จําเป็นต้องให้น้ำไหลผ่านก็ใช้ได้

• วิธีล้างนญิสชนิดปานกลาง ให้ชําระนญิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่านอย่าง น้อย 1 ครั้งเพื่อให้สีกลิ่น รส หมดไป และในทางที่ดีให้ล้างเพิ่มเป็น 3 ครั้ง

• วิธีล้างนญิสชนิดหนัก ให้ชําระนญิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดให้ไหลผ่าน 7 ครั้ง แต่ 1 ใน 7 ครั้งนั้น ต้องเป็นน ดินที่สะอาดตามศาสนบัญญัติอิสลามและมีสภาพขุนแขวนลอย หรือน้ำดินสอพอง และแนะนําให้ใช้น้ําดินล้างในครั้งแรก

3. ความปลอดภัย
ความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด ความปลอดภัยในที่นี้ไม่เพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์สุดท้ายเท่านั้นแต่ยังรวมถึงวัตถุดิบตั้งต้น ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ฉลาก วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเป็นต้น ลูกจ้างในการผลิตเครื่องสำอางฮาลาลจะต้องมีความปลอดภัยจากความเสี่ยงของโรคและการติดเชื้อก่อโรคต่างๆ และสิ่งที่สำคัญสุดคือ การทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้รับการผลิตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต (GMP)

4. คุณภาพ
คุณภาพของเครื่องสำอางฮาลาลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เครื่องสำอางฮาลาลชิ้นหนึ่งจะสามารถพิจารณาว่าฮาลาล ก็ต่อเมื่อเครื่องสำอางดังกล่าวผลิตได้คุณภาพตรงตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดทางด้านคุณภาพของเครื่องสำอางประเภทนั้นๆ

…………………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
…………………………….
ข้อมูลจาก
www.puntofocal.gob.ar
www.nationtv.tv
มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ : อาหารฮาลาล ( มกอช. 8400 – 2550)

“6 เทคนิคการเพิ่ม Productivity ในการทำงาน”

Productivity อาจจะมีหลายนิยาม ซึ่งโดยทั่วไปคือ อัตราส่วนของ Output ต่อ Input หรือผลผลิตที่ออกมาด้วยทรัพยากรที่เติมเข้าไป แต่ Productivity สำหรับนิยามของผมคือ การทำน้อยแต่ได้มากนั่นเอง “มาก” ในที่นี้วัดจาก Impact ที่เกิดขึ้นจากงานนั้น ไม่ได้วัดจากจำนวนของงาน ซึ่งการสร้าง Productivity ของการทำงานจำเป็นต้องตัดบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เราไม่สามารถทำทุกอย่างได้ แต่ต้องเลือกทำส่วนที่เป็น melon ของเรา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ เป็นส่วนที่เราโฟกัสจะทำ ผมจะแนะนำ 6 เทคนิคง่ายๆในการเพิ่ม productivity ดังนี้

1. Find Your melon: ค้นหาเมล่อนของเรา หาสิ่งที่สำคัญของเราให้เจอ กำจัดเมลอนลูกเล็กๆออกบ้าง อะไรคือสิ่งที่เราจะโฟกัส แล้วค่อยๆตัดส่วนอื่น ๆออกไป

2. Just say no: ลดวัชพืชทิ้งรอบ ๆเมลอน กล้าปฏิเสธในเรื่องที่เราไม่ถนัด กล้าที่จะปฏิเสธในส่วนที่ไม่ใช่เมลอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3. Eliminate distractions: ลดสิ่งที่จะพาเราออกนอกเรื่องในระหว่างการทำงาน ลดสิ่งที่รบกวน สิ่งเย้ายวนใจ อย่าง Smartphone ที่ลดเวลาการทำงานของเราออกไป ถ้าอยากทำงานให้ได้มากที่สุด แนะนำให้ตัดอินเตอร์เน็ตทิ้ง แล้วค่อยมาเช็คข่าวในช่วงเวลาที่เรากำหนด

4. Make it automatic: ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เข้ามาจัดการแทนงานของเราในบางเรื่อง เพื่อลดเวลาการทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับเมลอนให้น้อยลง เช่น การซื้อของออนไลน์ การใช้ธุรกรรมออนไลน์ทางการเงิน เป็นต้น

5. Delegate: การมอบหมายงาน ให้คนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นดำเนินงานแทนเราในบางเรื่อง เราจะได้มีเวลาไปทำในงานที่เป็นเมลอน

6. Learning: หรือการเรียนรู้ เป็นการเพิ่มระดับความสามารถของตัวเราเองและอย่าหยุดที่จะเรียนรู้ จะเป็นตัวเพิ่ม Productivity ให้เราได้

นี่คือ 6 เทคนิคง่ายๆของผมที่จะเพิ่ม Productivity ของการทำงานในยุค digital disruption นี้

Halal Inspiration Talk: การเพิ่ม Productivity ของการทำงานและธุรกิจในยุค digital disruption โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในงาน Thailand Halal Assembly 2019
……………………
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี ถอดความ

เจลาติน (ตอนที่ 1)

เจลาติน1

เจลาติน คืออะไร?

หลายคนคงเคยได้ยินสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า เจลาติน เจ้าสารตัวนี้จะเกี่ยวพันกับอาหารและสินค้าต่างๆจำนวนมาก ทั้งที่ฮาลาลและไม่ฮาลาล แล้วสารตัวนี้คืออะไร ฮาลาลหรือไม่ เรามาทำความรู้จักกับสารที่ชื่อว่า “เจลาติน”

อ่านเพิ่มเติม “เจลาติน (ตอนที่ 1)”