วิธีการเชือดสัตว์ฮาลาล (ซาบีฮะฮฺ) ในทางอุตสาหกรรม

ภายใต้กฎหมายอิสลาม (ชารีฮะอฺ) ได้กำหนดวิธีการเชือดสัตว์ที่ต้องปฏิบัติตาม ประกอบด้วยข้อกำหนดที่หนึ่งที่จำเป็นจะต้องทำและข้อกำหนดที่สองที่ไม่ได้เป็นคำสั่งแต่เป็นเพียงข้อเสนอแนะ

ข้อกำหนดที่หนึ่ง

  1. ปศุสัตว์และสัตว์ปีก จะต้องเป็นชนิดที่ฮาลาลและยังคงมีชีวิตอยู่จนถึงการเชือด
  2. การเชือดจะต้องกระทำโดยมุสลิมที่บรรลุนิติภาวะ มีจิตใจที่เข้มแข็งได้รับการฝึกอบรมวิธีการเชือดต่อชนิดและขนาดของสัตว์ที่จะใช้เชือด
  3. พระนามของอัลลอฮฺ (บิสมิลละฮฺ อัลลอฮูอักบัร) จะต้องเป็นวาจาที่กล่าวโดยมุสลิมผู้ทำการเชือด ขณะทำการฆ่าสัตว์
  4. การเชือดจะต้องกระทำบนส่วนหน้าของลำคอ โดยตัดหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำข้างลำคอ หลอดลมและหลอดอาหาร โดยจะต้องไม่มีการตัดกระดูกสันหลังบริเวณด้านหลังกล้ามเนื้อลำคอ
  5. การเชือดจะต้องทำให้เสร็จโดยใช้มีดที่คม ทำการเชือดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สัตว์จะไม่รู้สึกทรมานจากการฆ่า
  6. เลือดจะต้องไหลผ่านออกมาเนื่องจากการเชือดและสัตว์จะต้องตายเนื่องจากการเสียเลือดมากกว่าบาดแผลจากการลงโทษหรืออันตรายต่างๆ

ข้อกำหนดที่สอง

  1. ปศุสัตว์หรือสัตว์ปีกที่นำจะนำมาเชือด ควรมีสุขภาพดีโดยปราศจากโรคและการติดเชื้อ
  2. ปศุสัตว์หรือสัตว์ปีกควรได้รับน้ำและการปฏิบัติที่มีมนุษยธรรมก่อนการเชือด เพื่อทำให้มันสงบและไม่กระตุ้นหรือทำให้มันตื่นเต้น
  3. ผู้เชือดควรหันหน้าไปทางกิบลัตขณะทำการเชือด
  4. ไม่ควรตัดหรือชำแหละอวัยวะต่างๆ ของสัตว์ขณะที่สัตว์ยังตายไม่สนิท

สิ่งที่ไม่พึงปฏิบัติ

  1. ไม่ให้อาหารและน้ำแก่สัตว์
  2. จับสัตว์มาหลังจากนั้นก็ลับมีด
  3. ลับมีดต่อหน้าสัตว์ที่ต้องการฆ่า แล้วสัตว์เกิดความหวาดกลัว
  4. เชือดคอสัตว์จนถึงกระดูกบริเวณลำคอ
  5. หักคอสัตว์ขณะที่เลือดกำลังไหลอยู่
  6. ถลกหรือลอกผิวหนังในขณะที่สัตว์ยังมีชีวิตอยู่
  7. ใช้มีดที่ไม่คมเพื่อกระทำการเชือด (ซาบีฮะฮฺ)หรือใช้มีดไม่เหมาะสมกับขนาดของสัตว์

…………………………………………………….
ที่มา: แปลงและเรียบเรียงจาก
Riaz, M. N., and Chaudry M.M. (2004).  Halal Food Production.  CRC Press

การวิเคราะห์จุดควบคุมวิกฤติด้านหะรอม (Haram-CCP) ในโรงฆ่าสัตว์ฮาลาล

จุดควบคุมวิกฤติด้านหะรอม (Haram-CCP) สำหรับโรงฆ่าสัตว์ฮาลาล

จุดควบคุมวิกฤติด้านหะรอม (Haram-CCP) สามารถพิจารณาจากเลื่อนลงไปในแต่ละกระบวนการจนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการบรรจุผลิตภัณฑ์สำหรับนำเสนอขาย จากภาพแสดงจุดควบคุมวิกฤติด้านหะรอม (Haram-CCP) ในการแปรรูปเนื้อและสัตว์ปีก


รูปแสดง จุดควบคุมวิกฤติด้านหะรอม (Haram-CCP) ในการแปรรูปเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก

Haram-CCP 1
สัตว์จะต้องได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดที่ฮาลาล เช่น แกะ ลูกแกะ แพะ วัว ไก่ เป็ด ไก่งวง นกกระทา หรือนกเพนกวิน ในขณะที่หมู หมูป่า สุนัข แมว สิงโต เสือชีตาห์ หมี เหยี่ยว นกอินทรีย์ แร้ง หรือสัตว์ในทำนองเดียวกัน จะไม่ได้รับการพิจารณาเป็นชนิดที่ฮาลาล ถึงแม้ว่าจะถูกฆ่าอย่างถูกต้องตามหลักบัญญัติอิสลาม

Haram-CCP 2
ศาสนาอิสลามสนับสนุนการกระทำที่มีความเมตตาต่อสัตว์ ดังนั้นสัตว์จะได้รับการดูแลเพื่อให้มันไม่เครียดหรือตื่นกลัวก่อนที่จะถูกฆ่า ควรมีพื้นที่สำหรับพักสัตว์และควรให้สัตว์ได้กินน้ำ ต้องหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปต่อการกระตุ้นหรือทิ่มสัตว์เพราะอาจทำให้สัตว์ตื่นเต้นมากเกินไปด้วยอุปกรณ์นี้ สัตว์ควรได้รับอาหารและการพักผ่อนที่ดีเพื่อเตรียมการฆ่าสัตว์อย่างเหมาะสมเช่นเดียวกับการควบคุมการฆ่าก็เป็นไปในแนวทางการปฏิบัติทางศาสนา รายละเอียดแนวทางการปฏิบัติสำหรับการฆ่าทางศาสนาได้กล่าวไว้ใน ระเบียบคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยปี 2552 หมวดที่ 6 ข้อ 29

Haram-CCP 3: การทำให้สลบหรือหมดสติ
เป็นการดีกว่าหากทำการฆ่าสัตว์โดยปราศจากการทำให้สัตว์สลบหรือหมดสติ แต่ต้องเป็นระบบที่มีความเมตตา อย่างไรก็ตามวิธีการทำให้สัตว์สลบหรือหมดสตินั้น จะต้องไม่ทำให้สัตว์ตาย อาจจะใช้การประชุมเพื่อกำหนดระเบียบปฏิบัติของการฆ่าสัตว์ด้วยวิธีที่ไม่ทารุณ ซึ่งสัตว์จะต้องมีชีวิตอยู่ในขณะที่ทำการฆ่าและจะต้องตายเนื่องจากการเสียเลือดมากกว่าการทุบหรือช๊อตด้วยไฟฟ้า การทำให้สัตว์สลบมีกล่าวไว้ใน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ภาคผนวก ข  การทำให้สัตว์สลบหรือหมดสติก่อนการเชือด

Haram-CCP 4
ข้อกำหนดหนึ่งของผู้เชือดฮาลาล คือ มีดที่เชือดจะต้องคม เพื่อว่าสัตว์ที่ถูกฆ่าจะไม่รู้สึกทรมานจากการเชือด มีดที่คมเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อสัตว์ถูกฆ่าโดยปราศจากการทำให้หมดสติ ความคมจากการเชือดเพียงครั้งเดียวทำให้การทะลักออกของเลือดเป็นตัวกระตุ้นที่สามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาการชาในสัตว์ ขนาดของมีดควรมีความเหมาะสมกับขนาดของลำคอสัตว์ เพื่อว่าการลงมีดเพียงครั้งเดียวก็ทำให้สัตว์ตายได้ ไม่จำเป็นต้องเชือดมากกว่าหนึ่งครั้ง และจะต้องไม่ลับมีดหน้าสัตว์ที่ทำการเชือด

Haram-CCP 5
ผู้ที่ลงมือฆ่าสัตว์ต้องเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง คุ้ยเคยกับกระบวนการฆ่าเขาหรือเธอนั้นจะต้องไม่มีหัวใจที่อ่อนแอ และผู้เชือดจำเป็นต้องได้รับการฝึกให้มีประสิทธิภาพในการฆ่าและก่อความเสียหายต่อสัตว์ ผิวหนังและซากของสัตว์น้อยที่สุด

Haram-CCP 6 : การฆ่าหรือทำให้เสียเลือด
ผู้เชือดจะต้องกล่าวพระนามของพระเจ้าขณะทำการเชือดอย่างรวดเร็ว โดยการตัดบริเวณส่วนหน้าของลำคอ โดยตัดส่วนของเส้นเลือดแดงใหญ่ เส้นเลือดดำใหญ่ หลอดลมและหลอดอาหารขาดออกจากกัน โดยไม่ถึกกระดูกในลำคอ

Haram-CCP 7 : การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ
เป็นข้อบังคับ สำหรับการกล่าวพระนามของพระเจ้า(อัลลอฮฺ) ขณะทำการเชือดที่ลำคอ เพียงพอแล้วที่จะกล่าว บิสมิลละฮฺ (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ)เพียง 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติทั่วไปโดยเฉพาะสัตว์ตัวใหญ่ ผู้เชือดได้กล่าวพระนาม 3 ครั้ง คือ บิสมิลละฮี อัลลอฮูอักบัร, บิสมิลละฮีอัลลอฮูอักบัร,  บิสมิลละฮีอัลลอฮูอักบัร

Haram-CCP 8 : การปฏิบัติหลังการฆ่า
เป็นสิ่งที่แย่มากในการตัดอวัยวะบางส่วนของสัตว์ เช่น หู เขา ขา หรืออวัยวะส่วนอื่นๆ ก่อนที่สัตว์จะตายสนิท โดยทั่วไปแล้วเมื่อเลือดได้หยุดไหล หัวใจได้หยุดเต้นและสัตว์นั้นได้ตายลง จึงจะเริ่มกระบวนการขั้นถัดไปของการแปรรูปซากสัตว์และหลังจากนั้นเราก็ลอกหนังและนำเครื่องในแยกออกจากเนื้อสัตว์

 Haram-CCP 9 : การบรรจุและติดฉลาก
การบรรจุและวัสดุที่ใช้ในการบรรจุต้องสะอาด และมีฉลากที่ประทับตราเพื่อแยกผลิตภัณฑ์ลงในตลาดฮาลาล

………………………………………………………………..
ที่มา : ดัดแปลงจาก  Riaz, M. N., and Chaudry M.M. (2004).  Halal Food Production.  CRC Press

กระดูกหมูและกระดูกสัตว์ในการผลิตเครื่องถ้วยชาม

คุณทราบหรือไม่ว่ามีกระดูกสัตว์ในเครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า “โบนไชนา” โบนไชนานั้นแข็งแรงไม่แตกง่ายและมีลักษณะขาวเหมือนงาช้าง มันเป็นภาชนะสีขาวที่ใช้บนโต๊ะรับประทานอาหารซึ่งมีความแตกต่างจากภาชนะเคลือบเซรามิคทั่วไป

เถ้ากระดูกได้มาจากการบดกระดูกและนำกระดูกที่ได้ไปเผา เศษเนื้อเยื่อที่ติดกับกระดูกทั้งหมดจะถูกกำจัดออกด้วยความร้อนที่อุณหภูมิมากว่า 1,000 องศา สุดท้ายเถ้าที่ได้นำมาบดเป็นผงและผสมกับน้ำก่อนเติมลงในวัตถุดิบเครื่องถ้วยชาม

 โบนไชนาได้ถูกคิดค้นในประเทศอังกฤษหลังศตวรรษที่ 18 ซึ่งโดดเด่นในเรื่องความแข็งแรง โปร่งแสง บอบบางและเป็นเครื่องถ้วยชามที่มีความขาว หลังจากนั้นก็ได้ผลิตขึ้นในยุโรป

 กระดูกสัตว์ช่วยทำให้เครื่องปั้นดินเผามีสีขาว ถ้าทำการเปรียบเทียบ โบนไชนากับ เครื่องถ้วยชามชนิดอื่นๆ ความแตกต่างนี้สามารถสังเกตได้ทันที โบนไชน่า ของแท้นั้นส่วนใหญ่มีสีขาวเหมือนหิมะ

โชคไม่ดีที่คุณสมบัติที่ดีเลิศของมันไม่ถูกนำมาพิจารณา เนื่องจากการมีกระดูกสัตว์หรือกระดูกหมู อาจเป็นที่ต้องห้ามสำหรับมุสลิม เพราะฉะนั้นแนะนำให้มุสลิมหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องถ้วยชามเหล่านี้และหันไปใช้ถ้วยชามที่ทำจากเซรามิคหรือแก้วแทน

แนะนำเว็บไซต์ที่มีข้อมูลการทำโบนไชนา
http://www.ops.go.th/tcs/bonechina_htdoc/bone_china.htm

…………………………………………………………………..
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหนังหมู
http://www.facebook.com/?ref=hp#!/notes/hsc-pattani-officer/phlitphanth-thi-tha-ma-cak-hnang-hmu/197292076949341
– แปรงที่ทำมาจากขนหมู
http://www.facebook.com/?ref=hp#!/notes/hsc-pattani-officer/paerng-thi-tha-ma-cak-khn-hmu/195911360420746

สิ่งที่น่าสงสัย(ซุบฮาต) ต้องตรวจสอบหรือหลีกเลี่ยง (3)

รศ.ดร วินัย ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Lecithin  (เลซิติน)
เลซิตินเกือบทั้งหมดเตรียมจากถั่วเหลือง หรือไข่ไก่  อย่างไรก็ตาม  มีเลซิตินบางชนิดเตรียมจากสมองสัตว์ หรือส่วนอื่นของสัตว์  จำเป็นจะต้องตรวจสอบ

Maltodextrin  (มอลโตเด็กตริน)
ได้จากพืช  ให้ตรวจสอบว่ากระบวนการมีการใช้เอนไซม์จากสัตว์หรือไม่  หากมีให้ตรวจสอบว่าฮาลาลหรือไม่

Marshmellow (มาร์ชเมลโล)
มาร์ชเมลโลมีส่วนผสมเจลาติน  ต้องตรวจสอบก่อนว่าเป็น Halal gelatin หรือไม่

Monoglyceride (โมโนกลีเซอไรด์)
เป็นสารที่นิยมใช้ทำเป็นารอิมัลซิไฟเออร์  ทำใมห้ไขมันแขวนลอยในน้ำได้  มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากไขมันสัตว์  จึงต้องตรวจสอบแหล่งที่มา  หากไม่มีข้อมูลยืนยันให้เลี่ยง 

ในกรณีที่เป็นโมโนกลีเซอไรด์จากไขมันพืช โดยไม่มีการปนเปื้อน  ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้

Phospholipid  (ฟอสโฟลิปิด)
มักเตรียมจากพืช  หากพบว่ามีการเตรียมจากเนื้อเยื่อสัตว์ให้ตรวจสอบ

Rennin/Rennet (เรนนิน/เรนเนต)
เอนไซม์มักได้มาจากอวัยวะสัตว์  ให้ทำการตรวจสอบ  หากได้จากนมให้ตรวจสอบสภาพของสัตว์

Surimi (ซูริมิ)
นิยมนำมาใช้เตรียมอาหารทะเล และปูอัด  อาจมีการใช้เอนไซม์บางชนิดที่สกัดได้จากเลือด  ให้ตรวจสอบ

Whey (หางนม)
ตรวจสอบว่ามีการใช้เรนนิน หรือเรนเนทที่ไม่ฮาลาลหรือไม่

Yeast (ยีสต์)
หากเป็นบริวเว่อร์ยีสต์ซึ่งได้มาจากกระบวนการผลิตเบียร์  ให้ถือว่าหะรอม

สิ่งที่น่าสงสัย(ซุบฮาต) ต้องตรวจสอบหรือหลีกเลี่ยง (2)

 รศ.ดร วินัย  ดะห์ลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Collagen (คอลลาเจน)
โปรตีนคุณภาพต่ำ  มักผลิตจากหมูหรือจากสัตว์ใหญ่  หากไม่มีข้อมูลว่าฮาลาลให้ทำการหลีกเลี่ยง

Diglyceride  (ไดกลีเซอไรด์)
นิยมใช้ทำเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์ ทำให้ไขมันแขวนลอยในน้ำได้  มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากไขมันสัตว์  ให้ตรวจสอบแหล่งที่มา  หากไม่มีข้อมูลยืนยันให้เลี่ยง  ในกรณีที่เป็นไดกลีเซอไรด์  จากไขมันพืชโดยไม่มีการปนเปื้อนให้นำไปใช้ประโยชน์ได้

Enzyme  (เอนไซม์)
เอนไซม์ใช้เป็นสารช่วยเร่งปฏิกิริยา  หากไม่มีข้อมูลยืนยันแหล่งวัตถุดิบที่ใช้เตรียมเอนไซม์  ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจเตรียมจากสัตว์  จึงให้หลีกเลี่ยง  หากเป็นเอนไซม์ของพืชที่ไม่มีสิ่งปนเปื้อนให้นำมาใช้ประโยชน์ได้

Fatty acid (กรดไขมัน)
กรดไขมันให้ทำการตรวจสอบก่อนเสมอว่าเตรียมจากวัตถุดิบกลุ่มใด  หากเตรียมจากไขมันพืชโดยไม่มีการปนเปื้อน  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  แต่หากไม่มีข้อมูลยืนยัน หรือหากพบว่าเตรียมจากไขมันสัตว์ให้หลีกเลี่ยง

Glyceride  (กลีเซอไรด์)
กลีเซอไรด์มักเตรียมจากไขสัตว์

Glycerol/Glycerin  (กลีเซอรอล กลีเซอรีน)
กลีเซอรอล/กลีเซอรีน มักเตรียมจากไขสัตว์

Glycerol Stearate (กลีเซอรอล สเตียเรต)
กลีเซอรอล สเตียเรต มักเตรียมจากไขสัตว์

Glycogen (ไกลโคเจน)
ไกลโจเจน เตรียมจากเนื้อเยื่อสัตว์ต้องตรวจสอบ

Hormones (ฮอร์โมน)
ฮอร์โมนมักเตรียมจากสัตว์

Hydrolyzed Animal Protein (โปรตีนสัตว์ที่ย่อยสลายแล้ว)
อาจเตรียมได้จากสัตว์ที่ฮาลาล หรือหะรอม  ดังนั้นให้หลีกเลี่ยง หากไม่ยืนยันว่าฮาลาล

สิ่งที่น่าสงสัย (ซุบฮาต) ต้องตรวจสอบหรือหลีกเลี่ยง (1)

รศ.ดร วินัย ดะหฺลัน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Animal fat (ไขมันสัตว์)
ไขมันจากสัตว์  หากเป็นกรณีที่มีข้อมูลยืนยันว่า  ทำจากสัตว์ต้องห้ามตามที่กำหนด  อันได้แก่ หมู หมูป่า สุนัข งู ลิง

สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารที่มีเขี้ยวและกรงเล็บ  เช่น สิงโต เสือ หมี และสัตว์อื่นที่คล้ายกัน  นกกินเหยื่อที่มีกรงเล็บ เช่น นกอินทรี นกแร้ง และนกที่คล้ายกันอื่นๆ  สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ จระเข้ และสัตว์ที่คล้ายกันอื่นๆ ล่อและลาที่เป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์น้ำที่มีพิษและเป็นอันตรายทุกชนิด รวมถึงเป็นสัตว์อื่นๆที่ไม่ได้ฆ่าถูกต้องตามกฎศาสนาอิสลาม  ให้ถือว่าไขมันสัตว์เหล่านั้นหะรอม ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้  ยืนยันว่าเป็นสัตว์อนุมัติที่ผ่านการเชือดตามหลักการอิสลาม ให้ถือว่าไขมันสัตว์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่เคลือบแคลง น่าสงสัย  ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าจะยืนยันได้ว่าฮาลาลจึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้

Animal shortening (ไขมันเนย)
ไขมันเนยใช้ผสมแป้ง ทำให้แป้งร่วน เป็นไขมันเนยที่ทำจากไขมันสัตว์  โดยมักได้มาจากสัตว์ที่ไม่ฮาลาล  จึงต้องตรวจสอบทุกครั้ง

Beef gelatin  (เจลาตินจากเนื้อ)
เป็นเจลาตินที่ทำจากเนื้อ  หากไม่มีข้อมูลยืนยันว่าเนื้อที่ใช้ในการเตรียมเจลาตินเป็นเนื้อที่ฮาลาล  ให้หลีกเลี่ยง เนื่องจากเนื้อนั้นอาจได้จากสัตว์ที่ไม่ผ่านการเชือดตามหลักการอิสลาม ให้ถือเป็นซากสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม  แต่หากมีข้อมูลยืนยันจากองค์กรที่เชื่อถือได้ว่าเนื้อนั้นฮาลาให้นำไปใช้ได้

Brewer’s yeast  (บริวเว่อร์ยีสต์)
ผลผลิตจากเบียร์  ยังมีการตีความทางศาสนาหลายหลายว่าหะรอมหรือไม่  สมควรเลี่ยง

Cheese  (เนยแข็ง)
เป็นผลผลิตจากนม  แต่มีการใช้เรนเนตที่อาจได้จากกระเพาะสัตว์  ซึ่งไม่ผ่านการเชือดตามหลักการอิสลาม  จึงต้องตรวจสอบ

Cholesterol (คอเลสเตอรอล)
มักเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสัตว์  ต้องทำการตรวจสอบ  หากพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากไข่ที่ไม่มีสิ่งอื่นปนเปื้อน ให้นำไปใช้ได้  แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์จากไขหรือเนื้อเยื่อจากสัตว์โดยไม่มีการยืนยันว่าฮาลาล  ให้ทำการตรวจสอบจากแหล่งผลิต หรือให้หลีกเลี่ยง

สิ่งที่ต้องห้าม(หะรอม) ไม่อนุญาตให้ใช้

 รศ.ดร วินัย ดะห์ลัน
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Alcohol (อัลกอฮอล์,แอลกอฮอล์)
โดยปกติหมายถึงสิ่งมึนเมาทั้งหลายที่มีอัลกอฮอล์เจือปนอยู่  เช่น เหล้า บรั่นดี วอดก้า รัม ปอร์โต ไวน์ แชมเปญ ยิน เบียร์ ฯลฯ  ทั้งหมดจัดอยู่ในกลุ่มสุราและของเมา  ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม  โดยจัดเป็นสิ่งโสโครกหรือนายิส  การผสมเครื่องดื่มเจืออัลกอฮอล์ลงในอาหารแม้เพียงเล็กน้อยจะมีผลทำให้อาหารนั้นกลายเป็นอาหารที่ไม่อนุมัติในทันที  ในกรณีของอัลกอฮอล์ประเภทเอธิลอัลกอฮอล์บริสุทธิ์  แม้ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้เป็นเครื่องดื่มมึนเมา

แต่การเติมลงในเครื่องดื่มหรืออาหารบางชนิดจนกรัทั่งอัลกอฮอล์มีปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดความมึนเมาได้ย่อมถือเป็นข้อห้ามเช่นเดียวกัน  ยกตัวอย่างเช่น การผสมอัลกอฮอล์ในการเตรียมยาบางสูตรอาจมีผลทำให้ผู้บริโภคยาเกิดความมึนเมาขึ้น  ในการเตรียมยาและอาหารจึงให้หลีกเลี่ยงการใช้เหล้า ไวน์ เบียร์ และอัลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด  อาหารใดที่เคยเติมเหล้าหรือไวน์ หรือเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ชนิดอื่น เช่น เค้กบางสูตร เครื่องปรุงบางชนิด น้ำราด  หรือเกรวี่บางชนิด  หากต้องการปรับปรุงให้เป็นอาหารฮาลาลจำเป็นจะต้องถอดการใช้อัลกอฮอล์ออก

Bacon (เบคอน)
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมูและไขมันหมู  หากเป็นข้อความว่าเป็นBeef หรือเนื้อ ขยายความ  จะต้องตรวจสอบก่อนว่าเนื้อนั้นฮาลาล

Blood  (เลือด)
อิสลามบัญญัติว่าเลือดที่ไหลรินจากร่างกายสัตว์เป็นนายิสหรือสิ่งสกปรกจึงเป็นสิ่งหะรอม  ในกรณีที่เป็นเลือดค้างอยู่บนเนื้อสัตว์  หรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักการอิสลาม ยกเว้นไว้ให้

Blood product, Blood derivative  (ผลิตภัณฑ์จากเลือด)
เนื่องจากเลือดเป็นสิ่งที่ต้องห้าม  ผลิตภัณฑ์จากเลือด เช่น เอนไซม์บางชนิด  หรือสารเคมีบางชนิดที่สกัดได้จากเลือด  อิสลามถือว่าเป็นนายิส  ห้ามนำไปใช้ประโยชน์อย่างเด็ดขาด(ดูข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้อ Blood)

Gelatin (เจลาติน)
เจลาตินเป็นโปรตีนคุณภาพต่ำ  ตามปกติเตรียมจากหนังหมู  หากมิใช่เจลาตินจากหนังหมูให้ใช้คำอื่น เช่น Beef Gelatin หรือ Halal Gelatin

Ham  (แฮม)
ผลิตผลจากเนื้อและไขมันหมู  ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้าม  หากผลิตจากสิ่งที่ไม่ใช่เนื้อหมู หรือไขมันหมู  ควรเลี่ยงใช้คำนี้

Jelley  (เจลลี่ เยลลี่)
มักเตรียมจากเจลาตินซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้าม(ดูหัวข้อ Gelatin) หากไม่ได้เตรียมจากเจลาตินให้เลี่ยงการใช้คำว่า Jelley

Lard  (ไขมันหมู)
หมูหรือสุกรเป็นสัตว์ต้องห้ามในอิสลาม

Liquor  (เหล้า)
อิสลามถือว่าเหล้าเป็นนายิสหรือสิ่งสกปรก  ไม่สามารถนำมาใช้ได้  การผสมสิ่งที่นับเป็นเหล้าในอาหารอย่างตั้งใจแม้เพียงหนึ่งย่อมทำให้อาหารทั้งหมดหะรอม ดูคำอธิบายในหัวข้อ “Alcohol”


Pork
  (เนื้อหมู เนื้อสุกร)
หมูหรือสุกรเป็นสัตว์ต้องห้ามในศาสนาอิสลาม

เราจะแยกแยะหนังหมูออกจากหนังชนิดอื่นได้อย่างไร?

หนังหมูส่วนใหญ่ดูลักษณะคล้ายกับหนังกลับ แต่โดยทั่วไปมันบางกว่าและมีจุดที่ดูเหมือนจุดรอยกดหรือรูเล็กๆ แม้ว่าจุดเหล่านี้จะปรากฏเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น โดยปกติด้านอื่นจะมีลักษณะคล้ายกับจุดที่มีรอยกด อย่างไรก็ตามในเวลานั้นอาจสังเกตมันไม่เห็น

               เป็นเรื่องยากที่แยกแยะระหว่างหนังหมูและหนังกลับในผลิตภัณฑ์ แต่บนความรอบคอบและการตรวจตราอย่างละเอียดต่อลักษณะของจุดและรูของหนังหมูก็สามารถสังเกตุเห็นได้ แต่ถ้าคุณยังไม่แน่ใจก็ให้อ่านฉลากของผลิตภัณฑ์หรือถามพนักงานขาย ไม่ควรตั้งคำถามว่า “นี่เป็นหนังหมูใช่ไหม?” กับทางร้าน แต่ให้เขาบอกคุณว่าหนังสัตว์เหล่านี้ทำมาจากสัตว์อะไรบ้าง ถามเขาเพื่อพิสูจน์ความจริง

 จุด 3 จุด ที่เป็นลักษณะของหนังหมู

………………………………………………..

ที่มา :
หนังสือ HALAL HARAM . สมาคมผู้บริโภครัฐปีนัง มาเลเซีย 
ภาพประกอบได้จากการค้นหาทาง Google

ถุงมือนิรภัย บ่อยครั้งที่ทำมาจากหนังหมู

ถุงมือนิรภัยจากหนัง ใช้สำหรับงานหนัก ปกป้องมือจากวัตถุที่มีความหยาบ สะเก็ดไฟ และความร้อน และยังช่วยลดการกระแทกได้ด้วย

หนังหมู มีคุณสมบัติ ต่อการทนการเสียดสีดีที่สุด นุ่มสบาย และระบายอากาศได้ดีกว่าหนังวัว ราคาถูกและหาได้ง่ายภายในประเทศ มีความนุ่มและระบายอากาศได้ดี

……………………………………………………………..
ที่มา:
<A href=”http://www.thai-safetywiki.com/index“>http://www.thai-safetywiki.com/index</A>.
<A href=”http://qa.sunnipath.com“>http://qa.sunnipath.com</A>

แนวทางการบูรณาการ Halal-HACCP ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและโรงฆ่าสัตว์

จัดทำระบบ HACCP ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามแนวทางของ Codex Alimemtarius โดยเพิ่มขอบข่ายของการศึกษาจากอันตรายทางชีวภาพ เคมี กายภาพ ที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ครอบคลุมกิจกรรมที่อาจเกิดขึ้นและขัดต่อบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามทำให้อาหารไม่ฮาลาลด้วย (Haram-CCP)

ขั้นเริ่มต้นในการจัดทำระบบ  (Preliminary Steps)   5    ขั้นตอน ได้แก่

  1. กำหนดนโยบาย   Halal-HACCP
  2. จัดตั้งทีมงาน       Halal-HACCP
  3. กำหนดขอบข่ายของการศึกษา รวมถึงศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำระบบรวมถึงลักษณะการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้และกลุ่มผู้บริโภค
  4. ศึกษากระบวนการผลิตและจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำระบบ
  5. ทวนสอบแผนภูมิการผลิตภายในสถานที่ผลิตจริง

และหลักการ  7   ประการในการจัดทำระบบ   ได้แก่

  1. วิเคราะห์อันตรายที่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภคหรือกิจกรรมที่ขัดต่อบทบัญญัติของศาสนาอิสลามในการผลิตอาหารฮาลาล
  2. วิเคราะห์หาจุดควบคุมวิกฤต
  3. กำหนดค่าจำกัดวิกฤติ
  4. กำหนดแผนการเฝ้าระหว่างติดตาม
  5. กำหนดมาตรการการแก้ไขกรณีเกิดการเบี่ยงเบนจากค่าจำกัดวิกฤตที่กำหนด
  6. กำหนดกระบวนการในการทวนสอบระบบ
  7. จัดทำระบบควบคุมเอกสารและบันทึกคุณภาพ