มุมมองอิสลามที่เกี่ยวกับเลือดและปัญหาการใช้ประโยชน์จากเลือดในผลิตภัณฑ์อาหาร

อัลลอฮฺกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ อัลมาอีดะฮฺ (5:3) ความว่า“ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกรและสัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่นจากอัลลอฮ์ ที่มัน (ขณะเชือด) …” สิ่งนี้ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า เลือดเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมเพื่อการบริโภค เนื่องจากมันถูกพิจาณาว่าเป็นสิ่งสกปรกและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เลือดเป็นของเหลวที่มีความสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำหน้าที่ในการขนถ่ายสารอาหารไปยังเซลล์สิ่งมีชีวิตทั้งทางด้านร่างกายของมนุษย์และสัตว์ พลาสมาเป็นส่วนของเหลว ซึ่งประกอบไปด้วยสารประกอบที่นำไฟฟ้า สารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เกล็ดเลือด และโปรตีน

ปัญหาด้านฮาลาลต่อการใช้ประโยชน์จากเลือดในผลิตภัณฑ์อาหาร

                  มีผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมากที่มีแนวโน้มการนำเลือดมาใช้ในผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนการเตรียมไส้กรอก เลือดสัตว์ที่ผ่านการปรุงจะถูกนำเข้าเครื่องอัด (ที่ประกอบด้วย เนื้อ ไขมันและแป้ง) อัดรวมกันจนกระทั่งมันหนาเพียงพอที่จะทำให้แน่นเมื่อได้รับความเย็น เลือดจากหมูและโคนั้นบ่อยครั้งที่ถูกนำมาใช้ในกรณีนี้ นอกจากนี้ เลือดยังถูกนำมาใช้เพื่อทำให้ซอสปรุงรสและกุญเชียงมีความข้น เนื่องจากมันมีความสามารถทำให้เกิดกลิ่นรสหรือสีในเนื้อ 

   จากมุมมองอิสลาม มีการแบ่งเลือดออกเป็น 2 ชนิด นั่นคือ เลือดที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (ตัวอย่างเช่น โค แพะ) ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับการบริโภค และเลือดที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (ตัวอย่างเช่น ปลา กุ้ง และตั๊กแตน) ซึ่งเป็นสิ่งที่อนุมัติให้ทำการบริโภคได้  เกี่ยวกับเรื่องนี้ อิบนุ อับบาส (ร.อ.) ครั้งหนึ่งได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องม้าม ท่านได้ตอบว่า มันเป็นสิ่งที่อนุมัติให้บริโภคได้ ไม่ใช่กลุ่มเลือดที่ต้องห้าม

อีกอย่าง เลือดยังถูกนำมาใช้สำหรับน้ำแกงและสตู  นอกจากนี้ ผงพลาสมาจากเลือดในรูปเข้มข้นหรือไฮโดรไลท์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เป็นส่วนประกอบขั้นต้นของการผลิตภัณฑ์ซูริมิ เพื่อเพิ่มคุณภาพของซูริมิ กลุ่มของนักวิจัยได้รายงานว่า ผงโปรตีนพลาสมาจากเลือดเข้มข้นมีความสามารถในการปรับปรุงการก่อรูปเจลของซูริมิและทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของแรงเฉือนและความแน่นของเจลซูริมิ การปรับปรุงคุณภาพเชิงหน้าที่ของซูริมิโดยการเติม ผงพลาสมานั้น ส่งผลให้เกิดการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์โพรติโอไลติก

 เนื่องด้วยประโยชน์อันมากมายของเลือดในผลิตภัณฑ์อาหาร ด้วยเหตุนี้ผู้บริโภคมุสลิมมีแนวโน้มจะถูกหลอกและเจือปนสิ่งเหล่านี้ในผลิตภัณฑ์  มีแนวโน้มการเติมผลิตจากเลือดในอาหารเสริมของพวกเขาเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านธุรกิจโดยปราศจากการติดฉลากที่แท้จริง ผู้บริโภคที่ทราบเรื่องนี้ได้มีเพิ่มมากขึ้นและเริ่มกลับไปซื้ออาหารที่บริสุทธิ์ที่เริ่มมีขายอยู่ในปัจจุบัน

……………………………………………………………………………………….
แปลและเรียบเรียงจาก
Halal Products Research Institute.  Scholar’s Note.  Info Halal. Volume4/issue 1.  Jan-Jun 2010

พลาสมาจากเลือด ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร

ถึงแม้ว่าเลือดจะเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิม แต่เลือดถูกนำมาใช้แปรรูปอาหารในหลากหลายรูปแบบ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารไม่รังเกียจที่จะใช้ของเสียในอาหาร เลือดจากโรงฆ่าสัตว์ซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งที่ยากต่อการกำจัด เป็นอีกประเภทที่ไม่เหลือไว้เนื่องจากได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในอาหาร

ผงพลาสมาจากเลือด (Blood plasma) คืออะไร?

          เลือดที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ถูกนำมาหมุนเหวี่ยงเพื่อแยกเกล็ดเลือดออก สิ่งที่เหลือไว้นั่นคือพลาสมาจากเลือดซึ่งเป็นของเหลวสีครีม หลังจากนั้นผ่านการพ่นฝอยเพื่อทำให้แห้ง (spray-dried) และนำมาใช้เป็นแหล่งของโปรตีน

น้าที่ของโปรตีนพลาสมาในอาหาร

          โปรตีนพลาสมาซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเลือด เป็นโปรตีนที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูก มีความสามารถด้านอิมัลซิไฟเออร์ และเป็นตัวถูกละลายที่ดีเยี่ยม มีควาหนืดต่ำและความสามารถในการคงรูปร่างที่แข็งแรง มีความยืดหยุ่นที่ไม่คืนรูปของเจล โดยความแข็งแรงของเจลทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น

คุณสมบัตินี้เองที่ทำให้โปรตีนพลาสมาเป็นโปรตีนที่ดีเลิศ สำหรับเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ภายใต้การควบคุมที่อุณหภูมิเบื้องต้น 80 องศา เช่น การสเตอริไลท์ หรือผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง โปรตีนพลาสมาสามารถปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของเนื้อสัตว์และปลาที่ผ่านการแปรรูป

          ในกรณีของซูริมิ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นโดยมีปลาเป็นองค์ประกอบหลัก พลาสมาจากเลือดซึ่งช่วยใน 2 หน้าที่ที่สำคัญนั่นคือ เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์โปรติเอสและยังทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของเจล

การนำโปรตีนพลาสมาจากเลือดไปใช้

      ผงพลาสมาจากเลือดนั้นถูกนำมาใช้ในการทำของผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้น เช่น ลูกชิ้นปลา เต้าหู้ปลาและเนื้อปูและกุ้งเทียม ชื่อทางการค้าของผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ  ซูริมิ

          ในการทำซูริมิ ปลาเกรดต่ำโดยทั่วไปได้ถูกนำมาใช้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากมันมีคุณภาพต่ำ เนื้อปลาจึงมีความแข็งแรงของเจลน้อย ในกรณีนี้ สารช่วยในการเกิดเจล เช่น ผงโปรตีนพลาสมาจากเลือดจึงถูกเติมลงไป

          ในปีค.ศ. 1998 สมาคมเพื่อผู้บริโภคแห่งรัฐปีนัง (Consumer Association of Penang) ได้ดำเนินการสำรวจผงโปรตีนพลาสมาจากเลือดพบมีขายในมาเลเซีย ตามที่ระบุในเอกสารผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากสหรัฐอเมริกา ผงพลาสมาจากเลือดเป็นโปรตีนเนื้อราคาถูก ที่มีความโด่นเด่นในการจับกับน้ำ ทำให้ผลิตภัณฑ์เหนียวแน่นมากขึ้น และคุณสมบัติของการเกิดเจลที่ยืดหยุ่น

 เอกสารยังได้กล่าวว่าอีกว่าสารดังกล่าวสมารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ไส้กรอก เบอร์เกอร์และเนื้ออื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่และปลา แหล่งที่มา(ยกตัวอย่าง พลาสมาได้มาจากไหน) ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในเอกสาร

          ต่อไปนี้ เราได้ดำเนินการสำรวจและพบว่ามีซูริมิหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาดซึ่งส่วนใหญ่ฉลากได้กล่าวถึงการใช้สารที่ทำให้เกิดเจล แต่พวกเขาไม่ได้ระบุจำเพาะเจาะจงถึงชนิดและแหล่งที่มาของสารที่ทำให้เกิดเจล

          ยังไม่มีบัญญัติใดภายใต้ข้อกำหนดด้านอาหาร 1985 (Food Regulation 1985) สำหรับผู้ผลิตในการแสดงรายละเอียดบนฉลากสำหรับชนิดและแหล่งมาของวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของพวกเขา

          นอกจากโปรตีนพลาสมาจากเลือด ยังมีวัตถุเจือปนอาหารจำพวกโปรตีนอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างมากมายในวงการอุตสาหกรรมอาหาร

…………………………………………………………………………………………………………………………….
แปลและเรียบเรียงจาก
Consumers Association of Penang. (2006) . HARAM HARAM :an Important book for muslim consumers.  Pinang. Pulau Pinang Press. Page 136-138

ข้อมูลเพิ่มเติม
– มุมมองอิสลามที่เกี่ยวกับเลือดและปัญหาการใช้ประโยชน์จากเลือดในผลิตภัณฑ์อาหาร

จิตวิญญาณของอาหาร

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่เกี่ยวพันธ์กับหลักปฏิบัติด้วยกับกฎและหลักเกณฑ์ที่ครอบคลุมทุกๆ มิติในการดำเนินชีวิตของปัจเจกชนมุสลิม  หลักเกณฑ์นี้ไม่ได้จำกัดการมองแต่เพียงเรื่องมารยาททางสังคม แต่มันมาจากวัตถุประสงค์ในวงกว้างของศาสนา และด้วยเหตุนี้จึงเป็นความคิดและค่านิยมที่สะท้องกลับมา 

          ที่นี้เรามาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่เราบริโภคกับสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณของเรา มุสลิมคนหนึ่งกินอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพทางร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการประกอบศาสนกิจทางศาสนา (อิบาดะฮฺ) และยังสนับสนุนความรู้และแรงกายของเขา เพื่อสวัสดิภาพของสังคม  ดังนั้นในบริบทของอิสลามจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและเห็นคุณค่าของแนวคิดฮาลาลและหะรอม ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มที่ฮาลาลนั้นเป็นที่อนุมัติสำหรับมุสลิม 

ในทางกลับกัน รายการอาหารหนึ่งจะหะรอม ก็ต่อเมื่อ  

  • เป็นอันตรายหรือรบกวนการทำงานของร่างกายและจิตใจในทางลบ 
  • มีนญิสหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากซากสัตว์หรือสัตว์ที่ตายโดยสาเหตุจากธรรมชาติ หรือจากสุกรหรือสัตว์หะรอมอื่นๆ 
  • อาหารนั้นได้มาจากสัตว์ที่อนุมัติแต่ไม่ผ่านการเชือดในวิธีการที่เป็นที่อนุมัติ หรือ หากไม่มีการ เตรียมการก่อนเชือดอย่างถูกต้อง 

       คำกล่าวที่ว่า  “คุณคือสิ่งที่คุณกิน” เป็นที่รู้จักกันดีในศาสนาอิสลาม  อาหารที่รับประทานเข้าไปไม่ได้กลายเป็นเพียงแค่อุจจาระ แต่ยังดูดซึมและสลายสารอาหารเข้าสู่ระบบและไหลเวียนทั่วทุกส่วนของร่างกายรวมทั้งสมองและหัวใจ  ดังนั้นความบริสุทธิ์ของร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณอย่างแท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของอาหารที่เราบริโภค 

ดังเช่นในอัลกุรอาน ในแต่ละครั้งเมื่อเอ๋ยถึงคำว่า  “ฮาลาล”  ก็จะกล่าวถึงอาหาร และคำว่า  “ฏอยยีบัน” ก็ได้ถูกกล่าวถึงอีกด้วย

มนุษย์เอ๋ย จงกินสิ่งที่ได้รับอนุมัติ(ฮาลาล)และที่ดี(ฏอยยิบ)จากที่มีอยู่ในแผ่นดิน”  (อัลบากอเราะฮฺ :168 )  

พวกเจ้าจงบริโภคในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ซึ่งเป็นที่อนุมัติที่ดี(อัลนะฮฺล: 114)  

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจว่าอาหารไหนที่เหมาะสำหรับการบริโภค ควรมีการพิจารณามากกว่าฮาลาล หรือหะรอมเพียงเท่านั้น  คำว่าฏอยยีบันหมายถึงดี ซึ่งมีความหมายว่าอาหารต้องมีประโยชน์และบริสุทธิ์จากแหล่งที่มาของมัน

          จากลักษณะทางด้านกายภาพ  ข้อจำกัดทางอาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อสร้างความมั่นใจว่า มุสลิมดูแลการกินเฉพาะสิ่งที่บริสุทธิ์ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่สกปรก 

อาหารที่สะอาดบริสุทธิ์นำมาซึ่งสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสิ่งนี้จะทำให้มุสลิมสามารถเพิ่มอิบาดะฮฺตัวของเขาและปฏิบัติอย่างเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและสุขภาพสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไป ในร่างกายที่บริสุทธิ์สร้างสุขภาพที่ดีสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน แน่นอนว่าความสะอาดจากภายนอกเป็นขั้นแรกต่อความบริสุทธิ์ของจิตวิญญาณภายใน บ่อยครั้งที่องค์ประกอบทั้งสองมักควบคู่ไปด้วยกัน ดังนั้นในศาสนาอิสลามความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา ตั้งแต่ด้านจิตวิญญาณแล้วมุสลิมก็ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ โดยการบริโภคแต่เพียงอาหารที่สะอาดเนื่องจาก อัลลอฮฺนั้นบริสุทธิ์และรักผู้ที่ทำตัวเองให้บริสุทธิ์ จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า : ท่านร่อซูล  (ศ็อลลัลลอฮุอาลัยฮิวาซัลลัม) กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺนั้นบริสุทธิ์ ไม่ทรงรับสิ่งใดนอกจากที่บริสุทธิ์”

โอ้ บรรดารอซูลเอ๋ย ! พวกเจ้าจงบริโภคส่วนที่ดี (ฮาลาลและจงกระทำความดีเถิด” (อัลมุอฺมิน: 51)  

และพระองค์ยังได้กล่าวอีกว่า 

บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงกินสิ่งที่ดีและสะอาดที่เราได้ประทานให้แก่สูเจ้า”  (อัลบากอเราะฮฺ : 172) 

…………………………………………………………………………………………………..
แปลและเรียบเรียงจาก
Consumers Association of Penang. (2006). HARAM HARAM :an Important book for muslim consumers.  Pinang. Pulau Pinang Press. Page 12-13 

ผลิตภัณฑ์จากหมูอยู่รอบตัวเรา

  ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์หะรอม ได้รับการพัฒนาไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุกร สุกรถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ทางด้านเภสัช ในเครื่องสำอาง และนำมาใช้ในอาหาร

Christien Merindertsma นักออกแบบสาวชาวดัชท์ ได้เขียนหนังสือที่ชื่อว่า Pig 05049 – หมูอยู่รอบตัวเรา หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของหมูหนึ่งตัวถูกใช้ไปกับการผลิตสินค้าอะไรในอุตสาหกรรมได้บ้าง

Christien Merindertsma ใช้เวลาพัฒนาหนังสือเล่มนี้อยู่ 3 ปี ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการวิจัย โดยสืบค้นไปถึงผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่ผลิตได้จากหมูหนึ่งตัว และเจ้าหมู 05049 นี้ ก็คือ หมายเลขของหมูที่มีอยู่จริง ซึ่งถูกเลี้ยงมาในฟาร์มแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ เธอตามรอยเจ้าหมู 05049 หลังจากที่ถูกขายไป จนได้ค้นพบความจริงว่า หมูตัวหนึ่งถูกแปรรูปไปเป็นสินค้าถึง 185 ชนิด (!) ทั้งสินค้าประเภทอาหารที่คาดเดาได้อยู่แล้ว เช่นซี่โครง เบคอน แฮม ฯลฯ และสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหารซึ่งคุณไม่มีทางเดาถูก เช่น เบรครถไฟ สีพ่นรถยนต์ บุหรี่ สบู่และผงซักฟอก

จากผลงานชิ้นนี้ Christien Merindertsma ได้คว้ารางวัลชนะเลิศ รางวัล Index: Award ประจำปี 2009 สาขา “เล่น” (Play) นี้ไปครอง  แนวคิดตั้งต้นมุ่งไปที่การช่วยให้คนในโลกปัจจุบัน (ที่บริโภคสินค้าในแพคเกจจิ้งเป็นหลัก) ได้เข้าใจว่า สิ่งต่างๆ ที่เขากินเขาใช้นั้น ผลิตขึ้นมาจากอะไร และมันมาจากไหน เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าทรัพยากรที่ถูกผลาญไป

จากงานวิจัยของ Christien Merindertsma ในการค้นกว้าผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากหมูเพียงตัวเดียวเป็นผลิตภัณฑ์กว่า 185 ผลิตภัณฑ์ที่เธอสามารถรวบรวมได้ ณ ตอนนี้….คุณ…กำลังใช้ผลิตภัณฑ์จากสุกรอยู่รึป่าว???

ที่มา
www.christienmeindertsma.com


การรับประทานมังสวิรัติในมุมมองของอิสลาม

อัลลอฮฺทรงสร้างสัตว์บางชนิดเพื่อให้เราสามารถนำมาบริโภค ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ในสูเราะฮฺ อัน-นะห์ลฺ

‘และปศุสัตว์ที่พระองค์ทรงสร้างนั้น ในตัวมันมีความอบอุ่นสำหรับพวกเจ้าและประโยชน์มากหลาย และในส่วนหนึ่งจากมันนั้นพวกเจ้าเอามาบริโภคได้’ (อัน-นะห์ลฺ 5)

มุสลิมตระหนักถึงสิทธิสัตว์ สิทธิสัตว์หมายความว่าเราไม่ควรละเมิดพวกมัน ทรมานพวกมัน และเมื่อเราต้องใช้เนื้อของพวกมันเป็นอาหารเราควรจะฆ่าพวกมันด้วยมีดที่คม เอ่ยนามของอัลลอฮฺในขณะที่เชือด

ท่านนบี (ขอความสันติและความจำเริญจงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า “อัลลอฮฺได้กำหนดความดีในทุกสิ่ง เมื่อท่านเชือดสัตว์ จงเชือดอย่างดี ท่านจงลับมีดให้คมและทำให้สัตว์นั้นตายอย่างรวดเร็วและทรมานน้อยที่สุด”

ดังนั้นมุสลิมจึงไม่ใช่นักมังสวิรัติ แต่หากมีผู้ชื่นชอบรับประทานผัก เขาก็ได้รับอนุญาตให้รับประทานมันได้ อัลลอฮฺได้อนุมัติให้เราได้รับประทานเนื้อสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกวิธี แต่พระองค์ไม่ได้กำหนดให้เป็นข้อบังคับสำหรับเรา

…………………………………………………….
โดย ดร. มุซซัมมิล ซิดดีกียฺ
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง

ผลิตภัณฑ์จากหมูที่พบในชีวิตประจำวัน

รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน

คริสเตียน เมนเดอร์ตสมา (Christien Meindertsma) สาวชาวดัทช์เป็นนักวิจัยด้านสังคมวิทยาใช้เวลาสามปีตั้งแต่ปี 2009-2011 ค้นคว้าวิจัยเรื่องเดียวคือ “สุกร” หรือหมูเพราะอยากรู้ว่าหมูนั้นนอกจากจะนำไปบริโภคอย่างที่นิยมทำกันแล้วไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ไขมัน คอ ขา หัว หู เครื่องใน ยังมีอะไรอีกที่สามารถนำชิ้นส่วนของหมูไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้บ้าง ปรากฏว่าเธอพบ 185 ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นจากหมู

เธอเขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่มชื่อ Pig 05049 บรรยายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาจากชิ้นส่วนของหมู ลองไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง เอาพอเป็นตัวอย่างก็แล้วกัน

สบู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งสบู่ที่ผิวเป็นมันคล้ายมุก, แชมพู, ครีมต่อต้านริ้วรอย, โลชั่นบำรุงผิว, ยาสีฟัน, แปรงปัดเค้ก, คอนกรีตชนิดเบาบางชนิดผสมกระดูกหมูลงไปด้วย, ผ้าเบรกรถไฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มาจากเยอรมนีที่มีการผสมเถ้ากระดูกหมู, ชีสเค้กและขนมประเภทมูสช็อคโกแลต, ทีรามิสุ, พุดดิ้งวานิลลามีการผสมเจลาตินจากหนังหมู, เครื่องกระเบื้องที่เรียกว่าไชน่าแวร์, สีทาบ้านสำหรับพื้นผิว, กระดาษทรายกาวบางชนิดมีการผสมกระดูกหมูป่น, พู่กันจากขนหมู

สเต้กเนื้อวัวบางชนิดที่แช่แข็งมีการนำเศษเนื้อวัวที่ใช้เยื่อหรือไฟบรินจากเลือดหมูทำหน้าที่เป็นกาวเชื่อมให้เนื้อติดกัน, สเต้กปลาทูน่าหรือสเต้กหอยสแคลลอปมีการใช้ไฟบรินหมูเป็นกาวเชื่อมทำให้เห็นเป็นชิ้นใหญ่, เบียร์ ไวน์หรือแม้กระทั่งน้ำผลไม้ที่กรองเอาความขุ่นออกโดยตัวกรองที่เป็นเจลาตินจากหมู,

สารฮีโมโกลบินในเลือดหมูเป็นตัวกรองสารบางชนิดทางบริษัทผลิตบุหรี่บางแห่งจึงใส่ฮีโมโกลบินหมูลงในไส้กรองบุหรี่, คอลลาเจนหมูใช้ในผลิตภัณฑ์สำหรับฉีดเพื่อแก้ไขรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและผิวหนัง, กระสุนบางประเภทมีการผสมคอลลาเจนหมูไว้ด้วย, ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์อย่างเช่นลิ้นหัวใจ ยังมีอีกมากมายที่ใช้ผลิตภัณฑ์จากหมู

เขียนให้ระวังกันไว้ไม่ได้ตั้งใจจะให้กลัว 

แนวทางการละหมาดญุมอัตและญามาอะฮฺสำหรับมุสลิม

(1).ใครที่กลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง (มาเลเซีย) ให้ละหมาดที่บ้าน ซึ่งในทางการแพทย์ ถือว่าวาญิบที่ท่านต้องละหมาดที่บ้าน และฮารามไปละหมาดที่มัสยิด

(2).ใครที่มีอาการไม่สบาย ให้ละหมาดที่บ้าน ซึ่งในทางการแพทย์ ถือว่าวาญิบที่ท่านต้องละหมาดที่บ้าน และฮารามไปละหมาดที่มัสยิด 

(3). คนที่จะไปละหมาดมัสยิด ให้อาบน้ำละหมาดมาจากบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อจากก๊อกน้ำ 

(4). ให้ทุกมัสยิดปิดแอร์และเปิดประตูทิ้งไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อจากการจับลูกบิดประตู 

(5). ให้ทุกท่านที่จะไปละหมาดที่มัสยิด พาผ้าปละหมาดไปคนละหนึ่งผืน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อจากพื้นมัสยิด 

(6). ตอนละหมาดพยายามยืนห่างๆ เท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อระหว่างคนสู่คนในระยะประชิด 

(7). ไม่สลามแบบสัมผัสมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสและติดเชื้อจากมือสู่มือ 

(8). ละหมาดเสร็จ ให้รีบกลับไปยังบ้านของแต่ละคนให้เร็วที่สุด 

สำหรับหมอแล้วสิ่งนี้เสมือน “ฟัรฎู” ในทางการแพทย์ที่ เราต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในช่วงวิกฤตินี้ 
ขอบคุณมากครับ 
……………………………………………………………………
Cr. นพ.กิ๊ฟลัน ดอเลาะ 
นายกสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข……… 

ระบบคุณภาพกับการผลิตและให้บริการอาหารในโรงพยาบาล (HAL-Q)

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 ซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้รวมถึงประเทศไทยนั้น ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาผู้ติดเชื้อ Covid-19 ไม่เพียงเฉพาะทีมแพทย์พยาบาลเท่านั้น หากแต่บุคลากรสนับสนุนในโรงพยาบาลต่างทำงานอย่างเต็มที่เช่นกัน หนึ่งในนั้นคืองานโภชนาการที่เป็นหน่วยงานหลักในการบริการอาหารแก่ผู้ป่วยที่นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีบทบาทในการป้องกันไม่ให้อาหารนั้นก่ออันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วย โดยการควบคุมคุณภาพอาหารให้สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณค่าทางโภชนาการ หากมีผู้ป่วยที่เป็นมุสลิมก็จะต้องให้บริการอาหารที่ฮาลาลด้วย ซึ่งในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้นับว่าประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่นับถือศาสนาอิสลาม โรงพยาบาลจึงได้มีนโยบายผลิตและให้บริการอาหารฮาลาลในโรงพยาบาล

ที่ผ่านมา ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินงานประยุกต์ใช้ระบบ HAL-Q ในโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเห็นว่าโรงพยาบาลมีศักยภาพที่นำระบบไปใช้ จึงได้เริ่มงานพัฒนาการผลิตและบริการอาหารฮาลาลและตอยยิบในโรงพยาบาล ซึ่งปัจจุบันทางศูนย์ฯ ได้วางระบบในโรงพยาบาลแล้วกว่า 39 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล

ระบบ HAL-Q พัฒนาขึ้นโดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นระบบคุณภาพเพื่อรับประกันและรับผิดชอบต่อสภาพฮาลาล โดยการบูรณาการหลักความปลอดภัยในอาหารเข้ากับหลักฮาลาล ซึ่งแนวทางด้านสุขอนามัยที่ใช้ในโรงพยาบาล ได้แก่ GMP, CFGT และครัวมาตรฐานของกรมอนามัย ช่วยป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนอันตราย 3 ประเภท ได้แก่ อันตรายทางกายภาพ อันตรายทางชีวภาพ และอันตรายทางเคมี ทำให้ได้อาหารสะอาด ปลอดภัย ดี มีประโยชน์ กล่าวได้ว่าอาหารนั้น “ตอยยิบ” จากนั้นกำหนดเพิ่มการวิเคราะห์อันตรายทางนญิส/หะรอม โดยการกำจัดและจำกัดสิ่งสกปรกตามหลักศาสนา (นญิส) และสิ่งต้องห้ามสำหรับมุสลิมในการบริโภค (หะรอม) ไม่ให้ปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิตอาหาร จึงทำให้ได้อาหาร “ฮาลาล” เมื่อสามารถควบคุมและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตทั้ง 4 ด้านที่กล่าวมา อาหารที่ได้จึงเป็นอาหารที่ “ฮาลาลและตอยยิบ” นั่นเอง

กระบวนการผลิตอาหารฮาลาลและตอยยิบมีมาตรการควบคุมคุณภาพตั้งแต่เรื่องอาคารสถานที่ที่ต้องออกแบบให้มีการป้องกันการปนเปื้อนข้าม การควบคุมผู้ประกอบอาหารให้มีสุขลักษณะที่ดีในการปฏิบัติงาน สวมชุดปฏิบัติงาน หมวกคลุมผม ผ้าปิดจมูก และล้างมือก่อนเข้าปฏิบัติงานและหลังออกจากห้องน้ำตามหลัก IC 7 ขั้นตอน หากมีอาการเจ็บป่วยที่เสี่ยงต่อการนำเชื้อจากคนสู่อาหารจำเป็นต้องให้หยุดพักงาน หรือมอบหมายงานอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรม และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ด้านกระบวนการผลิตต้องมีการคัดเลือกวัตถุดิบ และจัดซื้อวัตถุดิบตาม Spec ที่กำหนด โดยจัดทำเป็นทำเนียบวัตถุดิบ หากเป็นสัตว์ปีกและสัตว์บกต้องผ่านการเชือดถูกต้องตามหลักศาสนา ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุปิดสนิทต้องมีเครื่องหมายรับรอง อย. และฮาลาล มีการตรวจสอบวัตถุดิบที่ซื้อตามจำนวน คุณภาพ และสถานะฮาลาลของวัตถุดิบ เพื่อการทวนสอบย้อนกลับได้ จากนั้นล้างทำความสะอาดให้หมดคราบดิน คราบเลือด และอันตรายอื่นๆที่อาจปนเปื้อนสู่อาหารได้ นอกจากนี้ต้องมีการทวนสอบระบบเพื่อติดตามว่ายังสามารถรักษาระบบไว้ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

มาตรการควบคุมคุณภาพข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น หากทำครบทุกข้อกำหนดจะเป็นการรับประกันของคุณภาพอาหารที่ให้บริการ ทำให้ผู้ป่วยมั่นใจได้ว่าอาหารที่รับประทานนั้น สะอาด ปลอดภัย และถูกต้องตามหลักศาสนา ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ส่งผลในการรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้นต่อไป

สุดท้าย ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีแรงกำลังใจที่ดีเพื่อสู้กับสถานการณ์โรคระบาดขณะนี้ค่ะ #เราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
#Saveบุคลากรทางการแพทย์

…………………………………………………………………………….
บทความโดย
อาซีเยาะ ลาเตะ เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนง.ปัตตานี
แหล่งอ้างอิง
https://www.halalscience.org/hal-q
HAL-Q 5000 : 1431 นิยามคำศัพท์
HAL-Q 5001 : 1431 ข้อกำหนด
HAL-Q 5004 : 1431 แนวทางการปฏิบัติงาน

จะฮาลาล หรือเกษตรอินทรีย์ หรือมังสวิรัติดี?

หลายคนอาจต้องเผชิญคำถามว่า ”ฉันควรที่จะบริโภคเนื้อฮาลาล หรือเนื้อเกษตรอินทรีย์ หรือเป็นมังสวิรัติดี?” อาจง่ายกว่าหากคุณเป็นมังสวิรัติ หากเทียบกับการเผชิญกับประเด็นถกเถียงนี้ เพราะประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ซับซ้อน ซึ่งมันจะเกี่ยวพันกับความเข้าใจที่สำคัญในหลากหลายมุมมองและหลากหลายมิติ 

หนึ่งในจุดยืนที่เคร่งครัดมากที่สุดสำหรับชาวมุสลิมก็คือ ชาวมุสลิมควรรับประทานเนื้อสัตว์ฮาลาลเท่านั้นและต้องเป็นเนื้อจากสัตว์ที่ถูกเชือดโดยชาวมุสลิมอย่างถูกต้องตามหลักการ (ซะบีฮะฮฺ) 

ในทางกลับกัน จากความเข้าใจต่อท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ดังที่ได้รับการให้ความเห็นทางนิติศาสตร์ที่ระบุไว้ว่า ”อาหารของกลุ่มชนชาวคัมภีร์ (ชาวยิวและชาวคริสเตียน) จะต้องเป็นอาหารที่ ‘ฏ็อยยีบาต’ (อาหารที่ดีและมีประโยชน์) สำหรับมุสลิมเพื่อใช้บริโภค” (เมาดูดีย์) และ “หากไม่ได้ยินเสียงที่เอ่ยจากชาวคริสเตียนหรือชาวยิวที่เป็นนามอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เช่น นามพระเยซูหรือนามนักบุญ ขณะที่อยู่ระหว่างกระบวนการเชือดนั้น เนื้อสัตว์เหล่านั้นถือว่าฮาลาล” (อัล เกาะเราะฎอวีย์) 

อย่างไรก็ตาม คำตอบสำหรับคำถามนี้นั้นไม่ง่ายที่จะอธิบายให้เข้าใจชัดเจน แต่มีสามประเด็นที่จำเป็นอย่างยิ่งแก่การนำไปพิจารณาได้แก่ การเลี้ยงดูสัตว์ กระบวนการเชือดสัตว์ และคุณลักษณะของบุคคลที่กระทำการเชือดสัตว์  

หลายครั้งที่เนื้อสัตว์ที่มีตราหรือข้อความว่า “ฮาลาล (ซะบีฮะฮฺ)” ซึ่งมันอาจไม่ได้ฮาลาลจริง เนื่องจากลักษณะของสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงดู ในฐานะที่ชาวมุสลิมเราได้รับการสอนให้ปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยเมตตาธรรม แต่เนื้อส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์นั้นมาจากฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตอาหารซึ่งพวกเขาจะเลี้ยงสัตว์ในสภาพที่ถูกจำกัดคับแคบและฉีดยาปฏิชีวนะและฮอร์โมน 

ในศาสนาอิสลามเรายังถูกสอนอีกว่าไม่ให้รับประทานสัตว์ที่เป็นโรค เราเชื่อว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) และคนจำหน่ายเนื้อชาวมุสลิมได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อสัตว์ที่จัดจำหน่ายแก่เรา อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการผลิตขนาดใหญ่ เนื้อสัตว์ที่เป็นโรคมักเล็ดลอดผ่านเข้ามาในตลาดจนได้ 

หลักฐานนี้พบได้จากการเรียกเนื้อสัตว์คืนกลับโรงงานจำนวนมากที่เราได้ยินจากข่าว และจากการศึกษาวิจัยของกลุ่มสิทธิสัตว์ เช่น ในรายงานก่อนหน้านี้พบว่า 60% ของสัตว์ที่เลี้ยงในโรงงานทั้งหมดมีสุขภาพไม่ดี แม้ว่าจะได้รับยาปฏิชีวนะแล้วก็ตาม  

:: เนื้อที่ปลอดภัยที่สุด ::
เนื้อสัตว์ที่ปลอดภัยที่สุดนั้นเราสามารถหาได้จากสัตว์ที่เลี้ยงและเชือดในฟาร์มขนาดเล็กหรือผ่านข้อกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงดูแบบเกษตรอินทรีย์ 

หลังจากพิจารณาแล้วว่าสัตว์ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไร เราก็ต้องพิจารณาต่อไปยังอาหารที่ใช้เลี้ยงดู ในศาสนาอิสลาม หากสัตว์บริโภคเลือดเป็นอาหารขณะที่มีชีวิตอยู่ สัตว์นั้นจะถือว่าหะรอมสำหรับมุสลิมแก่การใช้บริโภคเป็นอาหาร

เป็นมาตรฐานปฏิบัติของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ทั่วไปที่จัดการดูแลการเสริมอาหารของสัตว์ที่เลี้ยงดูด้วยอาหารที่มีส่วนประกอบของกระดูกและชิ้นส่วนของสัตว์ ขณะที่สัตว์ที่ฮาลาลแก่การบริโภคนั้นจะต้องได้รับเฉพาะพืชและธัญพืชเป็นอาหารเท่านั้น 

ต้องยอมรับความจริงว่า เป็นเรื่องยากที่จะหาเนื้อที่ตอบสนองข้อกำหนดฮาลาลทั้งหมดข้างต้น อีกทั้งเป็นเรื่องยากที่จะหาเนื้อเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้องตามหลักการ ในฟาร์มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หลายแห่ง หนึ่งในมาตรฐานการปฏิบัติทั่วไปคือการทำให้สัตว์นั้นเสียชีวิตด้วยการช็อตไฟฟ้า แล้วจากนั้นก็ค่อยระบายเลือดให้ไหลออกมา 

วิธีการนี้ จะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์และเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการไหลออกของเลือด ในคัมภีร์อัลกุรอานระบุไว้อย่างชัดเจนว่าชาวมุสลิมไม่อนุญาตให้บริโภคเลือด ดังนั้นเราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อสัตว์เกษตรอินทรีย์ที่เราซื้อนั้นมาจากฟาร์มขนาดกลางหรือขนาดเล็กและผ่านกรรมวิธีการเชือดด้วยมือ 

เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าใครที่เป็นคนลงมือทำการเชือดสัตว์ เราควรจำไว้ว่าฟาร์ม “ฮาลาล” บางแห่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการว่าจ้างคนที่มิใช่มุสลิมมาปฏิบัติหน้าที่และอยู่ในตำแหน่งของผู้ลงมือกระทำการเชือดสัตว์ด้วย  

เราอาจสงสัยว่า “เราต้องกังวลถึงเนื้อสัตว์ที่เราบริโภคขนาดนี้เชียวหรือ?” มีการศึกษาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เนื้อสัตว์ที่เรารับประทานนั้นมีผลกระทบต่อร่างกายของเราอย่างแน่นอน 

ตัวอย่างเช่น เอสโตรเจน ฮอร์โมนเพศหญิงที่ได้รับการฉีดในสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้เร็วขึ้นและมีลักษณะที่อ้วนเนื้อมากขึ้นจะถูกส่งต่อมายังร่างกายของเราเมื่อเรารับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงดูแบบเกษตรอินทรีย์ 

ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางกายภาพของผู้หญิงที่ต้องเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก่อนวัยอันควร (จากปกติที่เข้าวัยเจริญพันธุ์ที่ช่วงอายุ 12 ปี จะถูกเลื่อนมาเร็วขึ้นในอายุ 7 ปี) อีกทั้งยังลดความเป็นชายในลักษณะของผู้บริโภคชายที่รับฮอร์โมนเพศหญิงเข้าไปในร่างกาย  เรากังวลว่าลูกสาวของเราดูเหมือนจะโตเป็นสาวเร็วเกินไป และลูกชายของเราจะสนใจในวิถีชีวิตทางเลือกแบบที่คนหนุ่มวัยเจริญพันธุ์ต้องเผชิญกับการก้าวผ่านวัย  

ทั้งหมดนี้นั้น หมายความว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์หรือนมที่ผ่านการฉีดฮอร์โมนอาจส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลในร่างกายมนุษย์

สรุปว่า เราจะสามารถมั่นใจจริง ๆ ได้ว่าเราจะได้รับเนื้อที่ฮาลาลจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเราเองหรือคนรู้จักที่เชื่อถือได้เป็นผู้เลี้ยงดูและเชือดเนื้อสัตว์ด้วยตัวเอง ซึ่งก็คงมีส่วนน้อยเท่านั้นที่จะสามารถกระทำอย่างนี้ได้ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราพอจะสามารถทำได้คือการคัดเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้เกี่ยวกับสิ่งที่เราบริโภค

ลำดับถัดมา เราอาจจะคัดเลือกมากขึ้นถึงสถานที่ที่วางจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่เราจะบริโภค เราต้องการให้ครอบครัวของเราต้องบริโภคเนื้อสัตว์ที่เสียชีวิตด้วยการช็อตไฟฟ้าหรือ? บริโภคเนื้อสัตว์ที่เลือดไม่ไหลผ่านหรือ? บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีฮอร์โมนตกค้างหรือ? แม้ว่าบางทีเนื้อสัตว์เหล่านั้นจะมีข้อความว่า “ฮาลาล” หรือ “ซะบีฮะฮฺ” ติดอยู่ก็ตาม หรือเราต้องการให้ครอบครัวของเรารับประทานเนื้อสัตว์ที่ได้รับการเลี้ยงดูและผ่านกรรมวิธีการเชือดในลักษณะที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด และบริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้? 

เราต้องมุ่งมั่นพยายามที่จะศึกษาแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่เราเลือกบริโภคให้มากที่สุด และก็เลือกเนื้อสัตว์ที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ที่ผ่านกรรมวิธีและข้อกำหนดตามแนวทางของอิสลาม 

……………………………………… 
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง 
โดย ดร. คาริมา เบิร์นส์ ที่มา: AboutIslam.net

ฮาลาลและการรับรองฮาลาลกรณีจีเอ็มโอ

ดร.วินัย ดะห์ลัน

จีเอ็มโอฮาลาลไหม ถามกันมาอย่างนี้ซึ่งตอบไปแล้วว่าตามมาตรฐานฮาลาลประเทศไทย มาเลเซีย รวมไปถึงมาตรฐานของโอไอซีที่เรียกว่ามาตรฐานซีมิก (SMIIC) จีเอ็มโอถือว่าฮาลาล หากไม่มีการนำยีน (Gene) หรือส่วนของดีเอ็นเอ (DNA) จากสุกรหรือสัตว์ต้องห้ามมาใช้ อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่มีการรับรองฮาลาลผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ คำถามคือหากมีการนำเอาผลิตภัณฑ์จีเอ็มโออย่างเช่น ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ที่มีการใช้ยีนแบคทีเรียมาขอการรับรองฮาลาล สมควรที่องค์กรศาสนาอิสลามจะให้การรับรองฮาลาลไหม คำถามนี้น่าคิด

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในเรื่องดีเอ็นเอกับยีนเสียก่อน ดีเอ็นเอ คือ สารเคมีที่ประกอบไปด้วยเบส (Base) ที่จับกันเป็นคู่เรียกว่าคู่เบส (Base pair) เรียงต่อกันยาวเหยียด ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บรหัสพันธุกรรมของชีวิต ในการทำงานแต่ละส่วนของดีเอ็นเอ จะถอดรหัสเพื่อนำไปสร้างโปรตีนหรือเอนไซม์ (Enzyme) จากนั้นจึงนำเอนไซม์ไปทำงาน ชีวิตเริ่มจากการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ นี่เอง ส่วนของดีเอ็นเอที่สามารถถอดรหัสสร้างเอนไซม์หรือโปรตีนขึ้นมาได้นี้เรียกว่า coding DNA ที่ใช้เรียกกันบ่อยกว่านั้นคือ “ยีน” (Gene) ยังมีดีเอ็นเออีกหลายส่วนที่ถอดรหัสสร้างโปรตีนไม่ได้เรียกว่า non-coding DNA

สายดีเอ็นเอของมนุษย์จับกันเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าโครโมโซม มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ สร้างขึ้นจากส่วนที่เป็นสายดีเอ็นเอนับเป็นคู่เบสรวมทั้งหมด 3 พันล้านคู่เบส นอกจากนี้ยังเป็นของโปรตีนห่อหุ้ม ปรากฏว่าส่วนที่เป็นคู่เบสนั้นมีเพียง 1.5% ที่เรียกว่า coding DNA มนุษย์จึงมียีนรวม 25,000 ยีน ส่วนที่เหลือ 98.5% ของคู่เบสเป็นส่วนที่เรียกว่า non-coding DNA

เมื่อเทียบกับหนู (Rat) พบว่า มนุษย์มีคู่เบสมากกว่าหนูอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่กลับมีจำนวนยีนเท่ากัน หรือมี coding DNA เท่ากัน เหตุที่มนุษย์กับหนูต่างกันมากเป็นเพราะมีส่วน non-coding DNA ต่างกันมาก ส่วน non-coding DNA นี่เองที่แม้จะไม่ได้เข้าไปทำงานอะไรแต่กลับสร้างอิทธิพลอย่างมาก มีผลต่อการทำงานของส่วนที่เป็น coding DNA สิ่งนี้จึงทำให้มนุษย์กับหนูต่างกัน

ความมหัศจรรย์พันลึกจึงอยู่ตรงส่วนที่เป็น non-coding DNA ที่ว่านี้ ซึ่งปรากฏว่าเป็นส่วนที่นักวิชาการแทบไม่มีความรู้เลย ดังนั้น การที่นักวิชาการที่เข้าใจว่าตนเองมีความรู้เรื่องการทำงานของยีนอย่างทะลุปรุโปร่ง นำยีนมาใช้ประโยชน์สารพัด พัฒนาสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ขึ้นโดยการนำเอายีนซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานมาจับต่อกัน นำยีนใหม่มาสอดแทรกใส่ในดีเอ็นเอสายเก่าเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆที่เรียกว่า “GMO” แล้วนำไปใช้ประโยชน์ กระแสต่อต้านจีเอมโอที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความกังวลว่าส่วนที่นักวิชาการยังไม่รู้จักคือส่วน non-coding DNA นี่เองจะเป็นส่วนที่สร้างปัญหา

ฮาลาลในอิสลามนั้นชัดเจน ระบุไว้แล้วว่าอะไรฮาลาลอะไรไม่ฮาลาล แต่อิสลามไม่ได้เน้นเรื่องฮาลาลอย่างเดียว อัลกุรอ่านหรือคัมภีร์ในอิสลามกำหนดเรื่องราวของ “ตอยยิบ” ขึ้นมาด้วย คำว่าตอยยิบหมายถึงส่วนที่ดี มีประโยชน์ ให้สุขอนามัยที่ดี และการรับรองฮาลาลเน้นทั้งฮาลาลและตอยยิบเป็นสำคัญ ดังนั้นจีเอ็มโอที่มีวางจำหน่ายกันทั่วไป หากไม่มีการใช้ยีนจากสัตว์หะรอม คำถามคือแล้วมันตอยยิบหรือไม่ หากยังเป็นข้อสงสัยว่าไม่ตอยยิบ ควรรับรองฮาลาลหรือไม่ คำถามนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์มุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมถึงผมยังไม่แนะนำให้มีการรับรองฮาลาลอาหารที่เป็นจีเอ็มโอ จนกว่าจะยืนยันได้ว่าจีเอ็มโอนั้นตอยยิบซึ่งจนถึงขณะนี้แม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์กลุ่มที่สนับสนุนจีเอ็มโอยังไม่กล้ายืนยันว่าจีเอ็มโอ สร้างปัญหาต่อสุขภาพหรือต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ดังนั้นเมื่อยืนยันไม่ได้จึงไม่ควรรับรองฮาลาล 

สรุปว่า จีเอ็มโอนั้นหลายชนิดฮาลาลสามารถบริโภคได้ แต่ไม่เหมาะต่อการรับรอง อ่านแล้วอย่าเพิ่งงงก็แล้วกันครับ

……………………………………………..
ข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/drwinaidahlan/posts/1515638845410754