เศรษฐกิจฮาลาล หรือ Halal economy ไม่ได้ใช้เฉพาะกับอาหารการกินอย่างที่หลายคนเคยเข้าใจ แต่หมายถึง กิจการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ศาสนพิธี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค การบริการ เศรษฐศาสตร์ฮาลาล และการเงินตามหลักศาสนบัติญัติอิสลาม เช่น การกู้ยืมเงินและการคิดอัตราผลกำไรแทนอัตราดอกเบี้ย การท่องเที่ยวฮาลาล (Halal Tourism) แฟชั่น (Islamic fashion) ยา เครื่องสำอาง สื่อ รวมทั้งทีวี facebook และ youtube เป็นต้น
คาดการณ์ว่าในปี 2023 การเงินฮาลาลมีมูลค่าทางเศรษฐกิจโตขึ้น 7.7% อาหารฮาลาลจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6% แฟชั่นฮาลาลจะโตขึ้น 5% การท่องเที่ยวมุสลิมซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกมาตลอด จะเติบโตมากขึ้นถึง 7.5% สื่อฮาลาล (Halal media) ในอังกฤษเติบโตอย่างมากและทำรายได้เป็นจำนวนมาก ส่วนยาและเครื่องสำอางก็มีอัตราโตขึ้นถึง 7%
การให้การรับรองฮาลาลในเรื่องอาหาร อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่ง เราอาจจะต้องมีการรับรองฮาลาลทางการเงิน เสื้อผ้า ยา เครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกันผลักดันมาตรฐานด้านต่าง ๆ อย่าง โรงแรม สปา เครื่องสำอาง และอีกมากมายที่กำลังตามมา ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฮาลาลจึงมีความสำคัญ…
#ในยุคdisruption เทคโนโลยีมีผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมฮาลาล
Technology disruption คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในเทคโนโลยี ธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม เช่น
เทคโนโลยีการถ่ายภาพ จากที่เคยมีกล้องถ่ายกลับคลายมาเป็นมือถือที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการถ่ายภาพได้มากกว่าเดิม
ธุรกิจภาพยนตร์ จากเดิมที่ใช้ซีดีหรือดีวีดี กลายเป็นธุรกิจสตรีมมิ่งที่เป็นแอปพลิเคชันให้คนได้ดาวน์โหลด ทำให้สามารถดูหนังที่ไหนก็ได้
ธุรกิจเพลง ผู้ฟังที่เคยฟัง mp3 ในซีดี แต่แอปพลิเคชัน เช่น Spotify สามารถให้บริการเพลงได้อย่างไม่จำกัดทั้งเพลงในอดีตหรือเพลงฮิตในปัจจุบัน
ธุรกิจสิ่งพิมพ์ พบว่าวิธีการนำเสนอเนื้อหาจากเดิมที่เป็นกระดาษ กลายเป็นเนื้อหาบนโลกออนไลน์ อ่านข่าวจากมือถือ หรืออ่านหนังสือผ่าน Kindle หรือเรียกว่าธุรกิจ eBooks
ธุรกิจเกี่ยวกับการช็อปปิ้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขายของออนไลน์มากขึ้น กลายเป็นแอปพลิเคชันช้อปปิ้งออนไลน์
#Future of Halal Economy
ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบันทำให้วิทยาศาสตร์ฮาลาลต้องปรับตัวมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ทางเลือก เทคโนโลยีที่ใช้การตัดต่อยีนจากเนื้อสัตว์แล้วนำมาเพาะเลี้ยง หรือการใช้หุ่นยนต์สั่งอาหารทางออนไลน์กับหุ่นยนต์ หากเราต้องการสั่งอาหารฮาลาล หุ่นยนต์ที่ตอบโต้เราจะสามารถตอบสนองความต้องการของชาวมุสลิมได้หรือไม่?
Halal Cryptocurrency เงินดิจิทัลถูกต้องตามวิถีฮาลาลหรือไม่? จ่ายซะกาตอย่างไร? เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมฮาลาลต้องเตรียมตัว หรือ Crowdfunding การระดมทุนในโลกออนไลน์ อย่างในอินโดนีเซีย อยากทำระดมทุนให้คนหาบ้านที่ไม่มีกำลังซื้อ Islamic Crowdfunding จะเป็นสิ่งที่เราได้ยินกันมากขึ้น คือเราไม่สามารถไปลงทุนกับธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุข ใครจะรับรองว่าธุรกิจนี้เป็น Islamic business ทำอย่างไรที่จะคัดสรรโปรเจกธุรกิจอิสลามเข้ามาเพื่อให้มีคนมาลงทุนมากขึ้น แล้วแพลตฟอร์มแบบไหนถูกต้องตามหลักชารีอะฮ์ …..นี่คือความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต…..
……….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี ถอดความ
…………
Halal Inspiration Talk: Future of Halal Economy: Technology Perspective
โดย ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่