สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ตอนที่ 2

ประการที่ห้า คือการเอาเลือดออกด้วยวิธีการกรอกเลือด
เนื่องจากท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “ทั้งผู้กรอกเลือดและผู้ถูกกรอกเลือด การถือศีลอดของเขาทั้งสองป็นโมฆะ” (เชค อัล-บานียฺกล่าวว่าเป็นหะดีษศอฮี้ยฺในศอฮี้ยฺของอบูดาวูด 2047)

การบริจาคเลือดเป็นเรื่องเดียวกับการกรอกเลือด เนื่องจากมันมีผลกระทบกับร่างกายในรูปแบบเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้จึงไม่อนุญาตสำหรับผู้ถือศีลอดบริจาคเลือดนอกจากมันมีความจำเป็น ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าอนุญาต ในกรณีนี้ผู้บริจาคเลือดได้เสียการถือศีลอดและจะต้องชดเชยการถือศีลอดในวันอื่น (อิบนุ อุษัยมีน มะญาลิส ชะฮฺรฺ เราะมะฎอน หน้าที่ 71)

ถ้าบุคคลหนึ่งมีเลือดออกทางจมูก การถือศีลอดของเขายังใช้ได้ เนื่องจากมันเกิดขึ้นโดยไม่ได้เจตนา (ฟะตาวา อัล-ลัจญนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ 10/264)

สำหรับเลือดที่เกิดจากการถอนฟัน การผ่าตัด การตรวจเลือด ฯลฯ จะไม่ทำให้การถือศีลอดของเขาเป็นโมฆะเนื่องจากมันมิได้เป็นการกรอกเลือดหรือเป็นสิ่งที่เหมือนกับการกรอกเลือดนอกจากมันจะมีผลกระทบกับร่างกายเช่นเดียวกับการกรอกเลือด

ประการที่หก การอาเจียนโดยเจตนา
เนื่องจากท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “ใครก็ตาที่อาเจียนโดยไม่ได้เจตนาไม่จำเป็นต้องถือศีลอดชดใช้ แต่ใครก็ตามที่อาเจียนโดยเจตนาเขาจะต้องถือศีลอดชดใช้” รายงานโดย อัต-ติรมีซียฺ 720 เชค อัล-บานียฺจัดว่าเป็นหะดีษศอฮี้ยฺ ในศอฮี้ยฺ อัต-ติรมีซียฺ 577

อิบนุ มุนซิร กล่าวว่า “บรรดานิติศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าการถือศีลอดของคนที่อาเจียนโดยเจตนานั้นถือว่าเป็นโมฆะ” อัล-มุฆนียฺ 4/368

ใครก็ตามที่อาเจียนออกมาอย่างตั้งใจ โดยการเอานิ้วของเขาล้วงเข้าไปในคอ กดท้องของเขา และส่งกลิ่นเหม็น หรือยังอาเจียนออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเขาจะต้องชดใช้การถือศีลอดในวันอื่น

หากว่าเขาสำรอกเพิ่มมากขึ้นก็ไม่ควรจะระงับมันไว้ เพราะมันจะเป็นอันตรายกับเขา (มะญาลิส ชะฮฺรฺ เราะมะฎอน อิบนุ อุษัยมีน หน้าที่ 71)

ประการที่เจ็ด คือเลือดประจำเดือนและเลือดหลังคลอดบุตร
ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “เมื่อเธอมีประจำเดือน เธอไม่ต้องละหมาดและถือศีลอดมิใช่หรือ ..” (รายงานโดย อิหม่าม บุคอรียฺ 304)

เมื่อผู้หญิงมีเลือดประจำเดือนหรือนิฟาส (เลือดหลังคลอดบุตร) การถือศีลอดของเธอจะเป็นโมฆะแม้ว่ามันจะอยู่ในช่วงเวลาก่อนตะวันตกดินเพียงไม่กี่นาทีก็ตาม

ถ้าผู้หญิงคนหนึ่งรู้สึกว่าประจำเดือนเริ่มมาแล้วแต่เลือดยังไม่ไหลออกมาจนกระทั่งตะวันตกดินไปแล้ว การถือศีลออดของเธอในวันนั้นถือว่าใช้ได้

ถ้าเลือดของผู้หญิงที่มีประจำเดือนหรือเลือดนิฟาสหมดลงในช่วงเวลากลางคืนและเธอตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอด จากนั้นตะวันเริ่มทอแสง (เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งการถือศีลอด) ก่อนที่เธอจะทำความสะอาดร่างกาย(ยกหะดัษใหญ่) อุลามาอฺทั้งหมดเห็นว่าการถือศีลอดของเธอใช้ได้ (อัล-ฟัตหฺ 4/148 Al-Fath, 4/148)

มันย่อมดีกว่าสำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนที่จะยังคงรักษาธรรมชาติของเธอและน้อมรับในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดให้กับเธอ โดยที่เธอจะต้องไม่ใช้ยาใด ๆ ที่จะระงับประจำเดือนของเธอ เธอจะต้องน้อมรับในสิ่งที่ทรงกำหนดให้กับเธอที่จะไม่ถือศีลอดในช่วงระหว่างมีประจำเดือนและชดใช้การถือศีลอดในวันอื่น นี่คือสิ่งที่เหล่ามารดาแห่งศรัทธาชนและบรรดาหญิงแห่งบรรพชนรุ่นแรกเคยกระทำมาแล้ว (ฟะตาวา อัล-ลัจญฺนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ 10/151) นอกจากนั้นมันได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าวิธีการการยับยั้งการมีประจำเดือนนี้เป็นอันตรายอย่างมากและผู้หญิงจำนวนมากได้ประสบกับการมีประจำเดือนที่ผิดปกติอันเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หากผู้หญิงรับประทานยาและประจำเดือนหยุดลง นั่นเป็นเรื่องปกติที่เธอสามารถจะถือศีลอดและการถือศีลอดของเธอนั้นถือว่าใช้ได้

ดังนั้นนี่คือสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ซึ่งมีเพียงเลือดประจำเดือนและเลือดนิฟาสเท่านั้น ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ
1. คนที่มีความรู้
2. คนที่ไม่ได้หลงลืม
3. คนที่ไม่ได้ถูกบังคับ

เราต้องจดจำไว้ว่าบางสิ่งที่ไม่ได้ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะมีดังต่อไปนี้
– การสวนทวารหนักโดยใช้น้ำยา ยาหยอดตา การถอนฟันตลอดจนการรักษาอาการบาดเจ็บจะไม่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ (มัจญมูอฺ ฟะตาวา ชัยคุล อิสลาม 25/233; 25/245)
– ยาเม็ดแบนที่ใส่ไว้ใต้ลิ้นเพื่อรักษาโรคหอบหืด ตราบใดไม่กลืนเศษตกค้างเข้าไป
– สิ่งใดก็ตามที่เข้าไปในช่องคลอด เช่น ยาเหน็บช่องคลอด เครื่องถ่างตรวจหรือนิ้วมือหมอที่มีเป้าหมายเพื่อการตรวจทางการแพทย์
– การใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์หรือห่วงอนามัยเข้าไปในมดลูก
– สิ่งใดก็ตามที่เข้าไปในทางเดินปัสสาวะของชายหรือหญิง เช่น ท่อสวน กล้องจุลทรรศน์ของทางการแพทย์ หรือฉีดสารที่ทึบแสงหรือทึบรังสีเพื่อเป้าหมายของการเอ็กซ์เรย์ (x-ray) การรักษาหรือบำบัดเพื่อที่จะล้างกระเพาะปัสสาวะ
– การอุดฟัน การถอน หรือการทำความสะอาดฟันไม่ว่าจะด้วยไม้สิวากหรือแปรงสีฟันก็ตาม ตราบใดที่ท่านไม่กลืนกินมันเข้าไป
– การล้างปาก การบ้วนปาก และสเปรย์ฉีดพ่นปาก ตราบใดที่ท่านไม่กลืนสิ่งใดลงไป
– การพ่นออกซิเจนหรือยาชา ตราบใดที่ไม่ได้ให้อาหารแก่ผู้ป่วย
– สิ่งใดก็ตามที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านการดูดซึมผ่านผิวหนัง เช่น ครีม ยาพอก ฯลฯ
– การสอดท่อเล็ก ๆ ผ่านเส้นเลือดเพื่อใช้ในการวินิฉัยภาพหรือการรักษาเส้นเลือดในหัวใจหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
– การใส่กล้องจุลทรรศน์ผ่านผนังกระเพาะอาหารเพื่อตรวจลำไส้โดยการดำเนินการผ่าตัด (การใช้กล้องส่องตรวจช่องท้อง)
– การเก็บตัวอย่างจากตับหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยไม่ต้องหาแก้ปัญหาอื่นใด
– การส่องกล้องตราบใดที่ไม่ได้มาพร้อมกับการแก้ปัญหาหรือมีสารอื่น ๆ
– การนำเครื่องมือหรือสารทางการแพทย์ใด ๆ เข้าไปเพื่อที่จะเยียวรักษาสมองหรือกระดูกสันหลัง
(ดู มะญาลิส เราะมะฎอน โดย เชค อิบนุ อุษัยมีน และหนังสือ 70 ประเด็นในการถือศีลอด)

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก Islam Q&A

สิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ตอนที่ 1

เราอยากทราบว่าอะไรบ้างที่ทำให้การถือศีลอด (ศิยาม) เป็นโมฆะ?

อัลลอฮฺทรงกำหนดการถือศีลอดบนวิทยปัญญาอันสูงสุด

พระองค์ทรงบัญชาให้ผู้ที่ถือศีลอดในรูปแบบที่มีความสมดุล ดังนั้นจะต้องไม่ทำให้ตัวของเขาเองเกิดอันตรายโดยการถือศีลอดหรือบริโภคสิ่งใดก็ตามที่ทำให้การถือศีลอดนั้นเป็นโมฆะ

บางสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะนั้นเกี่ยวโยงกับสิ่งที่ออกมาจากร่างกาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การอาเจียนโดยเจตนา การมีประจำเดือนและการกรอกเลือด สิ่งที่ออกมาจากร่างกายเหล่านี้จะทำให้เกิดความอ่อนเพลีย ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงกำหนดให้มันเป็นสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดนั้นเป็นโมฆะที่จะไม่นำเอาความอ่อนเพลียในสิ่งที่ออกมาจากร่างกายมารวมกับความอ่อนเพลียที่เกิดจากการถือศีลอด อันจะก่อให้เกิดอันตรายจากการถือศีลอดหรือการถือศีลอดของเขาไม่มีความสมดุล
.
บางสิ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะนั้นเกี่ยวโยงกับที่สิ่งที่เข้าไปในร่างกาย เช่น การกินหรือการดื่ม ถ้าผู้ที่ถือศีลอดกินหรือดื่ม เขาไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายของการถือศีลอดได้ (มัจญฺมูอฺ อัล-ฟะตาวา 25/248)

อัลลอฮฺได้รวมเอาสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะในอายะฮฺที่พระองค์ตรัสว่า

“บัดนี้พวกเจ้าสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดให้แก่พวกเจ้าเถิด และจงกิน และดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้า จากเส้นดำ เนื่องจากแสงรุ่งอรุณ แล้วพวกเจ้าจงให้การถือศีลอดครบเต็มจนถึงพลบค่ำ” สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 187

ในอายะฮฺนี้ อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงสิ่งหลัก ๆ ที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ นั่นคือการกิน การดื่มและการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนสิ่งอื่น ๆ ที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะนั้นถูกเอ่ยถึงโดยท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ในสุนนะฮฺ(วิถีแห่งการปฏิบัติ)ของท่าน

7 ประการดังต่อไปนี้ที่จะทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ
– การมีเพศสัมพันธ์
– การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
– การกินและการดื่ม
– สิ่งใดก็ตามที่อยู่ในหมวดเดียวกับการกินและการดื่ม
– การถ่ายเลือดด้วยการกรอกเลือด
– การอาเจียนโดยเจตนา
– การมีประจำเดือนหรือเลือดเสียหลังคลอดบุตร(นิฟาส)

ประการแรก คือการมีเพศสัมพันธ์
นี่คือการทำบาปที่ร้ายแรงและชั่วร้ายมากที่สุดที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ

ใครก็ตามที่มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเดือนเราะมะฏอนโดยเจตนาด้วยความเต็มใจ เขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัว ถือศีลอดต่อให้ครบ(นั่นคือ จะไม่กินหรือไม่ดื่มจนกว่าพระอาทิตย์ตกดิน) และถือศีลอดชดใช้ภายหลังพร้อมจ่ายค่าชดเชยจำนวนมาก ส่วนหลักฐานในเรื่องนี้ คือหะดีษที่ได้รับการรายงานจากท่านอบู ฮุรอยเราะฮฺ (รดิยัลลอฮุ อันฮุ) กล่าวว่า “ชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) และเขากล่าวว่า ฉันได้ก่อความวิบัติขึ้นแล้ว โอ้ ท่านศาสนฑูตของอัลลอฮฺ ท่านจึงถามว่า ความวิบัติอันใดเล่า? เขาตอบว่า “ฉันมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของฉัน (ช่วงเวลากลางวัน) ของเดือนเราะมะฎอน” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “ท่านสามารถปล่อยทาสได้หรือไม่” เขาตอบว่า “ไม่” ท่านนบีถามต่อว่า “ท่านสามารถถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันได้หรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่” ท่านนบีจึงถามอีกว่า “ท่านสามารถให้อาหารกับคนจน 60 คนได้หรือไม่?” เขาตอบว่า “ไม่” (รายงาน อิหม่าม บุคอรียฺ 1936 อิหม่าม มุสลิม 1111)

และไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยกับสิ่งใดที่ทำให้เสียการถือศีลอดนอกจากการมีเพศสัมพันธ์

ประการที่สอง คือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
ดังกล่าวนี้หมายความว่าได้ก่อเกิดการหลั่งของน้ำอสุจิ (มะนียฺ) โดยการใช้มือ

หลักฐานที่ว่าการสำเร็จความใคร่เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะนั้น คือพระดำรัสของอัลลอฮฺในหะดีษกุดซีย์ที่พระองค์ทรงตรัสแก่ผู้ที่ถือศีลอดว่า “เขาจะละทิ้งอาหาร เครื่องดื่มและอารมณ์ปรารถนาเพื่อฉัน” (รายงานโดย อิหม่าม บุคอรียฺ 1894) การที่ทำให้น้ำอสุจิ (มะนียฺ) หลั่งออกมาจากอารมณ์ปรารถนานั้นคือสิ่งที่ผู้ที่ถือศีลอดต้องละทิ้ง

ใครก็ตามที่สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองในช่วงกลางวันของเดือนเราะมะฎอน เขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัวกลับไปหาอัลลอฮฺและถือศีลอดต่อในช่วงเวลาที่เหลือของวันนั้นและจะต้องชดใช้การถือศีลอดหลังจากนั้น

เมื่อเขาเริ่มทำการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง จากนั้นเขาระงับไม่ให้น้ำอสุจิหลั่งออกมา เขาจะต้องกลับเนื้อกลับตัวไปหาอัลลอฮฺ แต่การถือศีลอดของเขายังคงใช้ได้และไม่ต้องชดใช้การถือศีลอดในวันอื่นเนื่องจากเขาไม่ได้ทำให้น้ำอสุจิหลั่งออกมา ผู้ที่ถือศีลอดจะต้องห่างไกลจากทุกสิ่งที่คอยปลุกเร้าอารมณ์ปรารถนาและหลีกเลี่ยงความนึกคิดที่ไม่ดี

และสำหรับน้ำมะซียฺ (ที่หลั่งออกมาเมื่อมีความรู้สึกทางเพศ) นั้นในทัศนะที่ถูกต้องที่สุด คือมันไม่ได้ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะแต่อย่างใด

ประการที่สาม การกินหรือการดื่ม
มันหมายถึงอาหารหรือเครื่องดื่มที่เข้าไปถึงกระเพาะผ่านทางช่องปาก

ถ้ามีบางสิ่งเข้าไปสู่กระเพาะผ่านทางจมูก ดังกล่าวนี้ไม่ต่างอะไรจากการกินหรือดื่ม

ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า “จงสูดดมน้ำเข้าไปในทางจมูก (เมื่อเอาน้ำละหมาด) เว้นแต่ท่านกำลังถือศีลอด” (รายงานอิหม่าม อัต-ติรมีซียฺ 788) ถ้าน้ำไม่เข้าไปถึงกระเพาะผ่านทางจมูกนั่นไม่ถือว่าทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ได้ห้ามผู้ถือศีลอดสูดน้ำเข้าไปในจมูก

ประการที่สี่ คือสิ่งใดก็ตามที่เป็นเรื่องเดียวกับการกินและการดื่ม
เรื่องนี้ครอบคลุมสองประเด็น
1.การถ่ายเปลี่ยนเลือดของผู้ถือศีลอด เช่น ถ้าเขาเสียเลือดมากและมีการให้เลือด เรื่องนี้ถือว่าทำให้การถือศีลอดนั้นเป็นโมฆะเนื่องจากการรับเลือดจัดอยู่ในรูปแบบเดียวกับการให้อาหารและเครื่องดื่ม
2. การรับสารบำรุงจากอาหารและเครื่องดื่มผ่านเข็มฉีดยา เพราะมันเป็นเหมือนกับอาหารและเครื่องดื่ม เชค อิบนุ อุษัยมีน (มะญาลิส ชะฮฺรฺ เราะมะฎอน หน้า 7)

สำหรับการฉีดยาที่ไม่สามารถทดแทนอาหารและเครื่องดื่มแต่มันเป็นยาที่ใช้สำหรับการรักษาทางการแพทย์ -เช่นเพนิซิลลินหรืออินซูลิน- ให้พลังงานแก่ร่างกายหรือเพื่อวัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีน เหล่านี้ไม่ถือว่ามีผลกระทบกับการถือศีลอดแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ (ฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ) (ฟะตะวา มุฮัมมัด อิบนุ อิบรอฮีม 4/189) แต่เพื่อความปลอดภัยการฉีดยาดังกล่าวนี้อาจรับในช่วงเวลากลางคืนได้ …

และการล้างไตที่มีเลือดออกมาเพื่อทำการฟอกจากนั้นเอากลับไปใส่ในร่างกายอีกครั้งด้วยสารเคมีเพิ่มเติม เช่นน้ำตาลและเกลือ เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้การถือศีลอดนั้นเป็นโมฆะ (ฟะตะวา อัล-ลัจญนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ 10/9)

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก Islam Q&A

รอมฎอน: ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเลิกสูบบุหรี่

ครั้งหนึ่งผมจำได้อย่างเต็มตา ผมเคยเห็นอิหม่ามสูบบุหรี่สองสามเฮือกสุดท้ายในขณะที่เดินเข้าไปในมัสยิดเพื่อเป็นผู้นำในการละหมาดซุฮฺร

ในอีกมัสยิดหนึ่ง ผู้สูบบุหรี่เข้าร่วมละหมาดในมัสยิดและยืนอยู่ข้าง ๆ ผม ผมคิดว่าเช่นเดียวกันกับอิหม่าม เพื่อนข้างผมคนนี้เพิ่งสูดเอากลุ่มควันจากบุหรี่เข้าปอดก่อนที่จะเข้ามาละหมาดในมัสยิด

กลิ่นฉุนของบุหรี่รบกวนผมมาก มันยากสำหรับผมที่จะมีสมาธิกับการละหมาด หลังจากนั้น ผมก็ไม่สามารถทนรับกลิ่นนี้ได้อีก ผมจึงย้ายออกไปร่วมละหมาดในแถวหลัง

ผมเคยมีประสบการณ์อันไม่พึงประสงค์เช่นนี้ในมัสยิดมาหลายครั้งหลายหน

ผมเคยเห็นพ่อสูบบุหรี่ในรถที่เต็มไปด้วยสมาชิกครอบครัวอย่างเปิดเผยโดยให้สมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ได้เห็น รวมถึงทารกที่ต้องสูดเอาควันบุหรี่มือสองเข้าไปด้วย การกระทำที่ไม่รับผิดชอบเช่นนี้ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดเพลิงไหม้ในยานพาหนะ

ผมเคยเห็นวัยรุ่นคีบแท่งก่อมะเร็งระหว่างปากของพวกเขาขณะที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ การกระทำของเยาวชนเหล่านี้ทำให้สุขภาพของพวกเขา(และคนอื่น ๆ )มีความเสี่ยง พวกเขาผลาญเงินของผู้ปกครองและก่อมลภาวะในชั้นบรรยากาศ

สถาบันการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถและบ่มเพาะผู้นำในอนาคต น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง(และแม้แต่โรงเรียนมัธยม) ได้กลายเป็นสวรรค์สำหรับการสูบบุหรี่

ปัจจัยที่มีส่วนร่วมบางประการคือความกดดันจากกลุ่มเพื่อน และการเข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นบางคนที่เสพติดนิโคตินก็เพราะเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่

– ปัญหาลุกลาม –
ผมมั่นใจว่า ผมไม่ได้เป็นผู้เดียวที่ประสบกับสถานการณ์เหล่านี้ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้แทรกซึมเข้าสู่ผู้คนทุกระดับและทุกวิชาชีพ

ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่สามารถสร้างมลภาวะในที่สาธารณะได้ แต่สิทธิของผู้ไม่สูบบุหรี่ในการสูดอากาศที่สะอาดบริสุทธิ์และไม่ถูกรบกวนจากควันบุหรี่มือสองนั้นกลับถูกล่วงละเมิดเป็นประจำ

สิทธิของเด็กในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพและประโยชน์ทางด้านสุขภาพของพวกเขาถูกฝ่าฝืน ในหลายกรณีผู้กระทำผิดเป็นพ่อแม่ของพวกเขาเอง

ในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้สูบบุหรี่ในช่วงวัยรุ่น เงินของพวกเขาในการหาซื้อบุหรี่มาจากพ่อแม่ที่ตามใจ สิ่งนี้ชี้ให้เราเห็นถึงการเลี้ยงดูที่น่าเศร้าของพ่อแม่หลาย ๆ ครอบครัวในสังคม

– การแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ –
ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่จำนวนมากไม่ได้มีการศึกษาสูงและอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รายได้ส่วนใหญ่ของพวกเขาใช้จ่ายไปกับบุหรี่และการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคยาสูบ นี่เป็นหนึ่งในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากคนจนโดยบริษัทยาสูบที่ร่ำรวยและบริษัทข้ามชาติที่ดำเนินงานข้ามเส้นแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์

สำหรับความเสียหายของผู้บริโภค มีการโปรโมตการออกกำลังกายนานนับสิบปีโดยเฉพาะโฆษณาที่หลอกลวงว่าสามารถเยียวยาและชำระล้างพิษร้ายจากการสูบบุหรี่

ประเทศร่ำรวยผู้ผลิตบุหรี่ส่วนใหญ่ได้กำหนดห้ามโฆษณา และมีข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริโภคยาสูบโดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะ และจะเป็นหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับการวิจัยเพื่อค้นคว้าว่าพวกเขาลดปริมาณการผลิตบุหรี่ลงในประเทศของพวกเขาหรือไม่ หากไม่แล้วข้อสรุปเชิงตรรกะคือพวกเขาใช้ประเทศอื่น ๆ ในการปล่อยบุหรี่เหล่านั้นและรับเงินตราต่างประเทศ นี่เป็นยุทธศาสตร์ของจักรวรรดิใหม่และปรับเปลี่ยนชื่อบุหรี่ให้เป็น “ทาสขาวตัวน้อย ๆ”

น่าเสียดายที่ในโลกปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ของชาวมุสลิมอยู่ในช่วงสิ้นสุดการแสวงหาผลประโยชน์จากการทำกำไรทางเศรษฐกิจ งานวิจัยปี 2549 ในหัวข้อ “อิทธิพลของศาสนาอิสลามต่อการสูบบุหรี่ในหมู่ชาวมุสลิม” ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษแสดงให้เห็นว่าประเทศที่บริโภคยาสูบมากที่สุดในโลก ได้แก่ เยเมน อินโดนีเซีย ตูนิเซีย และกินี

– ตระหนักอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ –
ผู้สูบบุหรี่ส่วนใหญ่ตระหนักถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายของนิสัยการเสพติดของพวกเขา ดังนั้นการสร้างความตระหนักผ่านการศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งที่เราต้องทำอีกแล้ว

เพราะสิ่งที่ต้องการในขณะนี้คือการห้ามสูบบุหรี่และการบังคับใช้อย่างเข้มงวด

– อิสลามและการสูบบุหรี่ –
ประการสำคัญ พฤติกรรมการเสพติด เช่น การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ไม่ว่าจะเป็นการเสพเนื่องจากเป็นทางเลือกในการดำเนินชีวิตหรือเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเครียดนั้นไม่สามารถเป็นยอมรับได้ในอิสลาม

อิสลามไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยสาเหตุดังกล่าว มันไม่เป็นที่ยอมรับตามหลักการอิสลามที่จะใช้วิธีปฏิบัติดังกล่าวเพื่อบรรเทาความเครียดในชีวิต

ในอิสลาม “สุขภาพเป็นความไว้วางใจ(อามานะฮฺ)จากผู้เป็นเจ้าที่ควรได้รับการปกป้องดูแลและเสริมสร้างปรับปรุงให้แข็งแรงเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างของผู้เป็นเจ้า” (Jamal Badawi)

ดังนั้น ศาสนาอิสลามจึงห้ามไม่ให้มีการประพฤติปฏิบัติที่ใด ๆ ก็ตามที่ไม่ดีต่อสุขภาพ รวมไปถึงการสูบบุหรี่ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองหรือของผู้อื่น

การพิจารณาในแง่มุมทางด้านร่างกาย จิตใจ การเสพติด และการเงินของการสูบบุหรี่โดยอยู่บนพื้นฐานของอัลกุรอานตามบทและโองการต่าง ๆ เช่น 2:195, 4:29, 7:31 และ 17:26-27 ชัยคฺ ยูสุฟ อัล เกาะราะฎอวีย์ ได้มีคำวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ไม่มีทางที่นักวิชาการคนใดสามารถออกคำวินิจฉัยอนุญาตให้สูบบุหรี่หลังจากได้รับข้อมูลหลักฐานทางการแพทย์ที่หนักแน่นถึงอันตรายที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์จำนวนมาก …

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าคำวินิจฉัยห้ามนั้นมีความถูกต้องมากกว่าและมีหลักฐานที่แข็งแรงกว่า … ดังนั้นเราต้องยืนยันว่าการสูบบุหรี่นั้นเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างแน่นอน

– คว้าโอกาสในช่วงรอมฎอน –
รอมฎอนได้มาถึงแล้ว เดือนอันศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชาวมุสลิมที่จะละทิ้งลักษณะนิสัยที่น่ารังเกียจของการพ่นควันเช่นเดียวกับที่จะหักห้ามการสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

ผมหวังว่ารัฐบาลของประเทศที่มีประชากรมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่จะใช้โอกาสในช่วงเดือนนี้เพื่อเริ่มต้นกระบวนการห้ามสูบบุหรี่โดยสิ้นเชิง

หากบางประเทศสามารถดำเนินการเป็นแบบอย่างได้ หวังว่าประเทศอื่น ๆ อีกจำนวนมากจะทำตามผู้นำที่อาจหาญและเด็ดขาดนี้

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net โดย Dr. Md. Mahmudul Hasan

ชิมกาแฟในช่วงถือศีลอดได้หรือไม่?

ฉันทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำกาแฟ เราต้องชิมกาแฟอยู่บ่อย ๆ เพื่อเปรียบเทียบรสชาติและกลิ่น ฉันทราบดีว่าอนุญาตให้ชิมสิ่งต่าง ๆ ในช่วงถือศีลอดได้ ถ้าท่านมั่นใจได้ว่าไม่ดื่มสิ่งใดเข้าสู่ร่างกาย ตอนที่ฉันชิมกาแฟฉันพยายามอย่างมากที่จะทำให้มั่นใจว่าฉันไม่ได้กลืนอะไรเข้าไปแม้แต่น้อย แต่เป็นการชิมกาแฟเพื่อให้รับรู้ถึงรสชาติของมัน ดังนั้นการชิมกาแฟจะทำให้การถือศีลอดเสียหรือไม่ ?

หากคนที่ถือศีลอดจะต้องชิมอาหารก็นับว่าไม่มีความผิดแต่ประการใด และไม่มีผลกระทบต่อการถือศีลอดตราบใดที่อาหารนั้นยังไม่ได้เข้าสู่ช่องคอของผู้ที่ถือศีลอด หลักการนี้นำไปใช้กับการชิมกาแฟและสิ่งอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน

หากเขาชิมโดยปราศจากความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องกระทำเช่นนั้นถือว่า มักรูฮฺ (สิ่งที่น่ารังเกียจตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม) แต่มันไม่ได้ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ

ท่าน อิบนุ อับบาส (รดิยัลลอฮุ อันฮุ)กล่าวว่า “ไม่มีความผิดด้วยกับการชิมสิ่งที่กำลังปรุงหรืออะไรก็ตาม” [รายงานโดย อิหม่ามบุคอรียฺ]

อิหม่าม อะหฺมัด กล่าวว่า “ฉับชอบที่จะหลีกเหลี่ยงการชิมมากกว่า แต่ถ้าใครจะกระทำสิ่งนั้นก็ไม่มีผลกระทบใดกับเขาและไม่มีความผิดแต่ประการใด” [อัล-มุฆนียฺ 4/359]

ชัยคฺ อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวใน อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ (4/474) ว่า “การชิมอาหาร คือ “มักรูฮฺ” (สิ่งน่ารังเกียจ) หากว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำอย่างนั้น แต่มันไม่ได้ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะแต่อย่างใด”

มีคนถาม เชค อิบนุ อุษัยมีน ที่อยู่ในหนังสือ ฟะตาวา อัล-ศิยาม (หน้า 356) ว่า การถือศีลอดจะเป็นโมฆะโดยการชิมอาหารหรือไม่?

ท่านตอบว่า “การถือศีลอดจะไม่ถูกทำให้เป็นโมฆะโดยการชิมอาหารตราบใดที่คนหนึ่งไม่กลืนมันเข้าไป แต่จะต้องไม่กระทำเช่นนั้นนอกจากมีความจำเป็น ในกรณีนี้ หากว่ามีเศษอาหารตกเข้าไปในกระเพาะโดยบังเอิญ การถือศีลอดของท่านไม่ถือว่าเป็นโมฆะ” [ในฟะตาวา อัล-ลัจญนะฮฺ อัล-ดาอิมะฮฺ (10/332)]

หากรสชาติและกลิ่นยังคงอยู่ก็จะไม่มีผลกระทบใด ๆ กับการถือศีลอด ตราบใดท่านไม่ได้กลืนกินสิ่งใดอย่างตั้งใจ

อิบนุ ซีรีน กล่าวว่า ไม่มีความผิดแต่อย่างใดในการใช้ไม้สิวากที่เปียกชุ่ม เช่น ในช่วงถือศีลอด มีคนกล่าวว่า มันมีรสชาติน่ะ เขาตอบกลับว่า น้ำก็มีรสชาติเช่นเดียวกันแต่ท่านใช้มันชำระล้างปากของท่าน

ถือว่าเป็น “มักรูฮฺ” ที่จะชิมอาหารอย่างเช่น อินทผลัม ขนมปัง และซุป นอกจากมีความจำเป็นเท่านั้น ถ้าอยู่ในกรณีนี้ถือว่าทำได้

ด้วยเหตุผลที่อาหารบางอย่างอาจตกเข้าสู่กระเพาะอันเนื่องจากคน ๆ หนึ่งไม่ได้ตระหนักดีพอ ดังนั้นการชิมอาหารดังกล่าวนี้จึงเป็นเหตุทำให้การถือศีลอดของเขาเสียหาย เช่นเดียวกันเขาอาจมีความต้องการอาหารมากจนเกินไป เขาจึงชิมอาหารไปตามความพอใจและอาจกลืนมันเข้าไป ดังนั้นมันจึงตกเข้าสู่กระเพาะของเขา

ตัวอย่างของความจำเป็น คือเมื่อคนทำอาหารจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าอาหารนั้นหวานหรือเค็ม เป็นต้น

หลักการในเรื่องนี้ คือการชิมกาแฟขณะที่ท่านกำลังถือศีลอดไม่นับว่าเป็นเรื่องผิดแต่ประการใด อันเนื่องจากท่านจำเป็นที่จะต้องกระทำเช่นนั้น แต่ท่านต้องระมัดระวังและทำให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดตกเข้าสู่กระเพาะของท่าน

……………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก Islam Q&A

การอดอาหารส่งผลต่อสุขภาพลำไส้ของเราอย่างไร?

เราได้พูดคุยกับ Dr.Meltem Yalinay เกี่ยวกับงานวิจัยของเธอว่าด้วยการอดอาหารส่งผลต่อสุขภาพลำไส้ของเราอย่างไร

“การถือศีลอดแบบอิสลามเป็นแบบอย่างที่ดีมากสำหรับความสมบูรณ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้และสุขภาพของลำไส้” Dr. Meltem บอกกับเรา

Dr. Meltem Yalinay เป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาจุลชีววิทยาของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฆอซี (Gazi University) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงอังการา

“เราได้ออกแบบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการถือศีลอดของอิสลาม โดยก่อนช่วงรอมฎอนเราได้เก็บเอาตัวอย่างอุจจาระของแต่ละคน และหลังจากนั้นในตอนท้ายของช่วงเวลาของการอดอาหารแบบอิสลามนี้เราก็ได้นำตัวอย่างอุจจาระไปตรวจอีกครั้ง ตรวจทั้งก่อนและหลัง สำหรับระดับคลอเลสเตอรอลทั้งหมดและระดับน้ำตาลในเลือดผลตรวจออกมาในแนวทางที่ดีมากในช่วงเวลานี้ แต่เมื่อเรามาถึงการตรวจตัวอย่างจุลินทรีย์ในลำไส้ (gut microbiota) จริง ๆ แล้วผลการตรวจเหล่านี้ออกมาน่าสนใจมาก” Dr. Meltem กล่าว

Gut flora หรือ Gut microbiota คือจุลินทรีย์ในลำไส้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ซับซ้อนของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในเมตาบอลิซึมและมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของเรา มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย โดยช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ช่วยสร้างวิตามิน ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และช่วยปกป้องร่างกายจากการบุกรุกโดยเชื้อโรคภายนอก

Dr. Meltem อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “เราพบว่าชนิดของแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องเป็นแบคทีเรียชนิดที่ดีสำหรับจุลินทรีย์ในลำไส้ และแบคทีเรียชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญอาหารของลำไส้เราพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทางที่เหมาะสมต่อจุลินทรีย์ในลำไส้มากในช่วงเวลาเช่นนี้”

“ดิฉันคิดว่าเราต้องกลับมาคิดถึงจำนวนช่วงเวลาในการรับประทานอาหาร ดังนั้นความหิวจึงเป็นตัวแปรที่ดีมากสำหรับเรา อาหารหลักสามมื้อนี้ไม่เหมาะกับผู้ใหญ่มากนัก จริง ๆ แล้วอาหารมื้อหลักสองมื้ออาจจะเหมาะสมกว่า ผลลัพธ์จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นผลเช่นนี้จริง ๆ” เธอกล่าวปิดท้าย

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก TRT World โดย Dr. Meltem Yalinay

รับประทานอาหารบางชนิดเฉพาะในเดือนเราะมะฎอนเป็น “อุตริกรรม” หรือไม่? หลักการอิสลามว่าอย่างไร?

ในช่วงเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ พวกเรามีอาหารบางชนิดไว้รับประทานในช่วงเดือนนี้เป็นการเฉพาะในประเทศอียิปต์ เช่น kunafah (ขนมเป็นเส้นๆเหมือนหมี่กรอบ) qatayef (แพนเค้กอาหรับ) qamar ad-deen (น้ำผลไม้จากผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีสีเหลืองส้มมีรสหวาน) yamish (ผลไม้และถั่วแห้งรวมผสมกับนม) เป็นต้น นักศึกษาคนหนึ่งในเขตพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่กล่าวว่า ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารเหล่านี้ในเดือนแห่งการอิบาดะฮฺ(เคารพสักการะ)เป็นการเฉพาะเจาะจง เนื่องจากประเพณีบางอย่างที่กระทำเฉพาะเจาะจงในเดือนแห่งการอิบาดะฮฺถือว่าเป็นอุตริกรรมประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดในการถือศีลอด ดังนั้นมันจึงไม่มีเหตุผลและความชอบธรรมด้วยหลักการอันใดที่จะรับประทานเฉพาะเดือนนี้ เขากล่าวว่าการรับประทานอาหารเหล่านี้ถือว่า “หะรอม” ในเดือนรอมฎอน ยกเว้นเดือนอื่นๆ และเขาบอกว่าเขาได้อ่านฟัตวาจากผู้รู้ท่านหนึ่งในอียิปต์กล่าวอย่างนั้น ดังนั้นหลักการในเรื่องนี้คืออะไร?

ด้วยกับประเพณีที่มีบางคนรับประทานอาหารบางประเภทในช่วงเดือนนี้ถือว่าไม่เป็นความผิดแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นของหวานหรือสิ่งอื่น ๆ ก็ตาม และมันไม่ได้จัดอยู่ในประเภทอุตริกรรมอย่างแน่นอน เนื่องจากว่าพวกเขาไม่ได้แสวงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺด้วยอาหารเหล่านี้เป็นการเฉพาะในเดือนนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องของขนบธรรมเนียมและประเพณี

การอุตริกรรมจะต้องกระทำด้วยการเพิ่มสิ่งต่างๆเข้าไปในศาสนา เนื่องจากท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดประดิษฐ์ขึ้นในกิจการของเรา ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในนั้น มันจะถูกปฏิเสธ” [รายงานโดย อิหม่าม บุคอรียฺ (2697) และอิหม่าม มุสลิม (1718)]

และท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) กล่าวว่า “ผู้ใดที่กระทำการงานหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นกิจการงานของเรา ดังนั้นมันจะถูกปฏิเสธ” [รายงานโดย อิหม่ามมุสลิม (1718)]

อุตริกรรมที่ต่อเติมขึ้นมาเป็นเสมือนดั่งที่อิหม่าม อัช-ชาฏีบียฺ กล่าวไว้ว่า “แนวทางอุตริกรรมที่เพิ่มเติมขึ้นมาในศาสนาจะเป็นเหมือนกับแนวทางที่ถูกกำหนดขึ้น (จากตัวบท) จุดมุ่งหมายในการประพฤติปฏิบัติในเรื่องบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) ย่อมไม่แตกต่างกับจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติต่อสิ่งที่ถูกกำหนดไว้เช่นกัน”

ตัวอย่างประการหนึ่งคือ การกระทำอิบาดะฮฺที่เฉพาะในช่วงเวลาที่เฉพาะโดยไม่มีหลักฐานจากตัวบทของหลักการอิสลาม เช่น การถือศีลอดในวันที่ 15 เดือนชะอฺบานและการยืนละหมาดในค่ำคืนวันที่ 15 ของเดือนเดียวกัน [คัดมาจากอัล-อิอฺติศอม (51/1)]
.
สำหรับการยึดมั่นกับขนบธรรมเนียมและประเพณีบางอย่างในช่วงเวลาหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกรวมอยู่ในนิยามของคำว่า “บิดอะฮฺ” (การอุตริกรรม) แต่อย่างใด
.
ในศอฮี้ยฺ อัล-บุคอรียฺ (5403) มีรางานงานว่า ซะฮฺลฺ บิน ซะอฺดฺ กล่าวว่า “เราต่างเฝ้ารอคอยวันศุกร์ เนื่องจากมีหญิงชราคนหนึ่งที่เรารู้จักคุ้นเคยดีได้เอารากของต้นผักกาด (อุศูล อัล ซิลกฺ) และใส่มันเขาไปในหมอหุงต้มของเธอที่มีข้าวบาร์เล่ย์ เมื่อเราละหมาดเสร็จเรียบร้อย เราได้ไปหาเธอและเธอได้นำอาหารนั้นมาให้เรารับประทาน เราต่างเฝ้ารอคอยวันศุกร์เนื่องจากสิ่งนี้ และเราจะไม่รับประทานอาหารเที่ยงหรืองีบหลับหลังจากละหมาดวันศุกร์ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺในอาหารนี้ไม่มีไขมัน”
.
ในหะดีษนี้ เราจะเห็นว่า ศอฮาบียะฮฺผู้หญิงคนนี้เคยทำอาหารประเภทหนึ่งเฉพาะวันศุกร์เท่านั้น และบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ต่างเฝ้ารอวันศุกร์และรู้สึกมีความสุขเมื่อวันศุกร์มาถึงอันเนื่องจากอาหารชนิดนี้ พวกเขารับประทานในบ้านของนาง ดังนั้นจะกล่าวว่านี่เป็นบิดอะฮฺ (อุตริกรรม) ได้หรือไม่?

หรือ อะไรคือความแตกต่างระหว่างอาหารที่ถูกทำในเดือนเราะมะฎอนที่เป็นไปตามประเพณีกับสิ่งที่บรรดาเศาะฮาบะฮฺ (มิตรสหาย) ของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เคยรับประทาน (อาหารบางอย่างเฉพาะ) ในวันศุกร์?

เชค มุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม (รฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า “หากเราให้ความสนใจกับสิ่งที่ถูกกล่าวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณีที่เป็นอุตริกรรมที่ถูกต่อเติมขึ้น ดังนั้นทุกสิ่งย่อมไม่ได้มีอยู่ในช่วงสมัยของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม และช่วงสมัยของบรรดาเศาะฮาบะฮฺแต่เพียงเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และยานพาหนะและเครื่องมือต่างๆที่นำมาใช้ในชีวิตหลังจากนั้นต่อมา ซึ่งจะนับว่าเป็นอุตริกรรมที่น่าตำหนิด้วยกระนั้นหรือ!”

ความเชื่อเช่นนี้บกพร่องและคลาดเคลื่อนและสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้ในเรื่องรากฐานและเป้าหมายของอิสลามโดยสิ้นเชิง

วจนะของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ที่กล่าวถึงความหมายของอุตริกรรมนั้นชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง

เป็นที่ชัดเจนแล้วสำหรับคนที่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าความหมายของคำว่าอุตริกรรมหรือกิจการที่เพิ่มเติมที่ถูกปฏิเสธนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา อันเป็นการเพิ่มเติมสิ่งต่าง ๆ เข้าไปในศาสนาหรือยึดมั่นกับแนวทางบางอย่างที่ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) ไม่ได้ยึดมั่นไว้ [อ้างจาก ฟะตาวา เชค มุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม (2/128)]

เชค มุฮัมมัด อุษัยมีน (รฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างประเพณีกับการอิบาดะฮฺ (การเคารพสักการะบูชา) การอิบาดะฮฺนั้นคือสิ่งที่อัลลอฮฺและศาสนฑูตของพระองค์ได้กำหนดไว้เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดและรางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ สำหรับประเพณีนั้นมีสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้คนต่างกระทำตามธรรมเนียมปฏิบัติทั้งในเรื่องของอาหาร เครื่องดื่ม ที่พักอาศัย การสวมเสื้อผ้า ยานพาหนะตลอดจนการปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เป็นต้น”

ยังมีข้อแตกต่างอื่นๆที่เป็นการปฏิบัติอิบาดะฮฺในเรื่องพื้นฐานซึ่งไม่เป็นที่อนุญาตและเป็นที่ต้องห้าม

นอกจากจะมีหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นอิบาดะฮฺที่ถูกต้อง เพราะอัลลอฮฺ ตะอาลากล่าวว่า “หรือว่าพวกเขามีภาคีต่าง ๆ ที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติ” [42:21].

สำหรับเรื่องขนบธรรมเนียมและประเพณีนั้นเป็นที่อนุญาตตามหลักการ นอกจากว่ามีหลักฐานพิสูจน์ว่ามันไม่เป็นที่อนุญาต

สำหรับเรื่องนี้ ถ้าผู้ที่มีขนบธรรมเนียมหรือประเพณีที่พวกเขาดำเนินตามและมีบางคนบอกกับพวกเขาว่ามันเป็นที่ต้องห้าม ดังนั้นเขาจะต้องหาหลักฐานมายืนยันจะมีคนถามเขาว่า “ไหนหลักฐานที่ว่ามันเป็นที่ต้องห้าม?”

สำหรับเรื่องการทำอิบาดะฮฺ ถ้ามีคนกล่าวว่าการทำอิบาดะฮฺดังกล่าวนี้เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) และเขากล่าวยืนยันว่ามันไม่ใช่บิดอะฮฺ เราจะต้องถามเขาว่า “ไหนหลักฐานที่บอกว่าไม่ใช่บิดอะฮฺ” เนื่องจากตามหลักการแล้วการทำอิบาดะฮฺขึ้นมาลอย ๆ จะเป็นที่ต้องห้าม จนกว่าจะมีหลักฐานชี้ให้เห็นว่ามันถูกต้องตามหลักการ” [จาก ลิกออฺ อัล-บาบ อัล-มัฟตูหฺ (2/72)]

เขากล่าวเช่นกันว่า “สำหรับเรื่องบิดอะฮฺตามหลักการแล้ว คือการทำอิบาดะฮฺในสิ่งที่อัลลอฮฺมิได้บัญญัติไว้”

ถ้าท่านต้องการที่จะกล่าวว่า การทำอิบดาะฮฺต่ออัลลอฮฺในสิ่งที่ท่านท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) หรือบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรมที่ได้รับการชี้นำไม่ได้ยึดถือปฏิบัติ ดังนั้นแต่คนที่ทำการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺด้วยประการหนึ่งที่อัลลอฮฺไม่ได้กำหนดหรือกระทำบางสิ่งบางท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) หรือบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรมที่ได้รับการชี้นำที่สืบทอดจากท่านไม่ยึดถือปฏิบัติย่อมเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ)อย่างแน่นอน ไม่ว่าการทำอิบาดะฮฺนั้นจะเกี่ยวโยงกับพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺหรือเกี่ยวโยงกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของพระองค์ก็ตาม …

แต่สำหรับกิจการงานโดยทั่ว ๆ ไปที่กระทำด้วยกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เหล่านี้ไม่สามารถเรียกว่า “อุตริกรรม” ในศาสนาได้เป็นแน่ แม้ว่าในทางภาษามันจะถูกเรียกว่า “อุตริกรรมหรือนวัตกรรมใหม่” ก็ตาม แต่มันไม่ใช่ “อุตริกรรม” ในทางศาสนาแต่อย่างใด และมันไม่ใช่สิ่งที่ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม) คอยตักเตือนเรา [อ้างจาก มัจญมูอฺ ฟะตาวา วะ เราะซาอิล อิบนุ อุษัยมีน (2/292)]

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก Islam Q&A

ให้รอมฎอนนี้เป็นการเริ่มต้นเส้นทางสู่สุขภาพของคุณ

“ในอเมริกา ผู้คนจำนวนหนึ่งในสามเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง หนึ่งในสามคนเป็นโรคภูมิแพ้ หนึ่งในสิบคนจะเป็นแผลเปื่อยเรื้อรัง และหนึ่งในห้าคนป่วยเป็นโรคจิต ในแต่ละปีหนึ่งในห้าจากหญิงตั้งครรภ์จบลงด้วยการคลอดก่อนกำหนด และหนึ่งในสี่ของทารกนับล้านเกิดมาพร้อมกับความพิการแต่กำเนิด ชาวอเมริกันใช้จ่ายหนึ่งดอลลาร์จากทุก ๆ สิบสี่ดอลลาร์สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ เราเกือบลืมไปแล้วว่าสภาพธรรมชาติของเราเป็นหนึ่งในความสมดุล ความครอบคลุมสมบูรณ์ และความมีชีวิตชีวา” Fallon, 2001

ออทิสติก ภูมิต้านตนเอง โรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการในเด็ก โรคอัลไซเมอร์ และอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังเป็นโรคใหม่ทั้งหมดในยุคของเรา

ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าเราได้มีผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเป็นจำนวนมาก

การเพิ่มขึ้นของโรคของความเสื่อมเหล่านี้ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของออทิสติกทำให้ ดร.แมรี่ มีกสัน ยืนยันว่าเราได้เปลี่ยนแปลงชุดของดีเอ็นเอ(genome)ในมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างมากกับอาหารที่เราเลือกรับประทานและเลือกที่จะไม่รับประทาน ซึ่ง Weston A. Price ได้เน้นความสัมพันธ์นี้อย่างยิ่งในงานวิจัยของเขา

Dr. John Abramson ศาสตราจารย์โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดกล่าวในหนังสือของเขาเรื่อง Overdosed America ว่าอัตราของโรคมะเร็ง และโรคหัวใจลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เรียบง่าย เช่น อาหารการกินแทนที่จะเป็นการแทรกแซงทางการแพทย์

แต่คนส่วนใหญ่มองหาตัวยาที่จะแก้ปัญหาความเจ็บป่วย แทนที่จะมองหาอาหารทางเลือก มันง่ายกว่าที่จะรับประทานยาเม็ดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนอาหารการกินของคุณ
.
การเลอกรับประทานอาหารส่วนใหญ่ที่ผู้คนทำคือความผิดพลาดรูปแบบต่าง ๆ ในการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของวิถีชีวิตที่นำไปสู่โรค สิ่งเหล่านี้คืออาหารลดความอ้วน (diet fads) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุตสาหกรรมอาหารในเชิงพาณิชย์มากกว่าวิทยาศาสตร์

จำได้ไหมว่าเมื่อเราทุกคนได้รับแนะนำให้กินเนยเทียม (margarine) แทนเนย และปรากฎว่าเราทุกคนบริโภคเนยได้ดีกว่า เพราะเนยเทียมอาจทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง

ไขมันอิ่มตัวไม่เลวร้ายสำหรับเรา แต่น้ำมันเติมไฮโดรเจนที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นต่างหากที่ก่อให้เกิดโรคเสื่อม

การศึกษาส่วนใหญ่ที่สรุปว่าไขมันอิ่มตัวนั้นเป็นน้ำมันที่ไม่ดี ศึกษาจากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ไม่ใช่เนย น้ำมันหมู หรือน้ำมันมะพร้าว

งานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาทดลองในสัตว์ซึ่งพยายามลดความเชื่อถือในการใช้น้ำมันมะพร้าว โดยให้หนูกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันมะพร้าว ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้กิน (พวกมันกินอาหารไขมันต่ำ)
.
นักวิจัยก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง และฉีดคอเลสเตอรอลระดับสูงให้หนูเสมือนว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และในตอนท้ายของการศึกษากลุ่มควบคุมยังคงอ้วนกว่า

ทั้ง Dr. Abramson และอดีตบรรณาธิการวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ Dr. Marcia Angel ยืนยันว่า “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้มีการจัดทำขึ้น” การศึกษา Framingham ที่มักได้รับการอ้างถึงบ่อยที่สุดว่าเป็นสาเหตุของคอเลสเตอรอลและไขมันที่ลดลงแสดงให้เห็นถึงปริมาณของคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นจะทำให้สุขภาพดีขึ้น

ปริมาณแคลอรี่ไม่ได้เป็นปัญหาในการลดหรือเพิ่มน้ำหนัก ปัญหาคือผู้คนบริโภคแคลอรี่จำนวนมากเกินไปที่ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ได้บริโภคแคลอรี่ที่เหมาะสมเพียงพอ

การจำกัดแคลอรี่ไม่ได้เป็น “มาตรฐานทองคำ” ของโปรแกรมที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มันเป็นอาหารทางเลือกที่เราทำ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสุขภาพหรือความเสื่อมของเรา การรับประทานแคลอรี่ที่ดีต่อสุขภาพนั้นสำคัญกว่าการเป็นมนุษย์ช่างคำนวน

ให้เดือนรอมฎอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางของคุณกลับสู่การมีสุขภาพที่ดี โดยทำการเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ ในอาหารการกินของคุณเพื่อให้ได้หลักการของการรับประทานเพื่อสุขภาพตามที่นักวิจัย แพทย์ และนักโภชนาการหลายท่านได้กำหนดไว้ ใช้ข้อมูลเหล่านี้กับอาหารจานโปรดของคุณในเดือนรอมฎอน

1. แทนที่น้ำมันปรุงอาหาร “ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ” เช่น คาโนลาข้าวโพด และน้ำมันพืชอื่น ๆ ด้วยน้ำมันเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าว และเนย ในที่นี่กำลังพูดถึงน้ำมันปรุงอาหาร คุณไม่สามารถให้ความร้อนน้ำมันมะกอก น้ำมันเหล่านี้ไม่เพียง แต่ก่อให้เกิดการอักเสบเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ตัวบ่งชี้ที่สามารถตรวจพบได้ทั้งหมดของโรคภูมิต้านตนเอง โรคเบาหวานประเภท 2 และมะเร็ง

2. เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ การปรุงเนื้อสัตว์และผักให้สุกเกินไปทำให้ยากต่อการย่อย เพราะเอนไซม์ทั้งหมด “ถูกทำให้สุก” สารอาหารส่วนใหญ่ก็ถูกทำให้สุกเช่นกัน

3. สีขาวคือหมด สีน้ำตาลคือยังอยู่ หลีกเลี่ยงข้าว น้ำตาล และแป้งขัดขาว แทนที่ด้วยข้าวกล้อง และพาสต้าสีน้าล พาสต้าและข้าวสีขาวมีส่วนในการเกิดการอักเสบ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องลดอาหารเหล่านี้ในสภาวะ เช่น โรคภูมิต้านตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่มากเป็นอันดับสี่หลังจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ข้าวขาวยังเป็นสารอาหารที่มีค่าสูงในดัชนีไกลโคลิก และควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานจากภาวะน้ำตาลในเลือด ซินโดรมเอ็กซ์ (syndrome X) และโรคเบาหวานทั้งสองชนิด

4. ใส่เกลือทะเล สาหร่ายทะเล และหน่อไม้ฝรั่งลงในน้ำซุปปรุงอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเป็นพิเศษ ฉันได้รวมไว้ในหลายสูตรเหล่านี้

5. งดโซดา ชาดำ และกาแฟ เครื่องดื่นเหล่านี้ล้วนเป็นยาขับปัสสาวะ
เดือนรอมฎอนไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทาน ตรงกันข้ามกับการปฏิบัติที่ได้รับความนิยม และทำหน้าที่เตือนเราว่า รู้สึกอย่างไรในยามหิวโหย และทำให้ร่างกายหยุดพักจากการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่อง

อย่าใช้เวลาทั้งหมดอยู่ในครัว หากฉันไม่ตั้งครรภ์ฉันจะไม่ปรุงเนื้อสัตว์ตลอดทั้งเดือน ฉันจะรอจนกว่าจะถึงวันอีด กล่าวบิสมิลลาห์ ซิกรฺ ตัสบีฮฺ หรือดุอาอ์ในขณะที่คุณเตรียมอาหารของคุณและเติมแต่งอาหารของคุณด้วยความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ

…………………………………………………………..……………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net โดย Anisa Abeytia

References:
• Angell, Marcia. “The Truth About the Drug Companies: How They Deceive Us and What to Do About It.” Random House, 2005.
• Abramson, John. “Overdosed America: The Broken Promise of American Medicine.” HarperCollins, 2004. Fallon, Sally. “Nourishing Traditions.” New Trends Publishing, 2001. Washington D.C.
• Megson, Mary. “All About Autism.” Designs for Health Professional Resources. March 29, 2006.
• Price, Weston, A. “Nutrition and Physical Degeneration.” 6th edition Keats Pub, 2003.

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน H-NUMBER เพื่อลดค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการสินค้าฮาลาล

Halal Tech News : คอลัมน์ HALAL LANNA ในวารสาร Halal Insight ฉบับที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันค้นหาวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลที่ใช้ชื่อว่า H number Application เพื่อค้นหาข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการในการลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบสถานะฮาลาลของวัตถุเจือปนอาหารบางประเภทในกระบวนการตรวจรับรองฮาลาล

ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลนอกจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองแล้ว การเตรียมการก่อนการรับรองฮาลาลก็มีค่าใช้จ่ายในการยืนยันสถานะฮาลาลของแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือวัตถุเจือปนอาหารบางประเภทอีกด้วย ซึ่งวัตถุเจือปนอาหารโดยส่วนใหญ่ผลิตจากธรรมชาติ จากแร่ธาตุและจากการสังเคราะห์ ขณะเดียวกันก็มีหลายบริษัทที่มีการตรวจสอบและรับรองสถานะฮาลาลทั้งจากในและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้วิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลขึ้นโดยใช้ชื่อว่า H-Number ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ที่จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและจะสร้างประโยชน์ในการค้นหาวัตถุเจือปนอาหารของผู้บริโภคโดยทั่วไปอีกด้วย

::วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) คืออะไร?::
วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง วัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสี การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุการเก็บรักษา หรือการขนส่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร รวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารแต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะใส่ร่วมกับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย โดยกำหนดเป็นรหัสของวัตถุเจือปนอาหารอย่าง E-Number หรือ INS โดยจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆเช่น E/INS 100-199 เป็นกลุ่มรหัสของสีผสมอาหาร, E/INS 200-299 กลุ่มรหัสของวัตถุกันเสีย, E/INS 300-399 กลุ่มรหัสของสารต้านออกซิเดชันและสารควบคุมกรด, E/INS 400-499 กลุ่มรหัสของสารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวและอิมัลซิไฟเออร์, E/INS 500 – 599 กลุ่มรหัสของสารควบคุมกรดและสารเพิ่มความคงตัว, E/INS 600 – 699 กลุ่มรหัสของสารเพิ่มกลิ่นและรสชาติ, E/INS 700-799 กลุ่มรหัสของสารฆ่าเชื้อ เป็นต้น

::E- Number/INS ฮาลาลหรือไม่?::
E-number/INS เกือบทั้งหมดนั้นโดยพื้นฐานแล้วได้รับอนุญาตและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศมุสลิม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าวัตถุเจือปนอาหารทั้งหมดนั้นจะฮาลาลเสมอไป สารเติมแต่งจำพวกกรดไขมันจำนวนมาก ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต และเป็นเรื่องกังวลสำหรับผู้บริโภคมุสลิม ถึงแหล่งที่มาของสารเติมแต่งเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลขึ้น

::จาก E-Number สู่ H-Number::
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน และทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหรือที่เรียกว่า H-Number ขึ้น โดยเริ่มทำการศึกษาจากฐานข้อมูล E-Number ในแต่ละกลุ่ม เริ่มต้นตั้งแต่การค้นคว้าเอกสาร ตำราต่างๆไปจนถึงการสัมภาษณ์ การตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยแบ่งหมวดหมู่ของวัตถุเจือปนอาหารออกเป็น 3 หมวดหมู่ ดังต่อไปนี้

1. Halal Ingredients by Fatwa คือวัตถุดิบที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี หรือสกัดได้จากพืช ที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลได้และมีการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรีอีกด้วย

2. Halal Ingredients by Certification การผลิตวัตถุดิบกลุ่มนี้อาจมีขั้นตอนที่อาจเกิดการปนเปื้อนได้ ดังนั้นจะต้องมีการรับรองจากองค์กรศาสนา การรับรองวัตถุดิบกลุ่มนี้จะต้องมีการตรวจสอบว่าบริษัทใดหรือยี่ห้อใดบ้างที่ได้รับการรับรองฮาลาล ซึ่งในแอปพลิเคชันนี้ ได้รวบรวมข้อมูลการผลิต บริษัทที่ผลิต รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมในการติดต่อเพื่อนำมาใช้เพื่อการผลิตอาหารฮาลาล

3. Mashbooh Ingredients กลุ่มที่สถานะยังคลุมเครือ สงสัย เนื่องจากวัตถุดิบกลุ่มนี้อาจได้มาจากกระบวนการผลิตที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนด้วยสิ่งต้องห้ามหรือไม่มีการรับรองฮาลาลจากองค์กรศาสนา จึงไม่แนะนำให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล

::การพัฒนาแอปพลิเคชัน H-Number::
แอปพลิเคชัน H-Numbers ได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นเว็บแอปพลิชันและโมบายแอปพลิเคชัน H Number โดยทีมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานเชียงใหม่ ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอาหารฮาลาลในยุคดิจิตอล เพื่อเป็นระบบตรวจสอบข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารจาก E-Number สู่ฐานข้อมูล H-Number ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาล โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลสถานะและการรับรองของวัตถุเจือปนอาหารนั้นๆ และรายชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้ประกอบการผลิตอาหารฮาลาลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการขอรับรองหรือตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลในการยืนยันสถานะฮาลาลของวัตถุเจือปนอาหารบางรายการ โดยท่านสามารถค้นหาผ่านทางเว็บแอปพลิเคชัน http://h4e.halalthai.com/ หรือผ่านทางโมบายแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “H numbers Application” ได้

…………………………………………….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี

ที่มา…
http://food.fda.moph.go.th/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1683/e-number
http://www.halalscience.org/library_online/home/read_online/41
http://maansajjaja.blogspot.com/

HALAL BLOCKCHAIN การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับห่วงโซ่อุปทานฮาลาล

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท IBM ได้เปิดตัวระบบเครือข่ายติดตามอาหารโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่เรียกว่า IBM Food Trust หลังผ่านการทดสอบมาเป็นระยะเวลา 18 เดือน โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอาหารและค้าปลีกของโลกเข้าร่วมใช้เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารฮาลาล ได้มีการประชุมครั้งใหญ่เกี่ยวกับ Halal Blockchain เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ณ ประเทศมาเลเซียที่ผ่านมา การประชุมใหญ่ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ห่วงโซอุปทานฮาลาลในปัจจุบันมีปัญหาหรือข้อบกพร่องเช่น การตรวจสอบย้อนกลับ การเรียกคืนสินค้า การขนส่ง คลังสินค้า ความสมบูรณ์ของห่วงโซ่จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ระบบมาตรฐานและการตีความฮาลาลของตลาดที่แตกต่างกันและขาดการบูรณาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีอย่าง Blockchain มาใช้จัดการเรื่องฮาลาล จะช่วยการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น

:: Blockchain คืออะไร ? ::

Blockchain เป็นเทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4 โดยเป็นการจัดเก็บบันทึกการทำธุรกรรมดิจิตอลทั้งหมดให้เป็นสาธารณะ โดยทุกแหล่งเก็บบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า Block จะมีกลไกเชื่อมต่อข้อมูลร้อยเรียงเป็นสายคล้ายกับดีเอ็นเอ โดยจะไม่ถูกจัดเก็บรวมศูนย์ไว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่จะกระจายอยู่ในเซิร์ฟเวอร์หลายแห่งทั่วโลกด้วยการเข้ารหัส แหล่งเก็บฐานข้อมูลที่กระจายทำให้มีความน่าเชื่อถือ เพราะทุกคนสามารถตรวจสอบได้และไม่ได้จำกัดให้ผู้ใช้คนเดียวมีอำนาจควบคุมข้อมูลดิจิตอลแต่เพียงผู้เดียว

:: วิสัยทัศน์ของห่วงโซ่อุปทานฮาลาลด้วยเทคโนโลยี Blockchain ::

เป็นการจัดเก็บข้อมูลประเภทดิจิตอลแบบกระจายส่วน ข้อมูลทางธุรกรรมที่ถูกบันทึกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเหมือนบล็อกที่ถูกประกอบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยข้อมูลธุรกรรมชุดใหม่ที่ได้รับการบันทึกเพิ่มเข้ามา บล็อกเชนฮาลาลจึงมีข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่แหล่งที่มาจนถึงปลายทางที่เป็นการซื้อขายของผู้บริโภค เนื่องจากฐานข้อมูลของบล็อกเชนฮาลาลจะถูกแบ่งปันโดยทุกสถานี (Node) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานฮาลาล ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลจึงกระทำได้โดยง่ายเพียงแค่สแกนรหัสคิวอาร์ (QR-code) ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ ในบล็อกเชนคุณสามารถตรวจสอบและระบุกลุ่มที่ฉ้อฉลได้อย่างง่ายดาย เทคโนโลยีนี้จึงขัดขวางไม่ให้อุตสาหกรรมทำการฉ้อฉลในห่วงโซ่อุปทานฮาลาล ในขณะเดียวกันระบบก็จะช่วยจัดอันดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้เข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานฮาลาลอื่นๆ ตามลำดับประสิทธิภาพในการให้บริการของพวกเขา

:: หลักการออกแบบ Halal Blockchain ::

วัตถุประสงค์หลักที่ทำให้การดำเนินการบล็อกเชนฮาลาลนั้นประสบความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ไว้วางใจได้ของห่วงโซ่อุปทานฮาลาล กระบวนการฮาลาลที่มีประสิทธิภาพจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ความยั่งยืนของห่วงโซ่ ความเชื่อมั่นของแบรนด์ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

หลักการสำคัญของบล็อกเชนฮาลาล ประการแรกคือ บล็อกเชนฮาลาลจะรวมเอาสำนักทางนิติศาสตร์ (มัซฮับ) ที่แตกต่างกันของตลาดปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักคิดทางศาสนา คำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) และประเพณีท้องถิ่นต่างๆ บล็อกเชนฮาลาลควรสัมพันธ์ได้ทั้งกับประเทศมุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ข้อกำหนดการรับรองฮาลาลของตลาดปลายทางและการยอมรับร่วมกันนั้น เป็นหลักการออกแบบที่สำคัญสำหรับบล็อกเชนฮาลาล ผู้เข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานจะได้รับการจัดตำแหน่งและแจ้งข้อมูลให้ทราบโดยอัตโนมัติถึงการปฏิบัติตามกระบวนการบนพื้นฐานของทัศนภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่อาจมีลักษณะเฉพาะ ยิ่งกว่านี้ ความถูกต้องและความปลอดภัยของบล็อกเชนฮาลาลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับ รวมถึงการลดโอกาสและผลกระทบจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ให้อยู่ในระดับต่ำมากที่สุด

ไม่ว่าผู้ผลิต เจ้าของแบรนด์ และผู้ค้าปลีก ล้วนได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาลทั้งสิ้น โดยเฉพาะความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน ความได้เปรียบในการทำงานร่วมกัน ทั้งแบบที่ผ่านการทำงานร่วมกันในแนวตั้งและแนวนอน การสร้างมาตรฐานของสินทรัพย์ฮาลาล และการบริหารความเสี่ยง ชื่อเสียง และความไว้วางใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และผู้จัดจำหน่ายจึงได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ฮาลาลได้ดีขึ้น การรวมสินค้าฮาลาลและมูลค่าเพิ่มใหม่ของโลจิสติกส์และการบริการ การทำให้เกิดการไหลเวียนธนบัตรเป็นแบบดิจิตอล และการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ส่วนหน่วยงานรับรองฮาลาลจะได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานฮาลาลที่มีความง่ายยิ่งขึ้น และการสนับสนุนอย่างรวดเร็วสำหรับอุตสาหกรรมในกรณีที่มีปัญหาหรือเกิดวิกฤตเกี่ยวกับฮาลาล

:: บทสรุปและข้อเสนอแนะ ::

บล็อกเชนฮาลาลให้ประโยชน์ที่ชัดเจนต่อผู้ผลิต เจ้าของแบรนด์ ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และหน่วยงานรับรองฮาลาล เพื่อสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ฮาลาลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น หน่วยงานรับรองฮาลาลควรใช้เทคโนโลยีใหม่นี้เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาลเพื่อให้จัดการกับปัญหาหรือที่แย่ที่สุดคือวิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมฮาลาล ควรสนับสนุนให้มีการรับรองฮาลาลของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้นในกระบวนการขนส่งและจัดเก็บสินค้าที่อยู่ปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทาน การสร้างระบบที่สอดประสานกันและการสร้างมาตรฐานของห่วงโซ่อุปทานฮาลาลที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในอนาคตที่กำลังมาถึง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาลและห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ทั่วโลก

………………………………………………………………………….………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
ที่มา :

ได้ชื่อว่าอาหารขยะ แต่เราก็ยังกินมันอีกหรือ?

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (ระดับความดันของเลือดที่สูงขึ้น) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

กำไรของห่วงโซ่อาหารฟาสต์ฟู้ด (อาหารจานด่วน) ในอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ได้ทำเงินหลายพันล้านดอลลาร์ทุก ๆ ปี พร้อม ๆ กับผู้บริโภคที่หิวโหยทั่วโลกยังคงต่อแถวซื้อแฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนช์ฟรายและโซดา ประชาชนที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบในศตวรรษที่ 21 ได้ใช้เงินมากขึ้นพร้อม ๆ กับเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการกินอาหารขยะ

อาหารขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยไขมันและเกลือ ฟาสต์ฟู้ดไม่มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าส่วนประกอบดังกล่าว ชาวอเมริกันรับประทานมันเพื่อความเพลิดเพลินในรสชาติที่เอร็ดอร่อย ซึ่งประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการปรุงอาหารของพวกเขา ผู้ที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเพียงเพื่อเลียนแบบพฤติกรรมของชาวอเมริกัน เพราะมันดูเท่ห์และมีความทันสมัย คนทั้งสองกลุ่มนี้กำลังทำอันตรายต่อสุขภาพตนเองอย่างร้ายแรง

:: ฟาสต์ฟู้ด = อาหารแปรรูป ::

โดยทั่วไปแล้วฟาสต์ฟู้ดนั้นเป็นอาหารแปรรูป แล้วอาหารแปรรูปคืออะไร ? อาหารแปรรูปคืออาหารที่ได้รับการดัดแปลงจากกรรมวิธีทางธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจำนวนมากที่มีการเติมสารปรุงแต่งอาหารทั้งที่มาจากกระบวนการทางธรรมชาติและทางเคมี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายไม่หลงเหลือสารอาหารตามธรรมชาติ เช่น วิตามิน แร่ธาตุและเอนไซม์ต่าง ๆ

นอกเหนือจากทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยแล้ว สารปรุงแต่งยังช่วยรักษาอายุของผลิตภัณฑ์ให้มีระยะเวลายาวนานขึ้น ซึ่งหมายความว่าอาหารแปรรูปมักได้รับการกักตุนไว้เป็นเวลานานก่อนที่จะนำไปซื้อขายและรับประทาน! สารปรุงแต่งอาหารจากธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุดคือ เกลือ น้ำตาลและน้ำส้มสายชู ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมาจากธรรมชาติ แต่การบริโภคในจำนวนที่มากเกินไปนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ลักษณะของอาหารขยะจะมีปริมาณของเกลือสูง (โซเดียมคลอไรด์) โซเดียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การบริโภคด้วยจำนวนที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ

นี่คือกรณีที่เกิดขึ้นกับวัตถุเจือปนอาหารที่สกัดจากธรรมชาติ นับประสาอะไรกับวัตถุเจือปนที่ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นมา? การปรากฏตัวของอาหารแปรรูปในรอบสามสิบปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ที่เทียบได้กับการระเบิดครั้งใหญ่ในกระบวนการเจือปนทางเคมีของอาหารที่มีสารเติมแต่ง

จากผลงานหนังสือติดอันดับขายดีที่ชื่อว่า ‘ฟาสต์ฟู้ด เนชั่น’ (‘Fast Food Nation’ หรือชื่อฉบับแปลภาษาไทยว่า ‘มหาอำนาจฟาสต์ฟู้ด’) เขียนโดย เอริค สลอซเซอร์ (Eric Schlosser) เขาได้เปิดเผยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจแก่สาธารณะชนชาวอเมริกันถึงสิ่งที่พวกเขาบริโภค เอริคได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานของเขาในโรงงานที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ว่าเขาได้ค้นพบว่าแท้จริงแล้วรสชาติของแมคโดนัลด์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างไร

กรรมวิธีการแปรรูปอาหารในปัจจุบันจะรวบรวมชิ้นส่วนอันมากมายของสัตว์หลากหลายชนิดไว้ในเบอร์เกอร์ชิ้นเดียว เบอร์เกอร์เนื้อวัวจะต้องถูกนำไปทอดในน้ำมันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 300 องศาเซลเซียส และกรรมวิธีนี้ก็เป็นกรรมวิธีที่นิยมในการผลิตอาหารฟาสต์ฟู้ดเกือบทุกประเภท ดังนั้นอาหารเหล่านี้จึงถูกเปลี่ยนคุณสมบัติให้ผิดไปจากลักษณะทางธรรมชาติดั้งเดิมและเป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่กล่าวถึงเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์ที่เผยให้เห็นกระบวนการแปรรูปและปัจจัยที่ทำให้รสชาติแตกต่าง เป็นเวลาหลายทศวรรษที่แมคโดนัลด์ปรุงเฟรนช์ฟรายด้วยส่วนผสมของน้ำมันฝ้าย 7% และไขมันวัวอีก 93% ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวทำให้รสชาติเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์มีเอกลักษณ์ และยังทำให้เฟรนช์ฟรายมีไขมันอิ่มตัวต่อออนซ์มากกว่าแฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ ในปี 1990 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปริมาณคอเลสเตอรอลในมันฝรั่งทอด แมคโดนัลด์จึงยอมเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชบริสุทธิ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ท้าทายบริษัทว่าจะมีกรรมวิธีการทอดอย่างไรให้ได้รสชาติของเฟรนช์ฟรายที่เหมือนเนื้อวัวละเอียดโดยไม่ต้องใช้ไขมันวัว การเข้าไปศึกษาดูส่วนผสมในเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์จะช่วยแสดงให้เราเห็นว่าปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างไร เมื่อมองไปยังท้ายรายการของส่วนผสมเราจะเห็นวลีที่ดูเหมือนจะธรรมดาแต่ก็ดูลึกลับแบบแปลก ๆ ว่า “วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ” ส่วนผสมข้อนี้เองที่ช่วยอธิบายว่าทำไมเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์จึงมีรสชาติที่เอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ

วัตถุเจือปนอาหารได้เข้ามาแทรกแซงในทุกอณูของสิ่งที่เราดื่มและรับประทาน นับแค่ความอันตรายที่เกิดจากส่วนประกอบทางเคมีในน้ำอัดลมที่ใช้สารเติมแต่งของเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกนั้นก็ไม่ค่อยจะปลอดภัยแล้ว น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน (Brominated Vegetable Oil : BVO) ถูกนำไปใช้ในการขจัดกลิ่นรสของน้ำมันที่อยู่ในน้ำอัดลม อีกทั้งยังทำให้น้ำอัดลมมีลักษณะเป็นฟองดังที่เรารู้จักกันดีในเครื่องดื่มเหล่านี้

สารตกค้างขนาดเล็กของ BVO จะติดตามไขมันในร่างกาย และยังไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่า BVO นั้นมีความปลอดภัย สารโบรมีนซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของ BVO นั้นมีคุณสมบัติเป็นพิษ เพียงสองถึงสี่ออนซ์ของตัวทำละลาย BVO จำนวน 2% ก็มีปริมาณเพียงพอแล้วที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กที่บริโภค

ข้อเท็จจริงน่าขันอีกอย่างที่เกี่ยวกับน้ำอัดลมคือ ไดเอทโค้กและไดเอทเป๊ปซี่ถือเป็นทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการไดเอท ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้ตระหนักว่าแทนที่จะเป็นน้ำตาลที่ใช้เป็นสารให้ความหวาน แต่พวกเขากลับใช้สารให้ความหวานเทียมอย่างเอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) ซึ่งมีส่วนให้เกิดภาวะซึมเศร้า อาการนอนไม่หลับ โรคทางระบบประสาทและอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ มากมาย แพทย์ยังเตือนว่าเอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) นั้นอาจเป็นสารก่อมะเร็ง

เราเห็นแล้วว่ารสชาติของอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกันสำหรับไดเอทที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี สารแต่งกลิ่นรสเทียมและสารปรุงแต่งที่ถูกเติมเข้าไปในอาหารผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย

:: ไขมันและน้ำตาล: เมื่อโรคอ้วนกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ::

กล่าวง่าย ๆ คืออาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมีไขมันและน้ำตาลสูง มีความหมายว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมีแคลอรีสูงและให้คุณค่าทางโภชนาการต่ำ นอกจากนี้ อาหารฟาสต์ฟู้ดยังมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากราคาถูกและสามารถทนต่อการปรุงอาหารในอุณหภูมิที่สูงได้ มีข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไขมันอิ่มตัวนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรมีปริมาณแคลอรี่น้อยกว่า 30% จากไขมัน หรือมีไขมัน 9 กรัมและ 270 แคลอรี่ แฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ได้ทะลุเพดาน 30% นี้ไปแล้ว แฮมเบอร์เกอร์ของเบอร์เกอร์คิงมีไขมัน 15 กรัมและ 320 แคลอรี่ หรือมีปริมาณแคลอรี่ 42% จากไขมัน ส่วนแฮมเบอร์เกอร์ของร้านอาหารชื่อดังเจ้าอื่น ๆ นั้นมีปริมาณแคลอรี่และเปอร์เซนต์ของไขมันมากกว่าสองเจ้าที่กล่าวมาเสียอีก

ดังนั้น แฮมเบอร์เกอร์จึงให้ปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายเราต้องการและปริมาณแคลอรี่ส่วนใหญ่นั้นก็มาจากไขมัน

เมื่อพูดถึงน้ำตาล ก็เพียงพอที่จะกล่าวได้ว่ากระป๋องน้ำอัดลมทั่วไปนั้นมีปริมาณน้ำตาลถึง 10 ช้อนชา

อาหารฟาสต์ฟู้ดจึงให้ปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ระบบของเราสามารถย่อยได้ และแคลอรี่ส่วนเกินเหล่านี้ก็จะถูกเก็บไว้ในร่างกายของเราในรูปแบบของไขมัน การจัดเก็บไขมันส่วนเกินในร่างกายจะนำไปสู่โรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนไม่เพียงแต่ป้องกันไม่ให้เรามีหุ่นที่ดีสมส่วนเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ต้องใช้อินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ

ยิ่งไปกว่านั้น โรคอ้วนยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและปากมดลูก

หากอาหารฟาสต์ฟู้ดและน้ำอัดลมเป็นสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตฉบับอเมริกันแล้ว จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมคนอเมริกันมากกว่าครึ่งหนึ่งถึงมีน้ำหนักมากเกินไป แท้จริงแล้วจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และสามัญสำนึกทั่วไปได้บ่งชี้ว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน

การบริโภคอาหารขยะไม่เพียงแต่หมายถึงปัญหาการรับประทานวัตถุเจือปนที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีที่ถูกเติมเข้ามาในอาหารระหว่างกระบวนการแปรรูป หรือไม่เพียงแต่หมายถึงปัญหาไขมันส่วนเกินและความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอ้วนเท่านั้น ปัญหาของอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นไกลกว่านั้นและมีความหลากหลายมากกว่านั้นมาก

“ไม่มีสองประเทศใดที่ทั้งสองต่างก็มีแมคโดนัลด์แล้วทั้งสองต่างก็เคยทำสงครามต่อกัน” โธมัส ฟรายด์แมน (Thomas Friedman) นักทฤษฎีโลกาภิวัตน์ที่มีชื่อเสียงและคอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร Foreign Affairs กล่าว

แม้ทฤษฎี McPeace (สันติภาพจากแมคโดนัลด์) ของฟรายด์แมนดูเหมือนจะป้องกันสงครามได้ แต่แมคโดนัลด์จะสามารถป้องกันโรคภัยที่เกิดจากอาหารขยะตามเมนูที่พวกเขาเสิร์ฟ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้หรือไม่?

………………………………………………………………………………………
อ้างอิง:
• com, “Obsessed by Fast Food: Will Fast Food Be The Death Of Us?”
• Better Health Channel.
• Kate, Siber, “Expansion of the Fast Food Industry,” commonsense, commonsense.com
• Hansler, Kathryn, “Think Fast: Surviving the Fast Food Jungle,”San Bernardino County.
infoplease.com
• “Processed Food and Junk Food.”
• Schlosser, Eric, “Why McDonald’s Fries Taste So Good,” The Atlantic Monthly, July 1, 2001.
• Friedman, Thomas, “Turning swords into beef-burgers.” The Guardian, December 19, 1996.

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
แปลและเรียบเรียงบทความนี้ถอดมาจากแฟ้มเก็บเอกสารของนิตยสาร Science
ที่มา: aboutislam.net โดย ซาร่า คุรชิด