ให้รอมฎอนนี้เป็นการเริ่มต้นเส้นทางสู่สุขภาพของคุณ

“ในอเมริกา ผู้คนจำนวนหนึ่งในสามเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง หนึ่งในสามคนเป็นโรคภูมิแพ้ หนึ่งในสิบคนจะเป็นแผลเปื่อยเรื้อรัง และหนึ่งในห้าคนป่วยเป็นโรคจิต ในแต่ละปีหนึ่งในห้าจากหญิงตั้งครรภ์จบลงด้วยการคลอดก่อนกำหนด และหนึ่งในสี่ของทารกนับล้านเกิดมาพร้อมกับความพิการแต่กำเนิด ชาวอเมริกันใช้จ่ายหนึ่งดอลลาร์จากทุก ๆ สิบสี่ดอลลาร์สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ เราเกือบลืมไปแล้วว่าสภาพธรรมชาติของเราเป็นหนึ่งในความสมดุล ความครอบคลุมสมบูรณ์ และความมีชีวิตชีวา” Fallon, 2001

ออทิสติก ภูมิต้านตนเอง โรคเบาหวานที่เริ่มมีอาการในเด็ก โรคอัลไซเมอร์ และอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังเป็นโรคใหม่ทั้งหมดในยุคของเรา

ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่าเราได้มีผู้ป่วยจากโรคไม่ติดต่อเป็นจำนวนมาก

การเพิ่มขึ้นของโรคของความเสื่อมเหล่านี้ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของออทิสติกทำให้ ดร.แมรี่ มีกสัน ยืนยันว่าเราได้เปลี่ยนแปลงชุดของดีเอ็นเอ(genome)ในมนุษย์

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างมากกับอาหารที่เราเลือกรับประทานและเลือกที่จะไม่รับประทาน ซึ่ง Weston A. Price ได้เน้นความสัมพันธ์นี้อย่างยิ่งในงานวิจัยของเขา

Dr. John Abramson ศาสตราจารย์โรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ดกล่าวในหนังสือของเขาเรื่อง Overdosed America ว่าอัตราของโรคมะเร็ง และโรคหัวใจลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้เรียบง่าย เช่น อาหารการกินแทนที่จะเป็นการแทรกแซงทางการแพทย์

แต่คนส่วนใหญ่มองหาตัวยาที่จะแก้ปัญหาความเจ็บป่วย แทนที่จะมองหาอาหารทางเลือก มันง่ายกว่าที่จะรับประทานยาเม็ดเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนอาหารการกินของคุณ
.
การเลอกรับประทานอาหารส่วนใหญ่ที่ผู้คนทำคือความผิดพลาดรูปแบบต่าง ๆ ในการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของวิถีชีวิตที่นำไปสู่โรค สิ่งเหล่านี้คืออาหารลดความอ้วน (diet fads) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอุตสาหกรรมอาหารในเชิงพาณิชย์มากกว่าวิทยาศาสตร์

จำได้ไหมว่าเมื่อเราทุกคนได้รับแนะนำให้กินเนยเทียม (margarine) แทนเนย และปรากฎว่าเราทุกคนบริโภคเนยได้ดีกว่า เพราะเนยเทียมอาจทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง

ไขมันอิ่มตัวไม่เลวร้ายสำหรับเรา แต่น้ำมันเติมไฮโดรเจนที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นต่างหากที่ก่อให้เกิดโรคเสื่อม

การศึกษาส่วนใหญ่ที่สรุปว่าไขมันอิ่มตัวนั้นเป็นน้ำมันที่ไม่ดี ศึกษาจากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ไม่ใช่เนย น้ำมันหมู หรือน้ำมันมะพร้าว

งานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาทดลองในสัตว์ซึ่งพยายามลดความเชื่อถือในการใช้น้ำมันมะพร้าว โดยให้หนูกลุ่มหนึ่งกินน้ำมันมะพร้าว ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้กิน (พวกมันกินอาหารไขมันต่ำ)
.
นักวิจัยก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง และฉีดคอเลสเตอรอลระดับสูงให้หนูเสมือนว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และในตอนท้ายของการศึกษากลุ่มควบคุมยังคงอ้วนกว่า

ทั้ง Dr. Abramson และอดีตบรรณาธิการวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ Dr. Marcia Angel ยืนยันว่า “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้มีการจัดทำขึ้น” การศึกษา Framingham ที่มักได้รับการอ้างถึงบ่อยที่สุดว่าเป็นสาเหตุของคอเลสเตอรอลและไขมันที่ลดลงแสดงให้เห็นถึงปริมาณของคอเลสเตอรอลที่สูงขึ้นจะทำให้สุขภาพดีขึ้น

ปริมาณแคลอรี่ไม่ได้เป็นปัญหาในการลดหรือเพิ่มน้ำหนัก ปัญหาคือผู้คนบริโภคแคลอรี่จำนวนมากเกินไปที่ไม่ได้มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ได้บริโภคแคลอรี่ที่เหมาะสมเพียงพอ

การจำกัดแคลอรี่ไม่ได้เป็น “มาตรฐานทองคำ” ของโปรแกรมที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มันเป็นอาหารทางเลือกที่เราทำ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสุขภาพหรือความเสื่อมของเรา การรับประทานแคลอรี่ที่ดีต่อสุขภาพนั้นสำคัญกว่าการเป็นมนุษย์ช่างคำนวน

ให้เดือนรอมฎอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางของคุณกลับสู่การมีสุขภาพที่ดี โดยทำการเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ ในอาหารการกินของคุณเพื่อให้ได้หลักการของการรับประทานเพื่อสุขภาพตามที่นักวิจัย แพทย์ และนักโภชนาการหลายท่านได้กำหนดไว้ ใช้ข้อมูลเหล่านี้กับอาหารจานโปรดของคุณในเดือนรอมฎอน

1. แทนที่น้ำมันปรุงอาหาร “ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ” เช่น คาโนลาข้าวโพด และน้ำมันพืชอื่น ๆ ด้วยน้ำมันเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะพร้าว และเนย ในที่นี่กำลังพูดถึงน้ำมันปรุงอาหาร คุณไม่สามารถให้ความร้อนน้ำมันมะกอก น้ำมันเหล่านี้ไม่เพียง แต่ก่อให้เกิดการอักเสบเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ตัวบ่งชี้ที่สามารถตรวจพบได้ทั้งหมดของโรคภูมิต้านตนเอง โรคเบาหวานประเภท 2 และมะเร็ง

2. เปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพด้วยวิธีที่ดีต่อสุขภาพ การปรุงเนื้อสัตว์และผักให้สุกเกินไปทำให้ยากต่อการย่อย เพราะเอนไซม์ทั้งหมด “ถูกทำให้สุก” สารอาหารส่วนใหญ่ก็ถูกทำให้สุกเช่นกัน

3. สีขาวคือหมด สีน้ำตาลคือยังอยู่ หลีกเลี่ยงข้าว น้ำตาล และแป้งขัดขาว แทนที่ด้วยข้าวกล้อง และพาสต้าสีน้าล พาสต้าและข้าวสีขาวมีส่วนในการเกิดการอักเสบ และเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องลดอาหารเหล่านี้ในสภาวะ เช่น โรคภูมิต้านตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่มากเป็นอันดับสี่หลังจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และเส้นเลือดในสมองอุดตัน
ข้าวขาวยังเป็นสารอาหารที่มีค่าสูงในดัชนีไกลโคลิก และควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานจากภาวะน้ำตาลในเลือด ซินโดรมเอ็กซ์ (syndrome X) และโรคเบาหวานทั้งสองชนิด

4. ใส่เกลือทะเล สาหร่ายทะเล และหน่อไม้ฝรั่งลงในน้ำซุปปรุงอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการเป็นพิเศษ ฉันได้รวมไว้ในหลายสูตรเหล่านี้

5. งดโซดา ชาดำ และกาแฟ เครื่องดื่นเหล่านี้ล้วนเป็นยาขับปัสสาวะ
เดือนรอมฎอนไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทาน ตรงกันข้ามกับการปฏิบัติที่ได้รับความนิยม และทำหน้าที่เตือนเราว่า รู้สึกอย่างไรในยามหิวโหย และทำให้ร่างกายหยุดพักจากการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่อง

อย่าใช้เวลาทั้งหมดอยู่ในครัว หากฉันไม่ตั้งครรภ์ฉันจะไม่ปรุงเนื้อสัตว์ตลอดทั้งเดือน ฉันจะรอจนกว่าจะถึงวันอีด กล่าวบิสมิลลาห์ ซิกรฺ ตัสบีฮฺ หรือดุอาอ์ในขณะที่คุณเตรียมอาหารของคุณและเติมแต่งอาหารของคุณด้วยความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ

…………………………………………………………..……………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net โดย Anisa Abeytia

References:
• Angell, Marcia. “The Truth About the Drug Companies: How They Deceive Us and What to Do About It.” Random House, 2005.
• Abramson, John. “Overdosed America: The Broken Promise of American Medicine.” HarperCollins, 2004. Fallon, Sally. “Nourishing Traditions.” New Trends Publishing, 2001. Washington D.C.
• Megson, Mary. “All About Autism.” Designs for Health Professional Resources. March 29, 2006.
• Price, Weston, A. “Nutrition and Physical Degeneration.” 6th edition Keats Pub, 2003.

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ พัฒนาแอปพลิเคชัน H-NUMBER เพื่อลดค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการสินค้าฮาลาล

Halal Tech News : คอลัมน์ HALAL LANNA ในวารสาร Halal Insight ฉบับที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันค้นหาวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลที่ใช้ชื่อว่า H number Application เพื่อค้นหาข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการในการลดค่าใช้จ่ายการตรวจสอบสถานะฮาลาลของวัตถุเจือปนอาหารบางประเภทในกระบวนการตรวจรับรองฮาลาล

ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลนอกจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรับรองแล้ว การเตรียมการก่อนการรับรองฮาลาลก็มีค่าใช้จ่ายในการยืนยันสถานะฮาลาลของแหล่งที่มาของวัตถุดิบหรือวัตถุเจือปนอาหารบางประเภทอีกด้วย ซึ่งวัตถุเจือปนอาหารโดยส่วนใหญ่ผลิตจากธรรมชาติ จากแร่ธาตุและจากการสังเคราะห์ ขณะเดียวกันก็มีหลายบริษัทที่มีการตรวจสอบและรับรองสถานะฮาลาลทั้งจากในและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้วิจัยและพัฒนาฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลขึ้นโดยใช้ชื่อว่า H-Number ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ที่จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและจะสร้างประโยชน์ในการค้นหาวัตถุเจือปนอาหารของผู้บริโภคโดยทั่วไปอีกด้วย

::วัตถุเจือปนอาหาร (Food Additive) คืออะไร?::
วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง วัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสี การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุการเก็บรักษา หรือการขนส่งซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร รวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารแต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะใส่ร่วมกับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย โดยกำหนดเป็นรหัสของวัตถุเจือปนอาหารอย่าง E-Number หรือ INS โดยจำแนกเป็นกลุ่มต่างๆเช่น E/INS 100-199 เป็นกลุ่มรหัสของสีผสมอาหาร, E/INS 200-299 กลุ่มรหัสของวัตถุกันเสีย, E/INS 300-399 กลุ่มรหัสของสารต้านออกซิเดชันและสารควบคุมกรด, E/INS 400-499 กลุ่มรหัสของสารเพิ่มความหนืด สารเพิ่มความคงตัวและอิมัลซิไฟเออร์, E/INS 500 – 599 กลุ่มรหัสของสารควบคุมกรดและสารเพิ่มความคงตัว, E/INS 600 – 699 กลุ่มรหัสของสารเพิ่มกลิ่นและรสชาติ, E/INS 700-799 กลุ่มรหัสของสารฆ่าเชื้อ เป็นต้น

::E- Number/INS ฮาลาลหรือไม่?::
E-number/INS เกือบทั้งหมดนั้นโดยพื้นฐานแล้วได้รับอนุญาตและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศมุสลิม อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าวัตถุเจือปนอาหารทั้งหมดนั้นจะฮาลาลเสมอไป สารเติมแต่งจำพวกกรดไขมันจำนวนมาก ได้ถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิต และเป็นเรื่องกังวลสำหรับผู้บริโภคมุสลิม ถึงแหล่งที่มาของสารเติมแต่งเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้พัฒนาฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลขึ้น

::จาก E-Number สู่ H-Number::
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน และทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาลเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหรือที่เรียกว่า H-Number ขึ้น โดยเริ่มทำการศึกษาจากฐานข้อมูล E-Number ในแต่ละกลุ่ม เริ่มต้นตั้งแต่การค้นคว้าเอกสาร ตำราต่างๆไปจนถึงการสัมภาษณ์ การตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล โดยแบ่งหมวดหมู่ของวัตถุเจือปนอาหารออกเป็น 3 หมวดหมู่ ดังต่อไปนี้

1. Halal Ingredients by Fatwa คือวัตถุดิบที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี หรือสกัดได้จากพืช ที่อนุญาตให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลได้และมีการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรีอีกด้วย

2. Halal Ingredients by Certification การผลิตวัตถุดิบกลุ่มนี้อาจมีขั้นตอนที่อาจเกิดการปนเปื้อนได้ ดังนั้นจะต้องมีการรับรองจากองค์กรศาสนา การรับรองวัตถุดิบกลุ่มนี้จะต้องมีการตรวจสอบว่าบริษัทใดหรือยี่ห้อใดบ้างที่ได้รับการรับรองฮาลาล ซึ่งในแอปพลิเคชันนี้ ได้รวบรวมข้อมูลการผลิต บริษัทที่ผลิต รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมในการติดต่อเพื่อนำมาใช้เพื่อการผลิตอาหารฮาลาล

3. Mashbooh Ingredients กลุ่มที่สถานะยังคลุมเครือ สงสัย เนื่องจากวัตถุดิบกลุ่มนี้อาจได้มาจากกระบวนการผลิตที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนด้วยสิ่งต้องห้ามหรือไม่มีการรับรองฮาลาลจากองค์กรศาสนา จึงไม่แนะนำให้ใช้ในกระบวนการผลิตอาหารฮาลาล

::การพัฒนาแอปพลิเคชัน H-Number::
แอปพลิเคชัน H-Numbers ได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นเว็บแอปพลิชันและโมบายแอปพลิเคชัน H Number โดยทีมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สำนักงานเชียงใหม่ ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอาหารฮาลาลในยุคดิจิตอล เพื่อเป็นระบบตรวจสอบข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารจาก E-Number สู่ฐานข้อมูล H-Number ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารฮาลาล โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลสถานะและการรับรองของวัตถุเจือปนอาหารนั้นๆ และรายชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดจำหน่ายที่เกี่ยวข้องกับวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้ประกอบการผลิตอาหารฮาลาลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างง่ายดาย สะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายในการขอรับรองหรือตรวจพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลในการยืนยันสถานะฮาลาลของวัตถุเจือปนอาหารบางรายการ โดยท่านสามารถค้นหาผ่านทางเว็บแอปพลิเคชัน http://h4e.halalthai.com/ หรือผ่านทางโมบายแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “H numbers Application” ได้

…………………………………………….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี

ที่มา…
http://food.fda.moph.go.th/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1683/e-number
http://www.halalscience.org/library_online/home/read_online/41
http://maansajjaja.blogspot.com/

HALAL BLOCKCHAIN การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับห่วงโซ่อุปทานฮาลาล

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท IBM ได้เปิดตัวระบบเครือข่ายติดตามอาหารโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ที่เรียกว่า IBM Food Trust หลังผ่านการทดสอบมาเป็นระยะเวลา 18 เดือน โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอาหารและค้าปลีกของโลกเข้าร่วมใช้เป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารฮาลาล ได้มีการประชุมครั้งใหญ่เกี่ยวกับ Halal Blockchain เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ณ ประเทศมาเลเซียที่ผ่านมา การประชุมใหญ่ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ห่วงโซอุปทานฮาลาลในปัจจุบันมีปัญหาหรือข้อบกพร่องเช่น การตรวจสอบย้อนกลับ การเรียกคืนสินค้า การขนส่ง คลังสินค้า ความสมบูรณ์ของห่วงโซ่จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ระบบมาตรฐานและการตีความฮาลาลของตลาดที่แตกต่างกันและขาดการบูรณาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยเหตุนี้การนำเทคโนโลยีอย่าง Blockchain มาใช้จัดการเรื่องฮาลาล จะช่วยการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น

:: Blockchain คืออะไร ? ::

Blockchain เป็นเทคโนโลยีหลักที่อยู่เบื้องหลัง Bitcoin ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่4 โดยเป็นการจัดเก็บบันทึกการทำธุรกรรมดิจิตอลทั้งหมดให้เป็นสาธารณะ โดยทุกแหล่งเก็บบันทึกข้อมูลที่เรียกว่า Block จะมีกลไกเชื่อมต่อข้อมูลร้อยเรียงเป็นสายคล้ายกับดีเอ็นเอ โดยจะไม่ถูกจัดเก็บรวมศูนย์ไว้ที่ใดที่หนึ่ง แต่จะกระจายอยู่ในเซิร์ฟเวอร์หลายแห่งทั่วโลกด้วยการเข้ารหัส แหล่งเก็บฐานข้อมูลที่กระจายทำให้มีความน่าเชื่อถือ เพราะทุกคนสามารถตรวจสอบได้และไม่ได้จำกัดให้ผู้ใช้คนเดียวมีอำนาจควบคุมข้อมูลดิจิตอลแต่เพียงผู้เดียว

:: วิสัยทัศน์ของห่วงโซ่อุปทานฮาลาลด้วยเทคโนโลยี Blockchain ::

เป็นการจัดเก็บข้อมูลประเภทดิจิตอลแบบกระจายส่วน ข้อมูลทางธุรกรรมที่ถูกบันทึกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเหมือนบล็อกที่ถูกประกอบให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยข้อมูลธุรกรรมชุดใหม่ที่ได้รับการบันทึกเพิ่มเข้ามา บล็อกเชนฮาลาลจึงมีข้อมูลที่ครบถ้วน ตั้งแต่แหล่งที่มาจนถึงปลายทางที่เป็นการซื้อขายของผู้บริโภค เนื่องจากฐานข้อมูลของบล็อกเชนฮาลาลจะถูกแบ่งปันโดยทุกสถานี (Node) ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานฮาลาล ดังนั้นการตรวจสอบข้อมูลจึงกระทำได้โดยง่ายเพียงแค่สแกนรหัสคิวอาร์ (QR-code) ที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ ในบล็อกเชนคุณสามารถตรวจสอบและระบุกลุ่มที่ฉ้อฉลได้อย่างง่ายดาย เทคโนโลยีนี้จึงขัดขวางไม่ให้อุตสาหกรรมทำการฉ้อฉลในห่วงโซ่อุปทานฮาลาล ในขณะเดียวกันระบบก็จะช่วยจัดอันดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้เข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานฮาลาลอื่นๆ ตามลำดับประสิทธิภาพในการให้บริการของพวกเขา

:: หลักการออกแบบ Halal Blockchain ::

วัตถุประสงค์หลักที่ทำให้การดำเนินการบล็อกเชนฮาลาลนั้นประสบความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ไว้วางใจได้ของห่วงโซ่อุปทานฮาลาล กระบวนการฮาลาลที่มีประสิทธิภาพจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ความยั่งยืนของห่วงโซ่ ความเชื่อมั่นของแบรนด์ และได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

หลักการสำคัญของบล็อกเชนฮาลาล ประการแรกคือ บล็อกเชนฮาลาลจะรวมเอาสำนักทางนิติศาสตร์ (มัซฮับ) ที่แตกต่างกันของตลาดปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักคิดทางศาสนา คำวินิจฉัยทางศาสนา (ฟัตวา) และประเพณีท้องถิ่นต่างๆ บล็อกเชนฮาลาลควรสัมพันธ์ได้ทั้งกับประเทศมุสลิมและประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ข้อกำหนดการรับรองฮาลาลของตลาดปลายทางและการยอมรับร่วมกันนั้น เป็นหลักการออกแบบที่สำคัญสำหรับบล็อกเชนฮาลาล ผู้เข้าร่วมในห่วงโซ่อุปทานจะได้รับการจัดตำแหน่งและแจ้งข้อมูลให้ทราบโดยอัตโนมัติถึงการปฏิบัติตามกระบวนการบนพื้นฐานของทัศนภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ที่อาจมีลักษณะเฉพาะ ยิ่งกว่านี้ ความถูกต้องและความปลอดภัยของบล็อกเชนฮาลาลเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกป้องข้อมูลที่เป็นความลับ รวมถึงการลดโอกาสและผลกระทบจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ให้อยู่ในระดับต่ำมากที่สุด

ไม่ว่าผู้ผลิต เจ้าของแบรนด์ และผู้ค้าปลีก ล้วนได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาลทั้งสิ้น โดยเฉพาะความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน ความได้เปรียบในการทำงานร่วมกัน ทั้งแบบที่ผ่านการทำงานร่วมกันในแนวตั้งและแนวนอน การสร้างมาตรฐานของสินทรัพย์ฮาลาล และการบริหารความเสี่ยง ชื่อเสียง และความไว้วางใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และผู้จัดจำหน่ายจึงได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ฮาลาลได้ดีขึ้น การรวมสินค้าฮาลาลและมูลค่าเพิ่มใหม่ของโลจิสติกส์และการบริการ การทำให้เกิดการไหลเวียนธนบัตรเป็นแบบดิจิตอล และการชำระเงินที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ส่วนหน่วยงานรับรองฮาลาลจะได้รับประโยชน์จากบล็อกเชนฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานฮาลาลที่มีความง่ายยิ่งขึ้น และการสนับสนุนอย่างรวดเร็วสำหรับอุตสาหกรรมในกรณีที่มีปัญหาหรือเกิดวิกฤตเกี่ยวกับฮาลาล

:: บทสรุปและข้อเสนอแนะ ::

บล็อกเชนฮาลาลให้ประโยชน์ที่ชัดเจนต่อผู้ผลิต เจ้าของแบรนด์ ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และหน่วยงานรับรองฮาลาล เพื่อสร้างความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ฮาลาลของประเทศให้ดียิ่งขึ้น หน่วยงานรับรองฮาลาลควรใช้เทคโนโลยีใหม่นี้เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาลเพื่อให้จัดการกับปัญหาหรือที่แย่ที่สุดคือวิกฤตต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมฮาลาล ควรสนับสนุนให้มีการรับรองฮาลาลของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีก เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้นในกระบวนการขนส่งและจัดเก็บสินค้าที่อยู่ปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทาน การสร้างระบบที่สอดประสานกันและการสร้างมาตรฐานของห่วงโซ่อุปทานฮาลาลที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในอนาคตที่กำลังมาถึง เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาลและห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่ทั่วโลก

………………………………………………………………………….………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
ที่มา :

ได้ชื่อว่าอาหารขยะ แต่เราก็ยังกินมันอีกหรือ?

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (ระดับความดันของเลือดที่สูงขึ้น) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ

กำไรของห่วงโซ่อาหารฟาสต์ฟู้ด (อาหารจานด่วน) ในอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ได้ทำเงินหลายพันล้านดอลลาร์ทุก ๆ ปี พร้อม ๆ กับผู้บริโภคที่หิวโหยทั่วโลกยังคงต่อแถวซื้อแฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนช์ฟรายและโซดา ประชาชนที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบในศตวรรษที่ 21 ได้ใช้เงินมากขึ้นพร้อม ๆ กับเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการกินอาหารขยะ

อาหารขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยไขมันและเกลือ ฟาสต์ฟู้ดไม่มีประโยชน์อะไรมากไปกว่าส่วนประกอบดังกล่าว ชาวอเมริกันรับประทานมันเพื่อความเพลิดเพลินในรสชาติที่เอร็ดอร่อย ซึ่งประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการปรุงอาหารของพวกเขา ผู้ที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดเพียงเพื่อเลียนแบบพฤติกรรมของชาวอเมริกัน เพราะมันดูเท่ห์และมีความทันสมัย คนทั้งสองกลุ่มนี้กำลังทำอันตรายต่อสุขภาพตนเองอย่างร้ายแรง

:: ฟาสต์ฟู้ด = อาหารแปรรูป ::

โดยทั่วไปแล้วฟาสต์ฟู้ดนั้นเป็นอาหารแปรรูป แล้วอาหารแปรรูปคืออะไร ? อาหารแปรรูปคืออาหารที่ได้รับการดัดแปลงจากกรรมวิธีทางธรรมชาติในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจำนวนมากที่มีการเติมสารปรุงแต่งอาหารทั้งที่มาจากกระบวนการทางธรรมชาติและทางเคมี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทำให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายไม่หลงเหลือสารอาหารตามธรรมชาติ เช่น วิตามิน แร่ธาตุและเอนไซม์ต่าง ๆ

นอกเหนือจากทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยแล้ว สารปรุงแต่งยังช่วยรักษาอายุของผลิตภัณฑ์ให้มีระยะเวลายาวนานขึ้น ซึ่งหมายความว่าอาหารแปรรูปมักได้รับการกักตุนไว้เป็นเวลานานก่อนที่จะนำไปซื้อขายและรับประทาน! สารปรุงแต่งอาหารจากธรรมชาติที่เก่าแก่ที่สุดคือ เกลือ น้ำตาลและน้ำส้มสายชู ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะมาจากธรรมชาติ แต่การบริโภคในจำนวนที่มากเกินไปนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

ลักษณะของอาหารขยะจะมีปริมาณของเกลือสูง (โซเดียมคลอไรด์) โซเดียมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ ในร่างกาย อย่างไรก็ตาม การบริโภคด้วยจำนวนที่มากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดโรคหัวใจ

นี่คือกรณีที่เกิดขึ้นกับวัตถุเจือปนอาหารที่สกัดจากธรรมชาติ นับประสาอะไรกับวัตถุเจือปนที่ได้รับการสังเคราะห์ขึ้นมา? การปรากฏตัวของอาหารแปรรูปในรอบสามสิบปีที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ที่เทียบได้กับการระเบิดครั้งใหญ่ในกระบวนการเจือปนทางเคมีของอาหารที่มีสารเติมแต่ง

จากผลงานหนังสือติดอันดับขายดีที่ชื่อว่า ‘ฟาสต์ฟู้ด เนชั่น’ (‘Fast Food Nation’ หรือชื่อฉบับแปลภาษาไทยว่า ‘มหาอำนาจฟาสต์ฟู้ด’) เขียนโดย เอริค สลอซเซอร์ (Eric Schlosser) เขาได้เปิดเผยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจแก่สาธารณะชนชาวอเมริกันถึงสิ่งที่พวกเขาบริโภค เอริคได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานของเขาในโรงงานที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ว่าเขาได้ค้นพบว่าแท้จริงแล้วรสชาติของแมคโดนัลด์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างไร

กรรมวิธีการแปรรูปอาหารในปัจจุบันจะรวบรวมชิ้นส่วนอันมากมายของสัตว์หลากหลายชนิดไว้ในเบอร์เกอร์ชิ้นเดียว เบอร์เกอร์เนื้อวัวจะต้องถูกนำไปทอดในน้ำมันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 300 องศาเซลเซียส และกรรมวิธีนี้ก็เป็นกรรมวิธีที่นิยมในการผลิตอาหารฟาสต์ฟู้ดเกือบทุกประเภท ดังนั้นอาหารเหล่านี้จึงถูกเปลี่ยนคุณสมบัติให้ผิดไปจากลักษณะทางธรรมชาติดั้งเดิมและเป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่กล่าวถึงเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์ที่เผยให้เห็นกระบวนการแปรรูปและปัจจัยที่ทำให้รสชาติแตกต่าง เป็นเวลาหลายทศวรรษที่แมคโดนัลด์ปรุงเฟรนช์ฟรายด้วยส่วนผสมของน้ำมันฝ้าย 7% และไขมันวัวอีก 93% ซึ่งส่วนผสมดังกล่าวทำให้รสชาติเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์มีเอกลักษณ์ และยังทำให้เฟรนช์ฟรายมีไขมันอิ่มตัวต่อออนซ์มากกว่าแฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ ในปี 1990 ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับปริมาณคอเลสเตอรอลในมันฝรั่งทอด แมคโดนัลด์จึงยอมเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชบริสุทธิ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ท้าทายบริษัทว่าจะมีกรรมวิธีการทอดอย่างไรให้ได้รสชาติของเฟรนช์ฟรายที่เหมือนเนื้อวัวละเอียดโดยไม่ต้องใช้ไขมันวัว การเข้าไปศึกษาดูส่วนผสมในเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์จะช่วยแสดงให้เราเห็นว่าปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างไร เมื่อมองไปยังท้ายรายการของส่วนผสมเราจะเห็นวลีที่ดูเหมือนจะธรรมดาแต่ก็ดูลึกลับแบบแปลก ๆ ว่า “วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ” ส่วนผสมข้อนี้เองที่ช่วยอธิบายว่าทำไมเฟรนช์ฟรายของแมคโดนัลด์จึงมีรสชาติที่เอร็ดอร่อยเป็นพิเศษ

วัตถุเจือปนอาหารได้เข้ามาแทรกแซงในทุกอณูของสิ่งที่เราดื่มและรับประทาน นับแค่ความอันตรายที่เกิดจากส่วนประกอบทางเคมีในน้ำอัดลมที่ใช้สารเติมแต่งของเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกนั้นก็ไม่ค่อยจะปลอดภัยแล้ว น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีการเติมโบรมีน (Brominated Vegetable Oil : BVO) ถูกนำไปใช้ในการขจัดกลิ่นรสของน้ำมันที่อยู่ในน้ำอัดลม อีกทั้งยังทำให้น้ำอัดลมมีลักษณะเป็นฟองดังที่เรารู้จักกันดีในเครื่องดื่มเหล่านี้

สารตกค้างขนาดเล็กของ BVO จะติดตามไขมันในร่างกาย และยังไม่มีข้อพิสูจน์ใด ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่า BVO นั้นมีความปลอดภัย สารโบรมีนซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของ BVO นั้นมีคุณสมบัติเป็นพิษ เพียงสองถึงสี่ออนซ์ของตัวทำละลาย BVO จำนวน 2% ก็มีปริมาณเพียงพอแล้วที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กที่บริโภค

ข้อเท็จจริงน่าขันอีกอย่างที่เกี่ยวกับน้ำอัดลมคือ ไดเอทโค้กและไดเอทเป๊ปซี่ถือเป็นทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการไดเอท ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้ตระหนักว่าแทนที่จะเป็นน้ำตาลที่ใช้เป็นสารให้ความหวาน แต่พวกเขากลับใช้สารให้ความหวานเทียมอย่างเอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) ซึ่งมีส่วนให้เกิดภาวะซึมเศร้า อาการนอนไม่หลับ โรคทางระบบประสาทและอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ มากมาย แพทย์ยังเตือนว่าเอซีซัลเฟมเค (acesulfame K) นั้นอาจเป็นสารก่อมะเร็ง

เราเห็นแล้วว่ารสชาติของอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกันสำหรับไดเอทที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวข้องกับการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี สารแต่งกลิ่นรสเทียมและสารปรุงแต่งที่ถูกเติมเข้าไปในอาหารผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย

:: ไขมันและน้ำตาล: เมื่อโรคอ้วนกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ::

กล่าวง่าย ๆ คืออาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมีไขมันและน้ำตาลสูง มีความหมายว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นมีแคลอรีสูงและให้คุณค่าทางโภชนาการต่ำ นอกจากนี้ อาหารฟาสต์ฟู้ดยังมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมอาหารเนื่องจากราคาถูกและสามารถทนต่อการปรุงอาหารในอุณหภูมิที่สูงได้ มีข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าไขมันอิ่มตัวนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพควรมีปริมาณแคลอรี่น้อยกว่า 30% จากไขมัน หรือมีไขมัน 9 กรัมและ 270 แคลอรี่ แฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ได้ทะลุเพดาน 30% นี้ไปแล้ว แฮมเบอร์เกอร์ของเบอร์เกอร์คิงมีไขมัน 15 กรัมและ 320 แคลอรี่ หรือมีปริมาณแคลอรี่ 42% จากไขมัน ส่วนแฮมเบอร์เกอร์ของร้านอาหารชื่อดังเจ้าอื่น ๆ นั้นมีปริมาณแคลอรี่และเปอร์เซนต์ของไขมันมากกว่าสองเจ้าที่กล่าวมาเสียอีก

ดังนั้น แฮมเบอร์เกอร์จึงให้ปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายเราต้องการและปริมาณแคลอรี่ส่วนใหญ่นั้นก็มาจากไขมัน

เมื่อพูดถึงน้ำตาล ก็เพียงพอที่จะกล่าวได้ว่ากระป๋องน้ำอัดลมทั่วไปนั้นมีปริมาณน้ำตาลถึง 10 ช้อนชา

อาหารฟาสต์ฟู้ดจึงให้ปริมาณแคลอรี่มากกว่าที่ระบบของเราสามารถย่อยได้ และแคลอรี่ส่วนเกินเหล่านี้ก็จะถูกเก็บไว้ในร่างกายของเราในรูปแบบของไขมัน การจัดเก็บไขมันส่วนเกินในร่างกายจะนำไปสู่โรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนไม่เพียงแต่ป้องกันไม่ให้เรามีหุ่นที่ดีสมส่วนเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ต้องใช้อินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ

ยิ่งไปกว่านั้น โรคอ้วนยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและปากมดลูก

หากอาหารฟาสต์ฟู้ดและน้ำอัดลมเป็นสัญลักษณ์ของวิถีชีวิตฉบับอเมริกันแล้ว จึงเข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมคนอเมริกันมากกว่าครึ่งหนึ่งถึงมีน้ำหนักมากเกินไป แท้จริงแล้วจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และสามัญสำนึกทั่วไปได้บ่งชี้ว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นเป็นสาเหตุหลักของโรคอ้วน

การบริโภคอาหารขยะไม่เพียงแต่หมายถึงปัญหาการรับประทานวัตถุเจือปนที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมีที่ถูกเติมเข้ามาในอาหารระหว่างกระบวนการแปรรูป หรือไม่เพียงแต่หมายถึงปัญหาไขมันส่วนเกินและความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่โรคอ้วนเท่านั้น ปัญหาของอาหารฟาสต์ฟู้ดนั้นไกลกว่านั้นและมีความหลากหลายมากกว่านั้นมาก

“ไม่มีสองประเทศใดที่ทั้งสองต่างก็มีแมคโดนัลด์แล้วทั้งสองต่างก็เคยทำสงครามต่อกัน” โธมัส ฟรายด์แมน (Thomas Friedman) นักทฤษฎีโลกาภิวัตน์ที่มีชื่อเสียงและคอลัมนิสต์ประจำนิตยสาร Foreign Affairs กล่าว

แม้ทฤษฎี McPeace (สันติภาพจากแมคโดนัลด์) ของฟรายด์แมนดูเหมือนจะป้องกันสงครามได้ แต่แมคโดนัลด์จะสามารถป้องกันโรคภัยที่เกิดจากอาหารขยะตามเมนูที่พวกเขาเสิร์ฟ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้หรือไม่?

………………………………………………………………………………………
อ้างอิง:
• com, “Obsessed by Fast Food: Will Fast Food Be The Death Of Us?”
• Better Health Channel.
• Kate, Siber, “Expansion of the Fast Food Industry,” commonsense, commonsense.com
• Hansler, Kathryn, “Think Fast: Surviving the Fast Food Jungle,”San Bernardino County.
infoplease.com
• “Processed Food and Junk Food.”
• Schlosser, Eric, “Why McDonald’s Fries Taste So Good,” The Atlantic Monthly, July 1, 2001.
• Friedman, Thomas, “Turning swords into beef-burgers.” The Guardian, December 19, 1996.

ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี
แปลและเรียบเรียงบทความนี้ถอดมาจากแฟ้มเก็บเอกสารของนิตยสาร Science
ที่มา: aboutislam.net โดย ซาร่า คุรชิด

อาหารเสริมอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป

อัลลอฮฺ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ทรงตรัสในอัลกุรอานว่า “มนุษย์เอ๋ย! จงบริโภคสิ่งอนุมัติ (ฮาลาล) ที่ดี ๆ (ฏ็อยยิบ) จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดาก้าวเดินของมารร้าย (ชัยฏอน) แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า” (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2: 168)

ในฐานะชาวมุสลิมเราต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อให้ร่างกายของเราอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดในการปฏิบัติหน้าที่ของเรา ชาวมุสลิมหลายคนจึงหยิบเอาอาหารเสริมมารับประทานด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถช่วยรักษาสุขภาพของเราให้ดี แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นสิ่งที่คัมภีร์อัลกุรอานอ้างถึงว่าเป็น “สิ่งอนุมัติ (ฮาลาล) และดีมีประโยชน์ (ฏ็อยยิบ)” หรือไม่?

ในวงการวิชาการทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งประเภทของอาหารเสริมตามผลกระทบหรือปฏิกิริยาที่กระทำต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม ฉันทามติทั่วไปคือเราจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารเสริมเหล่านี้ และหากคุณต้องการบริโภคมัน คุณควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

:: ระหว่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับยาเวชภัณฑ์ ::
คำจำกัดความของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจช่วยให้เข้าใจได้ว่าทำไมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถึงเข้าไปอยู่ในวงถกเถียงตลอดสองสามทศวรรษที่ผ่านมา

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับการนิยามโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริโภคด้วยปากมีส่วนประกอบจากอาหารและมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมคุณค่าทางโภชนาการ” “ส่วนประกอบจากอาหาร” ดังกล่าวอาจรวมถึงวิตามิน เกลือแร่ สมุนไพรหรือพฤกษศาสตร์ กรดอะมิโนและสารต่าง ๆ เช่น เอนไซม์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ แกลนดูล่าและเมตาโบไลท์” (Thurston)

อย่างไรก็ตาม นิยามของคำว่ายาและเวชภัณฑ์ที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ก็ไม่ได้มีความแตกต่างมากเท่าใดนัก FDA ให้ความหมายของคำว่ายาและเวชภัณฑ์ว่าเป็น “สิ่งที่ใช้สำหรับวินิจฉัย แก้ไข บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค”

ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงอาจอยู่ในหมวดหมู่คำนิยามของยาและเวชภัณฑ์ ขณะเดียวกันความหมายของยาและเวชภัณฑ์ก็อาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาหารเสริม เส้นแบ่งระหว่างคำศัพท์ทั้งสองมักจะไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่ายาหลายตัวมานั้นมีแหล่งที่มาจากธรรมชาติ เช่นเดียวกันผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมากก็ถูกสกัดจากพืชในลักษณะที่แทบไม่แตกต่างจากยาทั่วไป นอกจากนี้ ทั้งสองอย่างอาจมีฤทธิ์ทางเภสัชศาสตร์ที่รุนแรง และอาจก่อให้เกิดปัญหาหากบริโภคอย่างไม่ถูกต้อง (Consumer Reports)

ดังนั้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีประโยชน์และปลอดภัยหรือไม่? หลายคนคิดเอาเองว่าเพราะสมุนไพรและวิตามินนั้นมีแหล่งที่มาจาก “ธรรมชาติ” ทุกอย่างจึงปลอดภัย อย่างไรก็ตามนี่เป็นข้อสันนิษฐานที่อาจไม่ใช่ข้อเท็จจริงเสมอไป

อาหารเสริมจำนวนมากสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้เมื่อบริโภคเข้าไปในปริมาณที่มากเกินไป หรือบริโภคไม่ถูกเวลาไม่ถูกคน หรือรับประทานร่วมกับยาบางชนิด หรือรับประทานขณะตั้งครรภ์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดพบว่ามีส่วนประกอบตามชื่อที่ระบุหรือตั้งไว้เพียงเล็กน้อย แต่อาจมีสารเคมี สารกําจัดศัตรูพืช แบคทีเรีย โลหะหนัก หรือแม้แต่ยาทางเภสัชกรรมประกอบอยู่ด้วยในผลิตภัณฑ์ ในเดือนเมษายน ปี 2008 มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์วิตามินซีแบรนด์หนึ่งในประเทศแคนาดา เพราะพบว่ามีปริมาณวิตามินเอมากเกินไป (Consumer Reports, Cohen)

ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชื่อดังหลายแห่งสามารถผลิตผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง แต่กระนั้นพวกเขาก็ไม่ได้รับการควบคุมจากหน่วยงานภายนอก ดังนั้นการอวดอ้างคุณสมบัติและความปลอดภัยทั้งหมดของผลิตภัณฑ์จึงเกิดขึ้นจากตัวผู้ผลิตภายในเท่านั้น ผู้ผลิตอาหารเสริมสามารถออกตัวผลิตภัณฑ์โดยไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบใด ๆ เพียงแค่ส่งสำเนาภาษาบนฉลากให้แก่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น (FDA)

:: มองให้ลึกกว่าแค่ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ ::
มีความกังวลเพิ่มเติมว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดนั้นอาจไม่ฮาลาล จากคำตอบที่ได้รับจากเว็บไซต์ทางการของผลิตภัณฑ์เซ็นทรัม วิตามินรวม กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขานั้นมีเจลาตินที่ได้จากสุกรเป็นส่วนประกอบ และแคปซูลวิตามินอีจำนวนมากก็มีแหล่งที่มาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม คำถามที่สำคัญกว่าคุณภาพและความซื่อสัตย์ของผู้ผลิตคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความจำเป็นต่อชีวิตจริงหรือไม่? สถาบัน Linus Pauling Institute ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันวิจัยชั้นนำเกี่ยวกับการแพทย์แผนออร์โธโมเลคูลาร์ ตอบว่า “มีความจำเป็นจริง”

สถาบันใช้เงินหลายล้านดอลลาร์ในแต่ละปีเพื่อค้นคว้าวิจัยและติดตามการศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริม และเผยแพร่ความเข้าใจผ่านเว็บไซต์ และยังตีพิมพ์หนังสือวิชาการหลายเล่มที่แสดงผลของการศึกษาเหล่านี้ (Higdon)

อ้างอิงจากเว็บไซต์ของสถาบัน ขอบข่ายสำคัญของงานวิจัยนั้นจะครอบคลุมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเด็น “โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารของร่างกายที่ผิดปกติ มะเร็ง ภาวะชราภาพ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาท” (Higdon)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแพทย์หลายคนยอมรับว่าโภชนาการที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดี แต่ทุกคนก็ไม่เชื่อว่าการรับประทานอาหารเสริมนั้นต้องเป็นคำตอบเสมอไป

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระมัดระวังการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุในอาหาร เนื่องจากวิตามินรวมอาจไม่ได้มีสารอาหารที่มีสัดส่วนสมดุลตามความต้องการของแต่ละบุคคล มันอาจช่วยในการลดสารอาหารบางอย่างออกจากร่างกาย ร่างกายอาจไม่สามารถดูดซึมอาหารเสริมและยาเม็ดวิตามินได้ดีพอ เนื่องจากสารอาหารที่อยู่ในอาหารและในอาหารเสริมบางชนิดอาจเป็นพิษต่อร่างกายหากบริโภคในปริมาณมาก

ตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาพบว่า น้ำมันปลาซึ่งเป็นอาหารเสริมยอดนิยม นอกจากจะมีคุณสมบัติต้านการอักเสบแล้ว ยังมีคุณสมบัติยับยั้งการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสอีกด้วย

นอกจากนี้ อาหารเสริมที่บริโภคมากเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของร่างกายในการดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น การบริโภคสังกะสีที่มากเกินไปจะเป็นอุปสรรคต่อการดูดซึมของธาตุเหล็กและทองแดง (Landro)

ในปี 2008 สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute for Health: NIH) ระงับการศึกษาเกี่ยวกับวิตามินอีเนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคเบาหวานในกลุ่มศึกษา เพราะพวกเขาได้รับการบำบัดผ่านการบริโภควิตามินอีในปริมาณที่มาก ในเดือนเมษายน ปี 2009 ทีมวิจัยระดับนานาชาติสนับสนุนโดยองค์การอิสระระหว่างประเทศที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไร Cochrane Collaborative พบว่าการบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระเบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินอีสัมพันธ์กับช่วงอายุขัยของชีวิตที่สั้นลง! (ScoutNews; Armijo-Prewitt)

อีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้คนไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาแทนที่อาหารได้คือ ในอาหารนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันมากกว่า 20,000 ชนิด แต่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันค้นพบวิธีที่สามารถแยกแยะสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้เพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น (Hellerman)

นอกเหนือจากที่ไม่สามารถจำลองโภชนาการจากสารอาหารในอาหารได้สมบูรณ์แล้ว วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่าองค์ประกอบใดของอาหารชนิดหนึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น วิทยาศาสตร์สามารถสกัดซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในบร็อกโคลีใส่ลงในยาเม็ด อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนี้ไม่ได้มีคุณสมบัติเหมือนกับการนำบร็อคโคลีทั้งหมดใส่ลงไปในยาเม็ด

เอมี สจ๊วต (Amy Stewart) ผู้เขียนหนังสือ ‘The Earth Moved: On the Remarkable Achievements of Earthworms’ (โลกหมุนด้วยความสำเร็จอันน่าทึ่งของไส้เดือน) เธอได้กล่าวประโยคง่าย ๆ ชวนคิดไว้ว่า “เส้นใยและน้ำส้มที่บรรจุอยู่ในผลส้ม ประโยชน์ของน้ำมันที่อยู่ในวอลนัต สารอาหารรอง (ธาตุอาหารเสริม) ที่อยู่ในผักใบเขียวแน่นอนว่าไม่สามารถหาได้ในรูปของยาเม็ด” (Stewart)

ในขณะที่วิทยาศาสตร์ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสารอาหารเหล่านี้ที่บรรจุอยู่ในอาหาร ท้ายที่สุดแล้ว อัลลอฮ์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสร้างอาหารเหล่านั้น เป็นผู้ทรงปรีชาญาณต่อความลับขององค์ประกอบในอาหารถึงประโยชน์และคุณสมบัติที่ซ่อนอยู่ อัลลอฮ์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่พระองค์ ทรงกล่าวว่า

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย (ฏ็อยยิบ) และจงขอบคุณอัลลอฮ์เถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ” (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2: 172)

…………………………………………………………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
บทความนี้ถอดมาจากแฟ้มเอกสารของนิตยสาร Science
ที่มา: aboutislam.net โดย ดร.คาริมา เบิร์นส์

อนาคตของเศรษฐกิจฮาลาลในยุค Technology disruption

#HalalEconomyคืออะไร

เศรษฐกิจฮาลาล หรือ Halal economy ไม่ได้ใช้เฉพาะกับอาหารการกินอย่างที่หลายคนเคยเข้าใจ แต่หมายถึง กิจการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ศาสนพิธี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการปกครอง ตลอดจนวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค การบริการ เศรษฐศาสตร์ฮาลาล และการเงินตามหลักศาสนบัติญัติอิสลาม เช่น การกู้ยืมเงินและการคิดอัตราผลกำไรแทนอัตราดอกเบี้ย การท่องเที่ยวฮาลาล (Halal Tourism) แฟชั่น (Islamic fashion) ยา เครื่องสำอาง สื่อ รวมทั้งทีวี facebook และ youtube เป็นต้น

คาดการณ์ว่าในปี 2023 การเงินฮาลาลมีมูลค่าทางเศรษฐกิจโตขึ้น 7.7% อาหารฮาลาลจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6% แฟชั่นฮาลาลจะโตขึ้น 5% การท่องเที่ยวมุสลิมซึ่งประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกมาตลอด จะเติบโตมากขึ้นถึง 7.5% สื่อฮาลาล (Halal media) ในอังกฤษเติบโตอย่างมากและทำรายได้เป็นจำนวนมาก ส่วนยาและเครื่องสำอางก็มีอัตราโตขึ้นถึง 7%

การให้การรับรองฮาลาลในเรื่องอาหาร อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่ง เราอาจจะต้องมีการรับรองฮาลาลทางการเงิน เสื้อผ้า ยา เครื่องสำอาง ซึ่งปัจจุบันศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมมือกันผลักดันมาตรฐานด้านต่าง ๆ อย่าง โรงแรม สปา เครื่องสำอาง และอีกมากมายที่กำลังตามมา ซึ่งทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฮาลาลจึงมีความสำคัญ…

#ในยุคdisruption เทคโนโลยีมีผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมฮาลาล

Technology disruption คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ในเทคโนโลยี ธุรกิจ อุตสาหกรรม และสังคม เช่น

เทคโนโลยีการถ่ายภาพ จากที่เคยมีกล้องถ่ายกลับคลายมาเป็นมือถือที่มีประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการถ่ายภาพได้มากกว่าเดิม

ธุรกิจภาพยนตร์ จากเดิมที่ใช้ซีดีหรือดีวีดี กลายเป็นธุรกิจสตรีมมิ่งที่เป็นแอปพลิเคชันให้คนได้ดาวน์โหลด ทำให้สามารถดูหนังที่ไหนก็ได้

ธุรกิจเพลง ผู้ฟังที่เคยฟัง mp3 ในซีดี แต่แอปพลิเคชัน เช่น Spotify สามารถให้บริการเพลงได้อย่างไม่จำกัดทั้งเพลงในอดีตหรือเพลงฮิตในปัจจุบัน

ธุรกิจสิ่งพิมพ์ พบว่าวิธีการนำเสนอเนื้อหาจากเดิมที่เป็นกระดาษ กลายเป็นเนื้อหาบนโลกออนไลน์ อ่านข่าวจากมือถือ หรืออ่านหนังสือผ่าน Kindle หรือเรียกว่าธุรกิจ eBooks

ธุรกิจเกี่ยวกับการช็อปปิ้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการขายของออนไลน์มากขึ้น กลายเป็นแอปพลิเคชันช้อปปิ้งออนไลน์

#Future of Halal Economy

ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบันทำให้วิทยาศาสตร์ฮาลาลต้องปรับตัวมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ทางเลือก เทคโนโลยีที่ใช้การตัดต่อยีนจากเนื้อสัตว์แล้วนำมาเพาะเลี้ยง หรือการใช้หุ่นยนต์สั่งอาหารทางออนไลน์กับหุ่นยนต์ หากเราต้องการสั่งอาหารฮาลาล หุ่นยนต์ที่ตอบโต้เราจะสามารถตอบสนองความต้องการของชาวมุสลิมได้หรือไม่?

Halal Cryptocurrency เงินดิจิทัลถูกต้องตามวิถีฮาลาลหรือไม่? จ่ายซะกาตอย่างไร? เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมฮาลาลต้องเตรียมตัว หรือ Crowdfunding การระดมทุนในโลกออนไลน์ อย่างในอินโดนีเซีย อยากทำระดมทุนให้คนหาบ้านที่ไม่มีกำลังซื้อ Islamic Crowdfunding จะเป็นสิ่งที่เราได้ยินกันมากขึ้น คือเราไม่สามารถไปลงทุนกับธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุข ใครจะรับรองว่าธุรกิจนี้เป็น Islamic business ทำอย่างไรที่จะคัดสรรโปรเจกธุรกิจอิสลามเข้ามาเพื่อให้มีคนมาลงทุนมากขึ้น แล้วแพลตฟอร์มแบบไหนถูกต้องตามหลักชารีอะฮ์ …..นี่คือความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต…..

………………………………………………………………………………………….…….
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี

ถอดความ Halal Inspiration Talk: Future of Halal Economy: Technology Perspective
โดย ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การใช้แอลกอฮอล์เพื่อป้องกัน COVID-19 นญิสหรือไม่?

ด้วยสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยใคร่ขอความร่วมมือพี่น้องมุสลิมทุกคนได้ยึดแนวทางการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยหนึ่งในข้อปฏิบัติคือการใช้แอลกอฮอล์และเจลแอลกอฮอล์ในการล้างมือก่อนเข้ามัสยิด จึงมีคำถามถึงประเด็นเรื่องการใช้แอลกอฮอล์เหล่านี้มากมายว่า จะเป็นสิ่งสกปรก (นญิส) และห้ามนำมาใช้หรือไม่? จึงขอนำเสนอประเภทต่างๆของแอลกอฮอล์ และไม่ใช่แอลกอฮอล์ทั้งหมดจะเป็นนญิสและห้ามนำมาใช้เสมอไป

ซึ่งคำว่า แอลกอฮอล์ในที่นี้หมายถึง เอทานอล (Ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่ถูกกล่าวไว้ใน อัลกุรอาน ด้วยคำว่า คอมัร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และถูกนำมาใช้ในหลากหลายผลิตภัณฑ์ ในสมัยโบราณมันถูกดื่มเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งทำมาจากการนำผลไม้ไปหมัก เช่น องุ่น และอินทผลัม ในปัจจุบันยังทำมาจากธัญพืช เช่น ข้าวไรท์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์และข้าวโพด ส่วนมันฝรั่งและหางนมก็ยังนำมาใช้ในการทำแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย จึงทำให้เราทราบว่าเอทิลแอลกอฮอล์นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) เนื่องจากคุณสมบัติของมันทำให้เกิดการมึนเมา และนักวิชาการอิสลามบางกลุ่มยังมีทัศนะว่าเอทิลแอลกอฮอล์เป็นนญิสหากสัมผัสหรือเปรอะเปื้อนบนเสื้อผ้า ต้องมีการซักล้าง ทำความสะอาดแอลกอฮอล์ให้ออกไปอีกด้วย แต่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ทั้งหมดจะเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะมีคำว่าแอลกอฮอล์ที่ปรากฏบนชื่อของสารเหล่านั้นก็ตาม อย่างเช่น

1. น้ำตาลแอลกอฮอล์ (Sugar alcohols) ไม่ได้มีส่วนประกอบของเอทิลแอลกอฮอล์ แต่สารเหล่านี้ถูกเรียกว่า น้ำตาลแอลกอฮอล์ เนื่องจากสูตรทางเคมีของสารนี้ น้ำตาลแอลกอฮอล์หรือโพลีออล (polyols) นั้นเป็นสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ซึ่งทั้งหมดนั้นฮาลาล ยกเว้น Erythritol (ที่ทำโดยผ่านกระบวนการหมักที่ก่อให้เกิดแอลกอฮอล์) และถ้า Lactittol นั้นทำจากหางนม (Whey) ที่ไม่ฮาลาล(ผลพลอยได้จากการทำชีทซึ่งอาจใช้เอนไซม์จากกระเพาะหมูในการตกตะกอน) ดังนั้นสารนี้ก็ไม่ฮาลาลเช่นเดียวกัน แต่ถ้า Lactitol ทำมาจากน้ำตาลซูโครส ดังนั้นสารนี้ก็จะฮาลาลด้วย

2. ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol) ยังถูกใช้ในหลายกระบวนการเช่นเดียวกับในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดภายในบ้านและโลชั่นบำรุงผิว ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม”แอลกอฮอล์ขจัดคราบ” นี่คือแอลกอฮอล์ฮาลาล เนื่องจากสารนี้ไม่ก่อให้เกิดการมึนเมา

3. เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) หรือเมทานอลหรือแอลกอฮอล์ไม้ และยังเป็นแอลกอฮอล์ฮาลาลอีกด้วย แต่เป็นแอลกอฮอล์ที่เป็นพิษถูกนำมาใช้เพื่อแปลงสภาพเอทานอลหรือแอลกอฮอล์เพื่อให้เอทิลแอลกอฮอล์สูญเสียสภาพธรรมชาติ

4. เบนซิล แอลกอฮอล์ (benzyl alcohol) นั้นเป็นสารประกอบอินทรีย์และนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในหมึก สี สารเคลือบเรซิน ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ฮาลาล

5. แอลกอฮอล์สูญเสียสภาพธรรมชาติพิเศษ และแอลกอฮอล์สูญเสียสภาพธรรมชาติโดยสมบูรณ์ (Specially Denatured Alcohol and Completely Denatured alcohol) ซึ่งเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ที่ถูกทำให้สูญเสียสภาพธรรมชาติจากเดิมด้วยการเติมสารเคมีบางอย่างเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องการใช้เพื่อการบริโภค สารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งนักวิชาการด้านศาสนา (อูลามะฮฺ) หลายท่านอนุญาตให้นำมาใช้กับผิวหนัง

6. บิวทิลแอลกอฮอล์ (Butyl alcohol) ไม่ใช่เอทิลแอลกอฮอล์ ถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในสี

7. ซีทิล แอลกอฮอล์ (Cetyl alcohol) ก็ไม่ใช่ เอทิลแอลกอฮอล์ เช่นกัน แต่เป็นแอลกอฮอล์ของกรดไขมัน หรือ wax ซีทิล แอลกอฮอล์ จะฮาลาลก็ต่อเมื่อได้มาจากไขมันพืช และจะหะรอมก็ต่อเมื่อได้มาจากไขมันหมู ซึ่งถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง มีเพียงผู้ผลิตเท่านั้นที่สามารถรู้แหล่งที่มาของ ซีทิล แอลกอฮอล์ ดังนั้นคุณควรสอบถามไปยังผู้ผลิต

8. สเตียรอล แอลกอฮอล์ (Stearyl alcohol) ซึ่งผลิตได้จากไขมันของกรดสเตียริก ไม่ใช่เอทิลแอลกอฮอล์ มันถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สเตียรอล แอลกอฮอล์ จะฮาลาลก็ต่อเมื่อได้มาจากไขมันของกรดสเตียริกที่ได้จากพืช และจะหะรอมก็ต่อเมื่อได้มาจากไขมันหมู มีเพียงผู้ผลิตเท่านั้นที่สามารถรู้แหล่งที่มาของ สเตียรอล แอลกอฮอล์ ดังนั้นคุณควรสอบถามไปยังผู้ผลิต

…………………………………………………………………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี เรียบเรียง
ข้อมูลจาก
https://www.skthai.org/th
http://www.muslimconsumergroup.com/
Riaz, M. N., and Chaudry M.M. (2004). Halal Food Production. CRC Press

การให้อาหารแก่สัตว์ : ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม

โดย ดร.มุฮัมมัด มุนีร เชาดรี, ดร.ชัยค์ญะอฟัร เอ็มอัลกุเดอรี, ดร.อะหมัด ฮุซเซน ศ็อกร์

มีความสับสนและคำถามมากมายเกี่ยวกับกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ เราลองมาพิจารณาในบางประเด็นและชี้แจงคำถามบางส่วน

มีฟาร์มจำนวนมากที่มีการเติมอาหารเสริมโปรตีน (protein supplement) ในอาหารสัตว์ การปฏิบัติเหล่านั้นมิได้จำกัดเพียงแค่ฟาร์มขนาดใหญ่ที่เลี้ยงแบบเปิด แต่ยังรวมไปถึงฟาร์มที่เลี้ยงแบบปิด อาหารเสริมโปรตีนอาจใช้โดยเจ้าของฟาร์มที่อ้างว่าเลี้ยงโดยการปล่อยสัตว์ปีกและปศุสัตว์ให้อาหารอย่างอิสระ หรือการเลี้ยงนอกกรงนั่นเอง โปรตีนเสริมเหล่านี้ผลิตมาจากเศษเนื้อที่เหลือจากโรงฆ่าสัตว์และอาจมีส่วนประกอบอื่นๆรวมอยู่ด้วย นักวิชาการและผู้บริโภคส่วนมากรู้สึกว่าการให้อาหารด้วยเศษเนื้อดังกล่าวแก่สัตว์ที่ฮาลาลไม่น่าจะเป็นที่อนุญาต บางส่วนเห็นว่าเทียบเท่ากับอัลญะลาละฮฺ (ซากสัตว์)

อัลญะลาละฮฺได้รับการนิยามว่าหมายถึงสัตว์ที่มักจะกินของเสียเป็นหลัก ซึ่งไม่มีความเห็นแตกต่างในความหมายของคำนี้ ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ห้ามรับประทานเนื้อและนมของสัตว์ญะลาละฮฺ ท่านยังห้ามแม้แต่การขี่มัน นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นแตกต่างกันต่อน้ำหนักของการห้าม ทรรศนะของอิมามชาฟิอีย์ถือว่าห้ามโดยเด็ดขาดที่จะรับประทานเนื้อของสัตว์ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามทรรศนะของอิมามอบู หะนีฟะฮฺ, อิมามมาลิกและอิมามอะหมัด อิบนุฮันบัลถือว่าการห้ามนี้มิได้ถึงขั้นเด็ดขาดโดยถือเป็นมักรูฮฺ (ไม่ควรรับประทานแต่ไม่ถึงขั้นต้องห้าม)

สำหรับผู้ที่ถือว่าอาหารเสริมโปรตีนเหล่านี้เป็นญะลาละฮ์เชื่อว่าสัตว์ใดก็ตามที่กินอาหารเสริมนี้ถือว่าสัตว์ตัวนั้นเป็นญะลาละฮฺ เนื่องจากอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ในตะวันตกมักจะมีสารกสัดจากสัตว์ พวกเขาสรุปว่ามุสลิมไม่สามารถบริโภคเนื้อที่มาจากอเมริกาเหนือ

ในความเป็นจริงสัตว์จำพวกญะลาละฮฺเป็นสัตว์ที่มักจะอยู่ใกล้ ๆ กับกองขยะหรือบ่อน้ำทิ้ง อาหารส่วนใหญ่ของพวกมันคือ “ญุลละฮ์” หมายถึงอุจจาระ ของเสียต่าง ๆ ตลอดจนซากสัตว์ตายหรืออื่น ๆ ที่คล้ายกัน พวกสัตว์เหล่านี้มักจะมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เนื้อและนมตลอดจนกลิ่นประจำตัวที่แรง อย่างไรก็ตามหากสัตว์ญะลาละฮ์ได้รับการกักและให้อาหารที่สะอาด, เป็นอาหารทั่วไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นเนื้อของมันสามารถนำมารับประทานได้ ช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 วันจนไปถึง 40 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสัตว์ตัวนั้น

สิ่งที่ควรทราบคือสัตว์ทุกชนิดจะกินสิ่งสกปรกหรือชองเสียบางอย่าง แม้ว่ามันจะกินหญ้าอยู่ในทุ่งหญ้าหรือทุ่งเลี้ยงสัตว์เป็นหลักก็ตาม ด้วยเหตุนี้เองนักนิติศาสตร์จึงได้เน้นว่า ญะลาละฮฺเป็นสัตว์ที่กินของเสียเป็นหลัก อย่างไรก็ตามหากพวกมันกินอาหารเหล่านั้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวหรือกินเพียงเล็กน้อย เนื้อของมันจะไม่ถือว่าหะรอม จากหลักการนี้จะเห็นว่าการสรุปว่าเนื้อทั้งหมดที่มาจากอเมริกาเหนือเป็นญะลาละฮฺนั้นเป็นการสรุปที่เลยขอบเขตมากไป เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วอาหารของพวกมันเป็นธัญพืช หญ้าแห้งหรือเมล็ดพืชต่างๆ

เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดเปอร์เซ็นต์วัตถุดิบผลพลอยได้ (by-products) จากสัตว์ที่จะใช้ในอาหารสัตว์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่นชนิดของสัตว์ที่จะให้อาหาร จุดประสงค์ของการให้อาหาร ราคาของวัตถุดิบผลพลอยได้ คุณภาพของโปรตีนและลักษณะการเลี้ยงว่าเลี้ยงในคอกหรือที่ขุนอาหารสัตว์หรือไม่ นอกจากนั้นแล้วประเทศกำลังพัฒนาจะใช้ผลพลอยได้จากสัตว์น้อยมากในการให้อาหารและประเทศยุโรปบางประเทศได้ห้ามนำเข้าด้วยเหตุผลว่ามีการกระทำทารุณต่อสัตว์ เพื่อป้องกันการเกิดและระบาดของโรควัวบ้าในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลได้ออกกฎหมายห้ามใช้โปรตีนส่วนใหญ่ที่มาจากสัตว์ในการให้อาหารแก่สัตว์เคี้ยวเอื้อง แต่อย่างไรก็ตามกฏหมายนี้มิได้นำไปใช้กับสัตว์ปีก

เมื่อวัตถุดิบผลพลอยได้จากสัตว์ถูกนำไปใช้ มันจะผ่านกระบวนการจัดเตรียมที่ใช้เวลานาน ซึ่งรวมไปถึงการการให้ความร้อนภายใต้แรงดันสูง การบดและการสกัด สัตว์ที่เป็นอาหารมนุษย์นี้จะไม่กินสัตว์ด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาอาจให้อาหารที่เป็นชิ้นเนื้อดิบๆจากวัตถุดิบผลพลอยได้แล้วผ่านการแปรรูปเป็นอาหารเสริมแล้วนำไปเติมในอาหารสัตว์ในปริมาณที่มากนัก

โดยสรุป การใช้วัตถุดิบผลพลอยได้เพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์มิได้ทำให้อาหารนั้นเป็น “ญุลละฮ์” ดังนั้นสัตว์ที่กินอาหารเหล่านี้ไม่ควรถูกมองว่าเป็น ญะลาละฮฺ ขณะที่มีความแตกต่างทางความเห็นว่าสัตว์ญะลาละฮ์หะรอมหรือไม่ ผู้บริโภคจำนวนมากไม่นิยมรับประทานสัตว์ที่อาหารของมันเป็นวัตถุดิบผลพลอยได้จากสัตว์ (เศษซาก) แม้แต่หน่วยงานด้านเกษตรกรรมของรัฐบาลบางหน่วยงานรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อาจเจอโรคเนื่องจากวัตถุดิบที่เติมในอาหารสัตว์ดังกล่าว จนทำให้นักวิชาการมุสลิมต้องออกมาฟัตวาในเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องยากในการที่จะรับรองเนื้อและสัตว์ปีกดังกล่าวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้บริโภคจำนวนมากจึงหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ออแกร์นิกเช่นเนื้อหรือสัตว์ปีกออแกร์นิก นี่เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคอาหารฮาลาล ตราบใดที่กระบวนการจัดการมีความสอดคล้องกับแนวทางทีอิสลามได้กำหนดไว้ เมื่อผู้บริโภคหันมาบริโภคอาหารออแกร์นิกมากขึ้น กฏของอุปสงค์อุปทานจะเปลี่ยนทิศทางของตลาดจากเดิม สิ่งที่เราหวังไว้อย่างสูงคือการเปิดเผยกระบวนการในการผลิตอาหารเพื่อที่ผู้บริโภคแต่ละคนจะสามารถตัดสินใจเลือกผ่านข้อมูลไม่ว่าจะยอมรับหรือปฎิเสธอาหารประเภทนี้

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ที่มา www.eat-halal.com


หลักการให้อาหารแก่สัตว์ในอิสลาม

“พวกเจ้าจงกินและจงดื่มจากปัจจัยยังชีพของอัลลอฮฺ และจงอย่าก่อกวนในผืนแผ่นดิน ในฐานะผู้บ่อนทำลาย” (อัล บะเกาะเราะฮฺ 2:60)

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มุสลิมในอเมริกาเหนือเปิดร้านอาหารที่ยึดตามหลักการอิสลามเพิ่มจำนวนสูงขึ้น หากขับไปตามถนนดันดัส (Dundas) ในมิสซิสซอกา (Mississauga) ประเทศแคนาดา หรือจะเดินเล่นที่เดียร์บอร์น (Dearborn) มิชิแกน (Michigan) คุณจะเห็นร้านอาหารและร้านขายเนื้อสัตว์ฮาลาลนับร้อยแห่งในพื้นที่เหล่านี้

ในทศวรรษที่ผ่านมา บางรัฐอย่าง นิวเจอร์ซี (new jersey) กลายเป็นรัฐแรกที่ผ่านกฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับอาหารฮาลาล กฏหมายได้บัญญัติเพื่อเป็นแนวทางแก่พ่อค้าหรือผู้จัดจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติตามเมื่อมีฉลากฮาลาลติดบนสินค้า

ในปี 2003 ทางหน่วยงานในแคนาดาได้ประกาศว่า วัวอายุ 8 ปี ในรัฐแอลเบอร์ตา Alberta ได้ล้มตายจากโรควัวบ้า(Bovine Spongiform Encephalopathy : BSE) ทางด้านอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของแคนาดา นาย Lyle Vanclief ได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ทันที เพื่อยืนยันว่า วัวในรัฐแอลเบอร์ตา(Alberta) นั้นจะไม่หลุดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารได้

วัวและปศุสัตว์นับพันในแคนาดาได้ถูกทำลายในเวลาต่อมา ขณะที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐออเมริกาและประเทศอื่น ๆ ได้สั่งห้ามการนำเข้าเนื้อวัวจากแคนาดา

ขณะที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า วัวหนึ่งในล้านตัวอาจมีการเจริญเติบโตของโรควัวบ้าเมื่อโปรตีนในสมองของวัวเป็นพิษ การระบาดของโรควัวบ้าในประเทศอังกฤษในช่วงปลายปี 1980 เป็นผลมาจากการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง วัวและปศุสัตว์ถูกเลี้ยงโดยให้กินซากสัตว์จากฟาร์มอื่นเป็นอาหาร

เมื่อมนุษย์บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีโรควัวบ้าเข้าสู่ร่างกาย พวกเขาก็จะติดเชื้อ และจะเป็นโรคสมองเป็นเป็นรูพรุนหรือโรคสมองฝ่อ (Creutzfeldt-Jakob disease) จะกลายเป็นอัมพาตจนเสียชีวิตในที่สุด

ตั้งแต่ปี 1997 ประเทศแคนาดาได้สั่งห้ามการให้อาหารสัตว์ที่จำพวกโปรตีนที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้องด้วยกันเอง (เช่น วัว ควาย แกะ แพะ กระทิง หรือกวาง) แก่สัตว์ประเภทอื่น

อาหารที่ถูกห้ามแก่ปศุสัตว์หรือสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องนั้นจะมีคำเตือนเขียนไว้ว่า “ห้ามให้แก่วัว แกะ กวาง หรือสัตว์เคี้ยวเอื้องอื่น ๆ กินเป็นอาหาร”

การคาดการณ์ที่จะเกิดโรควัวบ้าในปศุสัตว์ของแคนาดาและการกักบริเวณวัวนับพันตัว นับเป็นการเตือนให้เท่าทันภัยแก่ชุมชนมุสลิมทั้งแคนาดาเป็นอย่างดี

ในขณะที่มาตรฐานฮาลาลมีการตรวจสอบและวินิจฉัยการเชือดวัวตามบทบัญญัติอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่กลับไม่มีกลไกเพื่อตรวจสอบการให้อาหารสัตว์ในแต่ละวันอย่างเป็นทางการจนถึงทุกวันนี้

ความจริงแล้ว มุสลิมจำนวนมากไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องวิธีการจำแนกอาหารฮาลาลมากนัก ตามกฏหมายชะรีอะฮฺนั้นยังมีเรื่องที่สำคัญกว่าเรื่องการตรวจสอบวิธีการเชือดสัตว์ที่ถูกต้องเสียอีก

ตามกฏชะรีอะฮฺ สัตว์ที่ถูกเชือดจะถือว่าฮาลาลก็ต่อเมื่ออาหารที่ถูกให้นั้นฮาลาล ดังนั้นการให้อาหารสัตว์จึงมีบทบาทสำคัญในการจำแนกอาหารฮาลาล

อาหารสัตว์จะต้องมาจากพืชผัก ไม่อนุญาติให้มีการให้อาหารจากเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ ยาโกรทฮอร์โมน (Growth Hormones) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม เพราะยาโกรทฮอร์โมนทำมาจากสุกร การทำให้สลบในสัตว์ที่ทำกันอย่างแพร่หลายนั้นควรหลีกเลี่ยง เลือดก็ต้องมีการไหลออกมาให้หมดจากตัวสัตว์ที่ถูกเชือด

เชค อะหมัด คุตตี้ ผู้รู้ชาวแคนาดากล่าวว่า ประเด็นปัญหาการให้อาหารของปศุสัตว์นั้น ไม่เคยเกิดขึ้นกับตนเองหรือหน่วยงานมุสลิมก่อนหน้าจะมีการระบาดของโรควัวบ้า (BSE)

“ปัญหานี้มีความท้าทายต่อเราผู้ที่เป็นมุสลิมที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่ามาตรฐานฮาลาลของเรานั้นสามารถดำเนินการได้ไม่เฉพาะในเรื่องการเชือดสัตว์เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญมากในเรื่องของการเลื้ยงดูและการขยายพันธุ์”

เชค อะหมัด คุตตี้ กล่าวว่า การให้อาหารสัตว์เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง และควรให้ความสำคัญเหนือกว่าเรื่องถกเถียงต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การพิจารณาว่าฮาลาลหรือไม่

“การให้อาหารสัตว์มีความสำคัญอย่างยิ่งในแง่มุมทางกฏหมายชะรีอะฮฺ มากกว่าปัญหาที่มุสลิมได้ถกเถียงกันในเรื่องการเชือดด้วยเครื่องจักรดีกว่าการเชือดด้วยมือหรือไม่ ? การทำให้สัตว์สลบก่อนเชือดดีกว่าหรือไม่? มุสลิมสามารถบริโภคสัตว์จากการเชือดของชาวคริสเตียนหรือยิวได้หรือไม่?” เชค อะหมัด คุตตี้กล่าว

อะหมัด ศ็อกร์ จากแคลิฟอเนีย ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science) และผู้ประพันธ์หนังสือ “Understanding Halal Food”และ “A Muslim Guide to Food Ingredients” ได้กล่าวในเว็บไซท์ soundvision.com ว่า มีเนื้อฮาลาลบางส่วนที่ไม่ฮาลาล โดยส่วนใหญ่เป็นเพราะอาหารที่สัตว์ได้กินเข้าไป

“ศาสนาอิสลามได้บัญญัติว่า หากสัตว์ตัวหนึ่งได้รับเนื้อสดหรือเลือดเข้าไปขณะตัวของมันนั้นฮาลาล มันจะกลายเป็นสิ่งที่หะรอม และเพื่อให้มันฮาลาล ท่านจะต้องกักบริเวณสัตว์ตัวนั้นเป็นเวลา 40 วัน ก่อนที่จะนำมาเชือดเพื่อทำให้มันฮาลาล”

:: ชุมชนมุสลิมได้ดำเนินการใด ๆ บ้างหรือไม่ ในการตรวจสอบการให้อาหารสัตว์ ? ::
ชุมชนมุสลิมในออนตาริโอได้รับการกำชับไม่ให้เกิดการไขว้เขวระหว่างปัญหาของโรควัวบ้ากับเรื่องของฮาลาล ซึ่งมีวัวเพียงแค่ตัวเดียวเท่านั้นที่ติดเชื้อจากโรควัวบ้าในพื้นที่แถบอเมริกาเหนือ (Alberra) จนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ทั้งแคนาดาและอเมริกาได้อนุญาตอย่างลับ ๆ ให้นำสัตว์ที่ตายแล้วมาเป็นอาหารของสัตว์เป็นโดยในบางพื้นที่มีการเก็บค่าบริการ

ปี 2003 วอร์ชิงตันโพสท์รายงานว่า เกิดช่องโหว่ที่ปล่อยให้นำสัตว์ที่ตายแล้วมาบดเป็นผงและนำมาเป็นอาหารแก่ปศุสัตว์

การประกาศห้ามในปี 1997 ไม่ได้ช่วยป้องกันการนำโปรตีนจากสัตว์ที่ตายแล้วมาเป็นอาหารแก่สัตว์ปีกและสุกร

วันที่ 28 พฤษภาคม 2003 สำนักงานตรวจสอบอาหารแห่งแคนาดารายงานว่า “เนื้อและกระดูกของวัวที่อาจติดเชื้อที่ถูกผลิตเป็นอาหารสุนัขนั้น ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์จากการสัมผัสสินค้า”

ฟาร์มกักกันในบริติชโคลัมเบีย 3 แห่ง ซึ่งอยู่ใน “ระหว่างการตรวจสอบอาหารสัตว์” มีสัตว์ (60 ตัว) ถูกกำจัดเนื่องจาก ไม่สามารถสรุปได้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องในสถานที่เหล่านี่สัมผัสกับอาหารของสัตว์ปีกหรือไม่”

“เราในฐานะมุสลิมได้รับอนุญาติเพียงแค่ให้อาหารวัวหรือสัตว์เลื้ยงที่เป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์แต่ละประเภท ไม่สามารถนำเศษซากของสัตว์อื่นหรืออาหารที่ทำมาจากไขมันสัตว์นำมาเป็นอาหารของมันได้”

ปัญหาของโรควัวบ้าจะยังคงเปิดพื้นที่ในการถกเถียงกันในหมู่มุสลิมแคนาดา ตราบใดที่ยังให้ความสำคัญกับการกำหนดวิธีการเชือดมากกว่าการพิจารณาเนื้อที่ฮาลาล

………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net

เส้นผมมนุษย์ในอาหาร

  จะเป็นอย่างไรหากคุณเห็นเส้นผมในอาหารที่คุณรับประทาน ? คุณคงขยะแขยง แต่ทว่าพวกเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเส้นผมมนุษย์ได้เข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร และสารในคำถามนี้คือ L-cysteine

L-cysteine คืออะไร?

   L-cysteine เป็นกรดอะมิโน ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เภสัชกรรมและเครื่องสำอาง ในการทำขนมปัง L-cysteine เป็นตัวช่วยในการลดระยะเวลาการเกิดโด (การพองตัวของแป้ง) ในแป้ง ยับยั้งการหดตัวของหน้าพิซซ่าหลังจากที่เป็นแผ่นเรียบ และช่วยยับยั้งการหดตัวของโดของผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ในขณะที่ผ่านการอบ อย่างไรก็ตาม L-cysteine ยังเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สำหรับผลิตเป็นสารให้กลิ่นเนื้อ (meat flavour) ในผลิตภัณฑ์ จำพวก ซุปก้อนถึงแม้ว่า L-cysteine อาจจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร แต่สารเหล่านี้ไม่ถูกระบุว่าเป็นส่วนประกอบในอาหาร เนื่องจากสารนี้ไม่ถือว่าเป็นสารเจือปนอาหาร แต่เป็นตัวช่วยในกระบวนการผลิต

แหล่งที่มาของ L-cysteine
ปัจจุบันมากกว่า 80% ของ L-cysteine ที่ถูกนำมาใช้ทั่วโลกนั้น ถูกผลิตขึ้นในประเทศจีน ซึ่งสกัดมาจากเส้นผมมนุษย์และขนไก่ เส้นผมมนุษย์อุดมไปด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ L-cysteine และ L-tyrosin มี L-cysteine ประมาณ 14 % ในเส้นผมมนุษย์ ในระหว่างการสกัด L-cysteine นั้นโปรตีน keratin จากเส้นผมมนุษย์จะถูกย่อยด้วยกรดไฮโดรคลอริกและน้ำ หลังจากผ่านหลายๆขั้นตอนของการสกัดโปรตีน Keratin ก็ได้กลายเป็น L-cysteine

ศาสนาอิสลามมีมุมมองอย่างไรเกี่ยวกับ L-cysteine

 สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม(ชารีอะฮฺ) การบริโภคส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายมนุษย์นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม)สำหรับมุสลิม จากการสัมภาษณ์กับมุฟตีของรัฐเปรัก (Perak)  Dato’ Seri Dr Harussani bin Zakeria ทำให้ทราบว่า ทุกๆส่วนของร่างกายมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ล่วงละเมิดไม่ได้และควรเคารพ ดังนั้น อาหารที่มี L-cysteine เป็นส่วนประกอบเป็นสิ่งที่น่าสงสัยเนื่องจาก L-cysteine อาจจะได้มาจากเส้นผมของมนุษย์ก็เป็นได้

    ในประเด็นเรื่องนี้ ผู้บริโภคมุสลิมควรมีความรอบคอบเมื่อพวกเขาต้องการเลือกซื้อสินค้าประเภทอาหารในตลาด โดยเฉพาะอาหารที่อาจมี L-cysteine (เช่น ขนมปัง, พิซซ่าและอาหารที่มีกลิ่นเนื้อ)

สำหรับสิ่งที่ทุกคนควรทราบคือ L-cysteine ที่ใช้ในอาหารที่คุณซื้อนั้น อาจมาจากเส้นผมมนุษย์ และอาจไม่ถูกระบุบนฉลากในส่วนประกอบอาหาร

………………………………………..
ที่มา : จากหนังสือ 
Halal haram: an important book for Muslim consumers : a guide by Consumers Association of Penang